หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เมล็ดเจีย หรือ เมล็ดเชีย

โพสท์โดย Chok A Nan

 

เมล็ดเจียหรือเมล็ดเชีย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Salvia Hispanica L.” ต้นที่มีการเจริญเติบโตเต็มที่มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร

 

 

เมล็ดเจียมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับเมล็ดแมงลัก แต่จะมีลักษณะเรียวกว่า สีอ่อนกว่าและมีลวดลายเล็กน้อย ในขณะที่เมล็ดแมงลักจะมีสีดำเข้มและมองไม่เห็นลวดลาย 

 

 

แต่เมื่อแช่น้ำแล้วมีลักษณะพองน้ำเช่นเดียวกับเมล็ดแมงลัก แต่เมล็ดเชียเมื่อพองตัวจะมีลักษณะใส ส่วนเมล็ดแมงลักเมื่อพองตัวจะมีสีขุ่น เมื่อเมล็ดเชียพองตัวจะมีขนาดเป็น 10-12 เท่าจากเดิมเลยทีเดียว

 

 

เมล็ดเจียหลักๆแล้วแบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่ เมล็ดเจียสีดำ (White chia seeds) และเมล็ดเจียสีขาว (Black chia seeds) เมล็ดเชียทั้งสองชนิดมีสารอาหารที่คล้ายคลึงกัน

 

 

ยกเว้นปริมาณสารแอนตี้ออกซิแดนท์หรือสารต้านอนุมูลอิสระในเมล็ดเจียสีดำจะมีปริมาณสูงกว่าชนิดสีขาว อย่างไรก็ตามการรับประทานร่วมกันทั้ง 2 ชนิดจะให้คุณค่าสารอาหารที่สมบูรณ์ที่สุด

 

 

เมล็ดเจีย (Chia Seeds) เป็นเมล็ดที่มีสี หลากหลาย เช่น สีขาว สีดำ บางครั้งมีลายเป็นจุดสีน้ำตาล สีน้ำตาลเข้ม สีครีม ดำ และขาว 

 

 

สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแปรรูป และด้วยรสชาติอ่อน ๆ คล้ายถั่ว เข้ากับอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ได้ง่าย จึงนิยมนำมาโรยบนเมนูต่าง ๆ อย่าง เช่น ซีเรียล สลัดผัก เมนูข้าว เมนูขนมปังอบทั้งหลาย หรือจะผสมกับโยเกิร์ตและเมนูเครื่องดื่มก็ได้

 

 

เมล็ดเจียอุดมด้วยสารอาหารสำคัญอย่างกรดไขมันโอเมก้า 3 คาร์โบไฮเดรต โปรตีน เส้นใยอาหาร แคลเซียม และสารต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุอีกมากมาย

 

 

หากเปรียบเทียบสารอาหารในเมล็ดเจียเพียงประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ จะประกอบด้วยพลังงานประมาณ 139 แคลอรี่ โปรตีน 4 กรัม ไขมัน 9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12 กรัม เส้นใยอาหาร 11 กรัม 

 

 

ปัจจุบันคุณประโยชน์ของเมล็ดเจียที่พอจะมีงานวิจัยกล่าวถึง 

 

 

ช่วยลดน้ำหนัก คุณประโยชน์ยอดนิยมข้อนี้ถูกกล่าวถึงกันอย่างแพร่หลาย เพราะด้วยคุณสมบัติพองตัวออกเมื่อถูกแช่ในน้ำ ทำให้เชื่อว่าเมล็ดเจียที่รับประทานเข้าไปนั้นจะขยายตัวภายในท้อง จนรู้สึกอิ่มและรับประทานได้น้อยลง 

 

 

ส่งผลให้น้ำหนักลดลงในที่สุด อีกทั้งมีเส้นใยอาหารและกรดอัลฟาลีโนเลนิก (Alpha-linolenic) ที่คาดว่าอาจมีส่วนช่วยลดน้ำหนัก ไขมัน และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจากภาวะอ้วน

