หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

จริงหรือไม่: สุโขทัย(สมัยพ่อขุน)ไม่มีลอยกระทง ?

โพสท์โดย ลูกสาวอบต

หลักฐานเพียงอย่างเดียวนำมาใช้อ้างอิงว่าประเพณีลอยกระทงเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัยก็คือ “ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์” หรือ “เรวดีนพมาศ” ที่เป็นบันทึกเรื่องราวของ
นางนพมาศ ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นสนมเอกของพระร่วง (เชื่อว่าคือพ่อขุนรามคำแหง) ตามคำบอกเล่านางเป็นผู้ประดิษฐ์ “โคมลอยรูปดอกกระมุท” หรือกระทงอย่างที่เรารู้จักกัน
และ นำไปถวายพระร่วงเจ้าเพื่อลอยในแม่น้ำอุทิศสักการบูชาพระจุฬามณีเจดีย์ เนื่องในพระราชพิธีจองเปรียง หากว่าหลักฐานที่ใช้อ้างอิงคือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้รับการ
พิสูจน์ว่าแต่งขึ้นในสมัยสุโขทัยจริง แม้ว่าจะไม่อาจพิสูจน์ได้ว่านางนพมาศมีตัวตนจริงหรือไม่ แต่ก็เชื่อได้ว่ามีประเพณีการลอยกระทงเกิดขึ้นแล้วในสมัยสุโขทัย


แต่โชคไม่ดีนัก หลักฐานสำคัญที่จะพิสูจน์การมีอยู่จริงของประเพณีลอยกระทงในสมัยสุโขทัย ได้รับการตรวจสอบจากนักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน และทุกท่าน
ก็เห็นพ้องต้องกันคือ “ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์” นี้ ถูกแต่งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้เอง นักประวัติศาสตร์พระองค์แรกที่ออกมาถกเถียงประเด็นนี้คือ สมเด็จฯ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงวินิจฉัยจากเนื้อความที่ปรากฏอยู่ในตำรับฯ ว่ามีหลายตอนไม่สอดคล้องกับยุคสมัยสุโขทัย เช่น มีการกล่าวถึงชาติฝรั่งหลายชาติซึ่งยังไม่เข้า
มาในสมัยสุโขทัย ยิ่งไปกว่านั้นคือการกล่าวถึง “อเมริกัน” จะพบว่าสุโขทัยเก่าแก่ถึง 700 ปี ย้อนแย้งอย่างมากกับคำว่า “อเมริกัน” อันเป็นชื่อของทวีปที่เพิ่งถูกค้นพบโดยชาว
ตะวันตกราวปี ค.ศ. 1492 หรือ (พ.ศ. 2035)
นอกจากนี้ยังกล่าวถึง “ปืนใหญ่” ที่ไม่มีปรากฏในสมัยสุโขทัยอย่างแน่นอน นั่นทำให้ทรงเชื่อว่าตำรับฯ ไม่น่าจะมีอายุเก่าแก่ไปกว่าสมัยรัชกาลที่ 2 อย่างแน่นอน นักวิชาการ
รุ่นหลังที่มีโอกาสเข้าถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นๆ เพื่อนำมาตรวจสอบกับตำรับฯ นี้ อย่างนิธิ เอียวศรีวงศ์พบว่า ตำรับฯ น่าจะแต่งขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2360-2378 เนื่อง
จากในตำรับฯ ได้กล่าวถึงพระราชพิธีวิสาขบูชา ซึ่งมีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มจัดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 ประมาณปี 2369 และอ้างอิงจากฉบับนางนพมาศที่จัดเก็บอยู่ในหอสมุดแห่ง
ชาติ ซึ่งระบุว่าเป็นฉบับที่จำลองขึ้นมาในปี พ.ศ. 2378 ดังนั้น ต้นฉบับจริงย่อมต้องแต่งก่อนหน้านี้ แต่ก็ไม่ควรเกินไปกว่าช่วงเวลาในการเริ่มจัดพิธีวิสาขบูชาอย่างแน่นอน และ
เมื่อพิจารณาจากสำนวนการแต่งตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์นี้ เทียบเคียงกับงานวรรณกรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ทำให้พอระบุได้ว่ามีบางส่วนในตำรับฯ นี้เป็นสำนวน
พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)
นอกเหนือจากการพิจารณาเนื้อความในตำรับฯ ที่มีข้อขัดแย้งกับความเป็นจริงที่จะแต่งขึ้นในสมัยสุโขทัยแล้ว นิธิยังแสดงให้เห็นถึงมิติที่ลึกลงไปกว่านั้น นั่นคือ การ
วิเคราะห์ความแตกต่างของโลกทัศน์ที่แฝงอยู่ในตำรับฯ ซึ่งสามารถสะท้อนบริบทแวดล้อมที่ผู้แต่งอาศัยอยู่ โดยเปรียบเทียบความแตกต่างจากโลกทัศน์ของงานที่ได้รับการพิสูจน์
แล้วว่าแต่งขึ้นในสมัยสุโขทัยอย่างแท้จริง คือ ไตรภูมิพระร่วงหรือไตรภูมิกถา เป็นงานพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) เนื่องจากเป็นงานที่ทรงอิทธิพลอย่างมาก
ในสมัยสุโขทัยเป็นต้นมา ทำให้เชื่อได้ว่าไตรภูมิพระร่วงนี้สะท้อนโลกทัศน์ของผู้คนสมัยสุโขทัยได้เป็นอย่างดี เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์จะพบว่า โลกทัศน์ตาม
แบบไตรภูมิพระร่วงนั้นมีลักษณะที่ “เหนือธรรมชาติ” มีการกล่าวถึงเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวาลทัศน์แบบเดิม ทว่าตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์นับว่าเป็นวรรณกรรมชิ้น
แรกที่สะท้อนโลกแห่งความเป็นจริง ลักษณะโลกทัศน์แบบในตำรับฯ นี้เป็นแบบของสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่เริ่มรับความคิดและเหตุผลตามอย่างโลกตะวันตก
แม้ว่ายังคงมีหลายท่านนำข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่มีคำว่า “เผาเทียน” และ “เล่นไฟ” ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มิใช่เป็น
การละเล่นรื่นเริงมากล่าวอ้าง เพราะในปัจจุบันการเผาเทียนและเล่นไฟเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีลอยกระทง ทว่าสุจิตต์ วงษ์เทศ ได้หักล้างแนวคิดที่ว่าลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัย
สุโขทัย (หากละข้อถกเถียงประเด็นศิลาจารึกถูกสร้างในสมัยสุโขทัยจริงหรือไม่) โดยใช้การวิเคราะห์จากสภาพภูมิศาสตร์ของสุโขทัยและข้อมูลจากศิลาจารึกหลักดังกล่าว เริ่ม
จากการพิจารณาสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งกรุงสุโขทัย จะเห็นว่าสุโขทัยตั้งอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขา ระยะทางห่างจากแม่น้ำเกินกว่า 10 กิโลเมตร ทำให้มีปัญหาขาดแคลนน้ำในหน้า
แล้ง ทำให้ต้องมีการจัดการระบบชลประทานโดยการขุดตระพังและสร้างทำนบกั้นน้ำที่เรียกว่า “สรีดภงส”
ตามข้อความในจารึกว่า “กลางเมืองสุโขทัยนี้มีน้ำตระพังโพยสีใสกินดีดั่งกินน้ำโขงเมื่อแล้ง” สุจิตต์จึงได้ข้อสรุปว่าทั้งตระพังและสรีดภงสนั้นมีไว้เพื่อใช้บริโภคและทำ
การเกษตร สังคมที่น้ำขาดแคลนและน้ำมีความสำคัญมากเช่นนี้ จึงไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะมีเทศกาลหรือประเพณีที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพของแหล่งน้ำอย่างการ
ลอยกระทงได้


