ทำความรู้จัก "โรคลมหลับ" กำลังทำกิจกรรมอื่นอยู่เพลิน ๆ แล้วเผลอหลับไปโดยไม่รู้ตัว !
โรคลมหลับ คือ ปัญหาเรื่องการนอนหลับเรื้อรัง ที่มีอาการง่วงนอนตอนกลางวันมากผิดปกติ และ อาการที่เรายืนอยู่ดี ๆ แล้วเผลอหลับไปเลยไม่รู้ตัว หรือ จะเรียกว่า หลับแบบฉับพลัน การทำให้ตัวเองรู้สึกตัวตื่นอยู่กลายเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ป่วยโรคลมหลับ
ในประเทศไทยนั้นยังพบได้น้อย และ ยังไม่มีการวินิจฉัยมากนัก โรคลมหลับเกิดจากสารสื่อประสาทไฮโปคริติน (Hypocretin) ในสมองลดน้อยลง ทำให้ความรู้สึกตัวของเราลดน้อยลงตามไป ก่อให้เกิดอาหารหลับแบบฉับพลันดังที่กล่าวข้างต้นได้
โรคลมหลับมักทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด cataplexy ซึ่งเป็นการสูญเสียแรงกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน เป็นอาการที่ถูกกระตุ้นโดยอารมณ์รุนแรง
การหลับของโรคนี้ไม่ใช่การหลับแบบทำกิจกรรมอยู่เพลินๆ แล้วเกิดอาการง่วงแล้วหลับ ! แต่เป็นอาการที่อยู่ดี ๆ แล้วหลับลงไปเลย ไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า
สาเหตุนั้นมีการสันนิษฐานว่าเกิดจาก พันธุกรรม ส่วนสาเหตุอื่น อาจจะเกิดจากการติดเชื้อ หรือ โรคหลอดเลือดในสมอง แต่ปัจจุบันก็ยังเป็นข้อสันนิษฐานอยู่ ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับโรคลมหลับนี้ ยังไม่พบวิธีรักษาโรคลมหลับ แต่สามารถดูแลอาการได้โดยการกินยา การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และ การได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อน คนรอบข้าง
อาการของโรคลมหลับมีอะไรบ้าง ?
1.อ่อนแรงฉับพลัน อยู่ ๆ ก็เผลอหลับไป หลับได้ทุกที่ทุกเวลา ผล็อยหลับไปในขณะที่ทำงาน หรือ กำลังคุยกับคนอื่น โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า หลังจากตื่นนอนผู้ป่วยจะรู้สึกสดชื่น แต่ในไม่ช้าก็จะผล็อยหลับไปอีก ผู้ป่วยจึงมีปัญหาในการจดจ่อกับการทำงาน การเรียนหนังสือ หรือ การทำกิจกรรมประจําวัน
2.อาการที่บังคับกล้ามเนื้อไม่ได้ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด cataplexy เกิดขึ้นเมื่อมีอารมณ์รุนแรง กริยาท่าทาง หรือ อารมณ์ เป็นตัวกระตุ้นแล้วเผลอหลับไป เช่น ความรู้สึกกลัว โกรธ ตื่นเต้น เป็นต้น เมื่อผู้ป่วยหัวเราะอาจเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น คอตก เข่าอ่อน ผู้ป่วยโรคลมหลับบางรายเท่านั้นที่จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
3.เห็นภาพหลอน ครึ่งหลับครึ่งตื่น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- เห็นภาพหลอนตอนผล็อยหลับ
- เห็นภาพหลอนตอนเริ่มรู้สึกตัวตื่นนอน
การเห็นภาพหลอนอาจรู้สึกสมจริง น่ากลัวสำหรับผู้ป่วยโรคลมหลับเพราะ ผู้ป่วยยังหลับไม่สนิท คิดว่าความฝันคือความจริง
4.การเป็นอัมพาตตอนนอน หรือ ผีอำ เป็นอาการที่ขยับเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ เมื่อผล็อยหลับหรือกำลังตื่นนอน รู้สึกตัวแต่ไม่สามารถขยับร่างกายได้ มักเกิดขึ้นเพียง 2-3 วินาที หรือ 2-3 นาที แต่อาจทำให้ผู้ป่วยกลัว การเป็นอัมพาตตอนนอนคล้ายกับกลไกของร่างกายตอนหลับลึก ซึ่งจะป้องกันร่างกายไม่ให้ขยับไปมาขณะฝัน ผู้ที่มีอาการอัมพาตตอนนอนอาจไม่ได้เป็นโรคลมหลับ ผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคลมหลับอาจรู้สึกเป็นอัมพาตตอนนอนหรือผีอำได้หลายครั้ง
5.ตอนกลางคืนจะนอนหลับเหมือนคนปกติ แต่ กลางวันจะมีอาการของโรคลมหลับ
6.มีอาการนอนหลับแบบตากระตุก
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลมหลับเท่าที่ทราบนั้นมีไม่มากนัก เช่น
- อายุ ผู้ป่วยโรคลมหลับมักเริ่มมีอาการเมื่ออายุ 10-30 ปี
- ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวสายตรงเป็นโรคลมหลับมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคลมหลับสูงถึง 20 ถึง 40 เท่า
การรักษาเบื้องต้น วิธีปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต
1.เพิ่มการงีบหลับอย่างน้อยวันละ 10-15 นาที
2.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จัดตารางการนอนหลับของตัวเองในแต่ละวัน มีนิสัยการนอนหลับที่ดีและทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ นอนหลับและตื่นเวลาใกล้เคียงกันทุกวัน หลีกเลี่ยงการนอนดึกในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์
3.จัดห้องนอนเป็นสถานที่ที่เหมาะต่อการนอนหลับ สภาพแวดล้อมในห้องนอนควรมืด เงียบ เย็นสบาย และ สะดวกสบาย นำทีวี คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ไปไว้นอกห้องนอน
4.กำหนดกิจวัตรก่อนนอน เช่น อาบน้ำอุ่น นั่งสมาธิ ฟังเพลงเบา ๆ ก่อนเข้านอน เป็นต้น
5.ออกกำลังกาย และ กินอาหารให้ตรงเวลาเสมอ
6.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน งดการสูบบุหรี่
7.ไม่กินอาหารดื่มน้ำในปริมาณมากก่อนนอน
8.หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อันตราย เพราะอาจเกิดอาการหลับฉับพลันในขณะนั้น