นิยาย เรื่อง พิภพบิตุรงค์
ตอนที่ 1
ณ โรงภาพยนตร์แห่งหนึ่งย่านใจกลางกรุงเทพมหานคร วันนี้เป็นวันเปิดฉายรอบ
ปฐมฤกษ์ให้สื่อมวลชนชมภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ชาติไทยเรื่อง“สี่ทหารเสือพระเจ้าตาก”
สื่อมวลชนทุกช่องและหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ต่างรุมล้อมนักแสดงที่กำลังให้สัมภาษณ์สดกัน
อย่างเนื่องแน่น ทั้งนักแสดงที่รับบทเป็นพระเอกนางเอก และตัวประกอบสำคัญของภาพยนตร์
เรื่องดังกล่าว รวมไปถึงภานุนักแสดงหนุ่มผิวเข้มใบหน้าคมคายหล่อเหลาแบบชายไทยแท้ที่รับบทแสดงเป็นหนึ่งในสี่ทหารเสือพระเจ้าตาก ถึงแม้ว่าบทที่ได้รับจะไม่ใช่พระเอกของเรื่อง
แต่บทหนึ่งในสี่ทหารเสือพระเจ้าตากก็มีความสำคัญและโดดเด่นไม่แพ้บทพระเอกเลยสักนิด
ซึ่งสังเกตได้จากดวงตาและรอยยิ้มของเขาเปี่ยมล้นไปด้วยความสุขที่สุดในชีวิต
ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่จะตัดสินใจรับแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ เขาได้ปฏิเสธไม่ขอแสดงมาโดยตลอด ถึงแม้ว่าจะมีการเสนอให้ค่าตอบแทนสูงมากกว่าเรื่องก่อนๆ ที่ผ่านมาก็ตาม จนกระทั่ง
ความคิดของเขาได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไป....เป็นเพราะ?....?....เป็นเพราะอะไร?....?....
“เชื่อพี่เถอะภานุ บทแบบนี้หาเล่นยากมากเลยนะจ๊ะน้องรัก”
พี่ส้มแป้น นักเขียนบทมือหนึ่งของค่ายไททรรศน์โปรดักชั่น พยายามเกลี้ยกล่อมให้เขาใจอ่อน
แต่สายตาเขาจ้องมองไปยังพี่ส้มแป้นที่นั่งอยู่เบื้องหน้า ฉายแววตาเหมือนขาดความมั่นใจใน
ตนเอง เขาฝืนยิ้มให้อย่างไม่เต็มปากนักพร้อมพูดด้วยเสียงเรียบนิ่งว่า
“ผมคิดว่าไม่น่าจะเหมาะสมกับผมหรอกครับพี่ส้มแป้นแสดงเป็นนักรบโบราณมันเล่น
ยากกว่าบททั่วๆ ไปเยอะ ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาจะได้รับบทไม่โดดเด่นอะไรมากนัก หรือเป็นแค่เพียง
ตัวรองพระเอกก็ตามทีแต่ผมก็มีความภาคภูมิใจกับบทที่ได้รับมากกว่าดังนั้นถ้าจะให้เล่นบท
สำคัญๆ ที่เป็นถึงหนึ่งในสี่ทหารเสือพระเจ้าตากผมกลัวว่าความสามารถของผมจะเล่นไม่ถึง
บทที่ได้รับนะสิครับพี่”
พี่ส้มแป้นมองหน้าภานุหนุ่มหล่อรูปงามพร้อมพูดด้วยน้ำเสียงและสีหน้าเคร่งเครียดว่า
“อย่าดูถูกตัวเองอย่างนั้นสิจ๊ะน้องรัก ใครว่าภานุไม่มีความสามารถ แต่เป็นเพราะ
ที่ผ่านๆ มาไม่มีโอกาสได้บทดีๆ เท่านั้นเอง เอาอย่างนี้ดีกว่ามั้ย พี่ว่าภานุลองเอาบทไปอ่านดู
ก่อนเนอะ ถ้าเกิดเปลี่ยนใจขึ้นมาเมื่อไหร่ก็รีบมาบอกพี่ได้เลยนะจ๊ะน้องรัก”
เขายังคงนิ่งเฉยไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบอะไรทั้งสิ้น แต่ในหัวสมองยังครุ่นคิดสับสนวุ่นวายทำให้เกิด
อาการลังเล กล้าๆ กลัวๆ จนจับต้นชนปลายไม่ถูกและขาดความมั่นใจในตนเองอย่างไม่เคย
เป็นมาก่อนใบหน้าคมคายระบายความรู้สึกวิตกกังวลที่เก็บกดไว้ในใจออกมาทั้งหมด จนพี่ส้มแป้นสังเกตได้ หล่อนยื่นเอกสารเล่มหนาให้เขาพลางโปรยยิ้มให้บางๆ ก่อนเอ่ยขึ้นว่า
“เอาเถอะหน่า ไม่ต้องทำหน้าซีเรียสเคร่งเครียดขนาดนั้นหรอกขอให้เชื่อพี่สักครั้งเถิดนะ
เอ้า....เอาบทไปอ่านและศึกษาดูก่อนก็แล้วกันนะจ๊ะ”
“ได้....ได้ครับพี่ส้มแป้น”
เขาขานรับอย่างไม่ค่อยเต็มปากเต็มคำนักพร้อมรับเอกสารเล่มหนาเอาไว้ในมือ
2
นับตั้งแต่วันที่รับบทมาได้เกือบเดือน ภานุไม่เคยแตะต้องหยิบมาอ่านและศึกษา
แต่อย่างใดจากวันเป็นเดือนจากเดือนเลื่อนมาโดยตลอด เขาไม่ได้สนอกสนใจกับบทที่ถูกวางตัวให้แสดงเป็นหนึ่งในสี่ทหารเสือพระเจ้าตากแต่อย่างใด จนกระทั่งวันหนึ่งเขาฉุดคิดขึ้น
มาได้ว่า
“เอ๋....ทำไมหมู่นี้เราชอบฝันเห็นอะไรแปลกๆ และทุกเช้าหลังตื่นนอนจะรู้สึกอ่อนเพลีย
เมื่อยล้า เหนื่อยไม่มีเรี่ยวแรงเอาเสียเลย มันเหมือนวิ่งออกกำลังกายมาทั้งคืน”
เขานิ่งคิดอยู่เป็นนานสองนาน พยายามทบทวนถึงความฝันที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เกือบทุกคืน ภาพใน
ความฝันที่มองเห็นอยู่เบื้องหน้ามันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกจนจำได้ขึ้นใจและรู้สึกว่าเหมือนตัวเองอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ บรรยากาศรอบๆ กายเต็มไปด้วยผู้คนที่ไม่เคยเห็น
มาก่อนและไม่รู้จักมักจี่เลยสักคนแต่ละคนรูปร่างสูงใหญ่กำยำล่ำสันผิวเข้มคล้ำดำแดงเพราะ
เกรียมแดด นุ่งผ้าเตี่ยวสีดำสนิทส่วนท่อนบนเปลือยเปล่าเผยให้เห็นกล้ามอกแข็งแกร่งและสัก
ลวดลายแปลกตา จนไปถึงต้นแขนที่มีมัดกล้ามแข็งแรงหลายครั้งเหมือนกันที่เขาทำใจดีสู้เสือแอบมองใบหน้าคมคายรกครึ้มด้วยหนวดเครารุงรังยกเว้นทรงผมตัดสั้นไถเกรียนจนเห็นหนังหัว
พลางคิดในใจว่า
“มองยังไงก็โจรชัดๆ นี่เรากำลังตกอยู่ท่ามกลางกองโจรจริงๆ เหรอนี่ดูหน้าตาแต่ละคนสิ
น่ากลัว....น่ากลัวเสียจนขนลุกขนพอง”
สักพักใหญ่ภาพที่อยู่เบื้องหน้าค่อยๆ เลือนหายไปอย่างช้าๆ จนบริเวณนั้นมีแต่ความว่างเปล่า
ไร้ผู้คนเขาพยายามเพ่งสายตามองฝ่าความมืดเป็นเวลานาน จนส่งผลให้มีอาการปวดศีรษะ
และดวงตาทั้งสองข้างขึ้นมาทันทีความมืดผสมกับความเงียบสงัดทำให้เขามโนไปต่างๆ นานา
ยิ่งปล่อยเวลาให้เนิ่นนานมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ความคิดฟุ้งกระจายไปไกลอย่างไร้การควบคุม
เขาขยี้ตาหลายครั้งจนรู้สึกเจ็บพลางบ่นพึมพำออกมาเบาๆ ว่า
“อ้าว!....หายไปไหนกันหมดแล้วเอ่อ....ถึงว่าสิเงียบเชียบเหมือนป่าช้าเลย”
ก้าวแต่ละก้าวที่เขาเดินตรงไปข้างหน้า มันเหมือนไร้จุดหมายปลายทางอย่างชัดเจนเขาเริ่ม
รู้สึกเกิดการลังเลไม่กล้าตัดสินใจขึ้นมากะทันหัน
“เอายังไงต่อดีเรา จะเดินไปข้างหน้า หรือว่าจะหยุดแค่นี้”
เขาว่าพลางหันซ้ายแลขวาเหลียวมองไปรอบๆ บริเวณนั้นอยู่พักใหญ่จนกระทั่งภาพที่มืดสนิท
ค่อยๆ สว่างขึ้นจากจุดเล็กๆ ที่อยู่ตรงหน้าแบบไกลสุดลูกหูลูกตาเริ่มขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆเขาขยี้ตาจนรู้สึกเจ็บอีกครั้งก่อนอุทานเสียงหลงอย่างลืมตัว
“อุ๊ย!....นั่นอะไรน่ะ”
นัยน์ตาคู่คมของเขาจ้องมองสิ่งที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าด้วยความมหัศจรรย์ใจวัตถุนั้นกำลังลอย
ละลิ่วมุ่งตรงเข้ามาหาเขาอย่างช้าๆ จนเริ่มเห็นได้ชัดเจนขึ้นว่าเป็นรูปร่างของมนุษย์ ยิ่งเคลื่อนไหว
ใกล้เข้ามามากเท่าไหร่ ความสว่างของแสงก็ยิ่งแผ่รัศมีเพิ่มเป็นเงาตามตัวมากขึ้นเท่านั้น จนเขา
ต้องร้องถามด้วยเสียงสั่นเครือเพราะความตื่นเต้นไปว่า
3
“ใคร....นั่นใครน่ะ....ใครยืนอยู่ตรงนั้น”
ไม่มีเสียงโต้ตอบแต่อย่างใด เขานิ่งคิดเพียงครู่โดยปล่อยให้เวลาผ่านไปพร้อมๆ กับบรรยากาศที่เงียบสงัดวังเวงกว่าเดิมจนทำให้รู้สึกกลัวขึ้นมาจับใจ
“ผมถามทำไมไม่ตอบ....ได้ยินที่ผมถามมั้ย”
เขาร้องถามอีกครั้งด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว แต่ครั้งนี้ได้ผลตอบรับเกินคาดเพราะจู่ๆมีเสียงโต้ตอบ
กลับมาทันทีทันควัน แต่มันเป็นเสียงหัวเราะดังลั่นกึกก้องกัมปนาทดุจฟ้าถล่มดินทลาย
“....ฮ่า....ฮ่า....ฮ่า....ฮ่า....”
และเป็นเพราะเสียงหัวเราะนี้เองที่ทำให้ภานุตกใจสะดุ้งตื่นจากความฝันเกือบทุกครั้ง เขานอนนิ่ง
อยู่บนเตียงเพราะความเหนื่อยล้าและอ่อนเพลียจนแทบไม่มีเรี่ยวแรงจะลุกขึ้นนั่ง เรือนกายกำยำล่ำสันเปียกชุ่มโชกไปด้วยเหงื่อเม็ดโป้งๆที่ผุดขึ้นท่วมทั้งตัวเหมือนพึ่งอาบน้ำเสร็จความตื่น
ตระหนกทำให้หัวใจเต้นเร็วแรงและสั่นระรัวจนหน้ามืดตาลาย หวิวๆ คล้ายจะเป็นลม เขาจึง
ตัดสินใจขอนอนนิ่งๆเหมือนเดิม โดยปล่อยเวลาให้ผ่านไปเกือบพักใหญ่จากนั้นค่อยๆ พยุงตัว
ลุกขึ้นนั่ง และพยายามคิดทบทวนถึงความฝันที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าพลางพึมพำออกมาเบาๆ ว่า
“นี่มันเกิดอะไรขึ้นกับเรา....ภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมันเป็นความฝันหรือว่าเป็นความจริง
กันแน่....แล้ว....แล้วใครยืนอยู่ตรงนั้น”
เขาปะติดปะต่อความคิดทั้งหมดด้วยความสับสนยุ่งเหยิงยิ่งคิดก็ยิ่งปวดหัวจนแทบจะระเบิด
“ถามไม่ตอบ เอาแต่หัวเราะ....เสียงหัวเราะน่ากลัวน่ากลัวจริงๆ”
ภานุใช้ฝ่ามือลูบไล้ไปทั่วใบหน้าคมคาย พลางถอนหายใจเฮือกใหญ่ด้วยความวิตกกังวลต่อ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากนั้นเขาจึงตัดสินใจลุกขึ้นเดินไปยังโต๊ะทำงานที่ตั้งอยู่ริมหน้าต่างนัยน์ตา
คู่คมจ้องมองเอกสารเล่มหนาที่วางอยู่บนโต๊ะก่อนเผลอพูดกับตัวเองออกมาเบาๆ ว่า
“อ้าว!....บทภาพยนตร์สี่ทหารเสือพระเจ้าตากนี่”
เขาหย่อนตัวลงนั่งบนเก้าอี้ แล้วจดๆ จ้องๆ เอกสารเล่มหนาด้วยความลังเลใจ ใจหนึ่งอยากหยิบ
ขึ้นมาอ่านเพื่อทำความเข้าใจถึงแก่นเรื่อง และเอกลักษณ์เฉพาะของตัวละคร โดยเฉพาะบท
ที่ถูกวางตัวให้แสดงเป็นหนึ่งในสี่ทหารเสือพระเจ้าตากส่วนอีกใจหนึ่งยังรู้สึกเฉยๆ ไร้ความ
อยากรู้อยากเห็นอย่างสิ้นเชิง แต่เมื่อมานึกถึงภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกเกือบทุกคืน
จึงทำให้ฉุดคิดขึ้นมาได้ทันทีทันควันว่า
“เอาวะ....อ่านก็อ่านเผื่อบางทีอาจมีอะไรเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเราก็เป็นได้
ดีเหมือนกันจะได้รู้แล้วรู้รอดไปเสียที”
ภานุค่อยๆ บรรจงเปิดเอกสารเล่มหนาที่วางอยู่เบื้องหน้าอย่างช้าๆ เขาเริ่มอ่านบทภาพยนตร์
ตั้งแต่หน้าแรกไปเรื่อยๆ ด้วยความเพลิดเพลิน ใบหน้าคมคายเริ่มผ่อนคายความวิตกกังวลลง
ไปได้บ้าง เมื่อเข้าใจในเนื้อหาของเรื่องและเอกลักษณ์เฉพาะของตัวละคร โดยเฉพาะบทที่วางตัว
ให้เขาแสดงเป็นพระยาเชียงเงิน ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ทหารเสือพระเจ้าตาก
“พระยาเชียงเงินท่านเป็นใคร แล้วทำไมต้องให้เราแสดงเป็นท่านด้วย”
4
เขาอ่านไปพลางคิดคล้อยตามไปพลางด้วยความฉงนสงสัยแล้วหลังจากอ่านไปได้ครึ่งเล่ม
จึงตัดสินใจโทรศัพท์ไปหาพี่ส้มแป้น นักเขียนบทมือหนึ่งของค่ายไททรรศน์โปรดักชั่นทันที
“ฮัลโหล....พี่ส้มแป้น ผมภานุนะครับ”
“อ้าว!....ว่าไงจ๊ะน้องรัก หายเงียบไปเลยนะเธอ แล้ววันนี้มีอะไรให้พี่รับใช้จ๊ะ”
พี่ส้มแป้นตอบรับเสียงใสด้วยอาการตกใจเล็กน้อย เพราะไม่คิดไม่ฝันเลยว่าพ่อพระเอกสุดหล่อจะโทรศัพท์กลับมาหาตัวเองเร็วกว่ากำหนด
“แหม....พี่ส้มแป้นก็ว่าเกินไปใครจะไปกล้าใช้พี่ส้มแป้นละครับ”
“พี่ล้อเล่น ว่าแต่โทรศัพท์มาหาพี่วันนี้มีอะไรเหรอจ๊ะ”
ต้นทางเสียงเงียบไปพักใหญ่จนสามารถได้ยินเสียงลมหายใจเข้าออกผ่านโทรศัพท์ดังชัดเจน
“อ้าว!....น้องรัก ทำไมเงียบไปล่ะ”
พี่ส้มแป้นร้องถามเสียงหลง
“คือ....คือผมว่า....”
“คืออะไรจ๊ะ”
“คือ....คือผมจะโทรศัพท์มาบอกพี่ส้มแป้นว่าผมยินดีรับเล่นสี่ทหารเสือพระเจ้าตากครับ”
“จริงเหรอ เธอไม่ได้มาหลอกให้พี่ดีใจเล่นนะจ๊ะ”
น้ำเสียงปลายทางแสดงถึงความดีใจจนรู้สึกได้
“จริงสิครับพี่ส้มแป้นเรื่องแบบนี้ใครจะมาหลอกกันเล่นๆ ได้ล่ะ”
“โอ.เค. ถ้าเป็นความจริง เดี๋ยวพี่จะโทรศัพท์ไปเรียนท่านเฮียฮ้อให้ทราบในเบื้องต้นก่อน
ยิ่งโดยเฉพาะผู้กำกับปัญญาคงดีใจไม่น้อย ถ้ารู้ว่าเธอตอบตกลงรับแสดงเป็นพระยาเชียงเงิน
ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ทหารเสือพระเจ้าตาก”
“อ้าว!....เหรอครับ แล้วทำไมพี่ผู้กำกับปัญญาถึงต้องดีใจขนาดนั้น”
“พี่ได้ข่าวมาว่าผู้กำกับปัญญาเค้าคาดหวังในตัวเธอมากเลยนะสิ”
“คาดหวังในตัวผมมากเลยเหรอครับ”
“อือ....ใช่จ้ะ”
พี่ส้มแป้นพูดจบพร้อมปิดโทรศัพท์ลงในทันที โดยปล่อยให้ภานุงงงวยกับคำพูดด้วยความฉงน
สงสัย
“พระยาเชียงเงิน....ท่านเป็นหนึ่งในสี่ทหารเสือพระเจ้าตาก....แล้วทำไมต้องให้เราแสดง
เป็นท่านด้วย”
เขายังครุ่นคิดถึงคำพูดของพี่ส้มแป้นอยู่ตลอดเวลายิ่งมารู้ความจริงเพิ่มเติมอีกว่าผู้กำกับปัญญา
คาดหวังในตัวเขามาก กับการรับบทแสดงเป็นพระยาเชียงเงิน ในภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ชาติไทยเรื่อง “สี่ทหารเสือพระเจ้าตาก”
“พระยาเชียงเงิน....พระยาเชียงเงิน?”
เขาทวนชื่อไปมาอยู่เป็นนานสองนาน จนในที่สุดจึงตัดสินใจกลับไปสนใจอ่านและศึกษาบท
5
ภาพยนตร์ต่อด้วยความตั้งอกตั้งใจแน่วแน่เป็นพิเศษซึ่งเค้าโครงภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์
ชาติไทยเรื่อง “สี่ทหารเสือพระเจ้าตาก” ส่วนใหญ่ได้อ้างอิงมาจากจดหมายเหตุความทรงจำ
ของ กรมหลวงนรินทรเทวี (พ.ศ.2310-2381) และพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ
(เจิม) โดยเฉพาะในส่วนที่กล่าวถึงพระยาเชียงเงิน
“เอาหน่ะ....ไอ้นุสู้สู้....เราจะต้องตั้งใจอ่านบทภาพยนตร์ให้จบโดยเร็วที่สุด....ไอ้นุสู้โว้ย”
บรรยากาศภายในงานเปิดฉายรอบปฐมฤกษ์ให้สื่อมวลชนชมภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์
ชาติไทยเรื่อง “สี่ทหารเสือพระเจ้าตาก” ต่างเนืองแน่นไปด้วยสื่อมวลชนเกือบทุกแขนงและคับคั่ง
กับเหล่าบรรดาแฟนคลับของนักแสดงที่รับบทเป็นพระเอก นางเอก และตัวประกอบสำคัญของ
ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว เวลาผ่านไปเกือบสองชั่วโมงกับการให้สัมภาษณ์สดแก่สื่อมวลชนทุกช่อง
และหนังสือพิมพ์ทุกฉบับต่อจากนั้นทั้งทีมงานค่ายไททรรศน์โปรดักชั่นรวมถึงนักแสดงทุกคนต่างไปรวมตัวกันต่อที่ร้านอาหารใกล้ๆ บริษัท เพื่อร่วมงานเลี้ยงฉลองความสำเร็จกับผลงาน
ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ชาติไทยเรื่อง “สี่ทหารเสือพระเจ้าตาก”
“ขอให้ทุกคนดื่มกับความสำเร็จของผลงานเรื่องนี้ครับ”
เฮียฮ้อผู้เป็นใหญ่ของค่ายไททรรศน์โปรดักชั่นกล่าวเชิญชวนทุกคนเสียงเงียบไปเพียงครู่ก่อน
กลับมาสรวลเสเฮฮาดังเดิมทุกคนในงานเลี้ยงต่างภาคภูมิใจและปลื้มปิติกับความสำเร็จครั้งนี้
“ต้องขอบใจทีมงานและนักแสดงทุกคนที่ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจในการทำงานกันอย่าง
ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยโดยเฉพาะผู้กำกับปัญญาที่ทำงานหนักจนแทบไม่มีเวลาพักผ่อนแล้วยัง
มีอีกหนึ่งคนที่ผมจะลืมพูดถึงไม่ได้เลยก็คือคุณส้มแป้นนักเขียนบทมือหนึ่งของพวกเราผม....
ผมขอบใจทุกคนมากจริงๆ ครับ”
ทุกคนต่างยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ในคำกล่าวชมของเจ้านายผู้แสนดี และเป็นที่รักยิ่งเหนือกว่าสิ่งอื่นใด
ผลงานเรื่องนี้สร้างชื่อเสียงให้กับค่ายไททรรศน์โปรดักชั่น และแจ้งเกิดให้กับนักแสดงเกือบทุกคน
จวบจนเวลาล่วงเลยเกือบจะถึงเที่ยงคืนทุกคนยังสนุกสนานกับการดื่มกินในงานเลี้ยง โดยเฉพาะ
กลุ่มผู้ชายทั้งดื่มและร้องเพลงคาราโอเกะกันอย่างเพลิดเพลินสำราญใจ หลังจากระดับผู้บริหาร
กลับกันหมดแล้วก็มาดื่มกินกันต่อที่บริษัท จนกระทั่งผู้ใหญ่คนสุดท้ายกำลังจะลากลับบ้านจึงได้กล่าวทิ้งท้ายด้วยความห่วงใยขึ้นว่า
“พี่ว่านะ ถ้าใครเมามากก็ไม่ต้องกลับบ้านให้นอนที่ออฟฟิศนี่แหละดีที่สุดเมาแล้วฝืน
ขับรถขับรากัน มันอันตรายอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ง่ายๆ เมาไม่ขับจะดีกว่านะจ๊ะ”
“โธ่เจ้ ระดับพวกผม จะเมาเหล้ามากแค่ไหน ก็ขับรถกลับบ้านได้อย่างสบายๆ ครับ”
น้องผู้ชายคนหนึ่งพูดแทรกขึ้นขณะอยู่ในอาการมึนเมา
“เอาเถอะหน่าอย่าทำเป็นเก่ง ปากดีพูดไปเรื่อย ขอให้เชื่อพี่สักครั้งจะได้มั้ย”
พี่ส้มแป้นพูดเสียงแข็งค่อนข้างจริงจัง จนทำให้ทุกคนในวงสุรานิ่งเงียบไปชั่วขณะ แต่ความในใจ
ของภานุรู้สึกเฉยๆ กับคำขอร้องจากพี่สาวคนนี้ที่เขานับถือดุจดั่งญาติผู้ใหญ่
6
“ภานุล่ะ เมาหรือยัง ถ้าเมาก็นอนที่ออฟฟิศนี่แหละนะจ๊ะน้องรัก”
เขาพยักหน้าให้แทนคำตอบเสมือนยอมรับกับคำขอร้อง แต่แท้จริงแล้วเขาทำไปอย่างนั้น โดยไม่ได้ใส่ใจแต่อย่างใด
ตอนที่ 2
เสียงไซเรนรถพยาบาลดังก้องมาแต่ไกลเจ้าหน้าที่ขับรถพยาบาลพยายามเปิดสัญญาณ
ไฟฉุกเฉินขอทางตลอดเส้นทางเพียงเพื่อต้องการนำส่งผู้บาดเจ็บให้ถึงมือแพทย์โดยเร็วที่สุดความเร็วเป็นตัวบ่งชี้ถึงความเป็นความตายของผู้ได้รับบาดเจ็บ เพื่อให้หลุดพ้นจากเงื้อมมือของพญามัจจุราชและเพียงแค่อึดใจเดียวความวุ่นวายบังเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อรถพยาบาลได้มาจอด
หน้าตึกฉุกเฉิน จากนั้นเจ้าหน้าที่นำร่างผู้บาดเจ็บเข้าห้องฉุกเฉินอย่างเร่งด่วน
“ตอนนี้มาถึงโรงพยาบาลแล้วครับเจ้”
รังสรรค์รายงานให้ผู้ที่อยู่ปลายสายโทรศัพท์ทราบ ขณะที่เขายังตกอยู่ในอาการตื่นตระหนกกับ
อุบัติเหตุที่พึ่งเกิดขึ้นมาสดๆ ร้อนๆ เมื่อประมาณตีสี่กว่าๆ ภายหลังเลิกราจากวงสุราที่ดื่มกินกัน
ตั้งแต่งานเลี้ยงที่ร้านอาหารจนมาต่อกันอีกที่บริษัท
สื่อมวลชนทุกช่องและหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ต่างรายงานข่าวด่วนการเกิดอุบัติเหตุของ
พระเอกหนุ่มกันอย่างครึกโครม
“พระเอกหนุ่มประสบอุบัติเหตุปางตาย”
“นักแสดงหนุ่ม....ผู้รับบทเป็นพระยาเชียงเงิน หนึ่งในสี่ทหารเสือพระเจ้าตากได้ประสบอุบัติเหตุอาการสาหัส”
“ภานุ....พระเอกหนุ่มประสบอุบัติเหตุเป็นตายเท่ากัน”
กลุ่มควันสีขาวลอยฟุ้งกระจายหนาตาเหม่อมองไปทางไหนมีแต่ความว่างเปล่าและความมืด
สนิมจนรู้สึกหวาดกลัวขึ้นมาจับใจบรรยากาศรอบกายไร้เสียงไร้เงาผู้คน และไร้ความเคลื่อนไหว
ทุกสรรพสิ่งมีชีวิตทุกย่างก้าวแต่ละก้าวไร้เรี่ยวแรงเหยียบย่ำ ถึงแม้ว่าใต้ฝ่าเท้าจะรู้สึกเป็นพื้นดิน
จิตอันว่างเปล่าเคว้งคว้างล่องลอยไร้จุดหมายปลายทาง เสมือนประหนึ่งว่าตัวเบาหวิวดั่งปุยนุ่น
ภานุขยี้ตาอยู่หลายครั้งพร้อมตีเนื้อตัวให้รู้สึกเจ็บก่อนพึมพำออกมาเบาๆ อย่างลืมตัวว่า
“ตีแล้วรู้สึกเจ็บ เรายังไม่ตายนี่หว่า แต่ตอนนี้เรา....เราอยู่ที่ไหน ทำไมมันมืดขนาดนี้”
เขาเหลียวซ้ายแลขวามองรอบๆ กายด้วยความหวาดระแวง ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาจะเป็นคนที่ไม่เคย
กลัวความมืดและสรรพสิ่งใดๆแต่คราวนี้กลับรู้สึกหวาดกลัวและหนาวเย็นจนสั่นสะท้านในอก
อย่างบอกไม่ถูก ความพยายามเพ่งมองฝ่าความมืดมิดที่อยู่เบื้องหน้าทำให้รู้สึกแสบตา เขาจึง
ตัดสินใจหลับตาลงอย่างช้าๆ พร้อมกับหยาดน้ำตาที่ไหลอาบนองหน้า น้ำตาของลูกผู้ชายไหล
พรากหลังจากเริ่มรู้ซึ้งถึงสัจธรรมชีวิต เพราะสังหรณ์ใจว่าจะต้องเกิดอะไรขึ้นกับตัวเองอย่าง
แน่นอน
“หรือว่า....หรือว่าเราตายแล้ว”
“ฮ่า....ฮ่า....จะเป็นหรือตาย มันอยู่ที่ตัวของเจ้าคนเดียวเท่านั้น”
เสียงหัวเราะดังแทรกพร้อมคำพูดมาจากสุดปลายทางอันมืดมิดมันเป็นเสียงปริศนาที่สร้างความ
ตื่นตระหนกผสมกับความประหลาดใจ ถึงแม้ว่าจะพยายามเพ่งมองในความมืดหลายครั้งหลายครา
แล้วก็ตามแต่ก็ยังไม่สามารถหาคำตอบให้กับตัวเองได้จนผลสุดท้ายจึงรวบรวมความกล้าหาญ
8
ก่อนตะโกนร้องถามออกไปว่า
“ใคร....นั่นใครพูด”
“ฮ่า....ฮ่า....เจ้าจะรู้ไปทำไม มันไม่ใช่กงการอะไรของเจ้า....ฮ่า....ฮ่า”
เสียงปริศนายั่วยุให้โมโหแต่เขากลับมิได้สนใจใยดีเลยสักนิด เพราะหลังสิ้นคำกล่าวความสนใจ
ไปอยู่ที่จุดสีขาวเล็กๆ ที่อยู่สุดปลายทางอันมืดมิดจากจุดเล็กๆ ดั่งเม็ดกรวดเม็ดทรายมันค่อยๆ
สว่างขึ้นเรื่อยๆรัศมีนวลใสแผ่กระจายขยายเป็นวงกว้างจนเริ่มมองเห็นสิ่งมีชีวิตเคลื่อนไหว
ย่างก้าวเดินออกมาอย่างช้าๆ ด้วยความสุขุม ภานุจ้องเขม็งด้วยความสงสัย พลางร้องถามเสียง
หลงว่า
“นั่นใครน่ะ....ใครยืนอยู่ตรงนั้น”
บุคคลปริศนาไม่ยอมตอบคำถาม เพราะมั่วแต่หัวเราะเยาะเสียงดังลั่นเหมือนฟ้าถล่มดินทลาย
จนครั้งนี้เขารู้สึกโกรธเคืองขึ้นมาจริงๆ จึงตัดสินใจร้องถามอีกครั้งด้วยอารมณ์โมโหว่า
“ผมถาม....แล้วทำไมไม่ตอบไม่ใช่เอาแต่หัวเราะอย่างเดียวทำแบบนี้มันน่ารำคาญ....
