สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เตรียมใช้เทคโนโลยีทำฝนเทียม
สื่อนอกรายงานว่า "อุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น ได้เพิ่มความตึงเครียดให้กับภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งอ่อนไหวอย่างมากต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ทางสภาพภูมิอากาศ โดยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีไม่ถึง 200 มิลลิเมตร ตรงกันข้ามกับลอนดอนซึ่งมีค่าเฉลี่ย 1,051 มิลลิเมตร และ สิงคโปร์ที่ 3,012 มิลลิเมตร โดยอุณหภูมิในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อาจสูงถึง 50 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูร้อนนี้ เนื่องจาก 80% ของภูมิประเทศถูกปกคลุมไปด้วยทะเลทราย ซึ่งความร้อนจัดยิ่งทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำรุนแรงขึ้น ตลอดจนส่งผลกระทบต่อผลผลิต ทางการเกษตรในประเทศด้วย"
องค์การสหประชาชาติ คาดการณ์ว่า "ภายในปี 2025 ประชากร 1.8 พันล้านคนทั่วโลก จะเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง โดยตะวันออกกลางเป็นหนึ่งในภูมิภาค ที่เผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำรุนแรงที่สุด" และ "คาดว่าประชากรประมาณ 83% ในภูมิภาคนี้มีแนวโน้มประสบภาวะ ความเครียดน้ำในระดับสูง เนื่องจากปัญหาขาดแคลนน้ำ เป็นความท้าทายสำคัญของตะวันออกกลาง หลายประเทศจึงดำเนินโครงการ เพื่อมุ่งแก้ปัญหาดังกล่าว โดยในช่วงทศวรรษ 1990 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้เริ่มทำฝนเทียม เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลน น้ำในพื้นที่แห้งแล้งทั่วประเทศ...
ต่อมาในช่วงต้นทศวรรษ 2000 รองประธานาธิบดี "ชีค มานซูร์ บิน ซายิด อัล นะห์ยาน" ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้จัดสรรงบประมาณ 20 ล้านดอลลาร์ เพื่อศึกษาวิจัยการทำฝนเทียม โดยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ผนึกกำลัง กับศูนย์วิจัยบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา และ นาซา เพื่อกำหนดระเบียบวิธีในการทำฝนเทียม และ รัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ยังได้จัดตั้งศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ ในกรุงอาบูดาบี ซึ่งมีการทำฝนเทียมมากกว่า 1,000 ชั่วโมงต่อปี เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำฝนภายในประเทศ...