จากที่กล่าวข้างต้นน่าจะชัดเจนแล้วว่า “ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์” ไม่ได้ถูกแต่งขึ้นในสมัยสุโขทัย ดังนั้น จึงไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานเพื่ออ้างอิงการมีอยู่ของประเพณี
ลอยกระทงในสมัยสุโขทัยได้ แม้ว่าจะพิสูจน์ได้ดังนี้แล้ว ทว่าคำถามต่อไปคือ “ทำไมผู้แต่งตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์นี้จึงเขียนอ้างอิงถึงช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สุโขทัย” ตามคำ
อธิบายของสุจิตต์เชื่อว่าช่วงเวลาการแต่งตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ขึ้นนั้น ผู้แต่งคงยังไม่ได้มีแนวคิดเรื่องการสร้างความเก่าแก่ของชาติ โดยการสร้างประวัติศาสตร์ของประเพณี
ที่สืบเนื่องมาอย่างยาวนาน แต่ผู้แต่งอาจมีจุดประสงค์คล้ายคลึงกับนิยายอิงประวัติศาสตร์ ที่ใช้ช่วงเวลาในสมัยสุโขทัยเป็นโครงเรื่อง ทว่ารายละเอียดที่ปรากฏในเรื่องกับเป็นสิ่งที่
เกิดขึ้นร่วมสมัยกับผู้เขียนมากกว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย
อย่างไรก็ตาม แวดวงวิชาการประวัติศาสตร์รับรู้ถึงสถานะของตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ในฐานะการเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่มีคุณค่าในการ
ศึกษาโลกทัศน์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของราษฎร และพระราชพิธีต่างๆ ที่ปรากฏในตำรับฯ สำหรับสุจิตต์แล้วตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เป็น “สารนิยายที่มีคุณค่าทาง
วรรณกรรมและประวัติศาสตร์ความคิดของผู้คนในสมัยรัตนโกสินทร์ต่างหาก ไม่ใช่สมัยพระร่วงเจ้าแห่งแว่นแคว้นสุโขทัยศรีสัชนาลัยดังที่เคยใฝ่ฝันเป็นอุดมคติกันมานานนักหนา”
แม้ว่าจะมีความชัดเจนแล้วว่า “ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์” และ “ประเพณีลอยกระทง” ไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย ทว่าในปัจจุบันยังคงมีความเชื่อดังกล่าวอยู่และถูกผลิตซ้ำ
ตลอดเวลา เห็นได้ชัดคือ ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟที่สุโขทัย ซึ่งเป็นความพยายามสร้างประวัติศาสตร์และความเก่าแก่ของวัฒนธรรมประเพณีของไทย เพื่อวัตถุ
ประสงค์ในด้านการท่องเที่ยว ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ธิดา สาระยากล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า

“ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงความจริงทางประวัติศาสตร์ที่เราต้องรับผิดชอบส่งต่อให้สาธารณชนว่าประเพณีนี้ที่สุโขทัยเป็นของปรุงแต่งขึ้นในปัจจุบันนี้เท่านั้น
ไม่เคยมีหลักฐานใดๆ ในประวัติศาสตร์สุโขทัยว่าการลอยกระทงเป็นประเพณีรื่นเริงของชุมชนซึ่งตั้งหลักแหล่งอยู่ในที่แล้งน้ำโดยธรรมชาติ[อย่างเมืองสุโขทัย]”

ขอบคุณที่มา: http://www.stou.ac.th/study/sumrit/3-58(500)/page3-3-58(500).html
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ลูกสาวอบต's profile


โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
12 VOTES (4/5 จาก 3 คน)
VOTED: zerotype
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
แจ้งโอนเงิน 10,000 เข้าบัญชี 19 ธ.ค.นี้ เช็คผู้มีสิทธิ์ได้ลูกค้าซูเปอร์ฯดัง ถ่ายรูปส่งให้ที่บ้าน แต่มีพนักงานมาเตือนว่า "ห้ามถ่ายรูปสินค้า"4 เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว ที่อาจทำให้เราเจ็บป่วยได้ หากทำความสะอาดได้ไม่ครบทุกจุดหรือดีพอดาวติ๊กตอกขอโทษแล้ว หลังด่าและไล่ทหารที่ขับรถไปช่วยชาวบ้านในพื้นที่น้ำท่วม8 ผลไม้ต้านมะเร็ง กินได้ทุกวัน ผลไม้ที่มะเร็งกลัวเมนูอาหารของเศรษฐีดูไบเพลิงไหม้ ! ร้านขายลูกชิ้นชื่อดังในตลาดย่าโมมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส เปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคมทำไมเราต้องทาครีมกันแดดหล่อตะโกนมากกก คิมโกอึนสาวทุ่มเงินซื้อที่จอดรถยกแผง! 196 ช่องรวด! ปล่อยเช่าราคาแรง ชาวคอนโดขอไม่ทน"สรยุทธ" อวดภาพล่าสุดคู่ "ชูวิทย์" ดูแข็งแรง สดใสขึ้นจนต้องยิ้มตาม
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เจ้าพ่อชาวจีน กินกล้วยที่ติดเทป โดยบอกว่ารสชาติไม่เลวสื่อนอกรายงานว่า ในวันขอบคุณพระเจ้าแค่วันเดียว ชาวอเมริกันทิ้งอาหารมากกว่า 140,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 17,000 ล้านบาทกรี๊ดคอแทบแตก! URBOYTJ ฟิตหุ่นลดน้ำหนักได้ถึง10 กก. ร่างทองหล่อมากกกกลูกค้าซูเปอร์ฯดัง ถ่ายรูปส่งให้ที่บ้าน แต่มีพนักงานมาเตือนว่า "ห้ามถ่ายรูปสินค้า"
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ไขข้อสงสัย! การดื่มน้ำมะพร้าวทุกวันช่วยบำรุงผิวจริงหรือ? ผลวิจัยล่าสุดเปิดเผยทำไมเราต้องทาครีมกันแดดงูมังกร งูหายากแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้มีครีบหลังดุจมังกรในเทพนิยายต้นกำเนิดของการเล่นสกีของโลก เขาว่ามาจากที่นี่
ตั้งกระทู้ใหม่