หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

นางนพมาศ สมัยก่อน

โพสท์โดย ลูกสาวอบต

นางนพมาศ หรือ เรวดีนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์[1] เป็นสตรีที่ปรากฏอยู่ใน "เรื่องนางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์" ที่อ้างอิงว่าถูกรจนาขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีเนื้อความว่านางนพมาศบอกเล่าถึงความเป็นไปภายในรัฐสุโขทัยว่ามีความเจริญรุ่งเรืองสมบูรณ์พูนสุขนานัปการ ในรัฐมีคนต่างชาติต่างภาษาและศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกัน และเรื่องที่เด่นที่สุดคือการที่นางประดิษฐ์กระทงขึ้นมา จนนางนพมาศได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเพณีลอยกระทง[2] กล่าวกันว่านางนพมาศมีรูปโฉมงดงาม ในยุคหลังเมื่อคราเทศกาลลอยกระทงก็มีการประกวดประขันนางนพมาศสืบมา[3]

อย่างไรก็ตามได้มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการมีตัวตนจริงของนางนพมาศ มีนักประวัติศาสตร์หลายท่าน อาทิ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, นิธิ เอียวศรีวงศ์ และสุจิตต์ วงษ์เทศ เห็นว่าเรื่องนางนพมาศนั้นเป็นเพียงเรื่องที่แต่งขึ้นช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์เท่านั้นเอ

ใน เรื่องนางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ระบุว่า นางนพมาศเป็นธิดาของพราหมณ์ในราชสำนักสมัยกรุงสุโขทัย รับราชการเป็นพระปุโรหิตตำแหน่งพระศรีมโหสถ ยศกมเลศครรไลหงส์ พงศ์มหาพฤฒาจารย์ กับมารดาชื่อนางเรวดี นางนพมาศจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า เรวดีนพมาศตามนามมารดา ต่อมาบิดามารดาของนางได้ถวายตัวนางแก่พระร่วงเจ้า (บางแห่งว่าคือพญารามราช[1] บ้างว่าเป็น พญาเลอไท) และเลื่อนเป็นพระสนมเอกในตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์[1] เนื่องด้วยคิดค้นประดิษฐ์กระทงรูปดอกบัวในพระราชพิธีจองเปรียงเป็นที่ถูกพระราชหทัยพระร่วงเจ้า[6]

 

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

 
ข้อสงสัยกับการมีตัวตนจริงของนางนพมาศ

แรกเริ่มได้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับการมีตัวตนของนางนพมาศ ปรากฏครั้งแรกในพระดำรัสของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า "หนังสือเรื่องนางนพมาศ ซึ่งฉันเข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์"[4][7] และ "ว่าโดยทางโวหาร ใคร ๆ อ่านหนังสือเรื่องนี้ด้วยความสังเกตจะแลเห็นได้โดยง่าย ว่าเปนหนังสือแต่งในครั้งกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง แต่งในระหว่างรัชกาลที่ 2 กับที่ 3 ไม่ก่อนนั้นขึ้นไป ไม่ทีหลังนั้นลงมาเปนแน่...และยังซ้ำมีความที่กล่าวผิดที่จับได้โดยแจ่มแจ้งว่าเปนของใหม่หลายแห่ง ยกตัวอย่างดังตรงว่าด้วยชนชาติต่างๆ หนังสือนี้ออกชื่อฝรั่งหลายชาติ ซึ่งที่จริงไม่ว่าชาติใดยังไม่มีเข้ามาในประเทศนี้เมื่อครั้งนครศุโขไทยเปนราชธานีเปนแน่"[8]

ขณะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และกรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงนับถือหนังสือเรื่องนี้อยู่ ทรงคาดว่าหนังสือเรื่องนางนพมาศของดั้งเดิมน่าจะถูกแต่งขึ้นโดยท้าวศรีจุฬาลักษณ์พระสนมเอกในสมเด็จพระร่วงเจ้าจริง หากแต่ฉบับเดิมอาจจะเก่าและขาดหายไปบ้าง จึงมีผู้ที่อยู่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์แต่งขึ้นใหม่โดยตั้งใจจะปฏิสังขรณ์ให้เรียบร้อย แต่ผู้แต่งมิได้ถือเอาความจริงเท็จในพงศาวดารเป็นสำคัญ แต่ต้องการจะแต่งให้ไพเราะเพราะพริ้งเรียบเรียงลงไปตามความรู้ที่มีอยู่ในเวลานั้น เรื่องราวในหนังสือจึงวิปลาสไป[1]

ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้ระบุไว้ว่า "ความน่าสนใจของหนังสือเรื่องนี้อยู่ที่ว่าเป็นงานวรรณกรรมที่เขียนในสมัยช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ความพยายามที่ไปจัดนางนพมาศเป็นวรรณกรรมสุโขทัยนั้นได้ปิดบังมิให้ได้เห็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นอันแฝงเร้นอยู่ในวรรณกรรมชิ้นนี้มาเป็นเวลานาน[1]

สุจิตต์ วงษ์เทศ ที่มองว่านางนพมาศไม่มีตัวตนจริง ได้กล่าวว่า "ถ้าหากนางนพมาศที่มีตัวตนอยู่จริงก็คงจะมีเพียงบรรดา "เทพีนางนพมาศ" ที่ชนะการประกวดความงามประจำปีตามเวทีประกวดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยมานานหลายสิบปี ซึ่งก็คงจะมีเยอะเกินจนยากที่จะจดจำได้ไหว"[1]

