หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ตำนานรักดอกทานตะวัน

โพสท์โดย wowticktock

ชาวกรีกและโรมันในยุคคลาสสิคมีเทพปกรณ์เกี่ยวกับเรื่อง ‘นางพราย’ (water nymph/ Oceanids) ที่ไปหลงรัก ‘ดวงอาทิตย์’ ก็เลยต้องกลายร่างเป็น ‘ดอกไม้’ ชนิดหนึ่งไปในที่สุด ซึ่งจะว่าไปแล้ว เรื่องมันก็จบลงอย่างแสนเศร้า แต่ก็ชวนให้รู้สึกว่าช่างเป็นเรื่องราวที่จับใจเสียเหลือเกิน 

 

          แถมปกรณัมรันทดเรื่องที่ว่านี้ ยังปรากฏอยู่ในเอกสารโบราณหลายฉบับอีกด้วย แต่ฉบับที่พรรณนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียดลออที่สุดก็คือ เอกสารภาษาละตินที่ชื่อ ‘Metamorphōseōn librī’ ของ ปูบิลุส โอวิดิอุส นาโซ่ (Pūblius Ovidius Nāsō) หรือที่ในโลกภาษาอังกฤษรู้จักเขาในชื่อว่า ‘โอวิด’ (Ovid) นั่นเอง

 

         เจ้าหนังสือ ‘Metamorphōseōn librī’ หรือที่เรียกกันอย่างแพร่หลาย ในหมู่นักศึกษาวรรณกรรมคลาสสิคของโลกตะวันตกในชื่อภาษาอังกฤษว่า ‘Metamorphoses’ นี้ มีความหมายแปลเป็นภาษาไทยตรงตัวได้ว่า ‘หนังสือที่ว่าด้วยการกลายร่าง’ ดังนั้นจึงไม่แปลกอะไรเลยที่หนังสือเก่าแก่ฉบับนี้จะเล่าถึงที่มาที่ไป ของการกลายร่างจากนางพรายไปเป็นดอกไม้อย่างละเอียดยิ่งกว่าที่หนังสือ หรือกวีในโลกยุคคลาสสิคคนอื่นๆ ได้พรรณนาเอาไว้

 

         และถึงแม้ว่าเอกสารของโอวิดจะเป็นงานในช่วงหลังจากพวกกรีก เพราะโอวิดเป็นชาวโรม ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงระหว่าง 43 ปีก่อนคริสตกาล-ค.ศ. 17 (หรือ 18) ตรงกับโรมันในยุคเปลี่ยนผ่านจากสาธารณรัฐ ไปสู่การเป็นจักรวรรดิ ซึ่งเป็นช่วงหลังยุครุ่งเรืองของวัฒนธรรมกรีก ที่เป็นต้นกำเนิดของปกรณัมปรัมปราเรื่องนี้อยู่นานนับร้อยๆ ปีเลยทีเดียว แต่เนื้อหาส่วนใหญ่แล้วก็ไม่ได้มีรายละเอียดสำคัญที่แตกต่างไปจากในยุคก่อนหน้านัก

 

          ดังนั้นในที่นี้ผมจึงขอเล่านิทานปรัมปราเรื่องนี้ โดยใช้โครงเรื่องที่โอวิดพรรณนาเอาไว้เป็นหลัก และจะใช้ข้อมูลจากเอกสารชิ้นอื่นๆ เสริม เพื่ออธิบายในสิ่งที่ที่โอวิดไม่ได้เล่าเอาไว้

 

    ในหนังสือที่ว่าด้วยการกลายร่างของโอวิดเล่มที่ว่านี้ ได้เล่าถึงเรื่องราวเกี่ยวกับดอกไม้ที่กลายร่างมาจากนางพรายดังกล่าวเอาไว้ในช่วงหนึ่งของบรรพที่ 4 ของหนังสือเล่มนี้ โดยนางพรายผู้จะมารับบทเป็นตัวละครแสนอาภัพในที่นี้ เธอมีชื่อว่า ‘ไคลตี’ (Clytie)

 

