ใบเปราะ
เปราะหอม อีกหนึ่งความอร่อยต้นฤดูฝน
เปราะหอมมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลายชื่อ อย่างเช่น แว่นอูด ว่านอูด ตูบหมูบ ว่านตีนดิน ว่านนกยูง หัวเปราะที่อยู่ใต้ดินก็เป็นทั้งพืชสมุนไพรและพืชอาหาร มี
สรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ หัวเปราะแห้งนั้นถ้าฝานเป็นแว่น ตากแห้ง จะเก็บได้นาน ใช้ในพริกแกงที่ต้องการกลิ่นหอมซ่าลึกๆ โดยใส่ตำรวมไปในครกเพียงเล็กน้อย
เปราะจะไปคุมให้กลิ่นพริกแกงครกนั้นเนียน ไม่กระโดดไปทางใดทางหนึ่งเกินไป คล้ายๆ เวลาที่คนทำครัวบางคนใส่หัวกระชาย หัวไพล หรือขิงแห้งแบบสกุลพริกแกงภาคตะวันออก แถบเมืองจันทบุรี ระยอง
ใบเปราะหอมมีสีเขียวอ่อน ส่วนอีกชนิดที่ใบสีออกม่วงๆ มีลายด่างๆ คือเปราะลาย ทั้งสองชนิดแตกใบลักษณะแบนกว้างตามพื้นผิวดิน ตรงจุดที่หัวเปราะฝังตัวอยู่
ช่วงต้นหน้าฝน ที่มีพื้นที่ป่าและต้นไม้ใหญ่มากที่สุดนั้น เต็มไปด้วยต้นอ่อนของเปราะ (Sand ginger) ที่งอกจากหัวใต้ดิน ทั้งเปราะหอม ใบสีเขียว และเปราะแดง หรือเปราะลาย ที่ใบมีสีม่วงสลับ
ธรรมชาติของใบเปราะอ่อนนั้นมีความกรอบ ฉ่ำน้ำ กลิ่นรสหอมซ่าอ่อนๆ กินสดเป็นผักจิ้มป่นก็อร่อยแล้ว หรือลวกในหางกะทิพอสุก แล้วราดหัวกะทิข้นๆ ก็กินกับน้ำพริกกะปิเปรี้ยวๆ เผ็ดๆ ได้ดี
ถ้าจะผัด ก็แค่ซอยตามขวางใบให้หนาบางตามชอบ สูตรชาวบ้านที่มักทำกินกันจนเป็นที่กล่าวขวัญ ก็เช่น ใบเปราะผัดกบ
ใบเปราะอ่อนๆ นี้มีให้กินปีละครั้ง
พออากาศเริ่มแห้ง ต้นจะเหี่ยวตายไป เหลือไว้แต่หัวใต้ดิน ซึ่งก็ใช้เป็นตัวเพิ่มกลิ่นหอมให้พริกแกงเผ็ดในบางสูตร ใช้ได้ทั้งหัวสดและหัวแห้ง
ประโยชน์ของเปราะ
เปราะสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเทศและ
เป็นเครื่องยาสมุนไพร
ใบอ่อนสดที่ม้วนอยู่ใช้รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกได้หรือนำมาใช้ทำเป็นผักเครื่องเคียงกับขนมจีนหรือข้าวยำ ให้รสชาติร้อนซ่าเล็กน้อย หรือทำเป็นเมนูอื่น ๆ ได้อีก เช่น ผัดเผ็ดหมูกุ้งกับ
LOMA 🐬🐬