ราชาวดีดอกสีขาว สีม่วง หอมดอกสามัญ บุปผา สู่..ราชามาลี
ราชาวดีดอกสีขาว สีม่วง หอมดอกสามัญบุปผา สู่..ราชามาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Buddleja davidii French.
วงศ์ BUDDLEJACEAE
ชื่อสามัญ Lilac with Orange Eye, Summer Liac
ถิ่นกำเนิด จีน
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้พุ่ม สูง ๓-๕ เมตร
ชื่อวิทยาศาสตร์ Buddleja paniculata Wall.
ชื่อวงศ์ BUDDLEJACEAE
ชื่อสามัญ Butterfly Bush ; Byttneria ; Summer lilac.
ชื่ออื่นๆ หางกระรอกเขมร ไคร้หางหมา หัวเถื่อน ดอกฟู ปวกน้ำ เกี๊ยงพาไหล ดอกด้ายน้ำ ด้ายหางหมา
ดิฉันไม่เคยไปเมืองเขมร และไม่เคยเลี้ยงกระรอก แต่ทำไมชื่อดิฉันจึงถูกใช้เรียกพวงดอก ที่เป็นช่อขาวชูสะบัดเหมือนหางอะไรโบกอยู่ ลงความเห็นกันว่า เหมือนหางกระรอก
แต่ทำไมเป็นกระรอกเขมรก็ไม่รู้ แล้วยิ่งน่าเจ็บใจอีกที่เรียกอีกชื่อ ว่า “ไคร้หางหมา” หรือว่าช่อดอกนี้ “คล้ายหางหมา” จริงๆ จึงถูกย้ำชื่อว่า “ด้ายหางหมาฟอน” ดิฉันจึงกลับไปชอบที่คนต่างแดนเขาเรียกว่า “Butterfly Bush” ที่มีความหมายว่า “ไม้พุ่มผีเสื้อ” แล้วยังมีคำอธิบายอีกว่า “The butterfly bush is a beautiful, fast-growing, deciduous Shrub with masses of blossoms-long, spiked trusses-that bloom from summer to autumn. It’s flower come in many colors. the butterfly bush is known to crowd out native plant, It can become a noxious weed and spread aggressively.”
แหม..! ก็ฟังดูดี แต่ที่ว่าอาจจะเป็นพิษ และแผ่คลุมอุกอาจ ดูซิ…ไม่รู้ว่า “ชมหรือด่า” และก็น้อยใจที่ไม่ได้พูดถึงดิฉันว่า “ดอกหอมมากๆ” เลย
ถ้าไม่พูดถึงชื่อทางการที่เกี่ยวข้องกับ “ราชา” แล้ว ดิฉันก็เป็น “บุปผาสามัญประจำบ้าน” นี่แหละ แต่พอใช้ชื่อจริงว่า “ราชาวดี” จึงกลายเป็นของที่มี หรือใช้สำหรับพระราชา เพราะเหตุว่า
เครื่องใช้ของพระราชา ถือเป็นของสูง ไม่ใช่คนสามัญทั่วไป จะต้องมีการ “ลงยา”
โดยเฉพาะเครื่องใช้ที่เป็นเงิน หรือทอง ให้เป็นสีฟ้า เรียกว่า “ลงยาราชาวดี” ดิฉันจึงไม่น่าเป็นสามัญบุปผาที่จะมาเรียกว่า “หางหมา หรือ หางกระรอก” นะจ๊ะ แต่เอาเถอะ จะเรียกอะไรก็ช่างเถอะ แม้ของจริงจะเป็น “สามัญบุปผา” แต่คนธรรมดาอย่างเราก็มีสิทธิ์ชื่นชมกับคุณลักษณะพิเศษที่เป็น “ไม้ดอกหอม” เพราะเคยได้ยินบทกลอนคนเขียนถึงว่า
ใบหยักหยาบ ดอกหอมแรง ขัดแย้งชื่อ ดอกขาวคือ อุปสรรค สำลักฝัน
ต้องห่างวัง ราชา สู่สามัญ แต่ชื่อนั้น ยังเรียกว่า ราชาวดี
ดังนั้น ตามคำศัพท์ความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่ให้ความหมายเป็นเครื่องราชูปโภคสำหรับพระมหากษัตริย์ ก็ถือว่าเป็นเกียรติยศสูงสุดแก่วงศ์สกุลที่สุดชีวิตแล้ว
บันทึกไว้ในวิชาการพฤกษศาสตร์ว่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง กิ่งอ่อน มีขนปกคลุม มีใบเป็นพุ่ม โปร่ง ลำต้นกิ่งก้านลู่ลมได้ง่าย เป็นพืชใบเดี่ยวออกเป็นคู่เรียงสลับใบมนสอบปลาย เส้นใบนูน ใบหยัก หยาบ ขอบใบจักเป็นซี่เล็กๆ ผิวใบระคายมือ ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบปลายกิ่ง ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร แต่ละช่อประกอบด้วยกิ่งย่อยสีขาวขนาดเล็ก ปลายกลีบบานคล้ายปากแตร ทยอยบานในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยบานจากโคนกิ่งไล่ขึ้นไป