          เรื่องของเรื่องนั้นมีอยู่ว่า ‘ไคลตี’ นั้นเป็นหนึ่งในบรรดาคนรัก (แน่นอนว่า หมายถึงไม่ได้มีแค่คนเดียว) ของ ‘โซล’ (Sol) ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ แต่บังเอิญว่า โซลนั้นเกิดไปมีเรื่องผิดใจกับเทพีแห่งความรัก, ความงาม และดาวพระศุกร์ที่ชื่อว่า ‘วีนัส’ (Venus, กรีกเรียก ‘อะโฟรไดที’ [Aphrodite]) เพราะว่าโซลนั้นเอาเรื่องที่วีนัสกับมาร์ส (Mars, อนุโลมได้ว่าตรงกับเทพ ‘เอเรียส’ [Ares] ของกรีก) ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม และดาวอังคาร ที่ชนชาวโรมันถือว่าเป็นเทพบิดรของพวกตน ลักลอบกระทำชู้กันไปเล่าให้กับสามีของวีนัสคือ เทพแห่งไฟ และงานโลหะกรรมที่ชื่อว่า ‘วัลแคน’ (Vulcan, กรีกเรียก ‘เฮเฟสตุส’ [Hephaestus]) ฟัง

 

          แน่นอนว่า วัลแคนนั้นถึงกับจิตใจแหลกสลาย ดังนั้นเขาจึงวางอุบายล้างแค้นด้วยการนำทองสำริดมาทำเป็นเส้นเชือกบางเบา จากนั้นค่อยนำมาถักเป็นแห ก่อนจะแอบนำมาซ่อนเอาไว้บนเตียงอย่างแนบเนียน จนเมื่อวีนัสกับมาร์สมาประกอบกามกิจกันบนเตียงจึงได้ถูกแหวิเศษของวัลแคน คลุมไว้จนดิ้นไม่หลุด วัลแคนจึงค่อยเปิดประตูห้องเพื่อให้เหล่าเทพเจ้าเข้ามาเป็นประจักษ์พยาน จนเป็นที่ขบขันกันไปทั่วทั้งสรวงสวรรค์

 

          ด้วยเหตุนี้เองวีนัสเธอก็เลยแค้นโซลอย่างจับจิต และในฐานะเทพีผู้ครองความรัก ไท้เธอจึงได้ดลบันดาลให้โซลนั้นหันไปคลั่งรักเจ้าหญิง ‘ลิวโคโธ’ (Leucothoe) ผู้เลอโฉม แห่งราชวงศ์อะคีเมนิค (Achaemenid) ผู้ปกครองจักรวรรดิเปอร์เซีย

 

          เมื่อโซลถูกวีนัสสาปเรียบร้อยแล้ว เขาก็หลงรักเจ้าหญิงลิวโคโธเข้าอย่างหัวปักหัวปำ จนในที่สุดเขาก็อดรนทนไม่ได้ โซลก็เลยเนรมิตร่างกายเป็นแม่ของเจ้าหญิงลิวโคโธ เพื่อหลอกให้เจ้าหญิงแสนงามองค์นี้ยอมอยู่กับตนเองเพียงสองต่อสอง จากนั้นจึงค่อยแปลงกลายกับมาเป็นสุริยเทพโซลดังเดิม

 

          และเรื่องราวหลังจากนั้นผมคงไม่ต้องบอกนะครับว่า เทพเจ้าแห่งดวงตะวันองค์นี้จะทำอะไรกับเจ้าหญิงที่เขาถูกสาปให้หลงรัก?

 

          เมื่อนางพรายไคลตีรู้เรื่องเข้าก็หึงหวง โกรธเจ้าหญิงลิวโคโธเป็นฟืนเป็นไฟ นางจึงได้นำเรื่องไปฟ้องกับกษัตริย์ออร์คามุส (Orchamus) ผู้เป็นพ่อของลิวโคโธ จนทำให้องค์กษัตริย์รู้สึกอับอายมาก จึงสั่งให้ทำโทษลูกสาวของตนเองด้วยการฝังดินทั้งเป็น ระหว่างที่กำลังถูกฝังนั้น เจ้าหญิงผู้อาภัพนางนี้ได้ชูมือขึ้นไปต้องแสงอาทิตย์ พร้อมกับพร่ำพูดว่า “เขาบังคับข้า ข้าไม่ได้สมยอม”