 

 

งานวิจัยหนึ่ง พบว่าการรับประทานเมล็ดเจียวันละ 35 กรัม นาน 12 สัปดาห์ ช่วยให้หญิงและชายจำนวนหนึ่งลดน้ำหนักและขนาดรอบเอวลงได้ โดยมีระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมลดลง มีไขมันชนิดดีเพิ่มขึ้น

 

 

แต่ก็เฉพาะในกลุ่มที่รับประทานเมล็ดเจียบดและมีค่าเริ่มต้นผิดปกติ ส่วนระดับน้ำตาลในเลือด ไขมันไตรกลีเซอไรด์ และไขมันชนิดไม่ดีนั้นไม่พบการเปลี่ยนแปลง

 

 

อย่างไรก็ตาม ด้วยผลลัพธ์ที่ยังไม่สอดคล้องกันนี้จึงทำให้คุณสมบัติในการลดน้ำหนักของเมล็ดเจียมีความคลุมเครือและยังไม่อาจบอกได้ชัดเจนว่าจะได้ผล อีกทั้งยังขาดการศึกษายืนยันว่าควรจะรับประทานอย่างไร ในปริมาณมากน้อยเท่าใดจึงจะดีที่สุด

 

 

ดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากมีการเชื่อมโยงคุณประโยชน์ของธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีต่อการลดโอกาสเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ ซึ่งก็อาจเป็นผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน 

 

 

จึงมีการศึกษาในด้านนี้ขึ้นมาพิสูจน์ โดยให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเป็นอย่างดี แบ่งกลุ่มรับประทานเมล็ดเจียชนิดซัลบาหรือรำข้าวสาลีประมาณ 37 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์

 

 

เมื่อเทียบกันแล้วพบว่าการรับประทานเมล็ดเจียสามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว หรือความดันโลหิตตัวบน ลดระดับโปรตีนที่ตอบสนองต่อการอักเสบภายในร่างกาย

 

 

ซึ่งเชื่อว่าอาจส่งผลต่อโรคหัวใจบางชนิด รวมถึงลดปัจจัยการเกิดความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด ภาวะที่สามารถทำให้เกิดลิ่มเลือดอันเป็นสาเหตุของกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือโรคหลอดเลือดสมอง

 

 

งานวิจัยนี้พบว่าเมล็ดเจียช่วยลดปัจจัยความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากอาจจะมีประสิทธิภาพควบคุมระดับไขมัน และคงระดับไขมันดีไว้ แต่การศึกษาที่ยกมานี้ก็ยังเป็นงานวิจัยเพียงขนาดเล็กที่ใช้ผู้ทดลองเพียง 20 คนเท่านั้น และการศึกษาเกี่ยวกับข้อดีของเมล็ดเจียด้านนี้ในปัจจุบันยังถือว่ามีอยู่น้อยมาก

 

 

การใช้ประโยชน์จากเมล็ดเจียอย่างปลอดภัย

 

 

เมล็ดเจียค่อนข้างมีความปลอดภัยต่อร่างกาย หากรับประทานเป็นเวลาไม่เกิน 12 สัปดาห์ หรือเมื่อใช้น้ำมันเมล็ดเจียทาลงบนผิวหนังติดต่อกันไม่นานกว่า 8 สัปดาห์ ส่วนการใช้ในระยะที่ยาวกว่านี้ยังไม่มีข้อมูลที่สามารถบอกได้ว่าจะเป็นอันตรายหรือไม่ นอกจากนี้ผู้ที่อยู่ในภาวะต่อไปนี้ยังควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

 

 

ทั้งนี้ ปริมาณการรับประทานเมล็ดเจียที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น อายุ สุขภาพโดยรวม หรือโรคประจำตัวของผู้ที่รับประทาน ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดเจียใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรให้แน่ใจ และอ่านคำแนะนำบนฉลากอย่างถ้วนถี่เสมอ