น่ารำคาญที่สุดเลยรู้มั้ย”
เขาระเบิดอารมณ์โกรธใส่บุคคลปริศนาอย่างลืมตัว
“ใจเย็นๆ ก่อนสิท่าน ทำเป็นเลือดร้อนไปได้....ฮ่า....ฮ่า”
บุคคลปริศนายังไม่หยุดยั่ว แถมหัวเราะเยาะดังลั่นอย่างขำขัน ภานุเพ็งตามองร่างโปร่งนวลใส
ที่ตอนนี้ค่อยๆ ปรากฏร่างเป็นชายชรานุ่งขาวห่มขาวใบหน้าอิ่มบุญ
“เอาล่ะ....เอาล่ะข้าบอกเจ้าก็ได้ว่าข้าเป็นใคร ข้า....ข้าคือปุโรหิต”
“ปุโรหิต....ปุโรหิตคือใคร’”
ภานุเอ่ยถามพร้อมขมวดคิ้วมุ่น
“ข้าเป็นปุโรหิตของพ่อเหนือหัวตากสิน’”
“ปุโรหิตของพ่อเหนือหัวตากสิน’”
เขาทบทวนคำพร้อมจ้องมองร่างชายชรานุ่งขาวห่มขาวที่ยืนอยู่เบื้องหน้าด้วยความฉงนพักใหญ่
เขาพินิจพิเคราะห์อยู่เป็นนานสองนาน พลางแอบคิดในใจว่า
“ถึงแม้ว่าจะมองดูคล้ายชายชราสูงวัยที่น่าจะมีอายุราวๆ หกสิบกว่าๆก็ตาม แต่บุคลิก
ของเค้าเป็นคนมาดขรึมท่าทางสุขุมนุ่มลึกน้ำเสียงที่เปล่งออกมาดังก้องกังวาน ยิ่งแววตาที่เค้า
จ้องมองมายังเรามันทรงพลังอำนาจจนดูน่าเกรงขามอย่างอัศจรรย์ใจยิ่งนัก”
ผู้ถูกกล่าวถึงแอบอมยิ้มเล็กๆ ที่มุมปาก เสมือนจะอ่านความในใจของคู่สนทนาได้
“เจ้าไม่ต้องกลัวข้าหรอก เพราะเจ้ากับข้าก็ไม่ใช่คนอื่นคนไกลที่ไหน”
ภานุงงงวยกับคำพูดของเขา จึงตัดสินใจร้องถามเพื่อต้องการคลายปมข้อสงสัยไปว่า
“ไม่ใช่คนอื่นคนไกลยังไง....ผมไม่เข้าใจ”
“ฮ่า....ฮ่า....เจ้านี่เข้าใจอะไรยากเสียจริง....ฮ่า....ฮ่า”
9
ชายชราสูงวัยกล่าวพร้อมหัวเราะเยาะชอบใจเสียงดัง
“อ้าว....อยู่ดีๆ ก็มาหาว่าผมเข้าใจอะไรยากเสียนี่ ท่านยังไม่รู้อะไร คนอย่างผมใครคบแล้วสบายใจหายห่วง จริงใจไม่จิงโจ้ ใจถึงพึ่งได้ ถึงไหนถึงกัน....ฮ่า....ฮ่า....เออ....แต่เอา
เถอะ...ทีนี้ผมขอถามท่านบ้างอย่างเป็นงานเป็นการละนะ”
“เจ้าไม่ต้องมาพูดให้เหม็นขี้ฟัน ข้ารู้จักเจ้าดีว่าเป็นคนเช่นไร”
“รู้จักผมดี ท่านเอาอะไรมาพูด เราสองคนยังไม่เคยเจอกันเลยสักครั้ง แล้วจะมาหาว่า
รู้จักผมดีได้ยังไง ขี้โม้รึเปล่า”
เขาเริ่มรู้สึกมีอารมณ์โกรธขณะพูดพร้อมอาการงงๆ ในคำกล่าวของชายชราสูงวัย
“ฮ่า....ฮ่า....ข้ารู้จักมักคุ้นกับเจ้ามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว”
“เดี๋ยว....เดี๋ยว....คำว่าแต่ไหนแต่ไร นี่มันหมายความว่ารู้จักกันมานานมากเลยนะครับ”
“อืม....ใช่จะว่าอย่างนั้นก็ได้นะ....ฮ่า....ฮ่า”
แววตาของเขาที่แอบชำเลืองมองหน้าชายชราสูงวัยมันเต็มไปด้วยความฉงนสงสัยกับคำวาจา
แปลกๆ จนทำให้เกิดความรู้สึกสับสนพลุ่งพล่านจับต้นชนปลายไม่ถูก โดยเฉพาะสถานะที่อยู่
ในปัจจุบันนี้
“ตอนนี้เราอยู่ที่ไหนกันแน่ ยังอยู่ในโลกมนุษย์ หรือว่าตกอยู่ในนรกอเวจี หรือว่าอยู่
บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์....โอ๊ย!....จะบ้าตาย....นี่มันเกิดอะไรขึ้นกับเรา....ใครก็ได้ช่วยบอกทีเถอะ”
เขาอยากแหกปากตะโกนออกมาให้ดังไปทั่วทั้งสามโลก หรือไม่ก็ร้องไห้ให้ขี้มูกโป่งเหมือนตอนเป็นเด็กเล็กหวังเพียงเพื่อต้องการระบายความเครียดและความกดดันที่เกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้ความคิดเจ้ากรรมก็ฟุ้งซ่านเตลิดเปิดโปงไร้จุดหมายปลายทางที่ชัดเจน เขายังไม่รู้เลยว่า
จะดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไรดี เหลียวซ้ายแลขวามองหาผู้ใด หมายให้เป็นที่พึ่งพาอาศัยพักพิง
ก็หามิได้เลยเพราะฉะนั้นตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตนแน่แท้จริงๆ
“เอาล่ะ ผมขอถามท่านอย่างจริงๆ จังๆ และขอให้ท่านช่วยตอบผมอย่างจริงๆ จังๆ
ด้วยเช่นกันเออ....ตามที่บอกว่าท่านเป็นปุโรหิตของพ่อเหนือหัวตากสินแล้ว....แล้วมันมา
เกี่ยวอะไรกับผม”
ภานุกลั้นใจทำใจดีสู้เสือก่อนตัดสินใจโยนคำถามด้วยน้ำเสียงเคร่งเครียดจริงจังจนทำให้
ชายชราสูงวัยรู้สึกอึดอัดและวิตกกังวลใจขึ้นมาทันทีแต่แววตาที่ลอบมองไปยังภานุแอบแฝง
ไปด้วยความชื่นชม และนับถือในความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดีต่อพ่อเหนือหัวตากสินยิ่งชีพ
พลางบ่นพึมพำในใจว่า
“พ่อเพิ่ม....ถึงแม้ว่าจะผ่านมากี่ภพกี่ชาติแล้วก็ตามเจ้าก็ยังมีใจเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ
ชาญชัยเสียนี่กระไรสมแล้วที่เจ้าเป็นทหารเอกคู่พระวรกายคู่พระทัยของพ่อเหนือหัวตากสินโดยแท้มิเสียแรงที่ข้าไว้วางใจ จึงยอมยกลูกสาวให้กับเจ้าได้ครอบครองยามออกเรือน”
ชายชราสูงวัยกล่าวจบพร้อมเยื้องย่างก้าวตรงเข้าไปหาเขาด้วยสีหน้าและท่าทางเป็นมิตรไมตรี
มากกว่าพบเจอกันแต่แรกราวฟ้ากับดิน
10
“พ่อเพิ่ม....เจ้าฟังข้านะ สิ่งที่ข้าจะพูดกับเจ้าคราวนี้มันคือเรื่องจริง….”
ชายชราสูงวัยหยุดกล่าว พร้อมสบตากับเขาอย่างฉันมิตร
“เดี๋ยว....ผมขอถามหน่อย....ใครคือพ่อเพิ่ม”
เขาเอ่ยถามเสียงแข็งด้วยความฉงนสงสัย พร้อมขมวดคิ้วมุ่นไร้รอยยิ้ม
“ฮ่า....ฮ่า....เจ้าแสดงเป็นใครล่ะ ก็คนนั้นแหละคือพ่อเพิ่ม”
“ถ้าพูดมาอย่างนี้ก็หมายความว่า ผมคือพ่อเพิ่มอย่างนั้นรึ”
“ฮ่า....ฮ่า....เจ้านี่ยังฉลาดหลักแหลมเหมือนเดิมเลยนะพ่อเพิ่ม....ฮ่า....ฮ่า....บทจะเข้าใจ
ก็เข้าใจอะไรได้ง่ายดายเสียเหลือเกิน”
ภานุมองหน้าชายชราสูงวัยด้วยความหมั่นไส้ เพราะเสียงหัวเราะอันดังลั่นประหนึ่งราชสีห์ผู้กำชัยชนะอย่างองอาจกล้าหาญ เขาจดจ้องมองชายชราสูงวัยที่ยืนอยู่เบื้องหน้าแทบไม่กะพริบตา
พลางแอบนึกคิดในใจว่า
“นี่เราจะต้องทนอยู่กับเค้าไปอีกนานแค่ไหน ต้องอดทนอดกลั้นไปอีกกี่วันกี่เดือนหรือกี่ปี
แล้วนี่เค้ากำลังจะทำอะไรกับเรา และทำไปเพื่ออะไรเฮ้อ....เอาละวะ....เป็นไงเป็นกัน สู้กันสักตั้ง
จะเป็นไรไป”
เขาถอนหายใจเฮือกใหญ่ก่อนตั้งคำถามไปว่า
“เอาล่ะ....ในเมื่อท่านบอกว่าผมคือพ่อเพิ่ม ซึ่งมันจะไปตรงกับบทที่ผมแสดงเป็นนายเพิ่ม
ถ้ายังงั้นก็หมายความว่าผมแสดงเป็นตัวของผมเองนะสิ”
“ฮ่า....ฮ่า....ใช่แล้ว ในอดีตกาลหลายภพหลายชาติที่ผ่านมา เจ้าคือนายเพิ่มซึ่งเป็นทหารเอกคู่พระวรกายคู่พระทัยของพ่อเหนือหัวตากสิน ชะตาชีวิตของเจ้าได้เวียนว่ายตายเกิดมาแล้วหลายภพหลายชาติจนลุล่วงมาถึงภพนี้”
“แล้วทำไมผมถึงต้องเวียนว่ายตายเกิดไม่จบไม่สิ้นสักที....มันเป็นเพราะอะไร....”
เขาตั้งใจถามด้วยใบหน้าเคร่งเครียด
“ทุกชีวิตต่างเป็นไปตามกรรมของตนซึ่งแต่ละคนต่างมีกรรมเป็นของตนเองถึงแม้ว่าจะล่วงเลยผ่านมากี่ภพกี่ชาติแล้วก็ตาม หากกรรมนั้นยังมิได้หลุดพ้นจากการอโหสิกรรมให้แก่กัน
ย่อมต้องมีการเวียนว่ายตายเกิดเพื่อรอการชดใช้กรรมนั้นๆให้ดับสูญสู่นิรันดร์กาล”
“ถ้าพูดมาอย่างนี้ เหมือนกับว่าผมไปทำเวรทำกรรมกับใครเอาไว้นะสิ”
“อืม....ใช่จะว่าอย่างนั้นก็ได้ แต่มันอาจเป็นเวรเป็นกรรมที่เจ้าตั้งใจทำหรือไม่ได้ตั้งใจทำก็เป็นได้”
“ยังไง....ผมไม่เข้าใจ”
ภานุเอ่ยปากถามพร้อมเกาหัวแกรกๆ ด้วยความงงงันในคำกล่าวของชายชราสูงวัย
“ฮ่า....ฮ่า....ในอดีตชาติเจ้าเป็นทหารเอกคู่พระวรกายคู่พระทัยของพ่อเหนือหัวตากสิน
ทุกคราวเมื่อเกิดศึกสงครามเจ้าพร้อมกับทหารมากมายต้องออกรบต่อสู้ศัตรู ศึกแต่ละคราว
ต้องรบราฆ่าฟันล้มตายกันเป็นอันมาก โดยไม่รู้เลยว่าศัตรูที่เจ้าเข่นฆ่าจนตายไปนั้น ต่างพากัน
11
ก่นด่าสาปแช่งอะไรไว้บ้างมันจึงเป็นตราบาปที่ติดตัวเจ้ามาโดยไม่รู้ตัว”
“สรุปง่ายๆ ก็คือในอดีตชาติที่ผ่านมา ผมคือนายเพิ่มซึ่งเป็นทหารเอกคู่พระวรกาย
คู่พระทัยของพ่อเหนือหัวตากสิน เพราะฉะนั้นเวรกรรมที่ผมสร้างขึ้นจากการรบราฆ่าฟันศัตรู
มันจึงเป็นตราบาปติดตัวมาแต่อดีตชาติ โดยที่ผมไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยอย่างนั้นใช่มั้ย”
ชายชราสูงวัยสบตาเขาพลางยิ้มน้อยๆ ให้ ก่อนกล่าวขึ้นว่า
“อืม....ใช่มันเป็นเวรเป็นกรรมที่เจ้าได้ทำเอาไว้จะโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม
แต่ถึงอย่างไรเจ้าก็ต้องชดใช้เวรกรรมนั้นๆ ให้หมดสิ้นไปวันยังค่ำเพราะเวรกรรมเป็นสิ่ง
ที่ใช้ทดแทนกันไม่ได้”
เขาถอนใจยาวด้วยความกังวลเพราะรู้สึกผิดเมื่อคิดถึงคำกล่าวของชายชราสูงวัย กับสิ่งที่สร้างไว้จากการรบราฆ่าฟันศัตรูในอดีตชาติที่ผ่านมา มันเป็นเวรเป็นกรรมที่จะต้องชดใช้
โดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เวลาผ่านไปประมาณหนึ่งนาทีหลังจากที่เขายืนสงบนิ่งเพื่อเป็น
การไว้อาลัยให้กับผู้วายชนม์ในอดีตชาติ จากนั้นจึงตัดสินใจเอ่ยถามชายชราสูงวัยขึ้นว่า
“เออ....ตามที่ท่านเล่าเรื่องราวต่างๆ มาทั้งหมดทั้งมวล ผมขอถามหน่อยสิว่าพอจะมี
อะไรมาพิสูจน์ให้ผมเชื่อได้บ้าง”
ชายชราสูงวัยหัวเราะดังลั่นด้วยความชอบใจ
“ฮ่า....ฮ่า....มีสิ ทำไมจะไม่มีล่ะ เจ้านี่ช่างเป็นคนขี้สงสัยเสียจริง ขี้สงสัยตั้งแต่ภพที่แล้ว
จนยันมาถึงภพนี้เลยนะ....ฮ่า....ฮ่า”
“อ้าว....คุยกันดีๆก็มาต่อว่ากันเสียนี่ ทำอย่างนี้ไม่น่ารักเอาเสียเลย”
ภานุพลางกล่าวตำหนิพลางหัวเราะด้วยความสนิทสนมมากยิ่งขึ้นส่วนชายชราสูงวัยแย้มยิ้มด้วยสีหน้าเปื้อนสุขมากกว่าที่ผ่านมา แววตาที่แข็งกระด้างดุดันน่าเกรงขามแปรเปลี่ยนมีความสุขุมอ่อนโยนและเป็นมิตรมากกว่าพบเจอแต่แรก ความรู้สึกตึงเครียดได้คลี่คลายลง
พร้อมกับรอยยิ้มฉันมิตร
“ถ้าเจ้าอยากรู้จริงๆ ประเดี๋ยวข้าจะพาเจ้าไป”
ชายชราสูงวัยกล่าวเชิญชวนด้วยเสียงราบเรียบ
“เดี๋ยว....เดี๋ยวก่อน....ท่านจะพาผมไปไหน”
เขาร้องถามเสียงหลงด้วยความสงสัย
“อ้าว....เจ้าอยากรู้เรื่องอะไรล่ะข้าก็จะพาเจ้าไปพิสูจน์เรื่องที่สงสัยนั่นไง”
ภานุนิ่งพลางคิดตามคำกล่าวชายชราสูงวัย เขาอมยิ้มเล็กๆ ที่มุมปาก ก่อนเอ่ยถามขึ้นว่า
“ท่านสามารถพาผมไปพิสูจน์หาความจริงได้จริงๆ เหรอ”
“ก็เออสิวะ...เรื่องขี้ผงแค่นี้....ฮ่า....ฮ่า”
เขานึกหมั่นไส้กับกิริยาท่าทางทะนงองอาจของชายชราสูงวัย รู้สึกว่าจะมั่นอกมั่นใจเสียเหลือเกิน
เพราะนับตั้งแต่ได้สัมผัสใกล้ชิดกันมาเขาได้รับถึงความอบอุ่นและความเข้าใจซึ่งกันและกัน
มากขึ้นเรื่อยๆเหมือนกับว่าได้รู้จักมักคุ้นและสนิทชิดเชื้อกันมานานแสนนาน
12
“เออ....ผมขอถามท่านหน่อยสิผมอยากรู้ว่าตอนนี้ผมอยู่ที่ไหน”
เขาเอ่ยถามด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแต่คนถูกถามสีหน้าเริ่มตึงเครียดจนเห็นได้ชัด ชายชราสูงวัย
สบตากับภานุที่แอบจ้องมองตาเขม็งเช่นกัน ก่อนตัดสินใจตอบคำถามไปว่า
“เจ้าอยู่ระหว่างความเป็นกับความตาย”
“....ความเป็นกับความตาย!....”
เขาทวนคำอย่างลืมตัว
“ใช่....เจ้าเข้าใจถูกต้องแล้ว”
“ผมอยู่ระหว่างความเป็นกับความตาย....หมายความว่ายังไง”
“หมายความว่าตอนนี้ชีวิตของเจ้าอยู่ก้ำกึ่งระหว่างความเป็นกับความตาย ทุกลมหายใจ
เข้าออกย่อมมีความสำคัญต่อชีวิตของเจ้า แต่กระนั้นเลยทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาทั้งหมด
มันเป็นเวรเป็นกรรมที่ติดตัวเจ้ามาแต่อดีตชาติที่ผ่านมา โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงหนีหายไปไหนได้
จึงเป็นผลให้เจ้าต้องเวียนว่ายตายเกิดหลายภพหลายชาติจนมาถึงภพนี้ เพื่อชดใช้เวรกรรมนั้นๆ
ให้หมดสิ้นไป ทีนี้เจ้าคงจะเข้าใจเรื่องราวต่างๆ มากยิ่งขึ้นแล้วสินะ”
ชายชราสูงวัยกล่าวจบด้วยสีหน้าเรียบเฉย ภานุพยักหน้าแสดงอาการเข้าใจและยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตชาติที่ผ่านมาเขาแอบปรายตามองชายชราสูงวัยนิดหนึ่ง ก่อนตั้งคำถามด้วยข้อสงสัยในใจว่า
“แล้ว....แล้วผมมาอยู่ตรงนี้ได้ยังไง และหลังจากนี้ไปผมจะต้องทำอะไรต่ออีก”
คำถามของเขาทำให้ชายชราสูงวัยหัวเราะหึๆเบาๆ ในลำคอ
“เจ้านี่ขี้สงสัยเสียเหลือเกิน แต่เอาเถอะ....ข้าเข้าใจและเห็นใจเจ้าอยู่มิใช่น้อย เพราะถ้า
ข้าเป็นเจ้า ข้าก็คงสงสัยและอยากรู้เหมือนกับเจ้านั่นแหละ สำหรับเรื่องที่เจ้ามาอยู่ตรงนี้ได้
ยังไงนั้น ประเดี๋ยวค่อยว่ากัน แต่ตอนนี้ข้าจะพาเจ้าไปพิสูจน์เรื่องที่สงสัยก่อนดีกว่า เจ้าเห็นว่า
เยี่ยงไรล่ะ”
“ดี....ดีครับ ผมอยากไปใจจะขาดอยู่แล้ว”
สีหน้าเคร่งเครียดเมื่อครู่ บัดนี้อาบไปด้วยรอยยิ้มเปี่ยมสุขอย่างมีความหวังเพราะเรื่องราวต่างๆ
ที่ชายชราสูงวัยเล่ามาทั้งหมด มันถึงเวลาแล้วที่จะได้พิสูจน์หาความจริงให้กระจ่างชัดเจนสักที
“เจ้าพร้อมจะไปหรือยัง”
“ตอนนี้ผมพร้อมยิ่งกว่าพร้อมเสียอีก”
เขาตอบทันที
“ในเมื่อเจ้าพร้อม....เอาล่ะทีนี้เจ้าก็จงหลับตาได้แล้ว”
“อ้าว....จู่ๆ จะให้หลับตา แล้วเมื่อไหร่จะได้เดินทางไปสักทีล่ะ”
เขาสวนกลับทันควันด้วยน้ำเสียงขุ่นมัว
“ฮ่า....ฮ่า....เอาเถอะหน่า....เชื่อข้าเถอะ อย่าเพิ่งตีโพยตีพายไป....ข้าบอกให้เจ้าหลับตา
13
ก็หลับตาสิ อย่ามัวแต่ชักช้าพิรี้พิไรอยู่นั่นประเดี๋ยวจะไม่ทันการเอานะพ่อเพิ่ม”
ชายชราสูงวัยหัวเราะแผ่วเบาพลางเอ่ยเสียงสูงแต่ภานุก็ยังลังเลสองจิตสองใจ
อยู่เป็นพักใจหนึ่งจะยอมเชื่อฟังและทำตามที่ชายชราสูงวัยบอก ส่วนอีกใจหนึ่ง
เกิดความขัดแย้งจะเชื่อดีหรือไม่เชื่อดี แต่เมื่อมาคิดอย่างรอบคอบอีกครั้ง
“เอาวะ....เป็นไงเป็นกัน....ไอ้นุสู้สู้....ไอ้นุสู้โว้ย”
จากนั้นภานุค่อยๆ หลับตาลงอย่างช้าๆ พร้อมกับความรู้สึกที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน
เขาเหมือนกับว่าตัวเองกำลังแหวกว่ายอยู่ในห้วงจักรวาลอันไกลโพ้นอย่างหนาวเหน็บ
แต่ในครั้งนี้เหมือนกับว่าผิวกายสัมผัสปุยเมฆสีขาวนวลสะอาดตา ที่ลอยละล่อง
เคลื่อนไหวอยู่เบื้องหน้าอย่างใกล้ชิดถึงแม้ว่าบรรยากาศรอบกายจะอ้างว้างเดียวดาย
แต่ก็สุขใจมากกว่าจนความทุกข์ในใจหายเป็นปลิดทิ้ง ความมุ่งมั่นตั้งใจอยากพิสูจน์
เรื่องที่สงสัยบังเกิดขึ้นจนล้นหัวใจ เพราะชีวิตตอนนี้อยู่ระหว่างความเป็นกับความตาย
ตามที่ชายชราสูงวัยได้กล่าวไว้ ดังนั้นจึงต้องเร่งพิสูจน์ค้นหาความจริงให้เร็วที่สุดเท่าที่
จะทำได้
ตอนที่ 3
หลังจากกลุ่มเมฆหมอกได้จางหายไป ภาพที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าค่อยๆ ชัดเจนมากขึ้น
เรื่อยๆ จนสามารถมองเห็นทิวเขาน้อยใหญ่เรียงรายสลับซับซ้อนสุดลูกหูลูกตาภานุขยี้ตาอยู่
หลายครั้ง เพื่อเพิ่มความแน่ใจว่าภาพทิวทัศน์ที่มองเห็นอยู่ในขณะนี้มันคือของจริง มิใช่ภาพลวงตาแต่อย่างใด เขาเหลียวซ้ายแลขวาอยู่เพียงครู่ จนกระทั่งมาหยุดอยู่ตรงโขดหินใหญ่ที่
ชายชราสูงวัยยืนแอบอยู่ข้างๆ ชายชราสูงวัยยิ้มให้พร้อมกับพยักหน้าให้เขาด้วยมิตรไมตรี
“ท่าน....ท่านปุโรหิต”
ภานุอยู่ในอาการเสมือนกึ่งหลับกึ่งตื่น และเริ่มรู้สึกแล้วว่านับแต่นี้เป็นต้นไปตัวเองจะต้องรับ
บทเป็นพ่อเพิ่ม ส่วนชายชราสูงวัยที่กำลังเดินตรงเข้ามาหานั้นคือท่านปุโรหิตซึ่งเป็นคนสนิท
ของพ่อเหนือหัวตากสิน และยังมีสถานะเป็นพ่อตาของเขาอีกด้วย
“ทหารม้าส่งสารคำสั่งการจากพ่อเหนือหัวตากสินมาว่าเยี่ยงไร”
ท่านปุโรหิตเอ่ยถามด้วยความสนใจใคร่รู้
“พ่อเหนือหัวตากสินรับสั่งว่าให้เมืองเชียงเงินจัดเตรียมไพร่พลและข้าวปลาอาหาร
เสียให้พร้อม เพราะในเดือนยี่จะยกทัพหลวงไปตีเมืองเชียงใหม่อีกหนให้สำเร็จจงได้”
“อืม....ศึกคราวนี้ใหญ่หลวงนัก”
ภานุหลับตาแล้วพยายามนึกถึงข้อมูลในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
ซึ่งได้บันทึกไว้ความว่า
“วันศุกร เดือนยี่ ขึ้น ๑๒ ค่ำ (พ.ศ.๒๓๑๗) เพลาบ่ายแล้ว ๒ โมงเศษ เสด็จฯ
อยู่ณพระตำหนักค่ายเมืองลำพูน ทรง ฯ ให้หาพระยาจ่าบ้าน พระยาลำพูน ลาวแสน
ขุนหมื่นพักพวกสมกำลัง ซึ่งได้ทำราชการด้วยกันมาเฝ้า แล้วพระราชทานเสื้อผ้า
คนละสำรับตามบันดาศักดิ์นายไพร่เป็นอันมาก แล้วพระราชทานผ้าน่งห่มแก่ภรรยา
พระยาจ่าบ้าน พระยาลำพูน
วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ครั้นเพลาย่ำรุ่งแล้ว ตระเตรียมบืนเกนหามลูกหลวง
ลูกชะเลย พร้อมสรรพ ทรงช้างต้นพลายคเชนทรเยียรยง เสด็จ ฯ ยกพลนิกรโยธา
ทัพหลวงจากค่ายเมืองลำพูนขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ประทับร้อนณพระตำหนักค่ายมั่น
ริมน้ำเมืองเชียงใหม่ทาง ๑๗๖ เส้น จึ่งตรัสสั่งให้ยับยั้งโยธาหาค่ายไว้ ให้พร้อมพรุ่งนี้
จึ่งจะยกทัพหลวงขึ้นไปปิดทางอังวะไว้ จับเอาเป็นให้สิ้น
ในวันนั้นเพลายามเศษ โปชุกพลา, มะยุง่วน เจ้าเมืองเชียงใหม่รู้ว่าทัพหลวง
ยกขึ้นไป จะอยู่ต้านมิได้ ด้วยกลัวพระเดชเดชานุภาพพระบารมี พาครัวหนีออกจากเมืองไปทางประตูช้างเผือก ด้วยความกลัวย่ำเหยียบกันออกไปตายอยู่ณประตูนั้น
ประมาณ ๒๐๐ เศษ ที่ยังหลงรบอยู่ก็มีบ้าง แลกองเจ้าพระยาสุรศร์ ซึ่งตั้งค่ายล้อม
อยู่ตรงประตูท่าแพนั้นออกหักค่าย ชิงได้ค่ายพะม่า ๓ ค่าย แทงฟันพะม่าตายเป็นอันมาก
15
ครั้นรุ่งขึ้นณวันอาทิตย์ เดือนยี่ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เพลารุ่งเช้า สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว
ทรงช้างต้นพระที่นั่งพลายคเชนทรเยียรยง เสด็จ ฯ ไปทอดพระเนตรค่ายข้าทูลละออง ฯ
ซึ่งตั้งล้อมเมืองเชียงใหม่รอบแล้ว เสด็จ ฯ กลับมาพระตำหนัก พระยายมราช ผู้ว่าที่
สมุหนายก แม่ทัพแลนายทัพนายกองทั้งปวงมาเฝ้าพร้อมกัน จึ่งทรง ฯ ตรัสประภาษว่า
พะม่ายกหนีไปทั้งนี้เป็นความคิดฤทธิอุบายของผู้ใด พระยายมราช ผู้ว่าที่สมุหนายก
แลนายทัพทั้งปวงพร้อมกันกราบทูลว่า แต่กำลังข้าราชการทำสงครามกับพะม่า ฯ
มิได้ยกหนีไป ออกรบเนือง ฯ ครั้นเสด็จ ฯ ยกทัพหลวงขึ้นมาถึง พะม่ายกหนีไป
เห็นเป็นอัศจรรย์นัก อันพะม่ายกหนีไปนี้ ด้วยพระเดชเดชานุภาพพระบารมีเป็นแท้
อนึ่งพระสงฆ์ ในเมืองเชียงใหม่บอกว่า วันเสด็จ ฯ ถึงเพลายามเศษ เป็นอัศจรรย์
แผ่นดินในเมืองเชียงใหม่ไหว
อนึ่งทรงพระกรุณาพระราชทานฉลองพระองค์ผ้าส่านพระยายมราช ผู้ว่าที่
สมุหนายก, เจ้าพระยาสุรศรี ด้วยพระยายมราช ผู้ว่าที่สมุหนายกเหนื่อยหนักกว่า
ทั้งปวง แล้วพระราชทานผ้าไหมแดง ผ้าไหมม่วง ในกองพระยายมราช ผู้ว่าที่
สมุหนายก ๕๕ ผืน ให้แจกทหารซึ่งมีความชอบกองเจ้าพระยาสุรศรี ๔๕ ผืน
ให้แจกทหาร
อนึ่ง สั่งให้ลงพระราชอาชญาเจ้าพระยาสวรรคโลก ด้วยมิได้ปลงใจใน
ราชการ ให้แต่ขุนหมื่นผู้น้อยทำการ ตัวนั้นอยู่แต่ไกล ให้จำครบแล้วให้เฆี่ยน
๓๐ ที พระหลวงขุนหมื่น ๓๐ ที นายหนวด ๒๐ ที แล้วให้ริบเอาสิ่งของซึ่งแต่เมือง
เชียงใหม่ได้นั้น ให้สิ้นเชิงทั้งกองเจ้าพระยาสวรรคโลก แล้วตรัสว่า เมืองพะเยา
พะม่ากับลาวอยู่ ๑๐๐๐ ตัว กับกรมการทั้งปวงจะอาษาดีทำราชการแก้ตัวจะได้
หรือมิได้ เจ้าพระยาสวรรคโลก กับกรมการทั้งปวงกราบทูลว่าได้ มิได้ ให้ลง
พระราชอาชญาถึงสิ้นชีวิต
วันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เสด็จอยู่ณพระตำหนักค่ายเมืองเชียงใหม่
ทรง ฯ ตรัสสั่งว่า นายทัพนายกองทั้งปวง ถ้าผู้ใดได้ไทยชาวกรุง ฯ แลแว่นแคว้น
กรุง ฯ ไว้ ให้ส่งมาถวายจงสิ้นเชิง ถ้าผู้ใดเบียดบังไว้ สืบได้จะเอาเป็นโทษตามกฎ
วันอังคาร เดือนยี่ แรม ๑ ค่ำ นายทัพนายกองส่งสิ่งของแลครัวมาทูลเกล้า ฯ
ถวาย ได้บืนใหญ่ ๑๑๐ บืนน้อย ๒๐๐๐ (รวม) ๒๑๑๐ บอก, ฆ้อง ๓๒ คู่, ม้า ๒๐๐
ไทย, มอญ ๕๐๐, ครัวไทยชาวสวรรคโลก ๕๐๐ เศษ จึ่งตรัสสั่งว่า ครัวไทยชาว
สวรรคโลกเป็นกบฏต่อแผ่นดิน หนีไปอยู่กับพะม่าเมืองเชียงใหม่ นำพะม่าลงมา
16
รบเมืองสวรรคโลก จะเอาไว้มิได้ จะเป็นเยี่ยงอย่างเสียราชการแผ่นดินไปให้ครอก
เสียจงสิ้นทั้งบุตรภรรยา อนึ่ง ข้าทูลละออง ฯ ผู้ใหญ่ปรึกษาพร้อมกัน กราบทูลขอ
ชีวิตไว้ ให้เป็นตะพุ่นหญ้าช้าง จึ่งทรงพระกรุณาพระราชทานชีวิตไว้
วันพุธ เดือนยี่ แรม ๒ ค่ำเพลาเช้า เสด็จ ฯ ไปนมัสการพระพุทธปฏิมากร
ณวัดพระสิหิงค์ ในเมืองเชียงใหม่ แล้วเสด็จ ฯ ไปทอดพระเนตรเรือนโปมะยุง่วน
เจ้าเมืองเชียงใหม่
อนึ่ง ลาวมีชื่อทั้งปวงว่า แต่ก่อนมาถ้าเทศกาลเดือนยี่ น้ำณแม่น้ำเมืองเชียงใหม่ลง แลบัดนี้น้ำขึ้นมากศอกหนึ่งเป็นอัศจรรย์
วันพฤหัสบดี เดือนยี่ แรม ๓ ค่ำ เสด็จอยู่ณพระตำหนักริมน้ำเมืองเชียงใหม่
ทรง ฯ ตรัสว่า พระยาลาวมีชื่อสวามิภักดิเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ได้ทำราชการ
ช่วยรบพะม่ามีความชอบ ทรง ฯ พระราชทานพระแสงบืนยาว บืนสั้น หยก เสื้อผ้า
แก่พระยาจ่าบ้านให้ถือพระราชอาชญาสิทธิ เป็นพระยาวิเชียรปราการ ครองนคร
เมืองเชียงใหม่ พระราชทานพระแสงบืนยาว เสื้อผ้า แก่พระยาวังพราวผู้หลาน
ให้เป็นพระยาอุปราชา ฝ่ายหน้านครเชียงใหม่ พระราชทานพระแสงบืนยาว เสื้อผ้า
แก่น้อยโพธิ เป็นราชวงศ์ พระราชทานพระแสงบืนยาว บืนสั้น หอก เสื้อผ้าแก่พระยา
ลำพูน ให้ถือพระราชอาชญาสิทธิ เป็นพระยาอัยวงศ์ ครองนครหริภุญชัย พระราชทาน
พระแสงบืนยาว เสื้อผ้าแก่ต่อมต่อผู้น้อง ให้เป็นพระยาอุปราชา ฝ่ายหน้านครหริภุญชัย
พระราชทานพระแสงบืนยาว พระแสงหอก เสื้อผ้าแก่กาวิละ ให้ถือพระราชอาชญา
สิทธิเป็นพระยากาวิละครองนครลำปาง พระราชทานเสื้อผ้าแก่น้อยธรรมผู้น้อง
ให้เป็นพระยาอุปราชาฝ่ายหน้านครลำปาง พระราชทานเสื้อผ้าแก่นายสม นายดวงทิพ
นายมูลา นายคำพั้น นายบุญมา ผู้น้อง เป็นราชวงศ์
อนึ่ง ให้จัดแจงแต่งตั้งพระหลวงแสนขุนหมื่นขึ้นไว้ แต่ในแว่นแคว้นเมือง
เชียงใหม่, เมืองหริภุญชัย, เมืองนครลำปาง, เมืองแพร่, เมืองเถิน, บ้านกอะ, ดอกเหล็ก,
บ้านนา, ตามรีดตามกอง รั้งเมืองครองเมืองเชียงใหม่,เมืองหริภุญชัย,เมืองนครลำปาง,
เมืองแพร่, เมืองเถิน ตามบุรพประเพณีสืบมา
วันศุกร เดือนยี่ แรม ๔ ค่ำ เพลาเช้า เสด็จ ฯ ยกพลพยุหยาตราทัพหลวง
จากค่ายเมืองเชียงใหม่กลับคืนพระนคร ให้เจ้าพระยาจักรีแม่กองทัพอยู่ช่วยจัดแจง
เมืองเชียงใหม่ อนึ่ง ให้คอยฟังข่าวราชการซึ่งกองทัพไปตามพะม่า ได้เหตุแล้วจึงเลิก