 

          โอวิดเล่าต่อไปว่า โซลไม่เคยประสบพบเจอกับความเศร้าสลดถึงเพียงนี้มาก่อน หลังจากคร่ำครวญอยู่นาน เขาจึงโรยฝุ่นดิน และพรมน้ำทิพย์หอมจรุงลงไปบนผืนดิน ที่เจ้าหญิงคิวโลโธถูกกลบฝัง แล้วเอ่ยขึ้นมาว่า “เจ้าจงสัมผัสกับอากาศได้ดังที่เคยเป็น” จากนั้นร่างกายที่เปียกชุ่มด้วยน้ำทิพย์ที่หอมกรุ่นจากสวรรค์ของนางก็ละลายลง และทำให้โลกรู้จักกลิ่นหอมของสวรรค์ด้วยร่างกายที่กลายมาเป็นต้นไม้ที่ชอนไชขึ้นจากพื้นดิน

 

          ถึงแม้โอวิดจะไม่ได้เอ่ยออกมาว่า เจ้าหญิงลิวโคโธได้กลายร่างเป็นต้นไม้ชนิดไหน แต่ในเอกสารอื่นๆ ก็ระบุเอาไว้ตรงกันว่า นางได้กลายมาเป็นไม้กำยาน

 

          ส่วนนางพรายไคลตีนั้น สุริยเทพไม่มีเหตุผลให้ต้องมาพบนางอีก และเขาก็ไม่เคยเฉียดกรายไปใกล้นางพรายตนนี้อีกเลยนับแต่เกิดเรื่อง ไคลตีรู้สึกเจ็บปวดกับความรักที่สูญสลาย เธอนั่งกระสับกระส่ายอยู่บนพื้นดินเปล่าๆ โดยปราศจากน้ำ และอาหารอยู่ถึง 9 วันเต็มๆ ตลอดช่วงระยะเวลาที่ว่านี้นางพรายไม่ได้ทำอะไรเลย นอกจากจ้องมองไปที่ตัวสุริยเทพโซลอย่างไม่คลาดสายตา ร่างกายของเธอเริ่มเปลี่ยนแปลง ผิวซีดจนคล้ายพืชไม่มีสีเลือด แขนและขาเกาะติดกับดินจนกลายเป็นรากไม้ ในที่สุดไคลตีก็กลายสภาพไปเป็นดอกไม้ที่เอาแต่จ้องมองดวงอาทิตย์ตั้งแต่เช้าจนจรดสิ้นแสงฉาน

 

          ร้อยทั้งร้อยของคนที่ฟังเรื่องราวข้างต้นนี้แล้ว ก็มักจะเดาว่าเจ้าดอกไม้น้อยที่นางพรายไคลตีต้องเป็น ‘ดอกทานตะวัน’ แน่ๆ แต่เจ้าดอกไม้ที่ว่านี้ไม่ใช่ดอกทานตะวันหรอกนะครับ เพราะมันคือดอกไม้ที่มีชื่อเรียกในโลกภาษาอังกฤษทุกวันนี้ว่า ‘ดอกเทิร์นโซล’ (turnsole) ต่างหาก

 

 

    โอวิดพรรณนาเอาไว้ใน Metamorphoses เล่มเดิมอย่างชัดเจนนะครับว่า “เธอเปลี่ยนรูปลักษณ์ร่างกายเป็นพืชที่ไม่มีเลือด แต่บางส่วนกลับแดงฉาน และมีดอกไม้สีม่วงซ่อนอยู่ในวงหน้าของนาง” ดังนั้น นางพรายไคลตีย่อมไม่ได้กลายร่างไปเป็นดอกไม้สีเหลืองอ๋อย จนชวนแสบลูกนัยน์ตาอย่างดอกทานตะวันแน่

          เป็นเจ้าไม้ดอกต้นน้อยๆ อย่างเทิร์นโซลต่างหากที่มีดอกสีม่วงเล็กๆ รวมหมู่กันอยู่เป็นช่อ จึงจะมีรูปลักษณ์เหมือนกับที่โอวิดได้พร่ำพรรณนาเอาไว้ ที่สำคัญก็คือ เจ้าดอกไม้ชนิดนี้มันก็หันหน้าตามหาดวงอาทิตย์ทั้งวัน ไม่ต่างอะไรกับดอกทานตะวันเสียด้วย