 

 

คำแนะนำสำหรับผู้ที่ไม่ควรทานเมล็ดเจีย

 

1 ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ หรือระบบย่อยอาหาร

 

2 ผู้ที่ต้องเข้ารับการศัลยกรรม ผ่าตัด หรือ มีประวัติการใช้ยาแอสไพริน หรือผู้ที่มีปัญหาภาวะเลือดแข็งตัวช้า

 

3 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต่ำ

 

 

4 หญิงตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร

 

5 ผู้ที่มีตวามเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งต่องลูกหมาก

 

6 ผู้ที่แพ้ถั่วและธัญพืช

 

 

                                LOMA 🐬🐬

                           

โพสท์โดย: Chok A Nan

อ้างอิงจาก: พนิดา ใหญ่ธรรมสาร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล



 Reddy S. The Price We Pay for Sitting Too Much. Wall Street Journal, Sep. 28, 2015.



บุค

คล 5 ประเภทที่ไม่ควรทานเมล็ดเจีย รู้ไว้ก่อนเกิดผลร้ายต่อสุขภาพ 





 

 
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Chok A Nan's profile


โพสท์โดย: Chok A Nan
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ปูตินกำลังจะทำให้รัสเซียล่มสลายแบบโซเวียต?วันนี้มะกันกับอังกฤษจับมือถล่มกลุ่มกบฎฮูติ!!แห่ส่งกำลังใจให้ปุ้ย พิมลวรรณ ป่วยไวรัสงูสวัด ลิ้นแข็งพูดไม่ได้-อาการเหมือนถูกไฟช็อตซีเรียประณามหลังอิสราเอลโจมตีชายแดนเลบานอนตุงๆ! ลูกเรือสุดฮอตสายการบินอินโดนีเซีย! (คลิป)ใจสลาย!ช้างไหลไปกับสายน้ำ!ภาพที่ชัดที่สุดของดวงจันทร์ชีวิตก่อนมีหูฟัง สัมผัสกระแสโบมบอกซ์ในนิวยอร์กซิตี้ยุค 805 วิธี ปลอบใจตัวเองเมื่อรู้สึกเศร้าหลุยส์ นักท่องเที่ยวต่างชาติ ร้องไห้ก่อนออกจากไทย พร้อมประกาศกลับมาอีกแน่ ฟีดแบคเพียบจากชาวต่างชาติสะพานที่น่าทึ่งใกล้เมืองฮัลสเตอเรน ประเทศเนเธอร์แลนด์Stages of Grief 5 ระยะ ก้าวผ่านความเศร้าอย่างเข้าใจ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ปูตินกำลังจะทำให้รัสเซียล่มสลายแบบโซเวียต?การกินเจกับหอยนางรม : คำถามที่หลายคนสงสัย...unless: เว้นแต่ เว้นเสียแต่ว่าแห่ส่งกำลังใจให้ปุ้ย พิมลวรรณ ป่วยไวรัสงูสวัด ลิ้นแข็งพูดไม่ได้-อาการเหมือนถูกไฟช็อตบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ช่วยช้าง!สมทบอาหารได้ที่ตลาดไท!หนุ่ม กรรชัย ลั่นไม่เข้าข้างหมอดู ไม่เอ่ยชื่อ เพราะกลัวโดนฟ้อง
กระทู้อื่นๆในบอร์ด อาหาร
มะนาวนิ้ว หรือ Australian finger lime ซึ่งรู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า มะนาวคาเวียร์ (caviar lime)อาหาร 6 อย่างที่ไม่มีรสเค็ม แต่มีโซเดียมสูงมากไข่หงส์: ขนมไทยโบราณจากความเชื่อและวัฒนธรรมสูตรมะนาวดอง "แบบง่าย"
ตั้งกระทู้ใหม่