ทัพลงมา ตรัสสั่งแล้วเสด็จ ฯ มาประทับแรมอยู่ณพระตำหนักค่ายเมืองหริภุญชัย
17
จึ่งเสด็จ ฯ ไปนมัสการพระบรมธาตุ โปรยเงินพระราชทานแก่ลาวเป็นอันมาก
แล้วให้พระยาวังพราว น้อยโพธิ ถือน้ำพระพิพัฒสัจจา จำเพาะพระบรมธาตุ
เมืองหริภุญชัย ในวันนั้นพระยาวิเชียรปราการถวายนัดดานารีเป็นบาทบริจาริก
ผู้หนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเงิน ๑ ชั่ง ผ้าสำรับหนึ่ง แล้วส่ง
ตัวนารีผู้นั้นคืนให้พระยาวิเชียรปราการ
ครั้นรุ่งขึ้นณวันเสาร์ เดือนยี่ แรม ๕ ค่ำ เสด็จ ฯ จากเมืองลำพูนมาประทับ
แรมแม่ทา
ครั้นรุ่งณวันอาทิตย์ เดือนยี่ แรม ๖ ค่ำ ยกจากแม่ทามาประทับแรมแม่สัน
ครั้นรุ่งณวันจันทร์ เดือนยี่ แรม ๗ ค่ำ ยกจากแม่สันมาประทับแรมหางฉัตร
ครั้นรุ่งณวันอังคาร เดือนยี่ แรม ๘ ค่ำ ยกจากหางฉัตรมาประทับแรมลำปาง
เพลาบ่าย ๔โมงเสด็จ ฯ มานมัสการลาพระบรมธาตุ บูชาด้วยดอกไม้ทอง, เงิน
แล้วโปรยเงินพระราชทานแก่ลาวเป็นอันมากแล้วไถ่ครัวชาย ๓ หญิง ๑๔ (รวม)
๑๗ คน ถวายเป็นข้าพระบรมธาตุลำปาง
อนึ่ง พระยากาวิละถวายนัดดานารีเป็นบาทบริจาริกผู้หนึ่ง ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้า ฯ พระราชทานเงิน ๑ ชั่ง ผ้าสำรับหนึ่ง สั่งให้คืนแก่พระยากาวิละดั่งเก่า
พระยากาวิละ พระยาอุปราชา กราบทูล ฯ ว่า บัดนี้เจ้าตัวก็สมัคร บิดามารดา
ญาติพี่น้องทั้งปวงก็ยอมพร้อมกัน อันจะเป็นโทษด้วยพลัดพรากจากบิดามารดา
ดุจหนึ่งทรงพระกรุณาเห็นหามิได้ ทรงพระดำริเห็นว่า ตั้งใจสามิภักดิ์เป็นแท้แล้ว
จึ่งพาตามเสด็จ ฯ มาด้วย
อนึ่ง สั่งให้บิดาพระยากาวิละ พระยากาวิละ น้อยธรรม อุปราชาคำพั้น
คำล่า ราชวงศ์ ถือน้ำณพระวิหารวัดพระบรมธาตุลำปาง เสด็จ ฯ ประทับแรม
ณพระตำหนักค่ายลำปาง ๒ เวน
ครั้นรุ่งณวันพฤหัสบดี เดือนยี่ แรม ๑๐ ค่ำ ยกจากลำปางมาประทับแรม
ห้วยน้ำต่ำ
ครั้นรุ่งณวันศุกร เดือนยี่ แรม ๑๑ ค่ำ ยกจากห้วยน้ำต่ำมาประทับแรม
นายาง
ครั้นรุ่งวันเสาร์ เดือนยี่ แรม ๑๒ ค่ำ เพลาบ่ายโมงเศษ เสด็จ ฯ มาถึง
พระตำหนักที่ประทับท่าเรือเมืองเถิน นับระยะทางแต่เมืองเชียงใหม่มา ๔๒๑๔ เส้น
วันอังคาร เดือนยี่ แรม ๑๕ ค่ำ เพลาเช้ายกจากเมืองเถิน เสด็จ ฯ โดยทาง
18
ชลมารคมา ๒ เวน พระเชียงทองบอกขึ้นไปให้กราบทูลว่าพะม่ายกเข้ามาทาง
ด่านแม่ละมาว
วันพฤหัสบดี เดือน ๓ ขึ้น๒ ค่ำ ถึงพระตำหนักเมืองตาก จึ่งตรัสสั่งให้
หลวงมหาเทพเป็นแม่ทัพ แลจมื่นไววรนาถยกไป พระราชทานม้าต้นสำหรับ
กองทัพ ๕ ม้า ทรงจัดแจงทัพเสร็จแล้ว เพลาย่ำฆ้องค่ำ เสด็จ ฯ มาประทับอยู่ณ
หาดทรายบ้านตาก บอกไปให้กราบทูลว่า พะม่าซึ่งยกเข้ามาทางด่านแม่ละมาวนั้น
ตีแตกเลิกไปแล้ว จึ่งตรัสสั่งให้นายควรนายเวรมหาดไทย ลงไปบ้านระแหง
บอกกองทัพพระยากำแหงวิชิตให้เร่งยกออกไปก้าวสกัดตีเอาจงได้ เพลา ๒ ยาม
จึ่งเสด็จ ฯ ลงเรือหมื่นจง กรมวัง ล่องลงมา หลวงรักษ์โกษาลงท้ายที่นั่งมาด้วย
พบเรือนายควรมาสืบราชการกลับขึ้นไปกราบทูลว่า เห็นกองไฟอยู่ริมน้ำ ได้ยิน
เป็นเสียงพะม่าเห่ขึ้น จึ่งตรัสว่าจริงหรือประการใด กราบทูลว่า ได้ยินมั่นคง
ก็ทรงพระวิมุติสงสัย ให้นายควรนำเสด็จ ฯ ลงไป ครั้นเห็นกองไฟ จึ่งประทับเรือ
พระที่นั่งไว้ให้หมื่นจงไปสอดแนมดู เห็นเรือตะรางใส่พะม่าเมืองเชียงใหม่
พระเพ็ชรปาณี ๆ คุมมาให้เห่ขานยาม ครั้นแจ้งประจักษ์แล้ว จึ่งเสด็จ พระราช
ดำเนินล่องลงมา เรือพระที่นั่งกระทบตอไม้ล่มลง จึ่งเสด็จ ฯ ขึ้นไปณหาดทราย
พบนายชู, นายเกดละคร นั่งผิงไฟอยู่ นายชูจึ่งถวายผ้าลายผืนหนึ่ง เช็ดพระบาท
พระชงฆ์ฝ่ายหลวงรักษ์โกษาจึ่งเชิญห่อพระภูษาซึ่งชุ่มน้ำมาคลี่ออกดู พระภูษา
ทั้งนั้นชุ่มเป็นน้ำย้อย แต่พระภูษาส่านองค์หนึ่งแห้งเป็นปกติอยู่ เห็นอัศจรรย์นัก
จึ่งเอามาทูลเกล้า ฯ ถวาย แล้วเสด็จ ฯ มาโดยทางสถลมารค หลวงรักษ์โกษา
นายควร ตามเสด็จมาด้วย เพลาย่ำรุ่งขึ้นณวันศุกร เดือน ๓ ขึ้น ๓ ค่ำ ถึงพระตำหนัก
สวนมะม่วงบ้านระแหง จึ่งทรง ฯ สั่งให้ปรึกษาคุณและโทษนายควร จึ่งปรึกษาว่า
ทรง ฯ ใช้นายควรไปราชการ แลนายควรไปได้ยินเสียงพะม่าคนโทษ แล้วมิได้
สอดแนมเข้าไปใกล้พิจารณาให้ถ่องแท้ แลมากราบทูลว่าได้ยินเสียงพะม่าเห่อยู่
ให้สงสัยพระทัยนัก ต้องด้วยโทษ ๖ สถาน ประการใดประการหนึ่ง แลซึ่งนายควร
ได้ตามเสด็จ ฯ มาเป็นเพื่อนพระองค์เมื่อกันดารนั้น เป็นความชอบ คุณกับโทษ
ลบกลบกัน
อนึ่ง ทรง ฯ สั่งว่า นายชูละครถวายผ้าลาย ได้เช็ดพระบาทพระชงฆ์เมื่อ
กันดารเป็นความชอบ พระราชทานเงิน ๕ ตำลึงแก่นายชู
วันเสาร์ เดือน ๓ ขึ้น ๔ ค่ำ เพลาเช้า ทรง ฯ พระราชทานเงินแก่ราษฎร
19
ชาวบ้าน ชายหญิงใหญ่น้อยสิ้นทั้งบ้านเสมอคนละ ๑ สลึงณพระตำหนักสวนมะม่วง
วันอาทิตย์ เดือน ๓ ขึ้น ๕ ค่ำเพลาเช้า ๓ โมงเศษ เสด็จออกณพระตำหนัก
สวนมะม่วง จมื่นสรรเพ็ชญ์ภักดีกราบทูลว่า ขุนอินทรไกลาศ นายสา ปี่พาทย์
นายน้อยชินะ คบกันลอบลักทำเงินตอกตราพดด้วงให้ผิดด้วยพระราชกำหนด
พิจารณาเป็นสัจแล้ว ให้ประหารชีวิตเสียบไว้หน้าบ้านระแหง
อนึ่งสั่งให้หาพระยานนท์มาเฝ้า จึ่งตรัสว่าพระยานนท์หลบราชการเมื่อเสด็จ ฯ
มาถึงเมืองตาก จัดแจงกองทัพรับสั่งให้หาทุกหมวดกอง พระยานนท์มิได้ไปเฝ้า
แล้วพระยาพิพิธโกษาก็ได้บอกกล่าวตักเตือนว่ามีหนังสือบอกข่าวพะม่าเข้ามาด่าน
แม่ละมาว ให้เร่งไปเฝ้า ฯ ทรง ฯ จะได้จัดแจงกองทัพ พระยานนท์ก็มิได้ไปเฝ้า
ล่วงลงมาบ้านระแหงนั้นเห็นว่าพระยานนท์กลัวพะม่า มิได้สู้เสียชีวิตในราชการเป็น
แท้แล้ว ให้ลงพระราชอาชญาเฆี่ยน ๑๐๐ จำครบลงไปณกรุง ฯ เอาบุตรภรรยาเฆี่ยน
ด้วยแล้วริบราชบาทว์ให้สิ้นเชิง แล้วทะเวนบก ๓ วัน ทะเวนเรือ ๓ วันแล้วประหาร
ชีวิตเสีย
วันอังคาร เดือน ๓ ขึ้น ๗ ค่ำ ผู้มีชื่อบ่าวหลวงอินทรเทพ ผู้ว่าราชการกรุง ฯ
ฟ้องกราบทูลพระกรุณาใจความว่า หลวงอินทรเทพเบิกข้าวหลวงณฉางเมืองตาก
มิได้แจกไพร่กองทัพ เอาข้าวนั้นไปขายแก่พระยานนท์ เอาเงินส่งไปแก่ภรรยา
ครั้นถามได้เนื้อความเป็นสัจแล้วให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยน ๑๐๐ แล้วให้ปรับไหม
ใช้ข้าว ๑๐ ต่อ แล้วให้เป็นแต่นายหมวดคุมไพร่ เอาบุตรภรรยาจำไว้ มีการศึกเมื่อใด
จึ่งให้ไปทำราชการแก้ตัว ถ้ามีความชอบแล้วบุตรภรรยาตัวนั้นคงที่เป็นหลวง
อินทรเทพดั่งเก่า
อนึ่งทรง ฯ พระราชทานบืนคาบสิลา ๑๐๐ บอกไว้สำหรับบ้านระแหงจะได้
ป้องกันข้าศึก แล้วพระราชทานเสื้อผ้าแก่พระยารามัญมีชื่อเป็นอันมาก ซึ่งครัวไทย
ครัวรามัญ ๔๓๓๕ เข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภาร พระราชทานข้าวปลาอาหาร จัดเรือ
ส่งลงไปกรุง ฯ
วันพุธ เดือน ๓ ขึ้น ๘ ค่ำ เพลาเช้า เสด็จ ฯ ไปนมัสการพระปฏิมากรณวัด
กลางดอยเขาแก้ว จึ่งตรัสประภาษถามพระสงฆ์ว่า พระผู้เป็นเจ้าจำได้หรือไม่
เมื่อโยมยังอยู่บ้านระแหง โยมยกระฆังแก้วขึ้นชูไว้กระทำสัตยาธิษฐานเสี่ยง
พระบารมีว่า ถ้า ฯ ข้า ฯ จะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณในอนาคต กาล
เป็นแท้ ฯ ข้า ฯ ตีระฆังแก้วเข้าบัดนี้ให้ระฆังแก้วแตกจำเพาะแต่ที่จุก จะได้ทำเป็น
20
พระเจดีย์ฐานแก้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ครั้นอธิษฐานแล้วดีเข้า ระฆังแตก
จำเพาะแต่ที่จุก ก็เห็นประจักษ์เป็นอัศจรรย์ครั้งหนึ่ง พระสงฆ์ถวายพระพรว่า
จริงดังพระราชโองการ
วันพฤหัสบดี เดือน ๓ ขึ้น ๙ ค่ำ เพลาเช้า ยกจากบ้านระแหง เสด็จ ฯ มา
โดยทางชลมารค ทรงพระราชศรัทธาถวายผ้าสะบง ,จีวรแก่พระสงฆ์ทุกอาราม
แล้วพระราชทานเงินแก่ราษฎร ชายหญิงใหญ่น้อยทุกบ้าน รายทางลงมา ๕ เวน
ถึงกรุงธนบุรี ณวันอังคาร เดือน ๓ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เพลาเช้า”
“ถ้าจะให้สรุป ตอนนี้เราอยู่ในสมัยอาณาจักรธนบุรี ของพ่อเหนือหัวตากสินจริงๆ
หรือนี่ถ้าอย่างนั้นท่านปุโรหิตก็ไม่ได้โกหกเรานะสิ”
ภานุว่าพลางตีแขนตัวเองเบาๆ ให้รู้สึกเจ็บจนท่านปุโรหิตต้องพูดแทรกขึ้นมาพร้อมเสียง
หัวเราะว่า
“ฮ่า....ฮ่า....เป็นอะไรไปพ่อเพิ่ม ไม่ต้องตีแขนตัวเองให้เจ็บฟรีหรอก ตอนนี้พ่อเพิ่ม
อยู่ในแผ่นดินของพ่อเหนือหัวตากสินจริงๆ....ฮ่า....ฮ่า”
ภานุพยักหน้าแสดงถึงการยอมรับกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เขาแอบชำเลืองตา
มองท่านปุโรหิตที่ยืนอยู่เบื้องหน้าด้วยไมตรีจิตและศรัทธามากกว่าเดิมเพราะเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้นกับข้อมูลในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) สอดคล้อง
กันอย่างเหลือเชื่อท่านปุโรหิตตบไหล่ภานุเบาๆ ก่อนว่า
“ต่อจากนี้ไปขอให้พ่อเพิ่มเร่งไพร่พลทำนาปลูกข้าวได้แล้ว เพื่อจะได้จัดเตรียมเป็น
เสบียงให้กับทัพหลวงไปตีเมืองเชียงใหม่อีกหน ซึ่งข้าคาดว่าศึกคราวนี้คงใหญ่หลวงมิใช่น้อย”
“ได้ขอรับท่านปุโรหิต”
ภานุขานรับด้วยน้ำเสียงจริงจังและยินดีปฏิบัติตามคำแนะนำของท่านปุโรหิตด้วยความ
เต็มใจก่อนเดินตามท่านปุโรหิตไปติดๆ อย่างสนิทใจ
ท้องทุ่งนากว้างใหญ่เขียวขจีสุดลูกหูลูกตา ตัดกับทิวเขาน้อยใหญ่ที่เรียงรายสลับ
ซับซ้อนบางส่วนแซมด้วยกลุ่มหมอกหนาๆ ยิ่งมองยิ่งทำให้สดชื่นชุ่มฉ่ำใจ และรู้สึกหวงแหน
พื้นแผ่นดินไทยพื้นนี้เสียยิ่งนัก เหมาะสมแล้วที่ได้รับการขนานนามว่า แหล่งเกษตรกรรม
เมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ในน้ำมีปลาในนามีข้าว ไม่แพ้ชาติใดในโลกอย่างแท้จริง
“ปีนี้น้ำท่าดีคงได้ข้าวมากโขนะขอรับนายท่าน”
“อืม....ข้าก็ว่าอย่างงั้นแหละคราวนี้เสบียงน่าจะมากพอกับทัพหลวงเป็นแน่”
ภานุว่าพลางเดินสำรวจทุ่งนาผืนใหญ่ที่เต็มไปด้วยต้นข้าวชูช่อเขียวขจีแสงสีเหลืองทองอร่าม
สดใสจากดวงตะวันยามรุ่งอรุณได้สาดส่องสัมผัสยอดอ่อนของต้นข้าวที่กำลังโอนเอนไปมา
ตามแรงลมพัดสายลมอ่อนๆ พลิ้วพัดปลิวผ่านมาให้รู้สึกเย็นชื่นใจอย่างที่ไม่เคยสัมผัสอะไร
แบบนี้มาก่อน และแอบยิ้มเล็กน้อยที่มุมปากกับความภาคภูมิใจในพื้นแผ่นดินอู่ข้าวอู่น้ำผืนนี้
21
เป็นอันมาก เขาเหลียวไปเห็นนายสุขซึ่งเป็นทาสในเรือนเบี้ยที่นั่งหมอบอยู่ตรงคันนาจนเนื้อตัว
เลอะเทอะเปรอะเปื้อนไปด้วยดินโคลน เขาเดินตรงเข้าไปหาแล้วเอ่ยขึ้นว่า
“ลุกขึ้นเถิดนายสุข เอ็งไม่ต้องนั่งหมอบอยู่อย่างนั้น พื้นคันนามันเปียกชื้นแฉะมิใช่รึ”
“ไม่เป็นไรหรอกขอรับนายท่านข้าทาสอย่างกระผมไม่มีสิทธิ์เลือกอะไรได้เพราะถึง
ยังไงกระผมก็ต้องนั่งพื้นอยู่วันยังค่ำนายท่านไม่ต้องเป็นกังวลหรอกขอรับ”
เสียงตอบรับของนายสุขหนักแน่นจริงใจ ถึงแม้ว่าจะไม่ยอมสบสายตาเจ้านายก็ตาม
“ถ้าอย่างนั้นก็ตามใจนายสุขเถิดนะ เออ....แล้วไหนล่ะเรื่องทีเอ็งอยากหารือกับข้า”
นายสุขเหลียวซ้ายแลขวา ก่อนเงยหน้ามองเจ้านายด้วยแววตาใสซื่อพลางว่า
“อ๋อ....เรื่องครัวรามัญของกระผมขอรับ”
ภานุพยักหน้ารับรู้ถึงปัญหาของทาสผู้รับใช้ ก่อนเอ่ยต่อขึ้นว่า
“เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญอยู่มิใช่น้อย คิดทำการสิ่งใดจะต้องคิดให้ละเอียดถี่ถ้วนและ
รอบคอบถึงที่สุด เอาเป็นว่าข้าจะนำเรื่องนี้ไปหารือกับท่านขุนอินทรคีรี นายด่านแม่ละมาว
ในเร็ววัน และถ้าได้เรื่องได้ราวประการใดก็ค่อยว่ากันอีกทีว่าแต่ว่า....พี่น้องครัวรามัญของ
เจ้าจะอพยพเข้ามาบ้านระแหงมากน้อยเพียงใดรึ”
นายสุขนิ่งเงียบไปครู่ใหญ่เหมือนพยายามนึกอะไรบางอย่าง ก่อนเอ่ยด้วยน้ำเสียงแผ่วเบาว่า
“กระผมก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกันขอรับนายท่าน”
“อ้าว....แล้วกันข้าก็คิดว่าเจ้าจะรู้รายละเอียดพี่น้องครัวรามัญของเจ้าเสียอีก”
ภานุอุทานเสียงสูง จนนายสุขทาสผู้รับใช้สะดุดเนื้อตัวสั่น
“แต่ช่างเถอะไม่เป็นไร ท่านขุนอินทรคีรีคงมากับสมิงสุหร่ายกลั่น ผู้นำครัวรามัญ
ของเจ้าเป็นแน่ ถ้ายังงั้นข้าจะได้หารือพร้อมกันทีเดียว”
“ขอรับนายท่าน”
นายสุขขานรับโดยไม่เงยหน้ามองผู้เป็นนาย ภานุจ้องมองทาสผู้รับใช้ด้วยแววตาเศร้าสร้อย
ซึ่งในความคิดลึกๆ เขาอดนึกสงสารผู้เป็นทาสในเรือนเบี้ยขึ้นมาจับใจและไม่น่าเชื่อเลยว่า
จะมีโอกาสได้มาสัมผัสโดยตรง (ทาสในเรือนเบี้ยเป็นทาสที่ไม่สามารถไถ่ถอนตนเองได้
เนื่องจากเกิดจากพ่อแม่เป็นทาสน้ำเงินกล่าวคือผู้ที่ขายตัวมาเป็นคนรับใช้ หรือเป็นทาส
ที่นายเงินไถ่ค่าตัวมา ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอม
เกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) แห่งราชวงศ์จักรี ได้ตราพระราชบัญญัติขึ้นเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม
พุทธศักราช ๒๔๑๗ ให้มีผลย้อนหลังไปถึงปีที่พระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ จึงมีบัญญัติว่า
ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง พุทธศักราช ๒๔๑๑ ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัวทุกปี โดยกำหนดว่าเมื่อ
แรกเกิด ชายมีค่าตัว ๘ ตำลึง หญิงมีค่าตัว ๗ ตำลึง เมื่อลดค่าตัวไปทุกปีแล้ว พอครบอายุ
๒๑ ปี ก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชายและหญิง ได้กลายเป็นราษฎรและมีโอกาสประกอบ
อาชีพ จนกระทั่งถึงปีพุทธศักราช ๒๔๔๘ ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า
“พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.๑๒๔” (พุทธศักราช ๒๔๔๘) ให้เลิกลูกทาสในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด
22
โดยเด็กที่เกิดจากทาส เด็กนั้นก็ไม่ต้องเป็นทาสอีกต่อไป การซื้อขายทาสจะมีโทษทางอาญา
ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว ให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ ๔ บาท จนกว่าจะหมด ซึ่งที่ผ่านมา
กฎหมายที่ใช้ในเวลานั้น ตีราคาลูกทาสในเรือนเบี้ยคือ ชาย ๑๔ ตำลึง หญิง ๑๒ ตำลึง และไม่มี
การลดโดยจะต้องเป็นทาสไปจนกระทั่งคือ ชายอายุ ๔๐ หญิงอายุ ๓๐ จึงมีการลดบ้างเมื่อทาสอายุถึง๑๐๐ ปีแต่ยังมีค่าตัวอยู่คือ ชาย ๑ ตำลึง หญิง ๓ บาท และถ้าลูกทาสในเรือนเบี้ยไม่มี
เงินมาไถ่ตัวเอง ก็จะต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต)
สายลมเย็นๆ โชยแผ่วพัดผ่านมาเอื่อยๆ มองภายนอกดูคนทั้งสองมีความสุขกายสบายใจ
หายเหนื่อยเพราะท้องทุ่งนาผืนใหญ่เริ่มผลิดอกออกผลอย่างเห็นได้ชัด แต่ภายในใจลึกๆ ยังแอบ
วิตกกังวลและอดเป็นห่วงครัวรามัญมิใช่น้อยโดยเฉพาะนายสุขผู้มีสายเลือดของชาวรามัญ
อย่างเต็มตัวการอพยพของครัวรามัญคือปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขในเร็ววันทันด่วนเพราะถ้าหาก
ขืนชักช้าจะเกิดความเสียหายแก่ชีวิตของพี่น้องชาวรามัญได้ ภานุเหม่อมองไปรอบๆ กายที่เต็ม
ไปด้วยความรู้สึกหดหู่จิตใจอดนึกสงสารและเวทนาชนชาติมอญหรือรามัญจับใจ ซึ่งจากที่เคย
ศึกษาข้อมูลบทภาพยนตร์กับการรับบทแสดงเป็นพระยาเชียงเงิน ในภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์
ชาติไทยเรื่อง “สี่ทหารเสือพระเจ้าตาก”ส่วนหนึ่งได้กล่าวถึงการอพยพโยกย้ายของครัวรามัญ
ที่มีทั้งหมด ๙ ครั้งแต่ในครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๗ (พุทธศักราช ๒๓๑๗) ที่เขากำลังเผชิญอยู่โดยตรง
เขาเห็นแววตาของนายสุขทาสผู้รับใช้ที่มีสายเลือดชาวรามัญเศร้าสร้อยไร้ความสุขยิ่งน้ำเสียง
สั่นเครือที่เปล่งออกมาแสดงถึงความโศกเศร้าในใจอย่างรู้สึกได้
“พี่น้องครัวรามัญของกระผมถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏจึงถูกทหารพม่าฆ่าฟันล้มตายไป
ก็มากโข บางส่วนหนีตายเอาตัวรอดอพยพจากเมืองเมาะตะมะเข้ามาบ้านระแหงทางด่าน
แม่ละมาวกระผม....กระผมขอฝากชีวิตลูกนกลูกกาไว้กับนายท่านด้วยนะขอรับ”
น้ำเสียงของนายสุขทาสผู้รับใช้ขาดหายไป แต่กลับได้ยินเสียงสะอื้นไห้เมื่อพูดจบนัยน์ตาเริ่ม
แดงก่ำแสดงถึงความความอัดอั้นตันใจ และทุกข์โศกในใจอย่างน่าเวทนา
“เอาเถอะเจ้าไม่ต้องเป็นกังวลเพราะถึงจะชั่วดีมีจนยังไงก็เป็นเพื่อนมนุษย์เหมือนกัน
เออ....ข้าขอถามเจ้าหน่อยสิ ครัวรามัญของเจ้ามีความเป็นมาเป็นไปเยี่ยงไรรึ”
ภานุพูดปลอบโยนพร้อมปล่อยคำถามด้วยความสงสัยใคร่รู้
“ได้ขอรับนายท่าน”
นายสุขเงยหน้าขึ้นสบตากับเจ้านายด้วยความเคารพรักและเลื่อมใสศรัทธา ก่อนจะเอ่ยปาก
เล่าความเป็นมาเป็นไปของชนชาติมอญหรือรามัญ และการอพยพโยกย้ายของพี่น้องครัวรามัญ
ในครั้งที่ ๗ (พุทธศักราช ๒๓๑๗) จากที่มีทั้งหมด ๙ ครั้ง
ตอนที่ 4
อาณาจักรมอญ หรือ รามัญประเทศ เป็นอาณาจักรเก่าแก่ของชนชาติมอญที่เคยมีอารยธรรมรุ่งเรืองมาก ซึ่งจากพงศาวดารพม่ากล่าวไว้ว่า
“มอญเป็นชนชาติแรกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าตอนล่างมาเป็นเวลาหลายศตวรรษก่อน
คริสตกาลสันนิษฐานว่าอาจจะอพยพมาจากตะวันตกของจีนเข้าสู่ดินแดนพม่า หรืออพยพ
มาจากตอนกลางของทวีปเอเชียโดยตั้งอาณาจักรอยู่ทางตอนใต้บริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวิน
และแม่น้ำสะโตง ซึ่งในเอกสารของจีนและอินเดียเรียกบริเวณนี้ว่า“ดินแดนสุวรรณภูมิ”
กลุ่มมอญได้ตั้งชุมชนขึ้นบริเวณปากน้ำอิรวดี ปากน้ำสะโตง และปากน้ำสาละวิน จนเรื่อย
ลงมาทางใต้แถบทวาย แต่ส่วนใหญ่จะกระจายตัวอาศัยอยู่ตามบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ
อิรวดีที่เมืองสะเทิม ทวันเท และหงสาวดีหรือพะโค
อาณาจักรมอญแบ่งออกเป็น ๓ ยุคด้วยกันดังนี้
ยุคแรกจะเป็นยุคราชวงศ์สะเทิมหรือยุคอาณาจักรสุธรรมวดี สร้างก่อนปีพุทธศักราช
๒๔๑มีกษัตริย์ปกครอง ๕๙พระองค์เริ่มจากสมัยพระเจ้าสีหราชา จนมาถึงสมัยพระเจ้ามนูหา
โดยครอบครองพื้นที่ทั้งทวารวดีและสะเทิม ต่อมาสิ้นสุดลงเมื่อพระเจ้าอโนรธามังช่อ หรือ
พระเจ้าอโนรธาแห่งอาณาจักรพุกามซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรพุกาม จึงถือเป็นบิดาของชนชาติ
พม่า ได้ยกทัพมาตีเมืองสะเทิมในสมัยพระเจ้ามนูหะ
ยุคที่สองจะเป็นยุคราชวงศ์เมาะตะมะ-หงสาวดี หรือยุคอาณาจักรหงสาวดี ในราวปี
พุทธศักราช ๑๘๓๐เริ่มจากสมัยพม่าอ่อนแอจากการรุกรานของมองโกล พระเจ้าวาริหู หรือ
พระเจ้าฟ้ารั่ว หรือมะกะโท ได้กอบกู้เอกราชมอญจากพม่า และสถาปนาอาณาจักรหงสาวดี
โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมาะตะมะ และมีมเหสีเป็นราชธิดาของพ่อขุนรามคำแหง
ต่อมาในสมัยพญาอู่ได้ย้ายมาอยู่เมืองพะโคหรือหงสาวดีและมีราชบุตรนามว่า พระเจ้าราชาธิราช
หรือพญาน้อย เป็นผู้ทำสงครามยาวนานกับกษัตริย์พม่าในอาณาจักรอังวะสมัยพระเจ้าฝรั่ง
มังศรี และสมัยพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง อาณาจักรหงสาวดีมีอาณาเขตกว้างใหญ่ครอบคลุมตั้งแต่
ชายฝั่งทะเลอ่าวเบงกอลจากแม่น้ำอิรวดีขยายลงไปทางตะวันออกถึงแม่น้ำสาละวินโดยมี
ขุนพลสำคัญคือ สมิงพระรามสมิงนครอินทร์ และแอมูน-ทยา อีกทั้งเป็นศูนย์กลางทางการค้า
ที่มีเมืองท่าสำคัญหลายแห่งได้แก่ ลุ่มน้ำเมาะตะมะ ลุ่มน้ำสะโตง ลุ่มน้ำพะโค และลุ่มน้ำพะสิม
อาณาจักรยุคนี้เจริญสูงสุดในสมัยพระนางเชงสอบู และสมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์ ต่อมา
ในสมัยพระเจ้าสการะวุตพีก็ต้องสูญเสียดินแดนพ่ายแพ้ให้แก่พม่าในสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้
ในอาณาจักรตองอู เมื่อปีพุทธศักราช ๒๐๙๔
ยุคที่สามจะเป็นยุคฟื้นฟู หรือยุคอาณาจักรหงสาวดีใหม่โดยปีพุทธศักราช ๒๒๘๓
สมิงทอพุทธิเกศ หรือสมิงทอพุทธกิตติได้กู้เอกราชคืนจากพม่าเป็นผลสำเร็จและยกทัพไป
ตีเมืองอังวะ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๒๙๐ พญาทะละได้ครองอำนาจแทนสมิงทอพุทธกิตติและขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง จนทำให้อาณาจักรตองอูของพม่าสิ้นสลายลง หลังจากนั้น
24
ปีพุทธศักราช ๒๓๐๐พระเจ้าอลองพญา แห่งราชวงศ์คองบองก็สามารถกอบกู้อิสรภาพของ
พม่ากลับคืนมา และได้โจมตีมอญ
การล่มสลายของอาณาจักรหงสาวดีใหม่เป็นการสิ้นสุดเอกราชและอำนาจของชนชาติ
มอญ จากที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองมาหลายร้อยปีในพม่าตอนล่าง โดยถูกกองทัพของราชวงศ์
คองบองกดดันให้ชนชาติมอญต้องหนีตายอพยพไปยังสยามจนกระทั่งในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่
๒๔ การแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์และการอพยพของพม่าจากทางเหนือ ทำให้ชนชาติมอญกลาย
เป็นชนกลุ่มน้อย”
หยดน้ำตารินไหลเอ่อลงมาอาบสองแก้มอันหยาบกร้านของนายสุขภายหลังที่ได้เล่าความเป็นมา
เป็นไปพี่น้องชนชาติมอญจบ ความสงบเงียบถูกทำลายหมดสิ้นไปเพราะเสียงสะอื้นไห้ของเขา
ถึงแม้ว่าจะพยายามอดกลั้นเก็บความรู้สึกที่อัดอั้นตันใจแล้วก็ตาม ภาพที่ภานุเห็นอยู่เบื้องหน้า
สะท้อนจิตใจให้เศร้าหมองและหดหู่เสียยิ่งนักเพราะในปัจจุบันชนชาติมอญได้กลายเป็นแค่
เพียงชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามตะเข็บชายแดนระหว่างพม่าและไทยเท่านั้นจึงทำให้ชนชาติ
มอญเป็นผู้ไร้แผ่นดินโดยสิ้นเชิง แต่ส่วนใหญ่จะอยู่อาศัยฝั่งไทยมากกว่าฝั่งพม่า
“เจ้าไม่ต้องโศกเศร้าเสียใจไปเลย ข้ายินดีช่วยเหลือเจ้าอย่างเต็มที่ เพราะถึงอย่างไร
ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนรามัญก็เปรียบเสมือนเป็นพี่เป็นน้องจนแยกไม่ออก ดังนั้นข้าขอให้เจ้าสบายใจได้”
นายสุขเงยหน้าสบตาเจ้านายด้วยความเลื่อมใสศรัทธาและเคารพรักอย่างที่สุด ก่อนเอ่ยปากตอบรับพร้อมคราบน้ำตาที่เหือดแห้งหายไป
“ขอรับนายท่าน”
จากวันนั้นผ่านไปได้สามวัน ทุกคนต่างมารวมตัวกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตาภายใน
เรือนของพระยาเชียงเงิน ท่านขุนอินทรคีรี นายด่านแม่ละมาว มาพร้อมกับสมิงสุหร่ายกลั่น
ผู้นำครัวรามัญส่วนท่านปุโรหิตนั่งข้างๆ ทางด้านซ้ายมือของภานุด้วยความสุขุมน่าเกรงขาม
โดยมีนายสุขนั่งพับเพียบก้มหมอบอยู่เบื้องหน้าทุกคน ท่านปุโรหิตกวาดสายตามองไปรอบๆ
วงสนทนา แล้วมาหยุดอยู่ตรงนายด่านแม่ละมาวพลางว่า
“ท่านขุนอินทรคีรีมีแผนการเยี่ยงใดบ้าง”
คนถูกถามสบตาผู้อาวุโสก่อนว่า
“เออ....จากที่ได้ไถ่ถามหารือกับสมิงสุหร่ายกลั่นเมื่อก่อนหน้านี้พี่น้องครัวรามัญจะอพยพ
หนีตายจากเมืองเมาะตะมะโดยส่วนใหญ่มุ่งหน้าเข้าทางด่านแม่ละมาวก็มากโขอยู่และยังมีอีก
บางส่วนจะอพยพเข้าทางด่านเจดีย์สามองค์อยู่มิใช่น้อยขอรับท่านปุโรหิต”
“มันเป็นเยี่ยงนั้นจริงๆ รึสมิงสุหร่ายกลั่น”
ท่านปุโรหิตเอ่ยถามย้ำผู้นำครัวรามัญเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในคำกล่าว
“ใช่แล้วขอรับท่านปุโรหิต”
ทุกคนในวงสนทนาต่างพยักหน้าและสบตากัน ด้วยรู้สึกได้ถึงความยากลำบากของคนพลัดถิ่น
25
จากบ้านเกิดเมืองนอนโดยเฉพาะนายสุขทาสผู้รับใช้ที่สีหน้าเต็มไปด้วยความกังวลและเกิด
ความห่วงใยเพื่อนมนุษย์สายเลือดชาวรามัญเหมือนกัน
“อืม....ถ้าเป็นเช่นนั้นพ่อเพิ่ม....เจ้าจงรีบให้ทหารม้าส่งสารไปรายงานพ่อเหนือหัวตากสิน
ทรงทราบบัดเดี๋ยวนี้ เพราะหากขืนชักช้ายืดยาดจะไม่ทันการ”
ท่านปุโรหิตกล่าวด้วยน้ำเสียงหนักแน่นจริงจัง
“ได้ขอรับท่านปุโรหิต”
ภานุพยักหน้าพร้อมขานรับก่อนลุกขึ้นยืนแล้วเดินออกไปจากวงสนทนา เพื่อไปสั่งการทหารม้า
ตามคำชี้แนะของท่านปุโรหิต
“ข้าว่าต่อจากนี้ไปพวกเราจะมานิ่งนอนใจไม่ได้เสียแล้วกระมังเพราะวันเวลากระชั้นชิด
เหลือน้อยเต็มทีพวกเราจะต้องเร่งรีบให้ทันการณ์โดยมิชักช้าข้าว่าศึกคราวนี้ใหญ่หลวงนัก”
ท่านปุโรหิตกล่าวต่อด้วยสีหน้ากังวล
“ท่านปุโรหิตสบายใจได้ ข้ากับสมิงสุหร่ายกลั่นเต็มใจช่วยเหลือพี่น้องครัวรามัญอย่าง
สุดกำลัง และยินดีน้อมรับคำสั่งการจากพ่อเหนือหัวตากสินขอรับท่านปุโรหิต”
ท่านขุนอินทรคีรี นายด่านแม่ละมาวพูดเสริมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ทุกคนสบายใจ
“อืม....ข้าได้ยินแบบนี้ก็ค่อยหายห่วงและเบาใจลงไปได้บ้างเพราะอย่างไรเสียพี่น้อง
ครัวรามัญก็ไม่ใช่คนอื่นคนไกลที่ไหน พวกเราเป็นญาติพี่น้องกันทั้งนั้น”
“ขอรับท่านปุโรหิต”
ท่านขุนอินทรคีรีขานรับพร้อมสมิงสุหร่ายกลั่น
“เออ....แล้วพี่น้องครัวรามัญของเจ้า ที่หนีตายจะเข้าทางด่านแม่ละมาวมายังบ้านระแหง
มีกี่มากน้อยรึสมิงสุหร่ายกลั่น”
สมิงสุหร่ายกลั่นนิ่งงันไปพักใหญ่ด้วยอาการไตร่ตรอง ก่อนตัดสินใจตอบคำถามไปว่า
“น่าจะเกือบห้าสิบครัวเรือนเห็นจะได้ พี่น้องครัวรามัญหนีตายมาคราวนี้ก็คงไม่คิดจะกลับไปบ้านเกิดเมืองนอนเป็นแน่แท้ เพราะได้ข่าวมาว่าพวกทหารพม่าไล่ล่าฆ่าฟันล้มตาย
ไปก็ไม่น้อย อีกทั้งถูกเผาบ้านเผาเมืองวอดวายไม่เหลือซาก บ้านเมืองเสียหายจนยากที่จะกอบกู้
ให้กลับมาเหมือนดังเดิมคิดๆ ไปแล้วก็อดสงสารพี่น้องครัวรามัญของข้าเสียมิได้จริงๆขอรับท่านปุโรหิต”
เขาเอ่ยจบพร้อมน้ำตาคลอเบ้าปริ่มจะหยดย้อยลงมาให้ได้ ท่านปุโรหิตสบตากับผู้นำครัวรามัญ
ที่สีหน้ายังเคร่งเครียดจนสังเกตได้ จากนั้นถอนใจเฮือกใหญ่พลางว่า
“อืม....ข้าเสียใจและเห็นใจพี่น้องครัวรามัญของเจ้าจับใจ แต่เอาเถอะ....คนเราก็ใช่ว่า
จะโชคร้ายไปตลอดหรอกนะ ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นมันย่อมมีทางออกเสมอ ถ้าเรามีสติและคิดอย่างรอบคอบ เจ้าเชื่อข้าเถิดสมิงสุหร่ายกลั่น”
“ขอรับท่านปุโรหิต”
คำสนทนาระหว่างท่านปุโรหิตกับสมิงสุหร่ายกลั่นจบสิ้นลงทำให้ความวิตกกังวลเริ่มผ่อนคลาย
26
ลงไปได้บ้างและเข้าอกเข้าใจถึงความรู้สึกซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ทั้งนี้จากที่ถูกทหารพม่าข่มเหงรังแกและไล่ล่าฆ่าฟันบาดเจ็บล้มตายกันเป็นจำนวนมาก
บ้านเมืองถูกเผาผลาญทำลายราบคาบกลายเป็นคนไร้แผ่นดินสิ้นเนื้อประดาตัวซึ่งผลจากพิษ
สงครามได้สร้างความเจ็บปวดรวดร้าวและขมขื่นคับแค้นใจจวบจนมาถึงทุกวันนี้จึงถูกระบาย
เป็นบทกลอนที่ถ่ายทอดถึงความรู้สึกเหล่านั้นว่า
อดีตอันขมขื่น
ถ้านกยังรักฟ้า ถ้าปลายังรักน้ำ
ถ้าเสือยังรักถ้ำ มึงต้องจำว่ากู “มอญ”
บ้านเมืองกูฉิบหาย ตายายกู้เดือดร้อน
บ้านเรือนเคยนั่งนอน ต้องตะรอนหนีทิ้งมา
ต้องอาศัยบ้านเมืองอื่น มันขมขื่นเขาหนามหน้า
เยาะเย้ยตลอดมา ว่า “ไอ้มอญไร้แผ่นดิน”
รอยแผลที่มึงเชือด อีกรอยเลือดที่หยดริน
กูจด กูจำ สิ้น มึง-ได้ยิน ได้ยิน ไหม?
แผลเจ็บที่มึงทำ ความระยำที่มึงให้
จะฝังลึกตลอดไป จำฝังใจลูกหลานมอญ
สองร้อยปีที่ผ่านมา กูไม่ว่าให้มึงก่อน
เดี๋ยวนี้มันถึงตอน พวกกูย้อนกลับบ้านกู
ตราบใดขายังเดินได้ ตราบใดใจยังเต้นอยู่
ลมหายใจยังพรั่งพรู กูจะอยู่ สู้ต่อไป
หยดเลือด กี่หยาดหยด ชีวิตหมดไปเท่าไหร่
บ้านเมืองที่มอดไหม้ กู้จำได้ ว่า “ใครทำ”
ปัจจุบัน
รอยแผลที่บาดลึก ความรู้สึกที่ตอกย้ำ
เจ็บกายพอกล้ำกลืน แต่ใจช้ำใครทนไหว
ร่างกายที่ก่อเกิด ถือกำเนิด กูเป็นไทย
ร่างกาย ที่เคลื่อนไหว เราเป็นไทยนั้นแน่นอน
แต่ใจที่เต้นตึก บอกสำนึกว่าเรา “มอญ”
สายเลือด มันเดือดร้อน “มอญ-มอญ-มอญ สายเลือดเรา”
ศักดิ์ศรีเราหมดสิ้น อาศัยอยู่แผ่นดินเขา
หยาบหยามประณามเอา ว่าพวกเรา “ไร้แผ่นดิน”
27
อนาคตและความหวัง
มาเถอะ มาต่อสู้ มาร่วมกู้ คืนฐานถิ่น
เราเคย มีแผ่นดิน จะคืนถิ่นแผ่นดินเรา
นกน้อย ยังรักฟ้า ต้นไม้ป่า รักขุนเขา
ปลารักน้ำ มานานเนา แล้วมอญเรานั้นคือใคร
รอยเจ็บที่ต้องจาก คำถากถางที่เขาให้
เจ็บจำแล้วใส่ใจ เราต้องได้ กลับคืนกรุงฯ
ไม้ซีก ด้อยแรงงัด ถ้ารวมมัดกันหมายมุ่ง
ร่วมแรงงัดไม้ซุง จะมีหรือมิเคลื่อนไป
กำลัง อันน้อยนิด จะพิชิต อำนาจใหญ่
ร่วมแรง กันผลักไส ใหญ่แค่ไหน มิอาจทาน
มาเถิด ไม้ซีกน้อย ถึงจะด้อย แต่อาจหาญ
สองมือ มีแรงงาน ใครจะต้านพลังเรา
กี่ชีวิตที่มันเฉือน กี่บ้านเรือนที่มันเผา
กี่อย่าง มันปล้นเอา ต้องถึงคราวเราเอาคืน
ที่นอน ให้รีบลุก ที่หลับปลุก ให้รีบตื่น
ที่นั่ง ให้ลุกยืน เราจะ “หงสาวดี”
หงส์ จะบิน กลับรัง
(บทกลอนดังกล่าวข้างต้น เป็นงานเขียนของพิสัณฑ์ ปลัดสิงห์, คนมอญ, (กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์อาทิตย์,๒๕๒๖), น.๑๘๔ และพิสัณฑ์ ปลัดสิงห์, พลิกแผ่นดินมอญ,(กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์สัญญลักษณ์,๒๕๒๗), น.๑๒๓และดร.จำลอง ทองดี, แผ่นดินประเทศมอญ, (กรุงเทพ
มหานคร:โรงพิมพ์เรือนแก้ว,๒๕๒๙) ทั้งนี้ผู้เขียนขออนุญาตนำบทกลอนของผู้ประพันธ์ทั้งหมด
มาเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ให้เกิดความรู้ความเข้าใจแก่ผู้อ่าน โดยมิได้มีเจตนาลบหลู่ทำให้
เกิดความเสื่อมเสียหรือสร้างความเสียหายแต่ประการใด ผู้เขียนกราบขออภัยและขอโทษอย่าง
สูงมาณที่นี้ด้วย)
ถึงแม้ว่าชนชาติมอญจะเป็นผู้พลัดถิ่นที่ไร้แผ่นดิน เพราะบ้านเกิดเมืองนอนถูกทำลาย
มลายหายไปจนไม่เหลือซากก็ตาม แต่ก็ไม่สิ้นวัฒนธรรมอันดีงาม โดยยังคงยึดถือปฏิบัติและ
รักษาเอกลักษณ์ทางด้านความเชื่อวัฒนธรรม และขนบธรรมประเพณีที่ได้สืบทอดมาจาก
บรรพบุรุษอย่างเหนียวแน่นจนมาถึงทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นการนับถือผีประเพณีเกี่ยวกับการตาย
งานบวช (ปะล็องปะยัง) งานแห่หงส์ธงตะขาบ(เกี๊ยะหยั่งโหน่มั่ว-อะลามเทียะกี่) งานสงกรานต์
(ว่าน-ฮะต๊ะ) งานแห่นกแห่ปลา (ฮะเหล่ฮะเจมฮะเหล่ก๊ะ) และงานค้ำต้นโพธิ์ (ท้อกส้อย) เป็นต้น
ตอนที่ 5
“วันศุกร เดือนยี่ ขึ้น ๑๒ ค่ำ (พ.ศ.๒๓๑๗) เพลาบ่ายแล้ว ๒ โมงเศษ เสด็จ ฯ
อยู่ณพระตำหนักค่ายเมืองลำพูนฯ....”
(การนับวันเดือนปีของไทยจะใช้ตามแบบจันทรคติ คือถือการโคจรของพระจันทร์เป็นหลัก
โดยเริ่มจากเดือนอ้ายคือเดือนหนึ่ง (ธันวาคม) ตามมาด้วยเดือนยี่คือเดือนสอง (มกราคม)
เดือนสาม (กุมภาพันธ์) จนถึงเดือนสิบสอง (พฤศจิกายน) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เปลี่ยน
การนับวันเดือนปีของไทยเป็นตามแบบสุริยคติ คือถือการหมุนของโลกรอบดวงอาทิตย์เป็น
หลัก และได้กำหนดชื่อเดือนขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์
วโรปการ ทรงเป็นผู้คิดชื่อเดือนตามตำราจักรราศี หรือการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์
ในหนึ่งปี และแบ่งเดือนเป็นเดือนที่มี ๒๘/๒๙ วัน ด้วยการใช้คำลงท้ายเดือนคำว่า “พันธ์”
เดือนที่มี ๓๐ วัน จะใช้คำลงท้ายเดือนคำว่า “ยน” และเดือนที่มี ๓๑ วัน จะใช้คำลงท้ายเดือน
คำว่า “คม” และเริ่มประกาศใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๒ (คริสต์ศักราช ๑๘๘๙))
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงประทับพักแรม ณ พระตำหนักค่ายเมืองลำพูน
โดยมีข้าทาสบริวารไพร่พล และราษฎรเข้าเฝ้ากันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา ณ เพลานี้ค่าย
เมืองลำพูนเนืองแน่นไปด้วยเหล่ากองทัพหลวงจากกรุงธนบุรีและยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ได้จาก
การรวบรวมไพร่พลของหัวเมืองชั้นในจำนวน ๑๕,๐๐๐ นาย และหัวเมืองฝ่ายเหนือจำนวน
๒๐,๐๐๐ นายที่บ้านระแหง เพื่อเตรียมความพร้อมออกศึกรบตีเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง (ครั้งที่ ๒)
หลังจากเสด็จออกจากกรุงธนบุรีเมื่อวันอังคาร เดือน ๑๒ แรม ๑๑ ค่ำ พุทธศักราช ๒๓๑๗
ปีมะเมีย (๒๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๓๑๗) โดยทางเรือ ซึ่งเหตุการณ์ก่อนหน้านั้นทาง
บ้านระแหงได้จัดเตรียมไพร่พลและเสบียงอาหารโดยมีท่านปุโรหิตและพระยาเชียงเงินเป็น
หัวเรือใหญ่
“สรุปว่าได้ข้าวมากน้อยเพียงใดรึพ่อเพิ่ม”
ท่านปุโรหิตเอ่ยถามด้วยแววตาเป็นกังวลเล็กน้อย ถึงแม้จะรู้มาเบื้องต้นแล้วว่าได้ข้าวมากเกิน
พอที่จะเป็นเสบียงให้กับกองทัพหลวง ซึ่งเป็นกองทัพหลวงที่เคลื่อนทัพยกกำลังจากกรุงธนบุรี
เพื่อมารวมกับไพร่พลหัวเมืองชั้นในและหัวเมืองฝ่ายเหนือที่บ้านระแหง
“คราวนี้ได้ข้าวเป็นเสบียงมากโขอยู่เหมือนกันขอรับท่านปุโรหิต”
“อืม....ดีมาก แล้วไพร่พลล่ะ....รวบรวมได้มากน้อยเพียงใด”
ท่านปุโรหิตยังเอ่ยถามต่อ พลางสบตาคู่สนทนาอยู่เนื่องๆ
“ตอนนี้รวบรวมไพร่พลทั้งหัวเมืองชั้นในและหัวเมืองฝ่ายเหนือได้หลายหมื่นนายแล้ว
ขอรับซึ่งถ้าหากกองทัพหลวงจากกรุงธนบุรีมาถึงบ้านระแหงเมื่อไหร่ผมคิดว่าคงได้เพิ่มขึ้นอีก
หลายหมื่นนายเป็นแน่ นี่ก็นับว่าโชคดีเสียเหลือเกินที่เก็บเกี่ยวข้าวทำเป็นเสบียงเสร็จทันเวลา
พอดิบพอดีขอรับท่านปุโรหิต”
29
ภานุตอบพร้อมรอยยิ้มอย่างภาคภูมิใจแต่แอบคิดในใจถึงความรู้สึกของบรรพบุรุษในอดีตที่
ผ่านมาเกี่ยวกับการปกป้องรักษาผืนแผ่นดินไทยอันรักยิ่งชีพ
“อันตัวกู ชื่อว่า พระยาตาก
ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา
แด่ศาสนา สมณะ พระพุทธโคดม
ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี
สมณะพราหมณ์ ชีปฏิบัติ ให้พอสม
เจริญสมณะ วิปัสสนา พ่อชื่นชม
ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา
คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า
ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
พระพุทธศาสน์ อยู่ยง คู่องค์กษัตรา
พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน”
พระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อคราวรบทัพจับศึกหลายต่อหลายครั้ง
ซึ่งเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาบรรพบุรุษต้องเสียเลือดเสียเนื้อมานับไม่ถ้วน เพื่อปกป้องรักษา
ผืนแผ่นดินไทยให้ลูกหลานในอนาคตภายภาคหน้า ดังนั้นบรรดาลูกหลานทั้งหมดทั้งมวลจง
พึงสังวรไว้ว่า ผืนแผ่นดินที่เจ้าเหยียบย้ำ ผืนแผ่นดินที่เจ้าอยู่อาศัย ได้พักผ่อนหลับนอนอย่างอบอุ่นได้หุงหาอาหารดื่มกินอย่างมีความสุข ผืนแผ่นดินทุกอณูทุกเม็ดทุกก้อนเปียกโชกไป
ด้วยหยดเลือด หยาดเหงื่อและคราบน้ำตาของบรรพบุรุษชาตินักรบ ผู้ยอมเสียสละชีวิตเพื่อ
ปกป้องผืนแผ่นดินไทยไว้ให้บรรพชนรุ่นลูกหลานต่อๆ ไปสุดท้ายพวกเจ้าทุกคนจงเก็บรักษา
และรู้จักใช้ผืนแผ่นดินผืนนี้อย่างชาญฉลาดและให้ยั้งยืนตลอดไป
ณ บ้านระแหงเป็นจุดรวบรวมไพร่พลจากหัวเมืองชั้นใน (เป็นหัวเมืองที่อยู่รายรอบไม่
ไกลจากราชธานี ได้แก่ เมืองพระประแดง เมืองนนทบุรี เมืองสามโคก (ปทุมธานี) โดยมีผู้รั้ง
หรือจ่าเมือง (ตำแหน่งเจ้าเมือง) เป็นผู้ปกครอง)หัวเมืองฝ่ายเหนือ หรือหัวเมืองเหนือ (จะมี
การเรียกชื่อที่มีความหมายต่างกันในแต่ละช่วงเวลา กล่าวคือ สมัยอาณาจักรอยุธยาจะเรียก
“หัวเมืองเหนือ” สมัยอาณาจักรรัตนโกสินทร์ตอนต้นหมายถึง พื้นที่อันเป็นที่ตั้งของอาณาจักร
สุโขทัย ประกอบด้วยเมืองพิษณุโลก (เมืองสรลวงสองแคว) เมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย
(เมืองสวรรคโลก หรือเมืองเชลียง หรือเมืองเชียงชื่น) เมืองกำแพงเพชร (รวมเมืองนครชุม)
เมืองพิจิตร (รวมเมืองปากยม) เมืองพระบาง (นครสวรรค์) และเมืองทุ่งยั้ง (เมืองพิชัย) และ
ตั้งแต่รัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เป็นต้นมา หมายถึง พื้นที่อันเป็นที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรล้านนา และปัจจุบัน
จะเรียกเมืองเหล่านี้ในภาคเหนือ หรืออธิบายให้แคบเข้าไปจะหมายถึงเมืองที่อยู่บริเวณภาค
30
เหนือตอนบน หรืออาณาเขตของอาณาจักรล้านนา (เดิม)) นอกจากนี้ยังมีชนชาติมอญบางส่วน
ที่เป็นเชลยศึกจากสงครามเมื่อครั้งก่อนๆ ที่ผ่านมา ชายฉกรรจ์ทั้งหมดจะถูกเกณฑ์ให้มาเป็นนักรบ
โดยทุกคนต้องฝึกเพลงดาบและแม่ไม้มวยไทยจนเกิดความชำนาญท่านปุโรหิตยืนมองเหล่านักรบ
ไพร่พลฝึกฝนเพลงดาบและแม่ไม้มวยไทยด้วยความปลื้มปริ่มใจ เพราะทุกคนฝึกปรือกันด้วย
ความเข้มแข็งและขะมักเขม้น
“อืม....ข้าเห็นเหล่านักรบของเจ้าขยันขันแข็งเยี่ยงนี้ศึกคราวนี้คงนำชัยมาให้แผ่นดินของพ่อเหนือหัวตากสินเป็นแน่แท้”
ท่านปุโรหิตกล่าวชื่นชมด้วยความพึ่งพอใจ จนภานุแอบยิ้มแก้มปริ
“เสร็จสิ้นจากออกศึกคราวนี้ ข้าจะกราบทูลพ่อเหนือหัวตากสินบำเหน็จความดีความชอบ
ให้กับเจ้าอย่างงาม”
“ไม่ต้องถึงขนาดนั้นหรอกขอรับท่านปุโรหิต เพราะยังไงมันก็เป็นหน้าที่ของผมอยู่แล้วและอีกอย่างหนึ่งสิ่งที่ผมทำอยู่นี้ ก็เพื่อปกป้องรักษาและคุ้มครองผืนแผ่นดินพ่อผืนแผ่นดินแม่
ของเราให้คงอยู่ยั่งยืนสืบไปชั่วลูกชั่วหลานขอรับท่านปุโรหิต”
ท่านปุโรหิตพยักหน้าหงึกหงักแสดงอาการยอมรับในคำกล่าวก่อนเอ่ยถามขึ้นด้วยเส้นเสียง
ทุ้มต่ำแลดูสุขุมนุ่มลึกว่า
“เออ....แล้วนี่เหล่านักรบของเจ้ามีมากน้อยเพียงใดรึ”
ภานุหันหน้าไปสบตาชายชราสูงวัยแล้วเริ่มอธิบายสั้นๆ ว่า
“จากที่คาดคะเนแล้ว น่าจะมีหลายหมื่นกว่านายเห็นจะได้ทั้งจากหัวเมืองชั้นในหัวเมือง
ฝ่ายเหนือและอีกบางส่วนจะเป็นเชลยครัวรามัญขอรับท่านปุโรหิต”
“อืม....เจ้าทำงานได้ดีมากสมแล้วที่เป็นทหารเอกของพ่อเหนือหัวตากสินถ้าเรื่องนี้ทราบไปถึงพระโอษฐ์พระกรรณคงพอพระทัยเป็นแน่”
“ขอรับท่านปุโรหิต”
ภานุกล่าวจบพร้อมแอบอมยิ้มเล็กๆ ที่มุมปาก หัวใจพองฟูอิ่มเอมอย่างเป็นสุขที่สามารถปฏิบัติ
ภารกิจสำคัญให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีและขณะที่คนทั้งสองกำลังสนทนากันอยู่นั้น นายสุขทาส
ผู้รับใช้ที่มีสายเลือดชาวรามัญคลานเข่าเข้ามาหาพร้อมยกมือไหว้อย่างนอบน้อม
“อ้าว....นายสุข....เจ้ามาก็ดีแล้ว ตอนนี้เหล่านักรบของเจ้าฝึกฝนเพลงดาบกับแม่ไม้มวย
ไทยเป็นเยี่ยงไรบ้าง”
ภานุเอ่ยถามผู้มาใหม่
“นักรบทุกคนตั้งอกตั้งใจฝึกเพลงดาบกับแม่ไม้มวยไทยด้วยความเข้มแข็ง และคล่องแคล่ว
ว่องไวจนชำนาญเป็นที่น่าพอใจขอรับนายท่าน”
นายสุขทาสผู้รับใช้ตอบสั้นๆก่อนก้มหน้าก้มตาไม่สบสายตาผู้เป็นเจ้านาย
“อืม....ดี....ดีมาก มิเสียชื่อชายชาตินักรบเลือดรามัญ ถึงแม้พวกเจ้าจะไร้แผ่นดินจนกลาย
เป็นคนสิ้นไร้ไม้ตอกก็ตาม แต่พวกเจ้าก็ยังมีศักดิ์ศรีและทระนงสมดังชายชาตินักรบเลือดรามัญ
31
โดยแท้”
ท่านปุโรหิตกล่าวชมด้วยน้ำเสียงจริงจังและชื่นชมอย่างจริงใจ
“ออกศึกคราวนี้เหล่านักรบทุกคนของพ่อเหนือหัวตากสินจะต้องแคล้วคลาดปลอดภัย
และนำชัยชนะมาให้ผืนแผ่นดินพ่อผืนแผ่นดินแม่ ทุกหยาดเหงื่อแรงกายของเหล่านักรบทุกคน
เพื่อพ่อแม่พี่น้องจะได้อยู่เย็นเป็นสุขไปชั่วลูกชั่วหลาน”
ทุกคนในวงสนทนาต่างมีสีหน้ายิ้มแย้มด้วยความสุขจากคำกล่าวของท่านปุโรหิตโดยเฉพาะนายสุขทาสผู้รับใช้ได้แสดงสีหน้าอิ่มเอมกับความรู้สึกอบอุ่นหัวใจ ด้วยวาจาสิทธิ์ของผู้อาวุโส
ที่เคารพรักและนับถือเยี่ยงบิดรมารดา
“กระผมว่าด้วยพระบารมีของพ่อเหนือหัวตากสิน จะเป็นบุญเสริมดวงให้เหล่านักรบ
ทุกคนแคล้วคลาดปลอดภัยอย่างแน่นอนขอรับท่านปุโรหิต”
นายสุขทาสผู้รับใช้พูดเสริม จนภานุรู้สึกได้ว่าสิ่งที่ท่านปุโรหิตกล่าวมาทั้งหมดเป็นกลยุทธ์ในการ
สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เหล่านักรบทุกคน นอกเหนือจากฝีไม้ลายมือในเพลงดาบกับแม่ไม้มวยไทยที่ต่างฝึกฝนจนชำนาญเขากวาดสายตามองไปยังเหล่านักรบด้วยความเคารพนับถือและเลื่อมใสศรัทธานักสู้กู้ชาติกู้แผ่นดิน สมควรแล้วที่ลูกหลานทั้งหลายจงพึงสังวรไว้ว่า ในอดีตที่ผ่านมากว่าจะได้ผืนแผ่นดินไทยผืนนี้มาครอบครองนั้น บรรพบุรุษต้องเสียเลือดเสียเนื้อมา
มากมายนับไม่ทั่ว ผืนแผ่นดินทุกตารางวาแปดเปื้อนไปด้วยหยาดเหงื่อคราบเลือด หยดน้ำตาและเถ้ากระดูกของบรรพบุรุษเหล่านักรบมามากมายก่ายกองหลายยุคหลายสมัย ดังนั้นขอให้
ลูกหลานทั้งหลายจงมีจิตสำนึกที่ดีและจิตใจอันบริสุทธิ์ในการร่วมด้วยช่วยกันปกปักรักษาและ
หวงแหนผืนแผ่นดินพ่อผืนแผ่นดินแม่นี้ให้คงอยู่ไปตราบนานเท่านาน
เพลานี้พระตำหนักค่ายเมืองลำพูนเนืองแน่นไปด้วยเหล่ากองทัพหลวงจากกรุงธนบุรี
และจากการรวบรวมไพร่พลของหัวเมืองชั้นในหัวเมืองฝ่ายเหนือ และชนชาติมอญบางส่วน
ที่เป็นเชลยศึกจากสงครามเมื่อครั้งก่อนๆ ที่ผ่านมาเพื่อเตรียมเข้าตีเมืองเชียงใหม่ให้สำเร็จ
อีกครั้ง (ครั้งที่ ๒)
ในปีพุทธศักราช ๒๓๑๗ เป็นช่วงของสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างอาณาจักรธนบุรีในสมัย
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับอาณาจักรพม่า ในสมัยพระเจ้ามังระ แห่งราชวงศ์โก้นบอง
ซึ่งในขณะนั้นมีโปมะยุง่วน หรือ มังมะยุง่วน หรือ สะโตมังถาง หรืออาณาจักรล้านนาเรียกว่า
โป่หัวขาว ชาวพม่าเป็นผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่ กล่าวคือ อาณาจักรล้านนา เป็นราชอาณาจักร
ของชาวไทยวนในอดีต ซึ่งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ไปจนถึงเขตปกครอง
ตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา หรือ สิบสองพันนา มีเมืองเชียงรุ่ง (ภาษาจีน : จิ่งหง หรือ เจียงฮุ่ง
และภาษาไทลื้อ : เจงฮุ่ง) เป็นเมืองหลวง มณฑลยูนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน และภาค
ตะวันออกของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ทางด้านฝั่ง
ตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน รัฐฉาน มีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองหลวง ประชาชนส่วนใหญ่เป็น
ชาวไทเขินและไทใหญ่ ส่วนทางด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน ใกล้กับจังหวัดแม่ฮ่องสอน
32
รัฐฉานใต้ มีเมืองนาย หรือ เมืองหน่ายเป็นเมืองหลวง อีกทั้งคลอบคลุม ๘ จังหวัดภาคเหนือ
ตอนบนของประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา
จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง มีเมืองเชียงใหม่
เป็นเมืองหลวงโดยมีภาษา ตัวหนังสือ วัฒนธรรม และประเพณีเป็นของตนเอง
อาณาจักรล้านนาอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรพม่ามาเป็นระยะเวลาประมาณ๒๐๐ ปี (พุทธศักราช ๒๑๐๑-๒๓๑๗) ทั้งเคยถูกปกครองในฐานะรัฐบรรณาการ หรือรัฐส่วยของ
อาณาจักรตองอู อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรล้านช้าง จนสิ้นฐานะความเป็นอาณาจักร
แล้วกลายมาเป็นแค่เพียงเมืองหนึ่งของอาณาจักรตองอูในสมัยพระเจ้าญองยาน และต่อมา
ได้รวมเข้ากับประเทศไทยจนเป็นภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน
ตอนที่ 6
“วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ครั้นเพลาย่ำรุ่งแล้ว ตระเตรียมบืนเกนหาม ลูกหลวง
ลูกชะเลย พร้อมสรรพ ทรงช้างต้นพลายคเชนทรเยียรยง เสด็จ ฯ ยกพลนิกรโยธา
ทัพหลวงจากค่ายเมืองลำพูนขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ประทับร้อนณพระตำหนักค่ายมั่น
ริมน้ำเมืองเชียงใหม่ทาง ๑๗๖ เส้น จึ่งตรัสสั่งให้ยับยั้งโยธาหาค่ายไว้ ให้พร้อมพรุ่งนี้
จึ่งจะยกทัพหลวงขึ้นไปปิดทางอังวะไว้ จับเอาเป็นให้สิ้น
ในวันนั้นเพลายามเศษ โปชุกพลา, มะยุง่วน เจ้าเมืองเชียงใหม่รู้ว่าทัพหลวง
ยกขึ้นไป จะอยู่ต้านมิได้ ด้วยกลัวพระเดชเดชานุภาพพระบารมี พาครัวหนีออกจากเมืองไปทางประตูช้างเผือก ด้วยความกลัวย่ำเหยียบกันออกไปตายอยู่ณประตูนั้น
ประมาณ ๒๐๐ เศษ ที่ยังหลงรบอยู่ก็มีบ้าง แลกองเจ้าพระยาสุรศร์ ซึ่งตั้งค่ายล้อม
อยู่ตรงประตูท่าแพนั้นออกหักค่าย ชิงได้ค่ายพะม่า ๓ ค่าย แทงฟันพะม่าตายเป็น
อันมาก….”
