ห้ามใส่หูฟังนอนหลับเด็ดขาด ไม่งั้นก็จะเป็นเหมือนพวกเขา...น่ากลัวเกินไปแล้ว!
เมื่อเครียดจากการทำงาน เพื่อนคุยเสียงดังหรือว่าได้ได้คุยกับคนในครอบครัว ก็มักจะใส่หูฟังเพื่อพักผ่อนสมอง หารู้ไม่ว่า ในขณะที่กำลังฟังเพลง หูของพวกเรากำลังถูกทรมานอยู่ "ถูกทำลาย"
ใส่หูฟังนอนหลับบ่อยๆจะทำให้หูอื้อ
นางสาวกูมักจะเครียดจากงานบ่อยๆ ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ เธออ่านเจอบนอินเตอร์เน็ตว่าเพลงช่วยทำให้ลดอาการนอนไม่หลับได้ เพราะฉะนั้นเธอจะนอนฟังเพลงใส่หูฟังทุกคืน และนอนหลับไปพร้อมๆกับหูฟัง หลังจากนั้นไม่นานเธอรู้สึกว่าหูอื้อ ฟังไม่ค่อยชัด หลังจากนั้นระบบประสาทในร่างกายของเธอเริ่มเกิดอาการผิดปกติ เธอมึนและปวดศีรษะบ่อยๆ ปวดหูซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตของเธอ หลังจากที่แพทย์ตรวจร่างกายแล้ว ความสามารถในการได้ยินของเธอเหลือเพียง 40%
ใช้หูฟังแบบ In-ear ฟังเพลงในรถไฟฟ้าใต้ดินสามารถทำให้หูบาดเจ็บได้
เสี่ยวเสี่ยวชอบฟังเพลงมาก ถ้าเธอไม่ได้ทำงาน เธอก็จะใส่หูฟังตลอด โดยเฉพาะเมื่อเธออยู่ในรถไฟฟ้าใต้ดินและฟังเสียงดังมาก และเมื่เธอกลับบ้านดูโทรทัศน์ เธอก็ยังเปิดโทรทัศน์เสียงดังโดยที่ตัวเธอไม่รู้ตัว จนแม่ของเธอออกมาถามว่า "ดังขนาดนี้ แบบโรงหนังแล้วนะ ลูกฟังไม่ได้ยินหรอ?" หลังจากที่เธอไปหาหมอแล้ว เธอได้รับการวินิจฉัยว่าประสาทหูของเธอหนวกแล้ว
สภาพแวดล้อมในรถไฟฟ้าใต้ดินหรือรถเมล์ ก็ต่างมีเสียงรบกวนไม่ว่ามากหรือน้อย โดยเฉพาะใต้รถไฟฟ้าใต้ดินที่อยู่ในสถานที่แบบปิด ทำให้หูของคนได้รับแรงกดดันและบวกกับการใส่หูฟัง ฟังเพลงเสียงดัง เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้หูบาดเจ็บ
เทคนิคต่อไปนี้ สามารถป้องกันหูของคุณจากการบาดเจ็บได้
ข้อแรก: เทคนิค 60-60
คนที่ใช้หูฟังควรทำตามเทคนิค 60-60 โดยเมื่อฟังเพลง ความดังของเพลงไม่ควรเกิน 60% และไม่ควรฟังติดต่อกันเกิน 60 นาที
ข้อสอง: ฟังเพลงในที่เงียบๆ
เมื่อข้างนอกเสียงดัง ทำให้คุณไม่ได้ยินเสียงจากหูฟังเต็มที่ และทำให้คุณต้องเปิดเสียงดังขึ้นและนั่นอาจทำให้หูของคุณบาดเจ็บได้
ข้อสาม: ซื้อหูฟังคุณภาพดี
เมื่อซื้อหูฟังควรซื้อที่สามารถลดเสียงรบกวนจากภายนอก เพราะการตัดเสียงรบกวนจากภายนอกทำให้ไม่ต้องฟังเพลงเสียงดังขึ้น หูฟังที่ดีที่สุดคือแบบครอบหู เพราะโอกาสที่ทำให้หูบาดเจ็บน้อยกว่าแบบหูฟังธรรมดา
ข้อสี่: ลดเวลาการฟังเพลง
เวลาในการฟังเพลงไม่ควรเกินวันละหนึ่งชั่วโมง ฟังเพลงไปสักพักหนึ่งควรให้หูพักด้วยการ ไม่เอาหูฟังใส่หูตลอดเวลา ให้หูได้พักบ้าง และไม่ควรใส่หูฟังเวลานอน เพราะถ้าใส่หูฟังแล้วหลับไปจะทำให้หูได้รับการกระตุ้น ซึ่งทำให้หูได้รับผลกระทบไม่น้อย
ข้อห้า: ใส่ที่อุดหูเพื่อป้องกันเสียงรบกวน
โดยปกติแล้วการทำงาน การใช้ชีวิตและความบันเทิงในชีวิตประจำวันก็ทำร้ายหูทั้งนั้น โดยเฉพาะในสนามบิน งานก่อสร้าง เสียงในการทำงานพวกนี้ดังมาก โดยปกติแล้วถ้าต้องทำงานในสภาพแวดล้อมแบบนี้ ดีที่สุดคือต้องป้องกันด้วยการใส่ที่อุดหู เพราะช่วยลดเสียงรบกวนจากการทำงานในระดับหนึ่ง ถ้าไม่สามารถหาที่อุดหูได้ สามารถใช้สำลีหรือกระดาษทิชชู่ป้องกันได้