ดอกอ่อนเกิดขึ้นใหม่ยาวไปเรื่อยๆ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ช่วงกลางวัน และหอมแรงกลางคืน ผล เมื่อแก่มีเมล็ดแต่ไม่นิยมนำไปเพาะปลูก จึงใช้ฮอร์โมนทาเพื่อตอนกิ่งและปักชำ ชอบแสงแดดตลอดวัน ทนแล้ง ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน เป็นไม้ไม่มีทรงพุ่มแน่นอน จึงต้องคอยตัดแต่งทุกครั้งหลังออกดอกเพื่อจัดทรงพุ่มใหม่
จากฐานข้อมูลพันธุ์ไม้พื้นบ้านองค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้กล่าวถึง “ราชาวดีป่า” (Buddleja asiatica) ด้วย แต่ส่วนใหญ่ที่พบเห็นทั่วไป ก็เป็นราชาวดีดอกสีขาว โดยทั่วๆ ไปแล้ว มีราชาวดีดอกสีม่วง (Buddleja davidii) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ลักษณะส่วนใหญ่จะคล้ายๆ กัน และมีสรรพคุณสมุนไพรมาก โดยลำต้นและราก ใช้ผสมสมุนไพรอื่นต้มดื่มแก้ไข้ ให้สตรีอาบหลังคลอด หรือทุบแตกผสมปูนขาว-ปูนแดง ฆ่าหนอน ใบและกิ่ง ต้มน้ำอาบแก้ตัวบวม ลำต้น ต้มน้ำดื่ม ชาวม้งใช้เป็นยาคุมกำเนิด ชาวเขาเผ่าลั๊วะ เผ่าเย้า-เมี่ยน ใช้บูชาไปวัดไหว้ผีเทศกาลตรุษจีน
มีข้อมูลสันนิษฐานว่า ดิฉันกำเนิดจากเมืองจีน แต่นักพฤกษศาสตร์ กลับแย้งว่าน่าจะมาจากอินเดีย เพราะมีลักษณะคล้ายกันซึ่งเข้ามาเมืองไทย เมื่อ 40 กว่าปีมาแล้ว และดิฉันเองก็สืบมาว่าชนิดดอกขาวเข้ามาเมืองไทยหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482-2488) แต่ก็ไม่อยากจะเถียงใครๆ เพราะดิฉันภูมิใจและมีความสุข ที่มีชื่อว่าได้อยู่
ราชาวดีสีม่วง
เมืองไทยมาแล้วถึง “สามแผ่นดิน” ตั้งแต่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8
ส่วนพวกพ้องญาติพี่น้องก็เจริญเติบโตได้ทั่วไปทั่วทุกภาค แม้จะถูกกระแนะกระแหนว่า เจริญเติบโตเหมือนวัชพืช แต่ก็เป็นวัชพืชสมุนไพรดอกหอมนะค่ะ รวมทั้งสีสันดอกก็มีทั้งดอกสีขาว สีม่วงอ่อน สีชมพูอมม่วง และดิฉันก็ไม่ใช่ “Host plant” for Butterfly
เรื่องกลิ่นเป็นเรื่องของรสนิยม บางคนบอกว่า ดิฉันหอมสุดสวาทขาดใจ แต่บางคนบอกว่า “หอมฉุน” ไม่อยากทนกลิ่น เพียงโชยลมผ่านโดยไม่ต้องเดินไปดม เพราะหอมได้ไกลไม่บันยะบันยัง แล้วยังมีคนเอาไปทำน้ำมันหอมระเหยใช้เป็นกลิ่นบำบัด (aroma therapy)
ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง ๓-๔.๕ เซนติเมตร ปลายแหลม โคนแหลม หรือมน ขอบจัก ด้านบนสีเขียว
ด้านล่างมีขนสีเงิน ก้านสั้น ดอก สีม่วงสด มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ยาว ๑๕-๑๘ เซนติเมตร
ดอก มีขนาดใหญ่กว่าดอกราชาวดีสีขาว ๑-๑.๕ เท่า กลีบดอกเป็นหลอดเล็กๆ ปากหลอดมีสีเหลืองส้ม ปลายแยกเป็น ๔ กลีบ เกสร ตัวผู้ ๔ อัน
ผล เมื่อแก่แตกได้
ขยายพันธุ์ เมล็ด ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง
ความงามและความหอมที่แสนเย้ายวน : ราชาวดี