          คำว่า ‘turn’ ในชื่อของเจ้าดอกไม้จิ๋วนี่ มีรากมาจากคำในภาษาละตินคือ ‘tornare’ ที่แปลว่า ‘เลี้ยว’ ซึ่งก็คือรากศัพท์เดียวกันกับคำว่า ‘turn’ ในภาษาอังกฤษปัจจุบันนั่นเอง ส่วนคำว่า ‘sole’ มีรากมาจากภาษาละตินอีกเช่นกันคือคำว่า ‘sol’ ที่แปลว่า ‘ดวงอาทิตย์’

     ในหนังสือ Metamorphoses นั้น โอวิดเรียกเทพเจ้าองค์นี้ว่า ‘โซล’ ตามชื่อในภาษาละติน ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการประพันธ์หนังสือที่ว่าด้วยการกลายร่างเล่มนี้ แต่ถ้าเราไปอ่านดูจากเอกสารที่ใช้ภาษากรีก เรียกเทพเจ้าองค์นี้ว่า ‘เฮลิออส’ (Helios) ซึ่งก็คือ เทพแห่งดวงตะวันเหมือนกัน

 

           อ่านมาถึงบรรทัดนี้แล้ว หลายคนอาจจะนึกเถียงผมอยู่ในใจว่า สุริยเทพของพวกกรีกนั้นคือ ‘อพอลโล’ (Apollo) ต่างหาก ซึ่งก็ไม่ผิด แต่ ‘เฮลิออส’ นั้น เป็นกลุ่มเทพเจ้ารุ่นเก่าก่อนอพอลโล โดยถือว่าเป็นหนึ่งในคณะเทพไททัน (Titan) ที่ปกครองสวรรค์ตามจักรวาลวิทยาของพวกกรีกมาก่อนคณะเทพโอลิมเปียน (Olympian, หมายถึงคณะเทพบนเขาโอลิมปุส [Olympus]) ของเทพอพอลโล ตามปรัมปราคติของกรีกนั้น พวกเทพโอลิมเปียนที่นำโดย เทวราชชื่อ ‘ซุส’ (Zeus) ผู้เป็นพ่อของอพอลโลนั้น ได้จับเอาคณะเทพไททัน (ซึ่งก็คือคณะเทพที่นำโดยพ่อแท้ของซุสอย่าง ‘โครนอส’ [Cronos]) โยนลงในชุมนรก ‘ทาร์ทารุส’ (Tartarus) ที่มืดทมิฬเพราะอยู่ลึกที่สุดในจักรวาล

 

           และนี่ยังไม่นับด้วยว่า เมื่อชื่อของอพอลโลปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกๆ ในเอกสารนั้น ชาวกรีกไม่ได้นับถือไท้เธอในฐานะ ‘สุริยเทพ’ แต่นับถือในฐานะ ‘เทพแห่งแสงสว่าง’ ต่างหาก อพอลโลเพิ่งจะถูกโยกมากินตำแหน่งเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์เอาพร้อมๆ กับที่พวกกรีกสถาปนากลุ่มเทพโอลิมเปียนเท่านั้นเอง ดังนั้นอพอลโลกับเฮลิออสจึงมีคุณลักษณะที่ปนๆ กันอยู่มาก อย่างไรก็ตาม ในส่วนของชาวโรมันนั้น มักจะเรียกสุริยเทพว่า ‘โซล’ มากกว่าชื่ออื่นๆ

 

          ชื่อดอก ‘เทิร์นโซล’ จึงหมายถึง การหันตามพระอาทิตย์ ซึ่งก็ดูเหมือนว่า ชื่อเจ้าดอกไม้ชนิดนี้ จะปรากฏในภาษาฝรั่งเศสโบราณเป็นแห่งแรกๆ โดยสะกดใกล้เคียงกับรากในภาษาละตินว่า ‘tournesole’ ต่อมาเมื่อชาวฝรั่งเศสได้รู้จัก ‘ดอกทานตะวัน’ แล้ว ก็มีหลักฐานว่าพวกเขาเคยเรียกดอกทานตะวันว่า tournesole ด้วยเหมือนกัน ซึ่งคงจะเป็นเพราะเจ้าดอกไม้ชนิดนี้ ก็หันหน้าจ้องเขม็งไปที่ดวงอาทิตย์ทั้งวันเหมือนกันด้วย

