ถอนผมหงอก ยิ่งถอนยิ่งหงอกจริงหรือไม่ ดูแลเส้นผมอย่างไรเมื่อเริ่มมีผมหงอก
ผมหงอก หมายถึง เส้นผมสีขาวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของร่างกายเมื่ออายุมากขึ้น เนื่องจากการผลิตเม็ดสีเมลานินในรากผมนั้นเริ่มลดน้อยลง ทำให้เกิดเป็นปัญหาผมหงอกในที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วในช่วงอายุ ประมาณ 30-40 ปี จะเริ่มเห็นผมหงอกชัด และเฉลี่ยทุก ๆ 10 ปีก็จะเห็นผมหงอกเพิ่มขึ้น 10-20% ก่อนจะเป็นผมหงอกทั้งหัว หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม กลับกันถ้าเกิดพบว่ามีผมหงอกในช่วงอายุประมาณ 20+ หรือที่เรียกว่า ผมหงอกก่อนวัย สาเหตุหลัก ๆ อาจมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง อย่างเช่น ความเครียด ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ การสูบบุหรี่ จนทำให้เกิดความผิดปกติของรากผม จนเส้นผมเปลี่ยนเป็นสีขาว หรือผมหงอกได้ในที่สุด
ถอนผมหงอก ดีหรือไม่
ไม่แนะนำให้ถอนผมหงอก หรือดึงผมหงอก เนื่องจากรากผม 1 เส้นนั้นสามารถงอกใหม่ได้เพียง 20 ครั้งเท่านั้น หากเส้นผมเส้นนั้นกลายเป็นผมหงอก แล้วไปดึง หรือถอนหงอก อาจจะต้องเสียเส้นผมนั้นไปอย่างถาวร
บางความเชื่อ กล่าวว่า ยิ่งถอนผมหงอกจะยิ่งทำให้ผมหงอกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไม่เป็นความจริง การถอนผมหงอก ยิ่งทำให้ผมบางลงเร็วขึ้น การถอนผมหงอก ไม่ได้ช่วยทำให้ผมหงอกยิ่งขึ้นใหม่ หรือการดึงผมหงอกก็ไม่สามารถช่วยลดอาการคันผมหงอก อาจทำให้เกิดปัญหาผมบางหรือหัวล้านได้ในอนาคต ต่อให้ปัญหาผมหงอกจะกวนใจเราสักแค่ไหน ก็ไม่ควรถอนผม ไม่ว่าจะเป็นผมหงอกที่เกิดขึ้นในช่วงอายุ 40+ หรือผมหงอกก่อนวัยก็ตาม
การถอนผมหงอก ถือเป็นการเร่งกระบวนการหลุดร่วงของเส้นผมตามธรรมชาติ ซึ่งการถอนผมหงอกบ่อยครั้งนอกจากจะไม่ช่วยให้ผมใหม่เปลี่ยนเป็นสีดำสนิทได้แล้ว ยังอาจทำร้ายรูขุมขนและเร่งกระบวนการหลุดร่วงของเส้นผมที่อาจทำให้เส้นผมไม่งอกขึ้นใหม่
การดูแลรักษาเส้นผมเมื่อเริ่มมีผมหงอก
ปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น ลดความเครียด เลี่ยงการสูบบุหรี่ ลดการดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ของมึนเมา หรือพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการกระตุ้นสารอนุมูลอิสระสาเหตุความเสื่อมโทรมของเซลล์เม็ดสีบริเวณรากผม
- จัดการกับความเครียด ความเครียดอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่สามารถเร่งกระบวนการการเสื่อมสภาพของเม็ดสีในเส้นผม และอาจทำให้ผมหลุดร่วงได้ง่ายขึ้น จึงควรจัดการกับความเครียดด้วยการหากิจกรรมที่ชอบเพื่อผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ อย่างเช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ออกกำลังกาย
- งดการสูบบุหรี่ เนื่องจากการสารเคมีในควันบุหรี่อาจเร่งกระบวนการเสื่อมสภาพของเซลล์เม็ดสีในเส้นผม ส่งผลให้เส้นผมอ่อนแอลง และอาจเกิดผมหงอกก่อนวัยได้
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากในช่วงเวลานอนหลับร่างกายจะเริ่มกระบวนการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และยังช่วยลดฮอร์โมนความเครียดที่อาจเป็นสาเหตุทำให้ผมอ่อนแอลง
ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร อย่างเช่น ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่เพียงพอ
- รับประทานอาหาร ที่อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินดี เหล็ก สังกะสี ทองแดง และกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่างเช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลาทะเล ตับ ไข่ นมไขมันต่ำ ผักใบเขียว ถั่ว ธัญพืช สารอาหารเหล่านี้มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของรูขุมขนและเส้นผม
การย้อมผมปิดผมขาว ขอแนะนำให้เลือกสูตรที่อ่อนโยน ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองหนังศีรษะ หรือทำร้ายสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะ รวมถึงย้อมได้ไม่เกิน 6 ครั้งต่อปี เพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็ง
- การทำสีผมเพื่อพรางผมหงอกได้รับความนิยมอย่างมาก อย่างเช่น การย้อมสีขาว สีเทา เพราะสามารถเปลี่ยนผมหงอกที่ทำให้ขาดความมั่นใจ กลายเป็นไฮไลต์ผมธรรมชาติ ทำให้เส้นผมดูมีมิติมีลูกเล่นมากขึ้นได้
ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ถ้าหากมีปัญหาผมหงอกก่อนวัย ผมหงอกเยอะมากกว่าปกติ หรือมีปัญหาผมหงอกทั้งหัว เพื่อหาสาเหตุว่าผมหงอกเกิดจากอะไร และจะได้รับการรักษาที่ตรงจุด
- เข้ารับการรักษาโรคประจำตัวอย่างเคร่งครัด อย่างเช่น โรคทางพันธุกรรม โรคไพบอลดิซึม(Piebaldism) กลุ่มอาการวาร์เดนเบิร์ก (Waardenburg Syndrome) โรคด่างขาว โรคผมร่วงเป็นหย่อม โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง โรคไทรอยด์ เนื่องจากโรคเหล่านี้อาจส่งผลให้ผมสูญเสียเม็ดสีเมลานิน และผมหงอกเร็วขึ้น