มหาเจดีย์โพธินาถ Boudhanath Stupa แห่งเนปาล ในความหมายอันลึกว่า “พระพทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่ง”
มหาเจดีย์โพธินาถ หรือ พุทธนาถ (อักษรโรมัน: Boudhanath หรือ Baudhanath, เนปาล: बौद्धनाथ; เนวาร์: खास्ति चैत्य; ทิเบต: བྱ་རུང་ཁ་ཤོར།, อักษรโรมัน: Jarung Khashor, ไวลี: bya rung kha shor) หรือ ขาสติเจดีย์ (อักษรโรมัน: Khasti Chaitya, อักษรเทวนาครี: खास्ति माहाचैत्य) เป็นสถูปในกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ตั้งอยู่ห่างไปราว 11 km (6.8 mi) จากศูนย์กลางของกาฐมาณฑุ อยู่ในชานเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยขนาดของมณฑลนี้ ทำให้พุทธนาถ ถือเป็นสถูปทรงกลม ที่ใหญ่ที่สุดในเนปาล ตามธรรมเนียมทิเบตว่ากันว่า พระธาตุที่ประดิษฐานในพระสถูป เป็นพระธาตุของพระกัสสปพุทธเจ้า
มหาเจดีย์โพธินาถ มีความหมายบ่งบอกถึง “พระพทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่ง” ชาวทิเบตเรียกกันในชื่อ “จารุง กาโซว์ โชร์เตน (Jarung Kashor Chorten)”จากศูนย์กลางของกาฐมาณฑุ อยู่ในชานเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือ เจดีย์แห่งนี้ เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดูเข้าด้วยกัน โดยมีความเชื่อว่า เป็นการจำลองสวรรค์ จุดเด่นของมหาเจดีย์พุทธนาถ คือ ดวงตาเห็นธรรมหรือดวงตาแห่งปัญญา อีกจุดเด่นที่สำคัญคือ ธงมนตรา 5 สี ชาวเนปาลจะเอามาแขวนรอบองค์เจดีย์ ซึ่งความพิเศษของธงแห่งนี้ ได้รับการสวดมนต์และปลุกเสกแล้ว ใครที่มาที่นี่ นอกจากได้ทำบุญแล้ว ยังได้เยี่ยมชมวิธีชีวิตของชาวเนปาลอีกด้วย
เชื่อกันว่า เมื่อลมพัด จะช่วยให้บทสวดมนต์ที่สวดไว้ คุ้มครองคนที่ผ่านไปมานั่นเอง และมหาเจดีย์พุทธนาถ ยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยองค์การยูเนสโก ในปี ค.ศ. 1979 อีกด้วย
กาฐมาณฑุ มีชื่อเสียงในฐานะแหล่ง “มรดกโลก” ทางวัฒนธรรม ที่มีคุณค่าอย่างสูงทางประวัติศาสตร์และศิลปะ เมื่อ พ.ศ.2522 เพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้น สำหรับแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ตามความหมายของยูเนสโกนั้น หมายถึงเป็น
1.เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรม ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
2.โดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้าง อันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ และ
3.มีความคิดหรือความเชื่อ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
ที่มาที่ไป โดยธรรมเนียมปฏิบัติ เจดีย์หรือสถูป เป็นกษัตริย์หรือเชื้อพระวงศ์เป็นคนสร้าง แต่สำหรับองค์โพธินาถ กลับเป็น “หญิงหม้าย” ชาวบ้านธรรมดา ที่นางฝันว่า พระโพธิสัตว์ มาบอกให้สร้างสถูปบนเนินเขาแห่งนี้ นางจึงไปขอที่ดินกับกษัตริย์ ขอให้ทรงบริจาคที่ดินเท่ากับ “หนังวัว”ตัวหนึ่ง เธอใช้ความเจ้าปัญญา บวกเจ้าเล่ห์แบบศรีธนญชัยเล็กๆ ด้วยการทุบผืนหนังวัว ใช้ทั้งวิธียืด ยึดแผ่ หนังวัวตัวเดียวผืนเดียวสามารถคลุมเนินเขาแห่งนี้ได้ทั้งเนิน
กว่าจะรู้ว่า โดนความฉลาดแวะเข้าให้แล้ว เป็นกษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ แค่คิดต่อ คงสร้างไม่สำเร็จแน่ แต่ท้ายที่สุด “ความสามัคคี” นำมาซึ่งความสำเร็จได้ หญิงหม้าย เริ่มสร้างฐานของสถูป บรรดาชาวบ้านมากมาย ก็เข้ามาช่วยกันร่วมสร้าง ร่วมบริจาคทรัพย์สิน ข้าวของจำนวนมาก กลายที่เป็นอิจฉาของเหล่าชนชั้นสูงและขุนนาง เห็นว่าแค่หญิงธรรมดา ความอิจฉา ส่งผลให้โชคร้าย ที่เธอต้องมาตายก่อนสร้างฐานสถูปเสร็จ ส่วนตัวเจดีย์ ลูกชายสี่คนของเธอ ช่วยกันสร้างจนเสร็จ ปรากฎให้เห็นถึงวันนี้
เหตุแผ่นดินไหวในเนปาล เมื่อเมษายน 2015 เป็นผลให้พุทธนาถสถูป ได้รับความเสียหายมาก ส่วนยอดแตกหัก โครงสร้างทั้งหมด เหนือส่วนโค้งของสถูปและพระธาตุ รวมถึงวัตถุทางศาสนาทั้งหมดในพระสถูป ถูกขนย้ายออกมาชั่วคราว การขนย้ายแล้วเสร็จในปลายเดือนตุลาคม 2015 การก่อสร้างซ่อมแซมเริ่มต้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2015 โดยมีการประกอบพิธีตั้งเสากลางต้นใหม่ หรือ "ชีวพฤกษ์" ("life tree") สำหรับยอดของสถูปเหนือส่วนโค้งขึ้นไป
การก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดสถูปอีกครั้งในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2016 ภายใต้การซ่อมแซมในกำกับดูแล ของคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่เพาทธนาถ (Boudhanath Area Development Committee; BADC) เงินทุนสำหรับซ่อมแซมทั้งหมดมาจากภาคเอกชน ผ่านเงินบริจาคส่วนบุคคลจากกลุ่มศาสนาและอาสาสมัคร ข้อมูลของ BADC ระบุว่าการซ่อมแซมใช้เงินรวม $2.1 พันล้าน และทองคำมากกว่า 30 กิโลกรัม ในขณะที่รัฐบาลเนปาล ถูกวิจารณ์อย่างหนัก ถึงการซ่อมแซมโบราณสถานที่เสียหายไปอย่างเชื่องช้า ในขณะที่บางสิ่งปลูกสร้าง ยังคงถูกทิ้งไว้ในสภาพที่พังทลาย