 
เด็กหญิงที่เข้าประกวดหนูน้อยยี่เป็ง (นางนพมาศรุ่นเด็ก) ที่จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2548

ทั้งนี้ประเพณีหลวงทางน้ำพบไม่พบในรัฐที่อยู่เหนือจากกรุงศรีอยุธยาขึ้นไป ส่วนตระพังน้ำในสุโขทัยก็มีไว้ใช้อุปโภคบริโภคในวัดและวัง หาได้ทำกิจสาธารณะอย่างการลอยกระทงอย่างใด ส่วนในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ที่กล่าวถึงการ "เผาเทียน เล่นไฟ" มีความหมายรวม ๆ เพียงว่าการทำบุญไหว้พระเท่านั้น และไม่ปรากฏการลอยกระทงเลย[9] เข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องดังกล่าวขึ้นเพื่อฟื้นฟูพิธีกรรมสำคัญเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของอาณาจักร และด้วยความจำเป็นบางประการจึงทรงสมมุติฉากยุคพระร่วงเจ้ากับตัวละครสมมติคือนางนพมาศด้วยให้กระทงทำจากใบตอง นิธิ เอียวศรีวงศ์ได้คาดการณ์ว่าเรื่องนางนพมาศนี้ถูกเขียนขึ้น "ต้องแต่งอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2360-2378 เป็นช้าที่สุด หนังสือนางนพมาศจึงเป็นวรรณกรรมของต้นรัตนโกสินทร์ชิ้นหนึ่ง มีลักษณะร่วมกับวรรณกรรมของยุคเดียวกันหลายประการ"[10] และแพร่หลายจากวังหลวงไปสู่เมืองต่าง ๆ แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา[9] โดยอ้างอิงเรื่องนางนพมาศเป็นสำคัญ[4] ประวัติและเรื่องราวของนางนพมาศจึงแพร่หลายโดยทั่วไป

แม้จะมีการเปิดเผยว่าเรื่องนางนพมาศและประเพณีลอยกระทงมิได้เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัยก็ตาม กระนั้นทางราชการไทยยังคงหยิบยกเรื่องนางนพมาศขึ้นมาโฆษณา

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ลูกสาวอบต's profile


โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
52 VOTES (4/5 จาก 13 คน)
VOTED: paktronghie, zerotype, mon, Thorsten, เด็กหญิงสมหมาย, Unlucky, แมวฮั่ว แมวขี้น้อยใจ, Varg Vikernes, brawut
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
แจ้งโอนเงิน 10,000 เข้าบัญชี 19 ธ.ค.นี้ เช็คผู้มีสิทธิ์ได้ดาวติ๊กตอกขอโทษแล้ว หลังด่าและไล่ทหารที่ขับรถไปช่วยชาวบ้านในพื้นที่น้ำท่วมหัวร้อน เกิดขึ้นได้อย่างไร ควรควบคุมอย่างไร สมองไม่ชอบ คนหัวร้อน จริง ๆ นะนอนหลับมากเกินไป (Hypersomnia) เสี่ยงเป็นซึมเศร้า !นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ ทองคำมูลค่า 63,000,000,000 ปอนด์ลูกค้าซูเปอร์ฯดัง ถ่ายรูปส่งให้ที่บ้าน แต่มีพนักงานมาเตือนว่า "ห้ามถ่ายรูปสินค้า"เมนูอาหารของเศรษฐีดูไบ'กู่ลี่น่าจา' นางเอกดังแดนมังกร ยกครอบครัวมาพักผ่อน เที่ยวชิล ๆ ที่เมืองไทย8 ผลไม้ต้านมะเร็ง กินได้ทุกวัน ผลไม้ที่มะเร็งกลัว"สรยุทธ" อวดภาพล่าสุดคู่ "ชูวิทย์" ดูแข็งแรง สดใสขึ้นจนต้องยิ้มตามลูกนอกสมรสของปูติน อาศัยอยู่ในปารีสและทำงานเป็นดีเจกระแสแรงไม่หยุด! เพจดังเปิดจอง "พระพุทธแฮนด์ซั่ม" รอบสุดท้ายท่ามกลางดราม่า
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
กระแสแรงไม่หยุด! เพจดังเปิดจอง "พระพุทธแฮนด์ซั่ม" รอบสุดท้ายท่ามกลางดราม่าเมนูอาหารของเศรษฐีดูไบตำนาน!! หมี่ยำโบราณ ของดีภาคอิสานใต้ลูกค้าซูเปอร์ฯดัง ถ่ายรูปส่งให้ที่บ้าน แต่มีพนักงานมาเตือนว่า "ห้ามถ่ายรูปสินค้า"ต้นกำเนิดของการเล่นสกีของโลก เขาว่ามาจากที่นี่
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
งูมังกร งูหายากแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้มีครีบหลังดุจมังกรในเทพนิยายต้นกำเนิดของการเล่นสกีของโลก เขาว่ามาจากที่นี่ฟังธรรมะ ให้จิตผ่อนคลาย ได้กุศลเกิดบุญจากการแผ่เมตตา พระอานนท์ พุทธอนุชาปั๊มน้ำแห่งความตาย เป็นน้ำที่ไหลผ่านสุสาน ที่ครั้งหนึ่งคนนิยมดื่มน้ำจากปั๊มนี้ เพราะมันมีรสชาติดีกว่าที่อื่นๆ
ตั้งกระทู้ใหม่