พระตำหนักค่ายมั่นของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางด้าน
ตะวันออกของเมืองเชียงใหม่ที่ตรงกับประตูท่าแพและพระองค์ตรัสสั่งให้ตั้งค่ายล้อมไว้
ทั้งสามด้านรอบกำแพงเมืองเชียงใหม่ ซึ่งระยะทางจากพระตำหนักค่ายเมืองลำพูนขึ้นไป
ถึงพระตำหนักค่ายมั่นริมแม่น้ำปิงประมาณ ๑๗๖ เส้นค่ายทั้งหมดดาดาษไปด้วยเหล่านักรบ
กองทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเพื่อเตรียมยกกำลังเข้าตีเมืองเชียงใหม่
ให้ประสบความสำเร็จอีกครั้งทั้งนี้ด้วยเหตุอาณาจักรล้านนาที่ถูกปกครองโดยพม่าซึ่งมี
โปมะยุง่วนเป็นผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่ และมีโปสุพลาเป็นแม่ทัพพม่า ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้ง
จากพระเจ้ามังระมักยกทัพไปโจมตีหัวเมืองฝ่ายเหนือบ่อยๆ (เมืองสวรรคโลก เมืองพิชัย)
และมุ่งหมายที่จะยกกองทัพโจมตีอาณาจักรธนบุรีอีกด้วยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พร้อมด้วยสี่ทหารเสือคู่พระวรกายคู่พระทัย และเหล่าทหารกล้ายกกองทัพหลวงขึ้นไปพิชิต
เมืองเชียงใหม่โดยพระองค์ตรัสสั่งให้พระยายมราช (ทองด้วง)ยกกำลังเข้าโจมตีค่ายพม่า
ที่ออกมาตั้งรับอยู่นอกเมืองทางด้านใต้และด้านตะวันตก เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ยกกำลัง
เข้าโจมตีค่ายพม่าที่ออกมาตั้งรับทางด้านตะวันออกของเมืองเชียงใหม่ตรงประตูท่าแพ
ซึ่งก่อนหน้านั้นโปมะยุง่วนผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่เห็นสิ่งที่ไม่ชอบมาพากลจึงรายงานไป
ยังเมืองอังวะว่าพระยาจ่าบ้านและพระเจ้ากาวิละเป็นกบฏ ทางเมืองอังวะจึงมีท้องตรา
ให้โปมะยุง่วนจับตัวพระยาจ่าบ้านและพระเจ้ากาวิละไปสำเร็จโทษที่เมืองอังวะแต่ทั้งสอง
ไม่ได้เดินทางไปเพราะแม่ทัพเนเมียวสีหบดี (อาณาจักรล้านนาเรียกว่า โป่เจียก)ได้ปก
ป้องกันตัวเอาไว้โดยในศึกครั้งนี้พระยาจ่าบ้านและพระเจ้ากาวิละมีหน้าที่สร้างค่ายตั้ง
กองทัพเพื่อเตรียมรับกองทัพหลวงของอาณาจักรธนบุรีอยู่ที่ประตูท่าแพทั้งนี้ก่อนนั้น
พระยาจ่าบ้านส่งสารลับถึงพระเจ้ากาวิละที่นครลำปาง มีความต้องการอยากปลดปล่อย
34
ตนเองออกจากอำนาจของพม่า เพื่อไปสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรธนบุรีที่กำลังยกกองทัพหลวง
เข้าตีเมืองเชียงใหม่และพระเจ้ากาวิละเห็นดีเห็นงามด้วยจากนั้นพระยาจ่าบ้านจึงไปบอก
กับแม่ทัพเนเมียวสีหบดีขอรับอาสาเป็นกองหน้ายกทัพลงไปขุดลอกแม่น้ำปิงที่เต็มไปด้วย
หินเกาะแก่งและดินโคลนมากมาย เพื่อสร้างความสะดวกให้แก่กองทัพเรือพม่าในยามยกทัพ
แม่ทัพเนเมียวสีหบดีเห็นดีเห็นงามคล้อยตามโดยไม่รู้เลยว่าได้หลงกลอุบาย จึงสั่งการให้
พระยาจ่าบ้านยกกองกำลังอันประกอบไปด้วยคนพม่าและคนไทใหญ่รวมกันเป็นจำนวน
๗๐ คนและคนล้านนา จำนวน ๕๐ คน ต่อจากนั้นพระยาจ่าบ้านพร้อมด้วยกองกำลังทั้งหมด
ลงแม่น้ำปิงเพื่อทำความสะอาดขุดลอกแม่น้ำจนกระทั่งเดินทางมาถึงเมืองฮอด และเมื่อ
ได้จังหวะที่เหมาะสมพระยาจ่าบ้านจึงลงมือสังหารคนพม่าและคนไทใหญ่จำนวน ๗๐ คนทั้งหมดทันที แล้วเดินทางไปสาวมิภักดิ์ต่อเจ้าพระยาจักรีที่เมืองเถิน หลังจากนั้นเจ้าพระยา
จักรีส่งตัวไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่บ้านระแหง (เจ้าพระยาจักรี หรือ
เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ เป็นเจ้าพระยาจักรีคนแรกของอาณาจักรธนบุรี แต่ส่วนใหญ่มัก
เรียกว่า “เจ้าพระยาจักรีแขก” เดิมมีชื่อจริงว่า “หมุด” หรือ “มะห์มู๊ด” เป็นมุสลิมเชื้อสาย
สุลต่านสุลัยมาน ซึ่งเป็นบิดาของพระยายมราชเกษตราธิบดี (หมัดหรือจุ้ย) และพระยา
ราชวังสัน (หวัง) และเป็นทหารเอกคนสำคัญอีกคนหนึ่งของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช)
ฝ่ายเมืองลำปาง พระเจ้ากาวิละและพี่น้องรวมกัน๗ คน คบคิดออกอุบายกำจัดพม่า
ออกไปจากเมืองลำปาง จึงสั่งการให้พระยาคำโสมแสร้งยกทัพออกไปตั้งรับกองทัพหลวง
ของอาณาจักรธนบุรี โดยให้เหลือกองกำลังพม่ารักษาเมืองลำปางไว้จำนวนหนึ่ง (พระยา
คำโสม หรือ เจ้าคำสม (พุทธศักราช ๒๒๘๗-๒๓๓๗) เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ ๔
สืบต่อจากพระเชษฐาคือ พระเจ้ากาวิละ (เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๓) ในระหว่างปี
พุทธศักราช ๒๓๒๕-๒๓๓๗ พระยาคำโสมประสูติเมื่อปีชวด พุทธศักราช ๒๒๘๗ โดยมี
พระอนุชาและพระขนิษฐารวม ๑๐ พระองค์(ผู้หญิง ๓ และผู้ชาย ๗) ซึ่งเป็นราชบุตรองค์ที่ ๒
และอีกทั้ง ๕ ได้ช่วยกันต่อสู้อริราชศัตรูขยายขอบขัณฑสีมาล้านนาออกไปอย่างเกรียงไกร
ไพศาลจึงมีพระสมัญญาว่า “เจ้าเจ็ดตน” ทั้งนี้ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นราชวงศ์ทิพย์จักรา
ธิวงศ์ หรือ ราชวงศ์ทิพย์จักร หรือราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งปกครองนครลำปาง นครเชียงใหม่
และนครลำพูนไชย)
ต่อมาพระเจ้ากาวิละยกกองกำลังเข้าสังหารพม่าในเมืองลำปาง แต่มีบางคนที่รอด
ชีวิตจึงหลบหนีไปฟ้องพระยาคำโสมที่ค่ายตั้งรับกองทัพหลวงของอาณาจักรธนบุรีพระยา
คำโสมออกอุบายพูดโกหกไปว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นความคิดของพระเจ้ากาวิละ
แต่เพียงผู้เดียวพี่น้องคนอื่นไม่ได้เกี่ยวข้องแต่อย่างใด แต่พม่าไม่หลงเชื่อจึงกล่าวหาว่า
พระเจ้ากาวิละเป็นกบฏ และไปแจ้งโปมะยุง่วนผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่ทราบโปมะยุง่วน
ตระหนักอย่างถ้วนถี่ก่อนตัดสินใจให้พระเจ้ากาวิละและพี่น้องเมืองลำปางเป็นกบฏต่อพม่า
และได้จับกุมเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้วผู้เป็นบิดาของพระเจ้ากาวิละที่อยู่
35
เมืองเชียงใหม่เพื่อประหารชีวิต แต่ยังจำคุกไว้ก่อนรอสอบสวนหาความจริง ถึงแม้ว่าพระยา
คำโสมจะมีหนังสือลับไปถึงโปมะยุง่วน ชี้แจงว่าพระเจ้ากาวิละเป็นกบฏต่อพม่าแต่เพียงผู้เดียว
แล้วก็ตาม แต่สุดท้ายโปมะยุง่วนได้สั่งนายกองที่อยู่เมืองลำปางคุมตัวภริยา บุตรของพระเจ้า
กาวิละ และเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้วผู้เป็นบิดาของพระเจ้ากาวิละส่งไปยัง
เมืองอังวะเพื่อเป็นตัวประกัน
ทั้งนี้ หากย้อนไปยังเหตุการณ์ในขณะที่พระยาจ่าบ้านพร้อมด้วยกองกำลังทั้งหมดลง
แม่น้ำปิงเพื่อทำความสะอาดขุดลอกแม่น้ำอยู่ที่เมืองฮอด หลังจากพระยาจ่าบ้านรู้ข่าวภริยา
บุตรและเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้วผู้เป็นบิดาของพระเจ้ากาวิละถูกส่งไปยัง
เมืองอังวะจึงให้คนสนิทรีบไปแจ้งข่าวดังกล่าวให้พระเจ้ากาวิละและเมื่อพระเจ้ากาวิละรู้ว่า
เจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้วผู้เป็นบิดาพร้อมด้วยครอบครัวถูกส่งไปยังเมืองอังวะ
จึงยกกองกำลังเข้าสังหารพม่าในเมืองลำปางแล้วตามไปชิงตัวทุกคนกลับเมืองลำปางได้สำเร็จ
โปมะยุง่วนผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่ และโปสุพลาผู้เป็นแม่ทัพพม่าเห็นว่ากองทัพหลวง
ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตั้งค่ายล้อมเมืองเชียงใหม่ไว้ทั้งสามด้านรอบกำแพงเมือง
เชียงใหม่จึงยกกองกำลังพม่าไปตั้งค่ายประชิดกองทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
แต่ก็ถูกกองทัพหลวงฆ่าฟันล้มตายไปเป็นจำนวนมากจนพ่ายแพ้และล่าถอยย่อยยับกลับไป
ทุกครั้งทำให้ขวัญและกำลังใจของกองกำลังพม่าย่อท้อถดถอยซึ่งทำได้แค่เพียงรักษาค่าย
ป้องกันเมืองมั่นไว้เท่านั้น ในขณะเดียวกันประชาชนคนเมืองเชียงใหม่เกิดความระส่ำระสาย
จึงต่างพากันเล็ดลอดหลบหนีตายเข้าไปอยู่ในป่า แล้วต่อจากนั้นได้เข้าไปสวามิภักดิ์ต่อกองทัพ
หลวงของอาณาจักรธนบุรีจนสามารถรวบรวมไพร่พลได้จำนวนกว่า ๕,๐๐๐ นาย
เนื่องด้วยเหตุการณ์ที่เมืองเชียงใหม่ถูกโจมตีจนแตกย่อยยับไปนั้น โดยการนำของ
เจ้าพระยาจักรีที่ยกกองกำลังเข้าโจมตีค่ายพม่าที่ออกมาตั้งรับอยู่นอกเมืองทางด้านตะวันออก
ของเมืองเชียงใหม่ และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท หรือ เจ้าพระยาสุรสีห์หรือ
บุญมา ยกกองกำลังเข้าโจมตีค่ายพม่าที่ออกมาตั้งรับทางด้านตะวันออกของเมืองเชียงใหม่
ตรงประตูท่าแพ ส่วนพระยายมราช หรือ ทองด้วง หรือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
จุฬาโลกมหาราชยกกองกำลังเข้าโจมตีค่ายพม่าที่ออกมาตั้งรับอยู่นอกเมืองทางด้านใต้และ
ด้านตะวันตกของเมืองเชียงใหม่
ดังนั้น ผลการถูกโจมตีจากกองทัพหลวงของอาณาจักรธนบุรี จนทำให้เมืองเชียงใหม่
แตกพ่ายแพ้ย่อยยับไม่เหลือชิ้นดี แล้วในค่ำวันนั้นโปมะยุง่วนและโปสุพลาตัดสินใจทิ้งเมือง
เชียงใหม่หนีตายออกไปทางประตูช้างเผือกทางด้านเหนือ โดยมีประชาชนคนเมืองเชียงใหม่
บางส่วนอพยพหนีตายตามออกมาด้วยส่วนสาเหตุที่สามารถหลบหนีออกมาได้เป็นผลสำเร็จ
เนื่องจากค่ายของเจ้าพระยาสวรรคโลกที่กำลังสร้างล้อมเมืองเชียงใหม่อยู่นั้นสร้างยังไม่ทัน
แล้วเสร็จก็ถูกโจมตีจนพังเสียหายแทบไม่เหลือซาก กองทัพหลวงได้โอกาสจึงไล่ล่าติดตาม
ฆ่าฟันพม่าล้มตายไปเป็นจำนวนมากพร้อมกับกวาดต้อนประชาชนคนเมืองเชียงใหม่กลับคืน
36
มายังเมืองเชียงใหม่ได้เป็นจำนวนมากเช่นกัน (เจ้าพระยาสวรรคโลก หรือ เจ้าพระยาพิชัยราชา
เป็นทหารเอกคนสำคัญของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชซึ่งแต่เดิมเป็นหลวงพิชัยราชา
ที่ติดตามพระยาตาก (สิน) ตีฝ่าวงล้อมจากค่ายวัดพิชัย ต่อมาได้รับยศเป็นพระยาพิชัยราชา
โดยปีพุทธศักราช ๒๓๑๐ เป็นกองหน้าตีค่ายโพธิ์สามต้น และปีพุทธศักราช ๒๓๑๒ มีส่วนสำคัญ
ในการปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช ต่อมาปีพุทธศักราช ๒๓๑๓ ปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง
และหลังจากปราบชุมนุมเจ้าพระฝางแล้ว จึงได้รับตำแหน่งใหม่เป็นเจ้าพระยาพิชัยราชา
สำเร็จราชการเมืองสวรรคโลก และได้ป้องกันเมืองสวรรคโลกจากพม่าสำเร็จอีกด้วย ภายหลัง
ถูกประหารชีวิตหลังจากไปสู่ขอเจ้าจอมปรางจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช)
“ครั้นรุ่งขึ้นณวันอาทิตย์ เดือนยี่ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เพลารุ่งเช้า สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว
ทรงช้างต้นพระที่นั่งพลายคเชนทรเยียรยง เสด็จ ฯ ไปทอดพระเนตรค่ายข้าทูลละออง ฯ
ซึ่งตั้งล้อมเมืองเชียงใหม่รอบแล้ว เสด็จ ฯ กลับมาพระตำหนัก พระยายมราช ผู้ว่าที่
สมุหนายก แม่ทัพแลนายทัพนายกองทั้งปวงมาเฝ้าพร้อมกัน จึ่งทรง ฯ ตรัสประภาษว่า
พะม่ายกหนีไปทั้งนี้เป็นความคิดฤทธิอุบายของผู้ใด พระยายมราช ผู้ว่าที่สมุหนายก
แลนายทัพทั้งปวงพร้อมกันกราบทูลว่า แต่กำลังข้าราชการทำสงครามกับพะม่า ฯ
มิได้ยกหนีไป ออกรบเนือง ฯ ครั้นเสด็จ ฯ ยกทัพหลวงขึ้นมาถึง พะม่า ยกหนีไป
เห็นเป็นอัศจรรย์นัก อันพะม่ายกหนีไปนี้ ด้วยพระเดชเดชานุภาพพระบารมีเป็นแท้
อนึ่งพระสงฆ์ ในเมืองเชียงใหม่บอกว่า วันเสด็จ ฯ ถึงเพลายามเศษ เป็นอัศจรรย์
แผ่นดินในเมืองเชียงใหม่ไหว….”
เมื่อครั้นที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพร้อมด้วยเหล่านักรบกองทัพหลวงของ
อาณาจักรธนบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค
หรือ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคจากกรุงธนบุรี แล้วทรงประทับพักแรม ณ พระตำหนัก
ค่ายเมืองลำพูน จากนั้นทรงช้างต้นพระที่นั่งพลายคเชนทรเยียรยงเสด็จทรงประทับพักแรม
ณ พระตำหนักค่ายมั่น ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออกของเมืองเชียงใหม่ที่ตรงกับ
ประตูท่าแพโดยระยะทางจากพระตำหนักค่ายเมืองลำพูนขึ้นไปถึงพระตำหนักค่ายมั่นริม
แม่น้ำปิง ๑๗๖ เส้น
เพลารุ่งเช้าวันอาทิตย์ เดือนยี่ขึ้น ๑๔ ค่ำสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงช้างต้น
พระที่นั่งพลายคเชนทรเยียรยงเสด็จทอดพระเนตรค่ายที่ตั้งล้อมรอบกำแพงเมืองเชียงใหม่
โดยมีท้าวพระยา แม่ทัพ นายกอง และชาวเมืองมาเฝ้าอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน ซึ่งต่อมา
อีกสองวันได้รับข่าวจากบ้านระแหงแจ้งมาว่า ทหารพม่ายกกองทัพตามพี่น้องครัวรามัญจน
มาถึงชายแดนระหว่างไทยกับพม่าตรงบริเวณด่านแม่ละมาวเป็นจำนวนมาก สมเด็จพระเจ้า
ตากสินมหาราชทรงรับสั่งให้พระยายมราชคุมกองทัพหลวงเข้าโจมตีค่ายพม่าที่ออกมาตั้งรับ
37
อยู่นอกเมืองเชียงใหม่ให้เรียบร้อยส่วนพระองค์ประทับอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ได้ ๗ วัน
จึงเสด็จพร้อมด้วยกองทัพหลวงบางส่วนกลับลงไปยังบ้านระแหง เมื่อวันศุกร์ เดือนยี่
แรม ๔ ค่ำ และหลังจากพิชิตเมืองเชียงใหม่กลับคืนมาจากการปกครองของพม่าได้เป็น
ผลสำเร็จ อาณาจักรธนบุรียึดได้พาหนะและเครื่องศัสตราวุธเป็นจำนวนมาก เช่น ปืน
ใหญ่น้อยรวม ๒,๑๑๐ กระบอกและม้า ๒๐๐ ตัว เป็นต้น ในเวลาต่อมาพระยายมราชเจ้าพระยาจักรี พร้อมด้วยท้าวพระยาออกไปเกลี้ยกล่อม และกวาดต้อนประชาชนคน
เมืองเชียงใหม่ที่หลบซ่อนหนีภัยสงครามตามป่าเขาให้กลับคืนมาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่
ดังเดิม ซึ่งหลังจากที่เมืองเชียงใหม่กลับมาอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรธนบุรี
ทำให้ประชาชนคนเมืองเชียงใหม่ต่างชื่นชอบ และอ่อนน้อมถ่อมตนยอมสวามิภักดิ์ต่อ
อาณาจักรธนบุรีทั้งนี้ยังรวมไปถึงสามารถเกลี้ยกล่อมเจ้าฟ้าเมืองน่านเข้ามาสวามิภักดิ์
เป็นขอบขัณฑสีมาอีกเมืองหนึ่งของอาณาจักรล้านนา (จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย
จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง และจังหวัด
น่าน) นับตั้งแต่ปีมะเมีย พุทธศักราช ๒๓๑๗ เป็นต้นมาตราบจนปัจจุบันนี้
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแต่งตั้งพระยาวิเชียรปราการ หรือ พระยา
จ่าบ้านเป็นพระยาประเทศราชนครเชียงใหม่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (พุทธศักราช
๒๓๑๗-๒๓๑๙) พร้อมกับแต่งตั้งพระเจ้ากาวิละเป็นพระยานครลำปาง เจ้าผู้ครองนคร
ลำปาง (พุทธศักราช ๒๓๑๗-๒๓๒๕) และแต่งตั้งเจ้าเมืองลำพูนไชย (คนเดิม) เป็นพระยา
นครลำพูนไชย เจ้าผู้ครองนครลำพูนไชย (กล่าวคือ ช่วงปลายของอาณาจักรอยุธยา
นครเชียงใหม่และนครลำพูนไชย เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาซึ่งอยู่ภายใต้การ
ปกครองของเจ้าเมืองที่แต่งตั้งโดยกษัตริย์ของอาณาจักรพม่าเว้นแต่นครลำปางตั้งตัว
เป็นอิสระและมีเจ้าเมืองปกครองตนเอง ต่อมาเจ้าเมืองลำพูนไชยนามว่า ท้าวมหายศ
ยกกองทัพไปโจมตีนครลำปางจนได้รับชัยชนะ และตั้งกองทัพอยู่ที่วัดลำปางหลวง
ท้าวมหายศและเหล่าสมุนพม่าไล่กดขี่ ข่มเหง ปล้นสะดมประชาชนทำให้ได้รับความ
เดือดร้อนกันไปทั่ว จนประชาชนรวมตัวกันต่อสู้กับท้าวมหายศและสมุนพม่าหลายต่อ
หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จยิ่งนับวันจะมีแต่ความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ประชาชน พระภิกษุ
และเหล่าขุนนางผู้ใหญ่ได้ร่วมกันประชุมปรึกษาหารือกัน เพื่อหาบุคคลที่เหมาะสมมา
เป็นผู้นำไปต่อสู้กับท้าวมหายศซึ่งผลสรุปต่างเห็นพ้องต้องกันให้หนานทิพจักร หรือ
หนานทิพช้าง หรือ หนานติ๊บจ้าง เป็นคนพื้นเมืองลำปาง อาศัยอยู่ที่บ้านปางยางคก
เหมาะสมที่สุดเพราะเป็นคนดีมีศีลธรรม (ภาคเหนือจะเรียกผู้ที่เคยบวชเป็นพระแล้ว
สึกออกมา หรือภาคกลางจะเรียกว่าทิด) เป็นผู้มีความรู้ทางหนังสือทั้งอักขระภาษาเมือง
และภาษาบาลี อีกทั้งมีฝีไม้ลายมือด้านอาวุธปืนยาวและหน้าไม้อย่างดีเยี่ยมนอกจากนี้
ยังมีความสามารถในการจับช้างป่า จนได้สมญานามว่า หนานทิพช้าง หรือ หนานติ๊บจ้าง
ต่อมาหนานทิพจักรรวบรวมชายฉกรรจ์ได้จำนวนหนึ่งแล้วเข้าโจมตีต่อสู้กับท้าวมหายศ
38
และเหล่าสมุนพม่าที่วัดลำปางหลวง จนสามารถสังหารท้าวมหายศและขับไล่เหล่าสมุนพม่า
ออกไปจากนครลำปางหมดสิ้น หลังจากนั้นประชาชน พระภิกษุและเหล่าขุนนางผู้ใหญ่
พร้อมใจกันสถาปนาหนานทิพจักรเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง เมื่อปีพุทธศักราช ๒๒๗๕ โดยมี
พระนามว่า เจ้าพญาสุลวะฦาไชย
เจ้าพญาสุลวะฦาไชยเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ทิพจักร ซึ่งเป็นราชวงศ์ปกครอง
อาณาจักรล้านนาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๒๗๕ เป็นต้นมา มีมเหสีพระนามว่า แม่เจ้าปิมลา หรือ พิมลา โดยมีโอรส ๔ องค์ และธิดา ๒ องค์ ได้แก่ เจ้าอ้าย เจ้าชายแก้ว เจ้านางคำเจ้าคำปา
เจ้าป้อเฮือน (เจ้าพ่อเรือน) และเจ้านางกม ซึ่งในช่วงนี้อาณาจักรพม่ามิได้ยกกองทัพไปโจมตี
นครลำปางแต่อย่างใด เพราะเกิดปัญหาภายในอาณาจักรพม่าเอง แต่ก็ยังพยายามแสดงให้
เห็นถึงความเป็นเจ้าของแผ่นดินอาณาจักรล้านนา โดยแสดงความยอมรับในการเป็นเจ้าเมืองนครลำปาง จึงแต่งตั้งเจ้าพญาสุลวะฦาไชยให้มีพระนามว่า เจ้าไชยสงคราม และต่อมาได้
ปกครองนครลำปางจนถึงปีพุทธศักราช ๒๓๐๓ ก็สิ้นพระชนม์
บรรดาเหล่าขุนนางผู้ใหญ่และประชาชนพื้นเมืองลำปางต่างพร้อมใจกันสถาปนาให้
เจ้าชายแก้ว (โอรสองค์ที่ ๒) ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง (องค์ที่ ๒) สืบทอดต่อจากพระบิดา
โดยมีพระนามว่า เจ้าฟ้าชายแก้ว และมีมเหสีพระนามว่า แม่เจ้าจันทา หรือ แม่เจ้าจันทรา
โดยมีโอรส ๗ องค์ และธิดา ๓ องค์ได้แก่ เจ้าหนานกาวิละ เจ้าคำโสม เจ้าน้อยธัมมลังกา
เจ้าดวงทิพ เจ้าหญิงศรีอโนชา หรือ เจ้าหญิงศิริรจนา เจ้าหญิงศรีวรรณาหรือ เจ้าหญิงศิริวรรณา
เจ้าหมูล่า เจ้าคำฟั่น เจ้าหญิงศรีบุญทัน หรือ เจ้าหญิงศิริบุญตัน และเจ้าบุญมา ซึ่งในสมัย
เจ้าฟ้าชายแก้วเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางอาณาจักรพม่ามีความเข้มแข็งและความพร้อมใน
การล่าอาณานิคมขึ้นมาอีกครั้ง จึงตัดสินใจยกกองทัพไปโจมตีอาณาจักรล้านนา (นครเชียงใหม่
นครลำพูนไชย นครลำปาง นครเชียงแสน และหัวเมืองน้อยใหญ่ในดินแดนอาณาจักรล้านนา)
จนได้รับชัยชนะ แล้วจับตัวเจ้าฟ้าชายแก้วไปยังเมืองอังวะเพื่อเป็นตัวประกัน และมิให้โอรส
ของเจ้าฟ้าชายแก้วก่อการกบฏ จึงแต่งตั้งพระยาจ่าบ้าน เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่แต่งตั้งพระเจ้ากาวิละ เป็นพระยาอุปราชรักษานครลำปาง แต่งตั้งขุนนางพม่าดูแลนครเชียงแสน
และแต่งตั้งขุนนางพม่าอีกคนหนึ่งควบคุมกวาดต้อนเชลยประชาชนนครเชียงใหม่ นครลำพูน
ไชย นครลำปาง พร้อมทั้งทรัพย์สินจำนวนมากไปยังเมืองอังวะ ส่วนกษัตริย์อาณาจักรพม่า
ก็ยกกองทัพไปโจมตีอาณาจักรอยุธยาจนแตกพินาศ ไล่จุดไฟเผาบ้านเรือนวัดวาอาราม
พร้อมกับเผาลอกเอาทองคำที่หุ้มพระพุทธรูปและเจดีย์แล้วขนทรัพย์สินแก้วแหวนเงินทอง
ในพระราชวังไปยังเมืองอังวะ ซึ่งสาเหตุที่อาณาจักรพม่าเผาทำลายอาณาจักรอยุธยาจนแหลก
ลาญแทบไม่เหลือซาก ก็เพราะมิให้อาณาจักรอยุธยามีโอกาสกลับมากอบกู้อิสรภาพได้อีก
ต่อมาด้วยการวางแผนและดำเนินการอย่างสุขุมรอบคอบ จึงทำให้สามารถช่วยเจ้าฟ้า
ชายแก้วจากการเป็นตัวประกันของอาณาจักรพม่าได้เป็นผลสำเร็จ พร้อมทั้งยกกองทัพหลวง
เข้าตีเมืองเชียงใหม่กลับคืนมาจากการปกครองของอาณาจักรพม่าได้สำเร็จเช่นกัน รวมไปถึง
39
สามารถขับไล่พม่าออกจากนครเชียงใหม่ นครลำพูนไชย นครลำปาง และนครเชียงแสน
จนหมดสิ้น ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเจ้าฟ้าชายแก้วเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนไชย ซึ่งยัง
รวมอยู่ในอาณาจักรล้านนา (นครเชียงใหม่ นครลำพูนไชย นครลำปาง นครเชียงแสน
นครเชียงราย นครพะเยานครงาว นครระแหง (ตาก) และหัวเมืองน้อยใหญ่ในดินแดน
อาณาจักรล้านนา รวมทั้งสิ้น ๕๗ หัวเมือง) โดยมีสถานะเป็นเมืองขึ้นและอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรธนบุรีตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๓๑๗ เป็นต้นมา และต่อมาเจ้าผู้ครอง
นครลำพูนไชย (องค์ที่ ๑) คือ เจ้าคำฟั่นหรือ เจ้าเศรษฐีคำฟั่น ซึ่งเป็นโอรสของเจ้าฟ้า
ชายแก้ว (พุทธศักราช ๒๓๕๗-๒๓๕๘))
ปีมะเมีย พุทธศักราช ๒๓๑๗ เป็นชัยชนะของอาณาจักรธนบุรีหลังจากตีนคร
เชียงใหม่ (ครั้งที่ ๒) ได้เป็นผลสำเร็จ นครเชียงใหม่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา
ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรพม่ามาเป็นระยะเวลาประมาณ ๒๐๐ ปี (พุทธศักราช
๒๑๐๑-๒๓๑๗) ซึ่งกว่าจะตีนครเชียงใหม่สำเร็จอาณาจักรธนบุรีก็ต้องแลกมาด้วยเลือด
เนื้อของเหล่านักรบมากมายทั้งกองทัพหลวงจากกรุงธนบุรีและจากการรวบรวมไพร่พล
ของหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองฝ่ายเหนือ และชนชาติมอญบางส่วนที่เป็นเชลยศึกจาก
สงครามเมื่อครั้งก่อนๆ ที่ผ่านมา
ท่านปุโรหิตสั่งการให้ทหารม้าส่งสารไปรายงานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ทรงทราบว่า อาณาจักรพม่ายกกองทัพทหารติดตามครัวรามัญที่อพยพหนีตายจาก
เมืองเมาะตะมะ โดยเข้ามาทางด่านแม่ละมาวจำนวนหนึ่งในปริมาณที่มากโขพอสมควร
ซึ่งก่อนหน้านั้นสมิงสุหร่ายกลั่น ผู้นำครัวรามัญ พาครอบครัวเข้ามาอยู่ที่เมืองระแหง
ได้สักพักหนึ่ง จากนั้นรอเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเพื่อรายงานการอพยพ
ของพี่น้องครัวรามัญก่อนที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพร้อมด้วยเหล่านักรบกอง
ทัพหลวงของอาณาจักรธนบุรีเดินทางไปตีนครเชียงใหม่ (ครั้งที่ ๒)และเมื่อมีโอกาส
ได้เข้าเฝ้าจึงกราบทูลว่า ณ บัดนี้พี่น้องครัวรามัญอพยพหนีตายใกล้จะมาถึงชายแดน
ระหว่างไทยกับพม่าตรงบริเวณด่านแม่ละมาวและยังมีอีกบางส่วนได้อพยพหนีตายจะ
เข้าทางด่านเจดีย์สามองค์ ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระราชโองการให้
พระยากำแหงวิชิตคุมกองทัพหลวง ๒,๐๐๐ นาย คอยรับพี่น้องครัวรามัญที่อพยพมาจาก
เมืองเมาะตะมะ พร้อมกับรักษาด่านแม่ละมาวให้ปลอดภัยด้วย สำหรับทางด่านเจดีย์
สามองค์ให้พระยายมราช (แขก) (พระยายมราช “หมุด” หรือ “จุ้ย” หรือ “พระยายมราช
แขก” เป็นมุสลิมเชื้อสายสุลต่านสุลัยมาน ซึ่งเป็นบุตรชายของเจ้าพระยาจักรีแขก
และได้เข้ารับราชการในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพร้อมบิดา) คุมกองทัพหลวง
ไปตั้งด่านกักตัวชั่วคราวที่ตำบลท่าดินแดง แขวงเมืองท่าขนุนตรงบริเวณแม่น้ำไทรโยค
เพื่อคอยรับพี่น้องครัวรามัญที่อพยพเข้าทางด่านเจดีย์สามองค์
40
หลังจากนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงช้างต้นพระที่นั่งพังเทพลีลา
พร้อมด้วยเหล่านักรบกองทัพหลวงของอาณาจักรธนบุรี เสด็จโดยกระบวนพยุหยาตรา
สถลมารค หรือกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารคจากบ้านระแหงไปยังนครลำปาง
เมื่อวันศุกร์เดือนอ้ายแรม ๕ ค่ำ พุทธศักราช ๒๓๑๗ ปีมะเมีย (๒๓ ธันวาคม
พุทธศักราช ๒๓๑๗)
ท่านปุโรหิต พระยากำแหงวิชิต ท่านขุนอินทรคีรี นายด่านแม่ละมาว และสมิง
สุหร่ายกลั่น ผู้นำครัวรามัญต่างร่วมวงสนทนาเพื่อหารือกันในประเด็นรับพี่น้องครัว
รามัญที่อพยพหนีตายมาจากเมืองเมาะตะมะแววตาแห่งความวิตกกังวลของท่าน
ปุโรหิตฉายออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน ถึงแม้ว่าจะพยายามควบคุมความรู้สึกตัวเอง
แล้วก็ตาม
“ท่านพระยากำแหงวิชิตเตรียมความพร้อมได้มากน้อยเพียงใดแล้วรึ เพราะจาก
ที่สมิงสุหร่ายกลั่นรายงานมานั้นพี่น้องครัวรามัญอพยพหนีตายมาได้ก็มากโขอยู่เหมือนกัน
ถึงแม้ว่าจะถูกทหารพม่าไล่ล่าฆ่าฟันล้มตายไปบ้างแล้วก็ตาม อีกมีบางส่วนถูกสัตว์ร้าย
กัดกินเป็นอาหาร หรือไม่ก็เป็นไข้ป่าล้มตายเป็นผีเฝ้าดอยก็มีไม่น้อย”
พระยากำแหงวิชิตนั่งนิ่งฟังอย่างเงียบๆ แต่คิดตามด้วยความสงสารและนึกเวทนาใน
ชะตากรรมของพี่น้องครัวรามัญ เขาสบสายตากับท่านขุนอินทรคีรี นายด่านแม่ละมาว
และสมิงสุหร่ายกลั่น ผู้นำครัวรามัญ ก่อนเอ่ยขึ้นมาด้วยน้ำเสียงกังวลใจเล็กน้อยว่า
“บัดเดี๋ยวนี้เหล่านักรบทั้ง ๒,๐๐๐ นาย มีความพร้อมที่จะช่วยเหลือพี่น้องครัวรามัญ
ของสมิงสุหร่ายกลั่นที่อพยพหนีตายอย่างเต็มกำลัง ตามที่พ่อเหนือหัวตากสินได้รับสั่งไว้
ก่อนยกทัพหลวงไปตีเมืองเชียงใหม่ให้สำเร็จอีกหนขอรับท่านปุโรหิต”
“อืม....ดีมาก มิเสียแรงที่พ่อเหนือหัวตากสินทรงไว้วางใจท่านการช่วยเหลือพี่น้อง
ครัวรามัญคราวนี้ก็เพื่อสนองพระเดชพระคุณพ่อเหนือหัวตากสินโดยแท้พระองค์มิได้แบ่ง
เชื้อชาติว่าเป็นคนไทยหรือเป็นคนรามัญ เพราะไม่ว่าคนไทยหรือคนรามัญก็เปรียบเสมือน
เป็นพี่น้องที่มิใช่คนอื่นคนไกลแต่อย่างใด”
ท่านปุโรหิตกล่าวชื่นชมพร้อมรอยยิ้มละไมอยู่ในหน้า จนทุกคนในวงสนทนาปลาบปลื้มใจ
และเห็นดีเห็นงามคล้อยตามไปด้วย
“ถึงแม้ว่าพี่น้องครัวรามัญจะเหลือมามากน้อยเพียงใด ข้าก็ยินดีช่วยเหลืออย่างสุด
กำลัง แต่ก่อนอื่นข้าต้องขอขอบใจท่านขุนอินทรคีรีและสมิงสุหร่ายกลั่นที่ให้ความช่วยเหลือ
ด้วยดีมาโดยตลอด”
พระยากำแหงวิชิตกล่าวด้วยสีหน้าและน้ำเสียงจริงจัง จนทำให้สมิงสุหร่ายกลั่น ผู้นำครัว
รามัญน้ำตาเริ่มรื้นขึ้นมาคลอเบ้า
“ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพ่อเหนือหัวตากสินโดยแท้ จึงทำให้พี่น้องครัวรามัญ
ของข้าได้มาพึ่งใบบุญมีที่อยู่ที่กินอย่างปลอดภัย โดยไม่ได้แบ่งเชื้อชาติเลยว่าเป็นคนไทย
41
หรือเป็นคนรามัญข้าและพี่น้องครัวรามัญทุกคนขอสาบานด้วยเกียรติและศักดิ์ศรีเลือด
รามัญ ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติไหนจะขอเป็นทาสรับใช้ และซื่อสัตย์จงรักภักดีพ่อเหนือหัว
ตากสินทุกๆ ชาติไปขอรับ”
สมิงสุหร่ายกลั่นกล่าวจบด้วยเสียงที่เบาและสั่นเครือพร้อมยกมือไหว้ท่วมหัว
“และด้วยพระบารมีของพ่อเหนือหัวตากสิน จึงเป็นบุญกุศลให้พี่น้องครัวรามัญ
ของเจ้าได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพ่อเหนือหัวตากสินอย่างล้นพ้น ดังนั้นข้าจึงอยาก
ให้เจ้าจงไปบอกกับพี่น้องครัวรามัญด้วยว่า ต่อจากนี้ไปพวกเจ้าได้เป็นคนไทยโดยสมบูรณ์
จึงขอให้ภาคภูมิใจในเกียรติและศักดิ์ศรีที่ได้รับนี้ด้วย”
ท่านขุนอินทรคีรี นายด่านแม่ละมาวกล่าวเสริมด้วยความรู้สึกปลื้มปิติยินดีต่อพ่อเหนือ
หัวตากสินผู้ยิ่งใหญ่ พลางแอบปรารภในใจว่า
“ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือเป็นคนรามัญ จงพึงระลึกไว้เสมอด้วยว่าผืนแผ่นดินที่ได้
เหยียบย้ำย่างก้าวไปทุกหนทุกแห่ง ได้พักพิงอยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง ได้ใช้เพาะปลูกเป็น
ที่ทำมาหากิน ล้วนมาจากหยาดเหงื่อแรงกายแรงใจของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
และบรรพชนเชื้อชาติไทย รวมไปถึงเชลยศึกสงครามที่ถูกกวาดต้อนมาจากดินแดนใกล้ไกล
ทั้งอาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรพม่า อาณาจักรมอญ และอาณาจักรธนบุรี
แผ่นดินพ่อแผ่นดินแม่ผืนนี้ ทุกตารางวาแปดเปื้อนไปด้วยหยาดเหงื่อ คราบน้ำตา
หยดเลือด และเถ้ากระดูกของบรรพบุรุษเหล่านักรบมากมายก่ายกอง ที่ผ่านกาลเวลามา
ยาวนานหลายยุคหลายสมัยนับศตวรรษ เพราะฉะนั้นลูกหลานทั้งหลายจงสำนึกในคุณงาม
ความดีของบรรพบุรุษเหล่านักรบผู้กล้าหาญ โดยขอให้ร่วมด้วยช่วยกันตั้งจิตอธิฐานด้วยใจ
อันบริสุทธิ์ สวดมนต์แผ่เมตตาและกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับบรรพชนผู้วายชนม์
ในอดีตชาติ เพื่อดวงวิญญาณจะได้หลุดพ้นแล้วไปผุดไปเกิดใหม่ อีกทั้งร่วมมือร่วมใจกัน
ปกปักรักษา และหวงแหนแผ่นดินพ่อแผ่นดินแม่ผืนนี้ให้คงอยู่ไปตราบนานเท่านานชั่วฟ้าดิน
สลาย
ตอนที่ 7
“วันพฤหัสบดี เดือน ๓ ขึ้น ๒ ค่ำ ถึงพระตำหนักเมืองตาก จึ่งตรัสสั่งให้
หลวงมหาเทพเป็นแม่ทัพ แลจมื่นไววรนาถยกไป พระราชทานม้าต้นสำหรับ
กองทัพ ๕ ม้า ทรงจัดแจงทัพเสร็จแล้ว เพลาย่ำฆ้องค่ำ เสด็จ ฯ มาประทับอยู่ณ
หาดทรายบ้านตาก บอกไปให้กราบทูลว่า พะม่าซึ่งยกเข้ามาทางด่านแม่ละมาวนั้น
ตีแตกเลิกไปแล้ว จึ่งตรัสสั่งให้นายควรนายเวรมหาดไทย ลงไปบ้านระแหง
บอกกองทัพพระยากำแหงวิชิตให้เร่งยกออกไปก้าวสกัดตีเอาจงได้ เพลา ๒ ยาม
จึ่งเสด็จ ฯ ลงเรือหมื่นจง กรมวัง ล่องลงมา หลวงรักษ์โกษาลงท้ายที่นั่งมาด้วย
พบเรือนายควรมาสืบราชการกลับขึ้นไปกราบทูลว่า เห็นกองไฟอยู่ริมน้ำ ได้ยิน
เป็นเสียงพะม่าเห่ขึ้น จึ่งตรัสว่าจริงหรือประการใด กราบทูลว่า ได้ยินมั่นคง
ก็ทรงพระวิมุติสงสัย ให้นายควรนำเสด็จ ฯ ลงไป ครั้นเห็นกองไฟ จึ่งประทับเรือ
พระที่นั่งไว้ให้หมื่นจงไปสอดแนมดู เห็นเรือตะรางใส่พะม่าเมืองเชียงใหม่
พระเพ็ชรปาณี ๆ คุมมาให้เห่ขานยาม ครั้นแจ้งประจักษ์แล้ว จึ่งเสด็จ พระราช
ดำเนินล่องลงมา เรือพระที่นั่งกระทบตอไม้ล่มลง จึ่งเสด็จ ฯ ขึ้นไปณหาดทราย
พบนายชู, นายเกดละคร นั่งผิงไฟอยู่ นายชูจึ่งถวายผ้าลายผืนหนึ่ง เช็ดพระบาท
พระชงฆ์ฝ่ายหลวงรักษ์โกษาจึ่งเชิญห่อพระภูษาซึ่งชุ่มน้ำมาคลี่ออกดู พระภูษา
ทั้งนั้นชุ่มเป็นน้ำย้อย แต่พระภูษาส่านองค์หนึ่งแห้งเป็นปกติอยู่ เห็นอัศจรรย์นัก
จึ่งเอามาทูลเกล้า ฯ ถวาย แล้วเสด็จ ฯ มาโดยทางสถลมารค หลวงรักษ์โกษา
นายควร ตามเสด็จมาด้วย เพลาย่ำรุ่งขึ้นณวันศุกร เดือน ๓ ขึ้น ๓ ค่ำ ถึงพระตำหนัก
สวนมะม่วงบ้านระแหง จึ่งทรง ฯ สั่งให้ปรึกษาคุณและโทษนายควร จึ่งปรึกษาว่า
ทรง ฯ ใช้นายควรไปราชการ แลนายควรไปได้ยินเสียงพะม่าคนโทษ แล้วมิได้
สอดแนมเข้าไปใกล้พิจารณาให้ถ่องแท้ แลมากราบทูลว่าได้ยินเสียงพะม่าเห่อยู่
ให้สงสัยพระทัยนัก ต้องด้วยโทษ ๖ สถาน ประการใดประการหนึ่ง แลซึ่งนายควร
ได้ตามเสด็จ ฯ มาเป็นเพื่อนพระองค์เมื่อกันดารนั้น เป็นความชอบ คุณกับโทษ
ลบกลบกัน
อนึ่ง ทรง ฯ สั่งว่า นายชูละครถวายผ้าลาย ได้เช็ดพระบาทพระชงฆ์เมื่อ
กันดารเป็นความชอบ พระราชทานเงิน ๕ ตำลึงแก่นายชู
วันเสาร์ เดือน ๓ ขึ้น ๔ ค่ำ เพลาเช้า ทรง ฯ พระราชทานเงินแก่ราษฎร
ชาวบ้าน ชายหญิงใหญ่น้อยสิ้นทั้งบ้านเสมอคนละ ๑ สลึงณพระตำหนักสวน
มะม่วง
43
วันอาทิตย์ เดือน ๓ ขึ้น ๕ ค่ำเพลาเช้า ๓ โมงเศษ เสด็จออกณพระตำหนัก
สวนมะม่วง จมื่นสรรเพ็ชญ์ภักดีกราบทูลว่า ขุนอินทรไกลาศ นายสา ปี่พาทย์
นายน้อยชินะ คบกันลอบลักทำเงินตอกตราพดด้วงให้ผิดด้วยพระราชกำหนด
พิจารณาเป็นสัจแล้ว ให้ประหารชีวิตเสียบไว้หน้าบ้านระแหง
อนึ่งสั่งให้หาพระยานนท์มาเฝ้า จึ่งตรัสว่าพระยานนท์หลบราชการเมื่อเสด็จ ฯ
มาถึงเมืองตาก จัดแจงกองทัพรับสั่งให้หาทุกหมวดกอง พระยานนท์มิได้ไปเฝ้า
แล้วพระยาพิพิธโกษาก็ได้บอกกล่าวตักเตือนว่ามีหนังสือบอกข่าวพะม่าเข้ามาด่าน
แม่ละมาว ให้เร่งไปเฝ้า ฯ ทรง ฯ จะได้ จัดแจงกองทัพ พระยานนท์ก็มิได้ไปเฝ้า
ล่วงลงมาบ้านระแหงนั้นเห็นว่าพระยานนท์กลัวพะม่า มิได้สู้เสียชีวิตในราชการเป็น
แท้แล้ว ให้ลงพระราชอาชญาเฆี่ยน ๑๐๐ จำครบลงไปณกรุง ฯ เอาบุตรภรรยาเฆี่ยน
ด้วยแล้วริบราชบาทว์ให้สิ้นเชิง แล้วทะเวนบก ๓ วัน ทะเวนเรือ ๓ วันแล้วประหาร
ชีวิตเสีย
วันอังคาร เดือน ๓ ขึ้น ๗ ค่ำ ผู้มีชื่อบ่าวหลวงอินทรเทพ ผู้ว่าราชการกรุง ฯ
ฟ้องกราบทูลพระกรุณาใจความว่า หลวงอินทรเทพเบิกข้าวหลวงณฉางเมืองตาก
มิได้แจกไพร่กองทัพ เอาข้าวนั้นไปขายแก่พระยานนท์ เอาเงินส่งไปแก่ภรรยา
ครั้นถามได้เนื้อความเป็นสัจแล้วให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยน ๑๐๐ แล้วให้ปรับไหม
ใช้ข้าว ๑๐ ต่อ แล้วให้เป็นแต่นายหมวดคุมไพร่ เอาบุตรภรรยาจำไว้ มีการศึกเมื่อใด
จึ่งให้ไปทำราชการแก้ตัว ถ้ามีความชอบแล้ว บุตรภรรยาตัวนั้นคงที่เป็นหลวง
อินทรเทพดั่งเก่า
อนึ่งทรง ฯ พระราชทานบืนคาบสิลา ๑๐๐ บอกไว้สำหรับบ้านระแหงจะได้
ป้องกันข้าศึก แล้วพระราชทานเสื้อผ้าแก่พระยารามัญมีชื่อเป็นอันมาก ซึ่งครัวไทย
ครัวรามัญ ๔๓๓๕ เข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภาร พระราชทานข้าวปลาอาหาร จัดเรือ
ส่งลงไปกรุง ฯ
วันพุธ เดือน ๓ ขึ้น ๘ ค่ำ เพลาเช้า เสด็จ ฯ ไปนมัสการพระปฏิมากรณวัด
กลางดอยเขาแก้ว จึ่งตรัสประภาษถามพระสงฆ์ว่า พระผู้เป็นเจ้าจำได้หรือไม่
เมื่อโยมยังอยู่บ้านระแหง โยมยกระฆังแก้วขึ้นชูไว้กระทำสัตยาธิษฐานเสี่ยง
พระบารมีว่า ถ้า ฯ ข้า ฯ จะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณในอนาคต กาล
เป็นแท้ ฯ ข้า ฯ ตีระฆังแก้วเข้าบัดนี้ให้ระฆังแก้วแตกจำเพาะแต่ที่จุก จะได้ทำเป็น
พระเจดีย์ฐานแก้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ครั้นอธิษฐานแล้วดีเข้า ระฆังแตก
44
จำเพาะแต่ที่จุก ก็เห็นประจักษ์เป็นอัศจรรย์ครั้งหนึ่ง พระสงฆ์ถวายพระพรว่า
จริงดังพระราชโองการ
วันพฤหัสบดี เดือน ๓ ขึ้น ๙ ค่ำ เพลาเช้า ยกจากบ้านระแหง เสด็จ ฯ มา
โดยทางชลมารค ทรงพระราชศรัทธาถวายผ้าสะบง ,จีวรแก่พระสงฆ์ทุกอาราม
แล้วพระราชทานเงินแก่ราษฎร ชายหญิงใหญ่น้อยทุกบ้าน รายทางลงมา ๕ เวน
ถึงกรุงธนบุรี ณวันอังคาร เดือน ๓ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เพลาเช้า”
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จออกจากพระตำหนักสวนมะม่วง บ้านระแหง
เมื่อเพลาเช้า วันพฤหัสบดี เดือน ๓ ขึ้น ๙ ค่ำ พุทธศักราช ๒๓๑๗ เพื่อเดินทางกลับกรุงธนบุรี
โดยทางเรือ ซึ่งใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้น ๕ วัน ภายหลังทรงเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจตีเมือง
เชียงใหม่กลับคืนจากการปกครองของอาณาจักรพม่าได้เป็นผลสำเร็จ (ครั้งที่ ๒) และพระราช
กรณียกิจอื่นๆ ที่สำคัญมากมาย โดยเฉพาะได้รับรายงานความสำเร็จในภารกิจของพระยา
กำแหงวิชิตยกกองทัพหลวงเข้าสกัดกลั้น และโจมตีกองทัพพม่าที่ไล่ล่าฆ่าฟันครัวรามัญ
ขณะอพยพหนีตายมาจากเมืองเมาะตะมะ ตรงบริเวณชายแดนระหว่างไทยกับพม่าของด่าน
แม่ละมาว จนทำให้กองทัพพม่าร่นถอยหนีกลับไป พี่น้องครัวรามัญผู้เป็นเชลยศึกสงคราม
ได้รับความปลอดภัย และพักพิงอยู่อาศัยที่เมืองฉอด (อำเภอแม่สอด) อีกบางส่วนมาอยู่อาศัยที่
บ้านระแหง (อำเภอเมืองตาก)
กล่าวคือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า ตากเป็นเมืองที่ชนชาติ
มอญสร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองเดิมตั้งอยู่บนดอยเล็กๆ อยู่เหนือที่ว่าการ
อำเภอบ้านตากไปประมาณ ๔ กิโลเมตร โดยอยู่ห่างจากแม่น้ำปิงไปทางทิศตะวันตก ๔๐๐
เมตร ที่หมู่บ้านท่าพระธาตุ ตำบลเกาะตะเภา อำเภอบ้านตาก และตรงปากแม่น้ำวังทางไป
นครลำปางออกแม่น้ำปิง ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญในทางคมนาคมในสมัยนั้น
ในอดีตเชื่อว่าชนชาติไทยอพยพมาจากแม่น้ำแยงซีเกียงตอนใต้ ลงมาตามแนวแม่น้ำคง
(แม่น้ำสาละวิน) โดยมีกลุ่มหนึ่งได้ข้ามแม่น้ำสาละวินผ่านแม่น้ำต่องยิน (แม่น้ำเมย) เข้ามา
ทางช่องเขาด้านอำเภอแม่สอด แล้วอพยพลงมาถึงเมืองระแหง (เมืองตาก) ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา
เป็นเมืองที่เคยมีชนชาติมอญอาศัยอยู่มาก่อน โดยมีผู้นำได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครองสืบทอด
ต่อเนื่องกันมาจนถึงปีพุทธศักราช ๕๖๐ ในรัชสมัยพระเจ้าสักดำ ซึ่งเป็นกษัตริย์เมืองตาก
ที่ยิ่งใหญ่ และมีอำนาจแผ่อาณาเขตไปจรดทะเลอันดามัน จนสามารถทำการค้าขายกับเมือง
อินเดีย
เมืองตากน่าจะเสื่อมลงในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ในรัชสมัยพระยากาฬวรรณดิศราช
ซึ่งเป็นกษัตริย์เมืองตากที่อพยพมาจากตอนใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง โดยย้ายไปสร้างราชธานี
ใหม่ที่เมืองละโว้ทางตอนใต้ของเมืองตาก และมีบางยุคที่เมืองตากถูกทอดทิ้งให้กลางเป็น
เมืองร้าง โดยจากหลักฐานตามบันทึกในพระราชพงศาวดารเหนือได้กล่าวว่า เมื่อประมาณ
