ผักซ่าเลือด : ผักป่าที่มีกลิ่นคล้ายแมงแคง ที่มีสรรพุณ
ผักซ่าเลือด ผักที่มีกลิ่นคล้ายแมงแคง เวลาเก็บให้ระวังหนาม ที่มาของคำว่าซ่าอาจจะมาจากการมีหนามทั่วลำต้นก็อาจเป็นได้เวลาเก็บถ้าไม่ระวังจะโดนหนามข่วนจนเลือดออกซิบๆไปทั้งแขนหรือทั้งตัวก็อาจเป็นได้ เก็บตอนใบยอดอ่อนยังม้วนอยู่ เมื่อใบออกมาแผ่แล้วจะไม่นิยมเก็บ ผักชนิดนี้เมื่อกระทบแสงแดด แล้วยอดจะเป็นสีแดง ที่นิยมกินกันคือ ผักซ่าเลือดยอดแดง ก้านแดงอ่อน ๆ สามารถนำมาจิ้มกับแจ่วบอง ปลาร้าหลน หรือกินกับแกงหน่อไม้ ส่วนภาคอิสานเรียกผักชนิดนี้ว่า ผักกาดหญ้า สามารถนำมากินกับซุบหน่อไม้ได้
สรรพคุณของผักซ่าเลือด : ผักปู่ ย่า
รสของยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน มีรสเปรี้ยวฝาดและเผ็ด มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงเลือด แก้ลม จุก เสียด แน่นเฟ้อ ขับผายลม แก้อาการวิงเวียนศีรษะ บำรุงกระดูกและฟัน ขับเสมหะ บำรุงระบบขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อน ๆ รสฝาดช่วยสมานแผลในกระเพาะ และลำไส้ แก้ท้องร่วง เป็นยาบำรุงธาตุ ภายในร่างกาย เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย
ผักชนิดนี้ชื่อเดิม ๆ คือผักปู่ย่า เป็นผักที่มีมานานแล้วเชื่อว่าคนสมัย ปู่ ย่า ตา ยาย เคยกินกันมาช้านานแล้วเพราะเป็นผักป่า จะพบเห็นได้ตามป่าเขตร้อนทั่วไป พบแถบอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ โดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย ลาว เขมร เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เอาเฉพาะในประเทศไทย ภาคเหนือ ภาคอิสาน ภาคกลาง และภาคใต้ รู้จักกันหมด เพียงแต่เรียกไม่เหมือนกัน แต่นิยมกินเหมือนกัน วิธีการกินอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง เพราะแต่ละพื้นที่วัฒนธรรม การกินที่ต่างภาคพื้นกัน แต่รู้กันว่า มีรสชาดอร่อยและคุณค่ามากมายนั่นเอง และผักปู่ ย่า จึงนับได้ว่าเป็นนางพยาผัก ที่ปู่ย่าตาทวด ฝากไว้ให้ เราใช้ประโยชน์และอนุรักษ์และรำลึกถึงพวกท่านตลอดไป
ลักษณะลำต้ผักซ่าเลือด : ผักปู่ ย่า เป็นไม้เลื้อยลำต้นตรง หรือพันกับไม้อื่นสูงกว่า 1 เมตร ลำต้นเป็นหนามแหลมจำนวนมากทั้งลำต้น (คล้ายผักชะอม ) และใบยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบเป็นประกอบแบบขนนก ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ก้านใบยาว 20 - 30 เซนติเมตร และแตกออกไปอีก 10 - 20 เซนติเมตร ก้านใบสีแดงมีหนามแหลมตามกิ่งก้านที่ไป ใบลักษณะกลมมนมีขนาดกว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร