ลูกต้างหลวง
ต้างหลวง สามารถ กินได้ทั้งยอด ทั้งดอก และลูก ส่วนมากทางกระเหรี่ยงจะนำลูกมาทำอาหารกิน ลูกสุกมามารถกินเป็นผลไม้ได้ ส่วนทางภาคเหนือนิยมนำดอกไปลวกจิ้ม ต้างหลวงเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แต่อาจสูงได้ถึง 20 เมตร ลำต้น กิ่ง ก้าน และเส้นใบมีหนามแหลมปกคลุม ใบเดี่ยวออกเวียนสลับหนาแน่นที่ปลายยอด รูปโล่ ขอบใบจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว ดอกออกเป็นช่อ ตามง่ามใบ ใกล้ปลายยอด รูปร่างกลมรี ติดกันเป็นกระจุกกลม กระจุกละ 30 - 50 ดอก ช่อหนึ่งมีหลายกระจุก สีเหลืองอมเขียว ผลมีเนื้อ รูปกรวยคว่ำ มีสามพู เมล็ดแบน ชอบขึ้นในป่าดิบ ที่ปลอดจากไฟป่า หรือตามหุบเขาที่มีความชุ่มชื้น
การใช้ประโยชน์ ดอกออกช่วงเดือน ธันวาคม - มกราคม ชาวบ้านใช้ดอกอ่อนลวกกินกับน้ำพริก เป็นส่วนประกอบของแกงแค หรือแกงใส่ปลาแห้ง ชาวอุทัยธานีใช้ลูกอ่อนแกงไส่หมู
สรรพคุณทางสมุนไพร ยอดอ่อน ดอกอ่อน ผลอ่อน เป็นยาช่วยให้เจริญอาหาร แก้โรคเบื่ออาหาร แก้ไข้ตัวร้อน กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย และใช้ประกอบอาหารต่าง ๆ ดอกมีรสขมเล็กน้อยเมื่อทำให้สุกจะมีรสหวาน นำมาจิ้มน้ำพริก ปลาร้าหลน แจ่วบอง ได้ทั้งนั้น
แหล่งที่พบ สามารถพบได้ทั่วไปในป่ารอบชุมชน ริมห้วย สวนเมี่ยง บางบ้านนำเอากล้าจากป่า มาปลูกไว้ตามริมรั้วหรือตามพื้นที่ ว่างๆ หรือพื้นที่เกษตร เพราะพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือแยกหน่อ