เปรี้ยวก็ลอยแก้วสิ...มะยงชิด
บรรณาการบ้านฉันยามขึ้นกกตกทุกข์ยาก ได้รับมะยงชิดลูกโตแต่เล็กกว่าไข่เป็ดไล่ทุ่ง ลองปอกเปลือกชิมเนื้อแล้วไม่หวานอย่างที่คิด หวานอมเปรี้ยว แต่ไม่เปรี้ยวเท่า"
กาวาง"
ผลไม้ตามฤดูกาลนี้ สายพันธุ์เดียวกับ มะปราง ซึ่งมีรสหวานกว่ามะยงชิด แน่ละ ถ้า"กาวาง"บอกได้เลยว่าเปรี้ยวเต็มพิกัด แม้แต่อีกายังวางทิ้งนิ่งเฉย
เปรี้ยวมากก็มีวิตามิน
ซีมากช่วยแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน
ปัจจุบันแหล่งเพาะปลูกมีอยู่มากที่จังหวัดนครนายก
เมื่อไม่โปรดรสเปรี้ยวจึงต้อง"ยังประดิษฐ์คิดทำ"ที่มิใช่ท่ารำนาฏศิลป์ไทย แต่เป็น"ลอยแก้ว"เพื่อแปรรูปอาหาร หรือถนอมอาหารไว้กินนานๆ
การทำลอยแก้ว คือภูมิปัญญาไทยในการทำอาหารหน้าร้อน กินแล้วชื่นใจโดยการปรุงน้ำเชื่อม ตัดรสด้วยเกลือ แล้วนำผลไม้รสเปรี้ยวมาลอยแช่ แค่นี้ก็สร้างความปลายปลื้มใจทั้งผู้ทำและผู้กิน
ตรงความหมายของคำว่
า"ลอยแก้ว"โดยแท้
ขึ้นต้นด้วย"มะยงชิด "มาปิดจบด้วย"ลอยแก้ว"ได้อย่างไร