45
ปีพุทธศักราช ๑๑๗๖ หรือหลักฐานในหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทย ของพระบริหารเทพธานี
ได้กล่าวว่า เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๑๒๐๐ พระนางจามเทวี ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์เมืองละโว้ (พระยากาฬวรรณดิศราช) เสด็จพยุหยาตราทางชลมารค (แม่น้ำปิง) เพื่อไปปกครอง
เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) และเมื่อพระนางจามเทวีมองไปบนฝั่งแม่น้ำปิง จึงตัดสินใจขึ้นไป
สำรวจแล้วพบว่ามีร่องรอยกำแพงเมืองเก่าๆ ถูกทิ้งร้าง ดังนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะสร้าง
เมืองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง และให้ชื่อว่า “เมืองตาก”
และตามหลักฐานที่ได้บันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารเหนือเกี่ยวกับพระราชประวัติ
ของพระยากาฬวรรณดิศราชกล่าวว่า
“พระพุทธศักราช ๑๐๐๒ ปี จุลศักราช ๑๐ ปีรกาสัมฤทธิศก พระยากาฬวรรณดิศราช
ซึ่งเป็นบุตรของพระยากากะพัตร ได้เสวยราชสมบัติครองเมืองตักกะสิลามหานคร (สันนิษฐาน
ว่าคือเมืองตาก) และโปรดให้พราหมณ์ทั้งหลายลงไปสร้างเมืองละโว้ได้ ๑๙ ปี เมื่อพระพุทธ
ศักราชล่วงได้ ๑๐๑๑ พรรษา จุลศักราชได้ ๑๐ ปีรกาสัมฤทธิศก ต่อจากนั้นให้พระยาและ
ขุนนางทั้งหลายไปตั้งเมืองใหม่หลายแห่ง (เมืองทวารบุรี เมืองสันตนาหะ เมืองอเส และเมืองโกสัมพี) แล้วมานมัสการที่พระพุทธเจ้าตั้งบาตรตำบลบ้านแม่ซ้องแม้ว พระองค์ทรงครองราชย์
นาน ๔๑ ปี และเสด็จสวรรคตเมื่อพระพุทธศักราชล่วงได้ ๑๐๔๓ พรรษา จุลศักราชได้ ๔๐
ปีเถาะสัมฤทธิศก ต่อมาพระยาพาลีราชแห่งอาณาจักรละโว้เป็นผู้ก่อตั้งเมืองสุโขทัย (ปีพุทธ
ศักราช ๑๐๔๓)”
อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสืบเรื่อยมาจนมีอายุราวๆ ๓๓๖ ปี (ปีพุทธศักราช
๑๗๘๑-๒๑๑๗) เป็นอาณาจักรที่ถูกสถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (ช่วงเวลาระหว่าง
ปีพุทธศักราช ๑๗๐๑-๑๘๐๐) ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม ในฐานะเป็นสถานที่ค้าขายของ
อาณาจักรละโว้ ต่อจากนั้นประมาณปีพุทธศักราช ๑๗๘๒ พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง
และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ได้ร่วมกันยึดอำนาจการปกครองดินแดนสุโขทัยจากขอม
สบาดโขลญลำพง (นายทหารขอม ซึ่งเป็นขอมเมืองละโว้) เป็นผลสำเร็จ (ขอมสบาด แปลว่า
เขมรดง ส่วนโขลญลำพง เป็นคำสำหรับเรียกคนทำงานประจำเทวสถานหรือวัดวาอาราม)
ซึ่งต่อมาพ่อขุนผาเมืองนำกองทัพออกจากสุโขทัย เพื่อต้องการให้พ่อขุนบางกลางหาวได้ขึ้น
ครองราชย์เป็นกษัตริย์สุโขทัย พร้อมกับมอบพระแสงขรรค์ชัยศรี และในที่สุดพ่อขุนบาง
กลางหาว ได้สถาปนาเอกราชให้สุโขทัยเป็นอาณาจักรสุโขทัย และเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย ทรงพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์
พระร่วง
อาณาจักรสุโขทัยได้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าสูงสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
(พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๓ ในราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย) ซึ่งเป็นโอรสองค์ที่ ๓
ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสือง โดยทรงครองราชย์ประมาณ ๑๙ ปี (ปีพุทธศักราช
46
๑๘๒๒-๑๘๔๑) พระองค์ทรงกอบกู้ และรวบรวมผืนแผ่นดินไทยให้เป็นปึกแผ่นเดียวกัน
จนกลายเป็นอาณาจักรสุโขทัย อีกทั้งเมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๒๖ ทรงคิดประดิษฐ์ตัวอักษร
ไทยขึ้นใช้แทนตัวอักษรขอมที่เคยใช้กันมาแต่เดิม เรียกว่า “ลายสือไทย” ยังรวมไปถึง
พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เพิ่มขึ้นด้วย ทำให้สามารถเขียนแทนเสียงพูดของคำใน
ภาษาไทยได้ทุกคำ กับทั้งได้นำสระและพยัญชนะมาอยู่ในบรรทัดเดียวกัน โดยไม่ต้องใช้พยัญชนะซ้อนกัน และมีการพัฒนาการมาเป็นลำดับจนเป็นอักษรไทยถึงยุคปัจจุบัน
ทำให้เขียนและอ่านหนังสือไทยได้สะดวกมากขึ้น รวมไปถึงสามารถสร้างองค์ความรู้ทาง
ศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากกว่าแปดร้อยปี จึงได้รับการยกย่อง
ให้เป็น “มหาราช” ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทยแห่งอาณาจักรสุโขทัย
ทรงพระนามว่า “พ่อขุนรามคำแหงมหาราช” และเสด็จสวรรคตเมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๔๑
จากนั้นอาณาจักรสุโขทัยค่อยๆ ตกต่ำลงเรื่อยๆ ด้วยประสบปัญหาทั้งจากภายนอกและ
ภายใน จนสุดท้ายตกอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรอยุธยา และถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของ
อาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ หรือ เจ้าสามพระยา
(สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ หรือ เจ้าสามพระยา (ช่วงเวลาระหว่างปีพุทธศักราช
๑๙๒๙-๑๙๙๔) โดยเป็นกษัตริย์อาณาจักรอยุธยา (รัชกาลที่ ๗) พระองค์ทรงครองราชย์
ประมาณ ๓๕ ปี (ปีพุทธศักราช ๑๙๕๙-๑๙๙๔) ซึ่งมีพระปรีชาสามารถในการปกครอง
และการรบ)
เมืองระแหง (เมืองตาก) เกี่ยวข้องอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
โดยเมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๐๐ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประกาศตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นเป็น
อิสระ ต่อจากนั้นในราวปีพุทธศักราช ๑๘๐๕ ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับเมือง
ระแหง (เมืองตาก) ขึ้นครั้งหนึ่งคือ ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด (ปัจจุบันคืออำเภอแม่สอด)
(ชนชาติไทยใหญ่เรียกเมืองฉอดว่า “เมืองจอด” ซึ่งสันนิษฐานได้ว่า เป็นเมืองท่าจอดเรือ
ตรงปากแม่น้ำคง (แม่น้ำสาละวิน) ต่อมาชนชาติไทยในอดีตเรียกเพี้ยนเสียงกันมาเรื่อยๆ
จนกลายเป็น “เมืองฉอด” และมีข้อสันนิษฐานอีกหนึ่งได้กล่าวว่า ชนชาติไทยที่อพยพมา
จากอาณาจักรน่านเจ้าต่างพากันมาชุมนุมตรงบริเวณนี้ ก่อนข้ามเรือไปยังอาณาจักรพม่า
อาณาจักรมอญ และอาณาจักรแสนหวี จึงเรียกว่า “เมืองจอด” และยังมีข้อสันนิษฐานอีก
หนึ่งได้กล่าวว่า กองทัพของขุนเสือขวัญฟ้าและขุนสามหลวงยกกองทัพจะไปตีอาณาจักร
ล้านนา โดยข้ามเรือตรงบริเวณนี้ จึงเรียกว่า “เมืองจอด” เช่นกัน จนกระทั่งเรื่อยมาก่อน
ถึงปัจจุบัน คำว่า “เมืองฉอด” สันนิษฐานว่าน่าจะเรียกต่อๆ กันมาจนเพี้ยนเป็น “สอด”
จึงเป็นที่มาของชื่อ “แม่สอด”)
ขุนสามชนยกกองทัพมาประชิดเมืองระแหง ซึ่งเป็นเมืองชายแดนของอาณาจักร
สุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงยกกองทัพไปช่วยป้องกันเมืองระแหง โดยมีพระราชโอรส
47
องค์เล็ก ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๙ พรรษา ติดตามไปด้วย และกองทัพทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่
บริเวณเชิงดอยนอกเมืองระแหงออกไปประมาณกิโลเมตรเศษ แต่เนื่องจากภูมิประเทศ
ของเมืองระแหงส่วนใหญ่เป็นป่าเขารกทึบ จึงเหมาะแก่การซุ่มโจมตีของข้าศึก ดังปรากฏ
ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า
“เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ต้อนพลเข้าไปทางซ้าย เพื่อหวังจะโอบล้อมกองทัพของ
ขุนสามชน แต่ขุนสามชนคงรู้ทีจึงขับพลเลี่ยงเข้ามาทางขวาเข้าโอบล้อมกองทัพของ
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เสียก่อน ไพร่พลในกองทัพของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ไม่นึกว่า
เหตุการณ์จะกลับตรงกันข้ามเช่นนั้น ก็เสียกำลังใจถอยร่นลงมา ขณะนั้นพระราชโอรส
องค์เล็กของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๙ พรรษา ได้ติดตามมาด้วยเห็นว่า
ถ้าขืนปล่อยให้ไพร่พลในกองทัพถอยร่นลงมาเรื่อยเช่นนั้น ผลสุดท้ายต้องพ่ายแพ้อย่างแน่นอน จึงทรงขับช้างต้อนพลให้เข้าต่อตีกองทัพของขุนสามชนอีกครั้งหนึ่ง แล้วทรงไสช้าง
บุกเข้าไปจนถึงตัวขุนสามชน ซึ่งกำลังต้อนพลรุกไล่กองทัพของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เข้ามา
พระราชโอรสองค์เล็กทรงปะทะช้างกับขุนสามชนจนได้กระทำยุทธหัตถีกัน ขุนสามชนสู้
ไม่ได้ก็พ่ายหนีไป เมืองระแหงจึงรอดพ้นจากการรุกรานของขุนสามชน ต่อมาภายหลัง
ทรงพระนามว่า “พ่อขุนรามคำแหงมหาราช” และตลอดสมัยของอาณาจักรสุโขทัยไม่ปรากฏ
ในศิลาจารึกหรือจดหมายใดๆ เกี่ยวกับเรื่องราวของเมืองระแหงนี้อีกเลย”
ดังนั้น เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในการทำยุทธหัตถีคราวนี้ จึงได้มีการสร้าง
พระเจดีย์ขึ้นเป็นที่ระลึกถึงชัยชนะ โดยเป็นศิลปะแบบสุโขทัย เรียกว่า “พระปรางค์”
ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า ก่อสร้างในสมัยอาณาจักรสุโขทัย
ขนาดพระปรางค์สูงตลอดยอดประมาณ ๑๐ วา แต่ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง
เจดีย์ยุทธหัตถีอยู่ที่วัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ห่างจากตัวเมือง
ไปทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงประมาณ ๓๑ กิโลเมตร ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระมหา
ธรรมราชาธิราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ ได้ย้ายเมืองระแหงลงมาทางตอนใต้ตาม
ลำน้ำปิง ไปตั้งอยู่ที่ป่ามะม่วงฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง ซึ่งอยู่ในเขตตำบลป่ามะม่วง อำเภอ
เมืองตากในปัจจุบัน
เมืองระแหงที่ย้ายมาตั้งใหม่มิใช่เมืองหน้าด่าน เพื่อป้องกันกองทัพพม่าที่ยกเข้ามา
ทางด่านแม่ละเมาเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองที่กองทัพไทยใช้เป็นจุดชุมนุมพลถึง ๔ พระองค์
ได้แก่ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวร
มหาราชทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และทรงยกกองทัพไทยกลับอาณาจักรอยุธยา
โดยผ่านดินแดนเมืองระแหงเป็นแห่งแรก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงนำกองทัพไทย
ไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ และสร้างวัดพระนารายณ์ที่เชิงสะพานกิตติขจรในปัจจุบัน โดยเฉพาะ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชสมบัตินั้น เคยได้รับแต่งตั้ง
48
จากสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หรือ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ หรือ สมเด็จพระบรม
ราชาที่ ๓ ให้เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์ไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือ และต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองระแหง ปลัดเมืองระแหง พระยาวชิรปราการ
แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเป็นผู้กอบกู้เอกราชจากพม่า (ครั้งที่ ๒)
หมอกขาวบางๆ ลอยเอื่อยเลื่อนไหลเป็นสายยาวไปตามกระแสลม พร้อมโอบอุ้ม
เอาความหนาวเย็นยะเยือกมาสัมผัสผิวกาย จนทำให้ภานุรู้สึกหนาวสะท้านทรวงขึ้นมาจับใจ
เวลาผ่านไปสักพักทะเลหมอกเริ่มจางหายไป เมื่อแสงตะวันสีทองสาดส่องทะลุเมฆเมฆา
ทำให้บรรยากาศรอบกายของเขาเริ่มรู้สึกอบอุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ จากที่ได้สัมผัส
ถึงแม้ว่าเพลานี้จะสายมากแล้ว แต่ไอแดดอุ่นๆ ก็ยังคงล่องลอยไปทั่วบริเวณลาด
กว้าง โดยเฉพาะโขดหินใหญ่ที่เขานั่งหลับตาอยู่ในอาการสงบนิ่ง อากาศเริ่มมีการเปลี่ยน
แปลงจากอบอุ่นกลายเป็นร้อนอบอ้าว เหมือนดังว่านั่งอยู่บนกองเพลิงอันร้อนแรง จนเหงื่อ
เม็ดโตผุดพรายออกมาเต็มหน้าผาก แล้วไหลซึมลงมาจนเสื้อเปียกชุ่ม ภานุพยายามรวบรวม
สติให้กลับคืนมาเป็นปกติเหมือนเดิม แล้วเริ่มขยับตัวเมื่อได้ยินเสียงเรียกชื่อตนเองดังแว่ว
เข้ามาสัมผัสโสตประสาทหูชัดขึ้นเรื่อยๆ
“….พ่อเพิ่ม….พ่อเพิ่ม….พ่อเพิ่มตื่น….ตื่นได้แล้วพ่อเพิ่ม….”
ประสาทสัมผัสทั้งหมดเริ่มกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง เขาฝืนเปิดเปลือกตาอันแสนหนักอึ้งขึ้นช้าๆ
พร้อมกับกรอกลูกตากลิ้งวนไปวนมาอยู่พักใหญ่ เพื่อต้องการปรับการมองเห็นให้เป็นปกติ
แล้วภาพที่ลอยอยู่เบื้องหน้าของเขาค่อยๆ ชัดเจนมากขึ้นๆ เรื่อยๆ
“ท่าน....ท่านปุโรหิต”
ภานุร้องอุทานเสียงหลงด้วยความตกใจ พร้อมกับจ้องหน้าท่านปุโรหิตแทบไม่คลาดสายตา
เพราะยังมึนงงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง
“มันเป็นความฝัน หรือว่าเป็นความจริง”
เขาแอบบ่นพึมพำงึมงำเบาๆ ในลำคอ
“มันเป็นความฝัน ที่กลายเป็นความจริงยังไงล่ะพ่อเพิ่ม”
ท่านปุโรหิตตอบเสียงดังฟังชัด พลางแอบอมยิ้มเล็กๆ ที่มุมปาก
“หมายความว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นมาทั้งหมด ผมไม่ได้ฝันไปใช่มั้ยขอรับ ถ้าอย่างนั้น
ทุกเหตุการณ์มันเป็นความจริงยังงั้นหรอขอรับท่านปุโรหิต”
เขายังร้องถามด้วยความสงสัยใคร่รู้ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง
“ฮ่า....ฮ่า....มันก็คงเป็นอย่างที่เจ้าเข้าใจนั่นแหละ เออ….แล้วเจ้าไปเจออะไรมาบ้างล่ะ
พ่อเพิ่ม....ฮ่า....ฮ่า”
ท่านปุโรหิตเอ่ยถามด้วยรอยยิ้มปนหัวเราะชอบใจ แต่แฝงเลศนัยอะไรบางอย่างที่แสดงออกมา
ทางดวงตา ภานุก็ไม่ได้สนอกสนใจอะไรมากนักต่อกิริยาท่าทางของชายชราสูงวัย เพราะได้
49
เข้าใจในตัวตนอย่างถ่องแท้ลึกซึ้ง เขาแย้มยิ้มให้กับชายชราสูงวัย ก่อนกล่าวด้วยสีหน้าและ
น้ำเสียงจริงจังว่า
“ถ้าทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาทั้งหมดเป็นความจริง ผมในฐานะรุ่นลูกรุ่นหลาน
มีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งในความเป็นชาติไทย และน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
อันหาที่สุดมิได้ของพ่อเหนือหัวตากสิน ดังนั้นผมสามารถพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า
พื้นแผ่นดินไทยผืนนี้เปรียบประดุจดังเป็นพิภพบิตุรงค์ของพ่อเหนือหัวตากสินโดยแท้
แผ่นดินพ่อแผ่นดินแม่ที่ลูกหลานทุกคนต้องมีจิตสำนึกจงรักภักดี เทิดทูน หวงแหน
ปกปักรักษา และสำนึกในคุณงามความดีของบรรพบุรุษเหล่านักรบผู้กล้าหาญของ
พ่อเหนือหัวตากสิน เพื่อให้คงอยู่ชั่วลูกชั่วหลานตราบนานเท่านานและยืนยาวตลอดไป”
ชายชราสูงวัยพยักหน้าพยักพเยิดแสดงอาการยอมรับในคำกล่าวของเขา พลางเอื้อมมือ
ไปตบไหล่เขาเบาๆ เป็นเชิงปลอบใจ แววตาที่ฉายแววออกมาขณะจ้องมองใบหน้าเข้ม
ภานุเต็มเปี่ยมไปด้วยความรักใคร่เอ็นดู แล้วจากนั้นท่านปุโรหิตเอ่ยขึ้นมาพร้อมรอยยิ้มว่า
“เจ้าพูดถูกแล้ว เพราะกว่าพ่อเหนือหัวตากสินและเหล่านักรบทหารกล้าจะกอบกู้
บ้านเมืองให้ได้รับอิสรภาพ พ่อเหนือหัวตากสินต้องเหน็ดเหนื่อย รบราฆ่าฟันต่อสู้กับ
อริราชศัตรู ที่แลกมาด้วยหยาดเหงื่อ แรงกายแรงใจ คราบเลือดและน้ำตาที่หยดไหล
แปดเปื้อนพื้นดิน เพื่อรักษาแผ่นดินผืนนี้ไว้ให้พวกเจ้าที่เป็นลูกหลานทุกคน ได้อยู่เย็น
เป็นสุขบนแผ่นดินของพ่อเหนือหัวตากสิน….”
ท่านปุโรหิตหยุดถอนหายใจออกมาเบาๆ ก่อนเอ่ยต่อขึ้นว่า
“พ่อเพิ่ม….ข้าพาเจ้ามาพิสูจน์หาความจริง จนเจ้ารู้แล้วว่าเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด
ข้าไม่ได้พูดปดกับเจ้าแต่อย่างใด ความจริงที่เจ้าได้พิสูจน์ให้หายสงสัยด้วยตัวของเจ้าเอง
มันคือความจริงของเวรกรรมที่เจ้าทำไว้จากการรบราฆ่าฟันศัตรู ทั้งที่ได้ตั้งใจและไม่ได้
ตั้งใจ จนเป็นตราบาปติดตัวเจ้ามาแต่อดีตชาติ โดยที่เจ้าไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่เอาเถอะ….,
เจ้าอย่าพึ่งคิดมากและอย่าได้กังวลใจไปเลย ข้าว่ามันต้องมีทางออกที่ดีที่สุดสำหรับตัวเจ้า
อย่างแน่นอน แล้วนี่มันก็ถึงเวลาที่เจ้าจะต้องกลับคืนสู่ร่างเดิมของเจ้าเสียที ข้า….ข้าขอให้
เจ้าจงโชคดีนะพ่อเพิ่ม”
ภานุนั่งฟังนิ่งด้วยความตั้งอกตั้งใจ น้ำตาแห่งความตื่นตันใจไหลอาบสองแก้มที่ได้สัมผัส
กับสิ่งที่เหนือความคาดหมาย จนสามารถล่วงรู้ถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นมาทั้งหมดอย่างแจ่มแจ้ง
แดงแจ๋ เขาสบสายตากับชายชราสูงวัย พร้อมกับพนมมือขึ้นไหว้อย่างนอบน้อม ก่อนกล่าวขึ้นมาด้วยน้ำเสียงสั่นเครือเบาๆ ว่า
“ถึงแม้ว่าการพบเจอกันครั้งนี้จะเป็นเพียงแค่ช่วงเวลาสั้นๆ แต่มันก็มีความหมาย
ที่ลึกซึ้ง และมีคุณค่าที่สำคัญกับผมมากมาย สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะผ่านไปกี่ภพกี่ชาติก็ตาม
ผมจะไม่มีวันลืมเลือน และจะน้อมระลึกถึงท่านปุโรหิตเสมออย่างไม่มีวันเสื่อมคลายขอรับ”
หลังสิ้นคำกล่าวของเขา บรรยากาศรอบๆ กายเริ่มมีหมอกควันสีขาวโพลนลอยฟุ้งกระจาย
50
ไปทั่วบริเวณนั้น สลับกับความสว่างจ้าจากลำแสงสีทองอร่ามตาพวยพุ่งผ่านกลุ่มหมอกควัน
ทะลุทะลวงทอดยาวอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แล้วมาหยุดชะงักนิ่งสนิทอยู่ตรงกายหยาบของภานุ
จากนั้นลำแสงสีทองอร่ามตาค่อยๆ โอบกอดกายหยาบของเขาให้ล่องลอยละลิ่วขึ้นไปบน
ท้องฟ้าอันเวิ้งว้างอย่างไร้จุดหมายปลายทาง สักพักพลังจิตใต้สำนึกในกายหยาบของเขา
เริ่มกลับมีความรู้สึกว่าเคยได้สัมผัสบรรยากาศอย่างนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง มันเหมือนกับกำลัง
แหวกว่ายอยู่ในห้วงจักรวาลอันไกลโพ้น และสัมผัสได้ถึงความเย็นยะเยือกที่ลอยละล่องมา
ทุกทิศทุกทาง จนทำให้หนาวเหน็บสั่นสะท้านไปถึงในทรวงอีกครั้ง
“พ่อเพิ่ม….พ่อเพิ่ม….ลาก่อน….ข้าขอให้เจ้าจงโชคดี”
ภานุได้ยินเสียงของท่านปุโรหิตดังแว่วมาแต่ไกล แม้พยายามอยากจะเปิดปากโต้ตอบกลับไป
แต่ก็ไม่สามารถทำได้ กายหยาบของเขายังคงลอยเคว้งคว้างอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง
จนสุดท้ายพลังจิตใต้สำนึกและสติสัมปชัญญะในกายหยาบของเขาค่อยๆ ดับวูบลงอย่าง
ไร้ซึ่งความรู้สึกทั้งหมดทั้งปวง
ตอนที่ 8
ร่างของภานุยังคงนอนนิ่งอยู่บนเตียงผู้ป่วยภายในห้องไอซียู ทุกอย่างอยู่ในสภาพเดิม
ทั้งสายระโยงระยางของออกซิเจน น้ำเกลือ และเลือด เสียงร้องเครื่องวัดความดันโลหิตยัง
ทำหน้าที่ตามปกติอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง โดยแสดงให้เห็นว่าร่างกายของเขายังสามารถ
หายใจและชีพจรยังเต้นอยู่ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความเป็นความตายของผู้ป่วยที่นอนไม่รู้สึกตัวมาเกือบสัปดาห์ เพราะพลังจิตใต้สำนึกและสติสัมปชัญญะได้ล่องลอยไปทั่วอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง
ภานุยืนมองร่างของตนเองอยู่เพียงครู่ ก่อนกายหยาบอันโปร่งใสบริสุทธิ์ที่มองคล้าย
ดวงวิญญาณค่อยๆ ลอยหายวับเข้าไปในร่างนั้นอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นเมื่อเวลาผ่านไปได้
ระยะหนึ่ง สิ่งมหัศจรรย์เหนือความคาดหมายก็ได้บังเกิดขึ้น จากภาวะที่ย่ำแย่ไร้หนทางชัดเจน
กลับแปรเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น เมื่อภานุเริ่มรู้สึกตัวด้วยการกระดิกนิ้วมือไปมาได้อย่างช้าๆ
ความคาดหวังของญาติและเพื่อนร่วมงานที่รู้จักเขาจบสิ้นลงด้วยความดีใจ และลดความวิตก
กังวลใจจนหมดสิ้น
บรรยากาศที่มืดดำเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ และวันนี้เป็นวันแรก
ของภานุได้มานอนพักฟื้นอยู่ห้องผู้ป่วยพิเศษ โดยมีพ่อกับแม่และพี่ส้มแป้นเพื่อนร่วมงานฟังแพทย์ประจำตัวผู้ป่วยอธิบายอาการอย่างละเอียด และหลังจากแพทย์ประจำตัวผู้ป่วยกลับ
ออกไปจากห้องผู้ป่วยพิเศษแล้ว วงสนทนาย่อมๆ ก็เริ่มต้นขึ้น
“ฟังคุณหมอพูดแล้วก็สบายใจขึ้นมากเลยนะคะ นี่ถือว่าน้องภานุโชคดีมากๆ ที่ฟื้นรู้สึก
ตัวได้ค่อนข้างเร็ว และเริ่มหายใจได้ด้วยตัวเองจนเกือบเป็นปกติ คุณพ่อคุณแม่หมดห่วงและ
สบายใจสักทีนะคะ”
พี่ส้มแป้นกล่าวพลางถอนหายใจออกมาเบาๆ ด้วยความรู้สึกโล่งอกโล่งใจ
“เห็นเค้าฟื้นและเริ่มรู้สึกตัว เราสองคนพ่อกับแม่ก็ดีใจและหายห่วงแล้วค่ะ นี่พวกเรา
ได้ปรึกษาหารือกันว่า ถ้าภานุฟื้นขึ้นมาเป็นปกติเมื่อไหร่ คิดว่าจะให้เค้าบวชซักหน่อยค่ะ”
คุณราตรีผู้เป็นแม่ของภานุกล่าวด้วยน้ำเสียงสั่นเครือเบาๆ พร้อมรอยยิ้มแจ่มใสกว่าหลายวัน
ที่ผ่านมา ความวิตกกังวลของคนเป็นพ่อเป็นแม่หายเป็นปลิดทิ้ง หลังจากภานุฟื้นและรู้สึกตัว
จนเป็นปกติ
วันเวลาผ่านไปได้ประมาณสามสัปดาห์ สุขภาพของเขาแข็งแรงดีขึ้นเรื่อยๆ โดยสามารถ
ดื่มน้ำ กินอาหารอ่อน และพูดคุยได้เกือบดังเดิม แต่ในห้วงความคิดลึกๆ ยังสับสนกับเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้นกับตนเองว่าเป็นความจริง หรือว่าเป็นแค่เพียงความฝันเท่านั้น
“เป็นยังไงบ้างล่ะน้องรัก พี่มองสภาพร่างกายของเธอตอนนี้ ดูแข็งแรงดีขึ้นมากแล้วนี่”
ภานุสบตาผู้ร่วมงานที่เปรียบเสมือนเป็นพี่สาวคนหนึ่ง ก่อนตอบคำถามทันควัน แต่ในความรู้สึก
ที่แท้จริงยังอ่อนเพลียอยู่
“ค่อยยังชั่วบ้างแล้วล่ะ แต่ยังเพลียๆ อยู่ครับพี่ส้มแป้น”
52
“นอนพักผ่อนให้เยอะๆ ไปก่อนเถอะ เดี๋ยวร่างกายค่อยๆ ฟื้นตัวแล้วก็จะหายเป็น
ปกติเองแหละ แต่ยังไงพี่ว่าก็ดีกว่าถึงขั้น….”
“เสียชีวิต!....”
พี่ส้มแป้นมองหน้าเขาก่อนพูดในเชิงปลอบใจ
“อืม….คิดเสียว่าเหมือนตายแล้วเกิดใหม่ก็แล้วกันนะจ๊ะน้องรัก”
ภานุพยักหน้ารับคำกล่าว แต่ในห้วงความคิดยังนึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ยิ่งคิดก็
ยิ่งสับสน ยิ่งสับสนก็ยิ่งขบคิด ยิ่งขบคิดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งว้าวุ่นใจจนค้นหาทางออกแทบไม่ได้
แม้ว่าจะพยายามฝ่าความมืดมิดดั่งม่านดำที่อยู่ตรงหน้า แต่ก็ยังไขว่คว้าหาทางออกไม่ได้สักที
“ตั้งสติ….สติ....สติสัมปชัญญะจงบังเกิด….พลังจิตใต้สำนึกจงบังเกิดโดยเร็ว….เอาวะ
....ไอ้นุสู้สู้....ขอสู้อีกสักตั้งเถอะวะ”
เขานอนหลับตานิ่งอยู่พักใหญ่ พร้อมผ่อนลมหายใจเข้าออกอย่างช้าๆ เพื่อระบายความกดดัน
ที่สุมอยู่ในอกให้เบาบางลง ถึงแม้ว่าในหัวสมองยังมีความคิดซ้ำๆ ซากๆ วนเวียนไปวนเวียนมา
จนน่ารำคาญและน่าหงุดหงิดตนเองเหมือนกัน แต่สุดท้ายความคิดมาตกผลึกตรงที่ใจหนึ่ง
อยากจะบอกพี่ส้มแป้นให้รับรู้ถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมด ส่วนอีกใจหนึ่งลังเลกล้าๆ กลัวๆ
ว่าจะบอกดีหรือจะไม่บอกดี เพราะกลัวพี่ส้มแป้นจะหาว่าบ้า เขาลังเลใจอยู่นานพอสมควร
ก่อนตัดสินใจเอ่ยขึ้นว่า
“เออ….พี่….พี่ส้มแป้นครับ พอดี….พอดีผม….ผมมีเรื่องหนึ่งอยากจะบอกพี่ส้มแป้น
….แล้วก็….แล้วก็เรื่องที่ผมจะบอก….พี่ส้มแป้นจะเชื่อ….หรือจะไม่เชื่อ….หรือจะหาว่าผมบ้า
….ผมเพ้อเจ้อก็สุดแล้วแต่พี่ส้มแป้นเถอะนะครับ”
พี่ส้มแป้นเงยหน้าขึ้นมองหน้าผู้เปรียบเสมือนเป็นน้องชาย ที่ยังนอนเหยียดยาวอยู่บนเตียง
ผู้ป่วยด้วยแววตาฉงนสงสัย
“มีเรื่องอะไรจะบอกพี่รึ”
เขาอ้ำอึ้งอยู่ชั่วครู่ก่อนนิ่งเงียบไป
“เอาเถอะหน่า เธอไม่ต้องกังวลอะไรทั้งนั้น พี่ยินดีรับฟังเรื่องของเธอเสมอจ้ะน้องรัก”
“แต่….แต่เรื่องที่ผมจะบอก ผมไม่แน่ใจว่าพี่จะเชื่อ หรือจะหาว่าผมเพ้อเจ้อนั่นสิครับ
พี่ส้มแป้น”
พี่ส้มแป้นส่งยิ้มหวานให้พลางว่า
“ทำไมถึงคิดอย่างนั้น เธอไม่ต้องเป็นกังวล และไม่ต้องกลัวว่าพี่จะเชื่อหรือไม่เชื่อเธอ
หรอกนะ เพราะทุกเรื่องใดๆ ย่อมมีเหตุผลของมัน และอีกอย่างที่ผ่านมาเราสองคนก็ไม่เคย
ปิดบังกัน ใครมีเรื่องอะไรก็มักจะปรึกษาหารือกันได้เกือบทุกเรื่อง….จริงมั้ยจ๊ะน้องรัก”
ภานุสูดลมอัดเข้าปอดก่อนพยักหน้า พร้อมสบตากับพี่ส้มแป้นที่ยืนอยู่ข้างเตียงผู้ป่วยแล้วว่า
“ใช่ครับ”
“ถ้าอย่างนั้นเอาเป็นว่าเธอพร้อมจะบอกพี่เมื่อไหร่ ก็เอาเมื่อนั้นละกันนะจ๊ะน้องรัก”
53
ภานุนิ่งเงียบเสมือนกำลังใช้ความคิด เขาตั้งสติและทำสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบ แล้วพยายาม
รวบรวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ตั้งแต่สติสัมปชัญญะดับวูบลงจนไร้ซึ่งความรู้สึกใดๆ ต่อจากนั้นเริ่มกลับมารู้สึกตัวอีกครั้งด้วยพลังจิตใต้สำนึก เขากะพริบตาถี่ๆ อยู่หลายครั้ง
เมื่อสามารถมองเห็นภาพเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ทั้งที่ผ่านมาและจนมาถึง
ปัจจุบันอย่างชัดเจน เขาจ้องหน้าผู้เปรียบเสมือนเป็นพี่สาวคนหนึ่งนิ่ง ก่อนเอ่ยขึ้นมาด้วย
น้ำเสียงราบเรียบว่า
“ผมไม่อยากเก็บไว้นาน และตอนนี้ผมพร้อมที่จะบอกพี่ส้มแป้นแล้วครับ”
“โอเค….เอาที่เธอสบายใจก็แล้วกัน.....”