 

           ชาวฝรั่งเศสเพิ่งจะมารู้จักกับดอกทานตะวันทีหลัง เพราะเจ้าดอกไม้สีเหลืองอร่ามชนิดนี้ เป็นพืชพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเหนือ เพิ่งจะถูกนำเข้ามาในยุโรปเมื่อหลังจากที่ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ค้นพบทวีปอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 1492 โน่นเลย

           และนั่นก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า เจ้าดอกไม้ที่กลายร่างมาจากนางพรายไคลตีนั้น ต้องไม่ใช่ดอกทานตะวันแน่ เพราะโอวิดย่อมไม่เคยเห็นเจ้าดอกไม้ชนิดนี้ และก็ย่อมหมายรวมไปถึงผู้คนในวัฒนธรรมกรีกและโรมันทุกชีวิตด้วยนั่นแหละครับ

 

โพสท์โดย: wowticktock
แหล่งที่มาภาพ: https://en.wikipedia.org/wiki/Metamorphoses
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
wowticktock's profile


โพสท์โดย: wowticktock
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ตำรวจบุกค้นบ้านทนายตั้ม ยึดรถเพิ่มเมื่อแม่ค้าเจอลูกค้าเซ็นของแล้วไม่ค่อยจ่าย ทวงเงินยากขนาดนี้ จ่ายสด งดเชื่อ เบื่อทวง จบนะ 🤣จับด่วน! ทนายตั้มและภรรยาถูกจับกลางทางที่ฉะเชิงเทรา ก่อนถึงชายแดนสระแก้วชัยชนะของทรัมป์ ทำราคาทองตลาดโลกดิ่งลงเหวช่อง 3 ไปต่อไม่ไห วประกาศเลย์ออฟพนักงานเปิดเบื้องหลังจับ ทนายตั้ม-ภรรยา ออกจากบ้านแต่เช้า พบกระเป๋าเดินทาง เตรียมมุ่งหน้าชายแดนปราสาทจามปา โปกลองการาย (Po Klong Garai Temple)ณวัฒน์ โพสต์ถึง กามิน คำเดียวจบ ชาวเน็ตจำนวนมากแห่คอมเมนต์สนั่นอาหารเช้าแสนง่าย อิ่มทนสเปนพบยาเสwติดล็อตใหญ่ที่สุดในประวัติการณ์ดวงรายสัปดาห์ 11-17 พฤศจิกายน 2567 ดูดวงกับดาราชูวิทย์ หอบพวงมาลัยขอขมา สนธิ อภัยทุกเรื่อง
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"ลิซ่า" ทำถึงทำเกิน สร้างมูลค่าสื่อมหาศาลในงาน วิคตอเรียส์ ซีเคร็ท แฟชั่นโชว์!ณวัฒน์ โพสต์ถึง กามิน คำเดียวจบ ชาวเน็ตจำนวนมากแห่คอมเมนต์สนั่นเมื่อแม่ค้าเจอลูกค้าเซ็นของแล้วไม่ค่อยจ่าย ทวงเงินยากขนาดนี้ จ่ายสด งดเชื่อ เบื่อทวง จบนะ 🤣ตำรวจบุกค้นบ้านทนายตั้ม ยึดรถเพิ่มบัตรคนจน พ.ย. 67 เงินเหลือสะสมได้ไหม? ไขข้อข้องใจแบบชัด ๆคำอธิษฐานคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง วันลอยกระทง ศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 by อ.เทวินโท พรหมญาณ พยากรณ์
กระทู้อื่นๆในบอร์ด นิยาย เรื่องเล่า
“โกเบคลี เทเป” (Gobekli Tepe) วิหารแห่งแรกของโลกปราสาทจามปา โปกลองการาย (Po Klong Garai Temple)รีวิวHarry Potter!!🌲ประตูสู่โลกที่ไม่เคยมีใครรู้จัก✨ตอนที่ 4
ตั้งกระทู้ใหม่