ผจญภัยคาราโครัมไฮเวย์ หุบเขาสกาดูร์ บอลติสถาน เมืองลาฮอร์ Lahore
ผจญภัยคาราโครัมไฮเวย์ หุบเขาสกาดูร์ บอลติสถาน
**เมืองลาฮอร์ Lahore** ประเทศปากีสถาน เริ่มการผจญภัยที่นี
คำว่าลาฮอร์ พระองค์หญิงวิภาวดีทรงเล่าว่ามาจากคำว่า "ลวปุระ" หรือ "ลพปุระ" หรือ "ลพบุรี" เรานี้เอง ทรงเล่าว่า ลาฮอร์แม้จะเป็นเมืองเก่า แต่ก็ไม่มีใครทราบอะไรมาก จนเมื่อประมาณ 900 ปีเศษมานี้เอง ในสมัยของ มามุดแห่งกัชนา Mamud of Ghaznavids จากอัฟกานิสถาน กษัตริย์ราชปุต แห่งราชวงศ์ศากยะมาตีได้ กษัตริย์ศากยะซึ่งเป็นฮินดู เรียกเมืองละฮอร์ว่า "ปัญจะละนคร" หรือ Panchalanagar
เมืองลาฮอร์มาเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นในสมัยราชวงศ์โมกุล พระเจ้าอักบาร์ แห่งราชวงศ์โมกุลมาสร้างวัง และสุสานของพระราชวงศ์ที่ส่งมาครองอยู่ที่นี่มีอยู่หลายแห่ง รวมทั้งที่ตั้งของทำเนียบผู้ว่าการของแคว้นปัญจาบ ที่อยู่ในส่วนของปากีสถานนี้ด้วยต่อมาเมืองลาฮอร์ถูกโจมตีและถูกยึดโดยกษัตริย์ซิกห์ พระเจ้ารณชิตสิงห์ กษัตริย์ซึ่งเป็นซิกห์ ก็ได้เสด็จมาประทับอยู่ที่นี่ และเป็นเมืองหลวงของรัฐปัญจาบ จนเมื่อประเทศปากีสถานแยกตัวออกมาจากอินเดีย
พิพิธภัณฑ์เมืองลาฮอร์ ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศปากีสถาน
ห้องแสดงภายในพิพิธภัณฑ์
สิ่งของทางประวัติศาสตร์ที่มีค่ามากมายได้ถูกแสดงไว้ ซึ่งมีห้องแสดงโชว์หลายห้อง จาก คันทราราฎษ์ GANDHARA, ศาสนาพุทธ BUDDHIST, เจน JAIN, โมกุล MOGUL และ สมัยอาณานิคม
พระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงที่สุด คือพระพุทธรูปปางทุกข์กริยาของพระพุทธเจ้า (สิทธทัตถะ) ก็ถูกแสดงอยู่ที่นี่
ป้อมปราการแห่งลาฮอร์ Lahore Fort ซึ่งเป็นมรดกโลกตามคำประกาศของ UNESCO ถูกสร้างในศตวรรษที่ 11 หลังคริสตกาล เป็นสถานที่เพียงแห่งเดียวที่สามารถเห็นความแตกต่างของสถาปัตยกรรมโมกุล ในแต่ละยุคสมัยของผู้ปกครองที่ได้สร้างต่อเติม ป้อมลาฮอร์เป็นพระราชวังโบราณสร้างโดยจักรพรรดิอักบาร์ (Akbar The Great) ในระหว่างปี 2099-2149 บนฐานของเชิงเทินโบราณได้รับการต่อเติมโดยจักรพรรดิโมกุลองค์ต่อๆ มา เช่น จะฮานกีร์และราชโอรสรวมไปถึงชาห์จะฮาน (Shah Jahan) ผู้ก่อสร้างทัชมาฮาล
อาคารทรงสูงด้านหน้า Diwan-E-Aam (The Hall Of Public Audience) สร้างขึ้นในปี 1631-1632 เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับกษัตริย์โมกุลเสด็จออกขุนนาง ท้องพระโรงแห่งนี้ค้ำยันด้วยเสาหินทรายสีแดงสี่สิบต้น
เขตพระราชฐานชั้นใน Jahangir's Quadrangle ซึ่งเริ่มก่อสร้างโดยจักรพรรดิอักบาร์และสำเร็จเสร็จสิ้นในรัชสมัยของจะฮานกีร์ระหว่างปี ค.ศ. 1617-1618 ลักษณะเป็นลานกว้าง มีสระน้ำสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่เป็นจุดศูนย์กลาง กลางสระมีแท่นหินอ่อนทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่เรียกว่า Mahtabi รายล้อมด้วยน้ำพุ การตกแต่งสวนด้วยไม้ดอกและไม้พุ่มรอบบริเวณเป็นระเบียบเหมือนกันทั้งสองด้านตามแบบสวนของโมกุล
อาคารหลังเล็กริมขอบกำแพงเคยเป็นที่ห้องบรรทมของจักรพรรดิจะฮานกีร์ Jahangir's Sleeping Chamber ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงงานศิลปะแขนงต่างๆ ในสมัยโมกุล ลักษณะการประดับประดาดูได้จากลวดลายบนเสาซึ่งทำเป็นดอกไม้สีต่างๆ มิใช่การระบายสีหรืองานแกะสลักแปะกระจก หากเป็นลวดลายที่เกิดจากการตอกหินสีมีค่าเข้าไปในเนื้อหิน ส่วนพื้นของพลับพลามักปูด้วยหินอ่อนหลายสีเรียงสลับกันเป็นรูปเหลี่ยมต่างๆ
ชีคชมาฮัล (Shish Mahal Of Shah Burj) หรือท้องพระโรงกระจก (Hall Of Mirrors) ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในยุคโมกุล สร้างขึ้นโดย Asaf Khan เพื่อใช้เป็นห้องบรรทมของพระนางมุมตัสมาฮัล มเหสีของชาห์จะฮาน (เมื่อพระนางสิ้นพระชนม์ ชาห์จะฮานจึงสร้างทัชมาฮาลเพื่อเป็นที่เก็บพระศพ)
การประดับประดาสวยงามยอดเยี่ยมตั้งแต่เสา ผนัง จนจรดเพดานด้วยการใช้กระจกชิ้นเล็กชิ้นน้อยฝังสลักเข้าไปในบริเวณที่ต้องการตกแต่งจนได้ลวดลายวิจิตร โคนเสาสลักเป็นรูปดอกไม้สีต่างๆ เป็นฝีมือสลักหินอ่อนของช่างโมกุลที่เรียกว่า Pietra
การประดับประดาในชีคมาฮาล
สุเหร่าบัดซาฮิ Badshahi Mosque หรือ สุเหร่าหลวง (Royal Mosque) ที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นสุเหร่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้านหน้าของสุเหร่าเป็นลานกว้าง มีหอสวดมนต์ที่จุคนได้ราวสองพันคน
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ลานกว้างของมัสยิดนี้จุคนได้ราวห้าหมื่นคน สุเหร่าบัดซาฮิถูกปล่อยให้รกร้างเกือบ 100 ปีและได้รับการบูรณะให้อยู่ในสภาพที่เห็นในปี พ.ศ. 2503 ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราจะเสด็จประพาสสุเหร่าแห่งนี้ในอีกสองปีต่อมา