พี่ส้มแป้นว่าพร้อมรอยยิ้มมิตรไมตรี
“เอาล่ะ….ถ้าตอนนี้เธอพร้อม พี่ก็พร้อมที่จะรับฟังเธอเหมือนกันจ้ะ”
“ครับพี่ส้มแป้น”
ภานุรับคำพลางกลืนน้ำลายลงคอเอื๊อกใหญ่ คล้ายกำลังทบทวนคำพูดอีกครั้งก่อนจะเอ่ยขึ้นว่า
“เออ….คือในช่วงที่ผมนอนสลบอยู่….ผม….ผมมีความรู้สึกว่าตัวเองกำลังล่องลอย
อยู่ในอวกาศอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง ยิ่งลอยสูงมากขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งหนาวเย็นยะเยือก
จนสั่นสะท้านไปถึงขั้วหัวใจ แล้วจากนั้นผมก็ลอยเข้าไปหาแสงสว่างเล็กๆ ที่อยู่ปลายอุโมงค์
จากจุดเล็กๆ แล้วค่อยๆ สว่างมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งตัวผมเองก็ไม่แน่ใจว่ามันเป็นความฝันหรือ
ว่าเป็นความจริงครับ”
“อืม….เป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่อ และมีความน่าสนใจมากๆ”
พี่ส้มแป้นเริ่มคล้อยตามอย่างใจจดใจจ่อ
“แล้วยังไงต่อล่ะ”
“แสงสว่างแผ่รัศมีกระจายขยายเป็นวงกว้าง จนสามารถมองเห็นใครคนหนึ่งเดินออก
มาจากปลายอุโมงค์ พี่ส้มแป้นรู้มั้ยว่าผม….ผมได้พบกับใคร”
เขาหยุดไปชั่วครู่เหมือนทบทวนความทรงจำที่ผ่านมา
“ผมได้พบกับผู้ชายสูงอายุคนหนึ่ง….ซึ่งดูเหมือนจะเป็น….เป็นปุโรหิตของพ่อเหนือ
หัวตากสินครับ”
พี่ส้มแป้นเริ่มฉุดคิดในคำบอกเล่าของเขา เพราะใจหนึ่งเห็นดีเห็นชอบคล้อยตามด้วยความ
สนอกสนใจในเรื่องที่บอกเล่ามา แต่อีกใจหนึ่งอาจเป็นเพราะร่างกายของเขา โดยเฉพาะส่วน
สมองที่ได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจากอุบัติเหตุ จึงทำให้ร่างกายอ่อนเปลี้ยเพลีย
แรง และยังไม่แข็งแรงเป็นปกติดังเดิม ซึ่งผลกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงทางสมองครั้งนี้
อาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดอาการสับสน กระวนกระวาย จนมีความผิดปกติทางความคิดก็เป็นได้
“ถ้าเธอพูดมาแบบนี้ มันก็เหมือนกับภาพยนตร์ที่เธอแสดงเลยสิ หรือว่าตอนเธอนอน
สลบอยู่นั้น มันอาจจะเป็นเพราะจิตใต้สำนึกของเธอรึเปล่าจ๊ะ”
ภานุนิ่งคิดด้วยอาการไตร่ตรองไปนิดหนึ่ง ก่อนจะเอ่ยขึ้นว่า
54
“ตอนแรกผมก็คิดเหมือนกับพี่ส้มแป้นนั่นแหละ แต่….แต่ทำไมที่ผ่านมาผมมีความ
รู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ มากเลยนะครับพี่ส้มแป้น”
“อืม....มันก็แปลกดีเหมือนกันนะ”
พี่ส้มแป้นเกาศีรษะเบาๆ แสดงอาการงงงวยแล้วพูดต่อ
“หรือว่า….หรือว่ามันอาจจะเป็นความฝันที่กลายมาเป็นความจริง”
ภานุเบิกตาโตทำท่าตกใจ
“พี่ส้มแป้นพูดเหมือนท่านปุโรหิตเลยครับ”
“อ้าว….จริงหรอ”
เขาพยักหน้ารับคำพลางพูดยิ้มๆ
“ใช่ครับ ท่านปุโรหิตบอกกับผมว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมดมันใม่ใช่ความฝัน แต่มัน
เป็นความจริง ความจริงที่ต้องพิสูจน์ด้วยตัวของผมเอง สาเหตุเป็นเพราะในอดีตชาติที่ผ่านมา
ผมคือนายเพิ่ม ผู้ได้รับบรรดาศักดิ์ให้ดำรงตำแหน่งพระยาเชียงเงิน ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ทหาร
เอกคู่พระวรกายคู่พระทัยของพ่อเหนือหัวตากสิน และทุกครั้งที่ออกศึกทำสงครามผมได้
สร้างเวรสร้างกรรมไล่ล่าฆ่าฟันอริราชศัตรูผู้เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ได้
ตั้งใจก็ตาม มันเป็นตราบาปติดตัวมาแต่อดีตชาติโดยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงส่งผลให้
ผมต้องเวียนว่ายตายเกิดหลายภพหลายชาติจนมาถึงภพนี้ เพื่อชดใช้เวรกรรมนั้นๆ ให้หมด
สิ้นไป เพราะว่าเวรกรรมเป็นสิ่งที่ใช้ทดแทนกันไม่ได้ครับพี่ส้มแป้น”
พี่ส้มแป้นมองหน้าเพื่อนร่วมงานผู้เปรียบเสมือนน้องชายคนหนึ่งด้วยประกายตาเจิดจรัส
สดใส ดวงหน้าขาวนวลเปื้อนรอยยิ้มจนสังเกตได้ แล้วเอ่ยขึ้นด้วยน้ำเสียงราบเรียบที่แฝง
ไปด้วยความอบอุ่นว่า
“เอาเป็นว่าพี่เชื่อเรื่องที่เธอพูดมาทั้งหมด ถึงแม้ว่าอาจจะเป็นเรื่องจริงหรือเป็นเรื่อง
ไม่จริงก็ตาม เพราะถ้ามาคิดทบทวนกันดีๆ พี่ว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับเธอในอดีตชาติที่ผ่านมา
มันน่าจะไปเชื่อมโยงกับภาพยนตร์ที่เธอแสดงในชาติปัจจุบันก็เป็นได้ โดยผ่านตัวละครที่เธอ
รับบทเป็นพระยาเชียงเงิน ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ทหารเสือพระเจ้าตาก….อืม….พี่ว่านะ….ถึงแม้
เรื่องนี้จะเป็นเรื่องแปลกสุดมหัศจรรย์และเหลือเชื่อที่เกินจะเป็นความจริงได้ แต่มันก็ไม่ได้
ทำอะไรให้ใครเสียหายใช่มั้ยจ๊ะน้องรัก….”
พี่ส้มแป้นหยุดพูดพลางถอนหายใจเฮือกใหญ่ แล้วพูดต่ออีกว่า
“….เอาล่ะพี่ว่านะไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ช่างเค้าประไร....
จริงรึเปล่าล่ะที่พี่พูด….เออ….เกือบลืมไปแน่ะ คุณพ่อคุณแม่ของเธอบอกกับพี่ว่า ถ้าเธอฟื้น
และร่างกายแข็งแรงดีขึ้นจนเป็นปกติเมื่อไหร่ เห็นว่าจะให้เธอบวชเลยนะ”
ภานุนิ่งคิดไปชั่วขณะหนึ่ง เขาสบสายตาพี่ส้มแป้นที่ยังยืนอยู่ข้างเตียงผู้ป่วย ก่อนเอ่ยขึ้นมา
พร้อมด้วยรอยยิ้มบางๆ ว่า
“ผมก็คิดอยู่เหมือนกัน ใจหนึ่งต้องการบวชเพื่อทดแทนพระคุณพ่อกับแม่ และอีกใจ
55
หนึ่งก็เพื่อชดใช้เวรกรรมที่เคยก่อกรรมทำเข็ญไว้กับศัตรูในอดีตชาติที่ผ่านมา มันเป็นเวร
เป็นกรรมติดตัวมาที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าจะตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจก็ตาม เพราะฉะนั้น
สิ่งที่ผมสามารถจะทำได้ในชาติปัจจุบันนี้ก็คือบวชเพื่อทดแทนพระคุณพ่อกับแม่ และอุทิศ
ส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ผู้เป็นเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายในอดีตชาติที่ผ่านมา เพื่อปลดปล่อย
ดวงวิญญาณพวกเค้าเหล่านั้นได้หลุดพ้นแล้วไปผุดไปเกิดใหม่เสียที เพราะท่านปุโรหิตเคย
บอกกับผมว่าเวรกรรมเป็นสิ่งที่ใช้ทดแทนกันไม่ได้ครับ”
“อืม....พี่เข้าใจความรู้สึกของเธอดี เพราะสิ่งที่เธอคิดจะทำต่อจากนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่อง
ที่ดีและถูกต้องที่สุดแล้วล่ะ มันเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ที่เธอตั้งอกตั้งใจทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ
และมีความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการี ไม่ว่าจะเป็นการทดแทนพระคุณพ่อกับแม่ และชดใช้
เวรกรรมที่เคยทำไว้กับบรรพชนผู้วายชนม์ในอดีตชาติที่ผ่านมาจ้ะน้องรัก”
ภานุนิ่งฟังด้วยความตั้งใจ ก่อนโปรยยิ้มออกมาให้ผู้เปรียบเสมือนเป็นพี่สาว พร้อมกับเอ่ย
ขึ้นว่า
“ผมขอบพระคุณพี่ส้มแป้นมากๆ ที่เข้าใจความรู้สึกของผมครับ”
“จ้ะน้องรัก”
พี่ส้มแป้นพยักหน้ารับคำกล่าวของเขา พลางแอบคิดในใจว่า
“ด้วยความตั้งใจอันบริสุทธิ์ของเธอที่คิดดี ทำดี จะเป็นผลบุญกุศลอันแสนประเสริฐ
ที่ยิ่งใหญ่ เพื่อช่วยปลดปล่อยดวงวิญญาณเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายในอดีตชาติที่ผ่านมา
ให้ได้หลุดพ้นจากบ่วงกรรมข้ามห้วงบาป แล้วไปผุดไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดีสมดังปรารถนา
และยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเป็นอันมากก็คือ ขอน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุด
มิได้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และสี่ทหารเสือคู่พระวรกายคู่พระทัยของ
พระองค์ โดยเฉพาะพระยาเชียงเงิน ผู้ครองเมืองเชียงเงิน แล้วยังรวมไปถึงบรรพชนเหล่านักรบ
ผู้กล้าหาญ จนทำให้พวกเรามีแผ่นดินได้อยู่อาศัย และทำมาหากินเลี้ยงชีพยั่งยืนชั่วลูกชั่วหลาน
มาจนทุกวันนี้ พื้นแผ่นดินพ่อแผ่นดินแม่ผืนนี้จึงเปรียบประดุจดังเป็นพิภพบิตุรงค์ของพระองค์
โดยแท้ ท้ายสุดนี้พี่ขออนุโมทนาบุญกับเธอด้วยจากใจจริงอันบริสุทธิ์นะจ๊ะน้องรัก”
…………………………………………………………………
56
เมืองเชียงเงิน เป็นส่วนหนึ่งของเมืองตาก โดยเมื่อประมาณ ๒๖๐ – ๓๐๐ ปี นับแต่ก่อน
ปีพุทธศักราช ๒๒๙๐ เป็นต้นมา จะมีเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของเมืองตากจำนวน ๓ เมือง
ได้แก่
(๑) เมืองระแหง
(๒) เมืองเชียงทอง
(๓) เมืองเชียงเงิน
ส่วนเมืองอื่นๆ อีกหลายเมืองที่เกิดขึ้นมาภายหลังในปัจจุบัน ได้ถูกตั้งขึ้นประมาณตอนปลาย
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) หรือตอนต้นรัชสมัยพระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ซึ่งในสมัยโบราณจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็น
บ้านและเมือง แล้วจะแบ่งระดับเมืองออกเป็น เมืองเอก เมืองโท เมืองตรี และเมืองจัตวา
เมืองเชียงเงิน ตั้งอยู่ใจกลางชุมชนบ้านท่าแค ซึ่งปัจจุบันจะเป็นตำบลเชียงเงิน โดยมี
หลักฐานยืนยันที่เชื่อถือได้ตามบันทึกของ พ.อ.ปรุง นุชภักดี ว่า
“ข้าพเจ้าได้ไปเดินดูเมื่อประมาณพุทธศักราช ๒๔๙๐ ยังเห็นมีต้นมะขามแถวตั้งเรียง
เป็นระเบียบอยู่ริมถนนด้านตะวันออก มีอยู่ประมาณ ๕ – ๖ ต้น แต่ละต้นโต วัดโดยรอบประมาณ
๓ – ๔ เมตร แต่ครั้นถึงปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ ข้าพเจ้าได้ไปดูอีกครั้งปรากฏว่า ต้นมะขามได้ถูกตัด
โค่นหมดจนไม่มีอะไรเป็นที่สังเกต ข้าพเจ้าได้เข้าไปเสวนากับคุณปุ่น….ซึ่งเขามีศักดิ์เป็นพี่ของ
ข้าพเจ้า เขาบอกว่า “ที่เขาตั้งบ้านอยู่นั้น คือที่ทำการเมืองเชียงเงิน เขาเป็นเหลนอันดับ ๑
ของพระเชียงเงิน (นุช)” ซึ่งต่อจากนี้จะได้กล่าวถึง “พระเชียงเงิน” ต่อไป”
พระเชียงเงิน เป็นนามและบรรดาศักดิ์ของตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงเงิน ซึ่งอยู่ภายใต้การ
ปกครองของเมืองตากในรัชสมัยพระยาตาก (สิน) ผู้เป็นเจ้าเมืองตาก และจะมีรองจากเจ้าเมือง
ตากที่มีบรรดาศักดิ์เป็นชั้นพระยา พระเชียงเงินเป็นตำแหน่งและบรรดาศักดิ์ผูกขาดของตระกูล
ที่สืบต่อๆ กันมา ตามลำดับ โดยคนก่อนหน้านี้ไม่มีประวัติกล่าวไว้แต่อย่างใด ดังนี้
(๑) พระเชียงเงิน คนที่ ๑ นามว่า “โพ” เป็นเจ้าเมืองเชียงเงิน ในรัชสมัยพระยาตาก (สิน)
ดำรงตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองระแหง และเลื่อนขึ้นเป็นพระยาตาก (สิน) ซึ่งพระเชียงเงิน
(โพ) ได้ติดตามพระยาตาก (สิน) ไปช่วยราชการทำศึกสงคราม เพื่อป้องกันอาณาจักรอยุธยา
จากกองทัพพม่าในรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หรือ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ หรือ
สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ จนได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยาวชิรปราการ (สิน) เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร
แทนเจ้าเมืองกำแพงเพชรเดิมที่ถึงแก่กรรม แต่พระยาวชิรปราการ (สิน) ยังหาได้ไปปกครอง
เมืองกำแพงเพชรแต่อย่างใด เนื่องจากต้องต่อสู้กับกองทัพพม่า เพื่อป้องกันอาณาจักรอยุธยา
ให้รอดพ้นจากข้าศึกศัตรู
พระยาวชิรปราการ (สิน) พร้อมด้วยพระเชียงเงิน (โพ) ตีฝ่าวงล้อมข้าศึกศัตรูออกจาก
อาณาจักรอยุธยา เพื่อไปรวบรวมกำลังพลกองทัพที่เมืองนครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง
และจันทบุรี จากนั้นเมื่อกำลังพลมีความพร้อม จึงยกกองทัพกลับมาโจมตีข้าศึกศัตรูจนสำเร็จ
57
ทำให้พระเชียงเงิน (โพ) เป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่ได้รับการยกย่องให้มีตำแหน่งและบรรศักดิ์
สูงขึ้น โดยได้เลื่อนขึ้นเป็น “พระยาพิพิธราชา” และดำรงตำแหน่งสุดท้ายคือ “เจ้าพระยาอนุรักษ์
ภูธร เจ้าเมืองนครสวรรค์” ซึ่งรวมระยะเวลาที่ได้เป็นเจ้าเมืองเชียงเงินประมาณ ๒๙ ปี (ตั้งแต่
ปีพุทธศักราช ๒๒๘๐ ถึงปีพุทธศักราช ๒๓๐๙) และเมื่อมีอายุประมาณ ๔๕ ปี ได้ยกตำแหน่ง
เจ้าเมืองเชียงเงินให้กับบุตรชาย เพื่อร่วมไปกับกองทัพของพระยาตาก (สิน) จนบั้นปลายชีวิต
เมื่ออายุ ๖๕ ปี
(๒) พระเชียงเงิน คนที่ ๒ นามว่า “เพิ่ม” เป็นเจ้าเมืองเชียงเงินที่รับมอบตำแหน่งจาก
บิดา ด้วยความเห็นชอบของพระยาตาก (สิน) ผู้เป็นเจ้าเมืองตาก ก่อนร่วมเดินทางไปกับ
กองทัพของพระยาตาก (สิน) จนสามารถกอบกู้เอกราชได้เป็นผลสำเร็จในปีพุทธศักราช ๒๓๑๐
จากนั้นบรรดาแม่ทัพ นายกอง ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดจนสมณะ
พราหมณาจารย์และอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันอัญเชิญขึ้นปราบดาภิเษก
เป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน จุลศักราช ๑๑๒๘ ซึ่งตรงกับวันที่
๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๓๑๐ พระนามว่า “พระศรีสรรเพชญ์” หรือ “สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔”
หรือ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” หรือ “สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี” ขณะมีพระชนมายุ ๓๓
พรรษา และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีใหม่แทนอาณาจักรอยุธยา โดยเป็น
พระมหากษัตรย์พระองค์เดียวของอาณาจักรธนบุรี และมีระยะเวลาสั้นที่สุดแค่เพียงระหว่าง
ปีพุทธศักราช ๒๓๑๐ ถึงปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ รวม ๑๕ ปี
พระเชียงเงิน (เพิ่ม) เป็นเจ้าเมืองเชียงเงิน ปกครองเมืองเชียงเงิน ในรัชสมัยพระยา
กำแหงวิชิต ผู้เป็นเจ้าเมืองตาก โดยได้ปกครองเรื่อยมาจนถึงเมื่อคราวสมเด็จพระเจ้าตากสิน
มหาราชยกกองทัพตีนครเชียงใหม่ (ครั้งที่ ๒) ได้เป็นผลสำเร็จ (ปีพุทธศักราช ๒๓๑๗) ซึ่งรวม
ระยะเวลาที่ได้เป็นเจ้าเมืองเชียงเงินประมาณ ๔๐ ปี (ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๓๐๙ ถึงปีพุทธ
ศักราช ๒๓๕๐)
(๓) พระเชียงเงิน คนที่ ๓ นามว่า “ต่าย” เป็นเจ้าเมืองเชียงเงินที่รับมอบตำแหน่งจาก
บิดา คือ พระเชียงเงิน (เพิ่ม) ขณะมีอายุประมาณ ๒๕ ปี และรวมระยะเวลาที่ได้เป็นเจ้าเมือง
เชียงเงินประมาณ ๔๐ ปี (ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๓๕๐ ถึงปีพุทธศักราช ๒๓๙๐)
(๔) พระเชียงเงิน คนที่ ๔ นามว่า “นุช” เป็นเจ้าเมืองเชียงเงินที่รับมอบตำแหน่งจาก
บิดา คือ พระเชียงเงิน (ต่าย) โดยได้เป็นเจ้าเมืองเชียงเงินตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๓๙๐ ถึงปี
พุทธศักราช ๒๔๒๐ (ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมือง ระหว่างปี
พุทธศักราช ๒๔๑๖ ถึงปีพุทธศักราช ๒๔๓๕) ซึ่งพระเชียงเงิน (นุช) มีบุตรธิดา ๔ คน ได้แก่
๑. คนที่หนึ่งเป็นผู้หญิง ชื่อ ปุกทอง
๒. คนที่สองเป็นผู้หญิง ชื่อ พริ้ง
๓. คนที่สามเป็นผู้ชาย ชื่อ สิงห์โต (ตาของ พ.อ.ปรุง นุชภักดี)
๔. คนที่สี่เป็นผู้ชาย ชื่อ เนตร
58
ทั้งนี้ ในวัยเด็กตาสิงห์โตเดินทางไปศึกษาเล่าเรียนหาความรู้ที่เมืองพิษณุโลก (เมืองเอก)
หลังจากจบการศึกษาได้ทำงานราชการที่เมืองพิษณุโลก จนได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนสินเทพ”
และแต่งงานกับผู้หญิงที่บ้านคลอง จนมีลูกสาว ๑ คน ต่อมาภรรยาเสียชีวิต กอปรกับขณะนั้น
พระเชียงเงิน (นุช) ผู้เป็นบิดามีอายุมากขึ้น ขุนสินเทพจึงขอย้ายมาทำงานราชการที่เมืองตาก
โดยช่วยงานตำแหน่งพระเชียงเงิน เพื่อเตรียมตัวรับตำแหน่งพระเชียงเงิน เป็นเจ้าเมืองเชียงเงิน
ปกครองเมืองเชียงเงิน อย่างเต็มตัวแทนผู้เป็นบิดาต่อไป
ต่อมาทางราชการสั่งยุบเมืองเชียงเงิน จึงทำให้ตำแหน่งพระเชียงเงิน ซึ่งเป็นเจ้าเมือง
เชียงเงินก็ถูกยุบไปด้วย เนื่องจากต้องการให้เป็นไปตามแผนการปรับปรุงบ้านเมืองใหม่ (ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๑๖ ถึงปีพุทธศักราช ๒๔๓๕)
ดังนั้น ขุนสินเทพจึงได้เลื่อนให้มีบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น “หลวงพิพิธณรงค์” ซึ่งเป็นตำแหน่ง
มหาดไทย จังหวัดตาก (ในปัจจุบันคือตำแหน่ง “ปลัดจังหวัด”) อีกทั้งยังเป็นต้นสกุล “นุชภักดี”
หรือสกุล “นุดภักดี”
หลวงพิพิธณรงค์ (ตาของ พ.อ.ปรุง นุชภักดี) แต่งงานใหม่กับยายบุญถี ซึ่งเป็นลูกสาว
ข้าราชการเมืองชัยนาท (พี่ชายของยายบุญถีใช้สกุล “ไชยนันท์”) โดยมีบุตรธิดา ๔ คน ได้แก่
๑. คนที่หนึ่งเป็นผู้หญิง ชื่อ เก็บ เป็นต้นสกุลของผู้ใช้สกุล “เครื่องกำแหง”
และ “สิงห์จู” โดยมีศักดิ์เป็นป้า ต่อมาเสียชีวิตเมื่อคลอดลูกคนที่ ๔ และสามีไปแต่งงานใหม่
จึงทำให้น้องสาว (คนที่สาม) ชื่อ กวาด เลี้ยงลูกทั้ง ๔ คนแทน
๒. คนที่สองเป็นผู้ชาย ชื่อ โถ รับราชการเป็นปลัดกิ่งอำเภอวังหิน อำเภอเมือง
จังหวัดตาก ต่อมาได้ลาออกจากราชการเพราะป่วย พร้อมๆ กับมีการยุบกิ่งอำเภอวังหินลง
๓. คนที่สามเป็นผู้หญิง ชื่อ กวาด (มารดาของ พ.อ.ปรุง นุชภักดี)
๔. คนที่สี่เป็นผู้หญิง ชื่อ ถวิล แต่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก
ทางฝ่ายบิดา ปู่เป็นคนไทย ชื่อ ถาวร หรือ บวร หรือ วอน และมีพี่น้องร่วมบิดามารดา
เดียวกัน ๔ คน ได้แก่
๑. คนที่หนึ่งเป็นผู้หญิง ชื่อ ประภา หรือ สุภา หรือ ยุภา หรือ พา
๒. คนที่สองเป็นผู้หญิง ชื่อ จีบ
๓. คนที่สามเป็นผู้ชาย ชื่อ วอน (ปู่ของ พ.อ.ปรุง นุชภักดี) เมื่อครั้นยังวัยรุ่นได้
เดินทางจากตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดตาก กับพระธุดงค์ โดยมีความตั้งใจจะไป
ศึกษาเล่าเรียนหาความรู้ที่กรุงเทพมหานคร แต่สุดท้ายเดินทางไปถึงแค่อำเภอผักไห่ จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา จึงศึกษาเล่าเรียนหาความรู้อยู่ที่นั่น และเป็นต้นสกุล “จันทร์จิต”
๔. คนที่สี่เป็นผู้หญิง ชื่อ เล็ก
ส่วนทางฝ่ายย่า ชื่อ ทับ บิดาเป็นคนจีน มารดาเป็นคนไทย และมีพี่น้องร่วมบิดามารดา
เดียวกัน ๓ คน ได้แก่
๑. คนที่หนึ่งเป็นผู้หญิง ชื่อ แช่ม โดยมีบุตรชาย ๓ คน ได้แก่ นาค ศรี อวบ
59
และธิดา ๑ คน คือ พวง ซึ่งอาศัยอยู่ที่ปากคลองขุนอินทร์ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
และเป็นต้นสกุล “อินทร์ฉิม” ต่อมาบิดามารดาเสียชีวิตไปตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้แช่มผู้เป็นพี่สาว
คนโตต้องดูแลปกครองน้องๆ และทรัพย์สินแทนมาโดยตลอด
๒. คนที่สองเป็นผู้หญิง ชื่อ ทับ (ย่าของ พ.อ.ปรุง นุชภักดี)
๓. คนที่สามเป็นผู้ชาย ชื่อ ตี๋ มีบุตรชายที่สืบหาได้เพียงคนเดียว ชื่อ บุญธรรม
เมื่อปู่กับย่าแต่งงานกัน ยังอาศัยอยู่ที่อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยช่วยงาน
พี่สาวคนโต (แช่ม) เกือบ ๓๐ กว่าปี จากนั้นอพยพครอบครัวมาอยู่ที่ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมือง
จังหวัดตาก โดยมีบุตรธิดา ๕ คน ได้แก่
๑. คนที่หนึ่งเป็นผู้ชาย ชื่อ บุญมี (บิดาของ พ.อ.ปรุง นุชภักดี)
๒. คนที่สองเป็นผู้ชาย ชื่อ ฉิม แต่เสียชีวิตตั้งแต่ยังไม่บรรลุนิติภาวะที่จังหวัดตาก
๓. คนที่สามเป็นผู้หญิง ชื่อ ปื้อ แต่งงานมีครอบครัวและใช้สกุล “บุญยะทิม”
มีบุตรชายคือ ร.ต.อ.บุญธรรม บุญยะทิม
๔. คนที่สี่เป็นผู้หญิง ชื่อ บุญเรือง แต่งงานมีครอบครัวและใช้สกุล “เครือยิ้ม”
มีบุตรชาย ชื่อ จำลอง เครือยิ้ม
ต้นกำเนิดของ พ.อ.ปรุง นุชภักดี ตช.ตม.
บิดาชื่อ บุญมี และมารดาชื่อ กวาด แต่งงานกันเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๑ มีบุตรธิดา
๒ คน ได้แก่
๑. คนที่หนึ่งเป็นผู้ชาย ชื่อ พ.อ.ปรุง นุชภักดี เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์
พุทธศักราช ๒๔๕๒
๒. คนที่สองเป็นผู้หญิง ชื่อ โกย เกิดเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๖ มีบุตร ๒ คน
และธิดา ๑ คน โดยใช้สกุล “เชื้อนเคนทร์” และ “เกษวงศ์รอด”
บิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย โดยมารดาเปิดร้านค้า ทั้งขายปลีกและขายส่งที่
ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดตาก ส่วนบิดามีเรือแม่ปะหนึ่งลำ จึงลงไปซื้อสินค้าที่
ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ แล้วนำมาให้มารดาขาย และในช่วงฤดูน้ำหลากก็จะรับจ้างขนส่งไม้ซุง (ต้นสัก) ลงไปส่งที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ แต่ชีวิตครอบครัวก็ต้องมีอัน
ต้องเกิดการหย่าร้างจนถึงขั้นขึ้นศาล บิดาเป็นผู้ชนะคดี ส่วนมารดาเป็นผู้แพ้คดี โดยศาล
ให้แบ่งลูกกันคนละคน แต่ไม่มีใครไปอยู่กับบิดา ต่อมามารดาจึงจำเป็นต้องซื้อที่เพื่อปลูก
บ้านใหม่และค้าขายเหมือนเดิม แต่ลดฐานะขายปลีกอย่างเดียว บ้านใหม่ของมารดาห่างจาก
บ้านบิดาประมาณ ๑๐๐ เมตร และต่างฝ่ายต่างไม่แต่งงานใหม่
มารดาค้าขายเจริญรุ่งเรือง จนได้รับมอบความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชากรมทหาร
พรานที่ ๖ จังหวัดตาก ให้เป็นผู้ส่งข้าวเลี้ยงทหารทั้งกรม โดยไม่ต้องมีการประมูลจนมาถึง
ปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ ซึ่งเป็นปีที่กรมทหารพรานถูกยุบ เพราะความขยันขันแข็งจนมีเงินทอง
พอสมควร จึงสามารถส่งลูกชายคนโต (พ.อ.ปรุง นุชภักดี) เข้ามาศึกษาที่กรุงเทพมหานคร
60
ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จนจบชั้นมัธยมปลายปีที่ ๘ และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อย
ทหารบกจนสำเร็จ เพราะด้วยสาเหตุนี้เองจึงทำให้ต้องใช้นามสกุล “นุชภักดี” โดยไม่ได้ใช้นามสกุล “จันทร์จิต” ของบิดาแต่อย่างใด
(๑. ผู้เขียนขออนุญาตกล่าวออกนาม และอ้างอิงถึงต้นตระกูลต่างๆ ที่เป็นเชื้อสายมาจาก
พระเชียงเงิน คนที่ ๒ (เพิ่ม)
๒. ผู้เขียนขออนุญาตอ้างอิงงานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “เมืองเชียงเงิน” ซึ่งเป็นงานวิจัย
ของนายสำราญ แดงประเสริฐ
ทั้งนี้ ข้อมูลต่างๆ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และผู้เขียน
มิได้มีเจตนาลบหลู่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียหรือสร้างความเสียหายแต่ประการใด และถ้าหากข้อมูลต่างๆ นั้นอาจมีบางส่วนไม่ตรงกับประวัติศาสตร์หรือมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้เขียน
กราบขออภัยและขอโทษอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย)
-------------------------------------------------------------






