อย่ามาบูลลี่กันว่าฉันเป็น"พะโล้"และ ไข่ดำ
คำว่าพะโล้ คือคำที่ผู้หญิงมักจะทนไม่ได้ เป็นคำที่สร้างความเจ็บปวดให้อิตถีเพศ เพราะมันสื่อความหมายถึง ความเป็นคนเจ้าเนื้อ อ้วนตุ๊ต้ะ กิมะระจิ้มอะไร ที่เด็กยุคเก่าเขาร้องล้อ ร้องเล่นกัน
นอกจากนี้ ถ้าเอ่ยถึงขาหมูพะโล้แล้ว พาลนึกถึง ความจ้ำม่ำ ตุ้ยนุ้ย หรือ"หมูพะโล้" คนฟังแล้วอยากร้องไห้แม้ว่าความจริงก็"พะโล้" อย่างที่เขาว่า
ในความเป็นจริงพะโล้ คือการปรุงอาหารแบบจีนที่มีอยู่ทั่วในประเทศจีน และแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยดพะโล้ในภาษาจีนแต้จิ๋ว หมายถึงขั้นตอนหนึ่งในการทำเนื้อพะโล้ โดยการเคี่ยวน้ำตาลทรายแดง เติมใส่เกลือ ซีอิ๊ว เนื้อสัตว์หรือเครื่องปรุงอื่น ให้มีสีสวยแล้วใส่เครื่องเทศ เติมน้ำ แล้วเคี่ยวต่อจนสุก
ถ้าทำอย่างตามใจไทยแท้ จะใช้ลูกโป๊ยกั้ก อบเชย และเครื่องเทศอื่น ๆ ตำคลุกหมักกับเนื้อสัตว์ เช่นเป็ด -ห่าน-หมู-ขาหมูเป็นต้น และเคี่ยวจนน้ำแห้ง ถ้าทำอย่างไทยใช้น้ำตาลปีบเคี่ยวกับซีอิ๊วและน้ำปลา ให้มีรสหวานเค็ม และไม่ใส่เครื่องเทศ ผงพะโล้ เช่น การทำไข่พะโล้ หมูพะโล้
ไข่พะโล้ที่ร่ำลือกันว่าอร่อยนัก ไข่ต้องดำวิธีทำ โดยต้มไข่ให้สุก ปอกไข่ ต้มน้ำใส่สามเกลอ รากผักชี-กระเทียม-พริกไทย ผงพะโล้ ซีอิ้วดำ น้ำตาล
ปี๊บ ซอสปรุงรส ชิมให้ออกรสหวานนำ เค็มตาม เคี่ยวกับไข่จนน้ำพะโล้ซึมเข้าเนื้อไข่ บางรายกรีดบั้งที่ไข่ให้เป็นริ้วถี่ๆ เพื่อให้ซึมง่ายขึ้น เคล็ดไม่ลับคือต้องต้มเมนูนี้ทิ้งไว้ข้ามคืน จะมีรสชาดและสีสันสวยงามน่ารับประทานและอร่อยมากขึ้น
บางคนใช้หมูสามชั้น เป็นเนื้อสัตว์ หรูหรามากขึ้นก็ใช้ขาหมูที่ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุมบอกว่า เป็นขาหมาน้อยธรรมดามาตั้งแต่พ.ศ.สองพันห้าร้อยสี่
อยากทำให้ทำตาม กรรมวิธีนี้
-ล้างขาหมูให้สะอาด ใส่หม้อ เติมน้ำให้ท่วมขาหมู ตั้งไฟปานกลาง
-ใส่รากผักชี กระเทียม พริกไทย เครื่องพะโล้
- ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวสูตร น้ำตาลปี๊บ ซีอิ๊วดำหวาน เคี่ยวจนขาหมูเปื่อย และน้ำงวด ชิมรสตามชอบและใจต้องการ
ไข่ก็ดำแล้ว ขาหมูก็เปิ่อยแล้วจะรออะไร ใครจะเรียกว่าพะโล้ก็จะไม่ฟัง
ขอบคุณภาพ:ธนภัทร เล็กผลา
อ้างอิงจาก:วิกิพีเดีย Google