เจอคนทำงาน 9 แบบนี้ รับมือยังไง?
‘สังคม’ หรือ ‘บรรยากาศการทำงาน’ เป็นหนึ่งในตัวแปรหลักที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงานโดยตรง จากหนังสือ พัฒนาบุคลิกภาพเสริมสร้างเชาวน์ปัญญา โดย รศ.ดร.นัยพินิจ คชภักดี เขียนลักษณะของคนทำงานแบ่งออกเป็น 9 แบบคือ
แบบที่ 1 ทำงานละเอียดรอบคอบ ต้องการทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบ บางครั้งจุกจิกเกินไป
แบบที่ 2 ชอบช่วยเหลือผู้อื่น อยากให้ตนเป็นที่ต้องการขอ
แบบที่ 3 มีจุดมุ่งหมายชัดเจน มานะบากบั่น ให้ความใส่ใจกับภาพลักษณ์ของตนเองและความสำเร็จ
แบบที่ 4 ทำอะไรตามใจตัว อารมณ์อ่อนไหว โรแมนติกมีความคิดสร้างสรรค์
แบบที่ 5 สงบเยือกเย็น มีวิจารณญาณดี ไม่สุงสิงและไม่พึ่งพาใคร
แบบที่ 6 ซื่อสัตย์ จงรักภักดี แต่มักหวาดระแวง วิตกกังวล ระวังตัวแจ อนุรักษ์และวางอำนาจ
แบบที่ 7 เปิดเผยร่าเริง ชอบให้มีทางเลือกหลายทางมีความสนใจกว้างขวาง ชอบสังสรรค์กับผู้อื่น
แบบที่ 8 ชอบควบคุมผู้อื่น ชอบออกคำสั่ง เปิดเผย มีมานะ บากบั่นในการทำงาน
แบบที่ 9 ชอบอยู่กับที่ กลัวตนเองจะแตกต่างจากผู้อื่น ไม่ชอบทำตัวเด่น อ่อนโยน ไม่มีความทะเยอทะยาน
เราควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรกับคนแต่ละแบบจึงจะเป็นผลดีต่อทั้งสองฝ่าย
กับคนที่มีบุคลิกภาพแบบที่ 1 (คนสมบูรณ์แบบ) เราควรปฏิบัติตน ดังนี้
- ทำงานให้เป็นระบบ มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
- เปิดเผยชื่อตรง เพราะคนแบบนี้มักละเอียดรอบคอบ
- มีความยุติธรรม เพราะเขาเป็นคนที่ยุติธรรม เที่ยงตรง
- เอาใจใส่ต่อความเห็นของเขา
- หากเราวิจารณ์ต้องรับฟังและให้อภัย เพราะเขาเป็นคนที่มีความปรารถนาดี
- กล้ารับผิดชอบ หากทำผิดต้องขอโทษ
- อย่าปิดบังความจริง ไม่เช่นนั้นเขาจะโกรธ
- ให้ความเห็นใจ เข้าใจถึงความพยายามของเขา ชมเชยการงานอย่างจริงจัง และช่วยเหลือเขาอย่างกระตือรือร้น
กับคนที่มีบุคลิกภาพแบบที่ 2 (ผู้ช่วยเหลือ) เราควรปฏิบัติตน ดังนี้
- ขอบคุณอย่างจริงใจในสิ่งที่เขาทำลงไป
- ใช้เวลาพักผ่อนอยู่กับเขา
- สนับสนุนให้เขาเอาใจใส่ผู้อื่น
- ยกย่องจิตใจโอบอ้อมอารีของเขา
- หากถูกเขาวิจารณ์ควรจะยินดีรับฟัง
- เอาใจใส่ต่อความต้องการของเขา และถนอมน้ำใจของเขา
- เตือนให้เขาแบ่งเวลาให้กับตนเอง รักและเอาใจใส่ตนเองบ้าง
กับคนที่มีบุคลิกภาพแบบที่ 3 (ผู้ประสบความสำเร็จ)เราควรปฏิบัติตน ดังนี้
- ชมเชยและยอมรับผลงานของเขา
- ไม่รบกวนในขณะที่เขากำลังตั้งอกตั้งใจปฏิบัติหน้าที่
- ส่งเสริมให้เขาทำงานสำเร็จตามเป้าหมาย
- เสนอความคิดเห็น แต่ไม่วิจารณ์และไม่ทำแทนเขา
- ยกย่องให้เขาเป็นเจ้านายที่เก่งมีความสามารถ และให้ความร่วมมืออย่างเต็มกำลัง
- ไม่เอ่ยอ้างผลงานของตนเองต่อหน้าเขา ให้โอกาสเขามองเห็นข้อดีของเราด้วยตัวเขาเอง
- เตือนให้เขาเอาใจใส่กับความรู้สึกของเพื่อนร่วมงานด้วย
- ให้เขาได้แสดงบทบาทเป็นตัวเอก
กับคนที่มีบุคลิกภาพแบบที่ 4 (ปัจเจกชน) เราควรปฏิบัติตน ดังนี้
- ปล่อยให้เขาแสดงอารมณ์ออกมาให้เต็มที่ คอยดูอยู่ห่างๆ แต่ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องรบกวน
- บอกให้รู้ว่าคุณเข้าใจความรู้สึกของเขา และยอมรับเขา
- ไม่ต้องออกความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ
- ไม่ต้องสอนให้เขารู้ว่าควรจะควบคุมตนเองอย่างไร
- เอาใจใส่ด้วยความจริงใจ ไม่หวาดระแวงหรือแสดงความประหลาดใจต่อเขา
- ยอมรับในความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และทัศนะในการมองปัญหาของเขา
- ใส่ใจกับคำวิจารณ์และความปรารถนาดีของเขา
- ไตร่ตรองความคิดเห็นที่เขาเสนอมาเป็นอันดับแรก
- หากไม่เข้าใจอะไรก็ควรพูดออกมา อย่าแสร้งทำเป็นเข้าใจ
- หากเขามีความคิด จินตนาการใหม่ๆ ควรกระตุ้นให้เขาพูดออกมาให้หมด
กับคนที่มีบุคลิกภาพแบบที่ 5 (นักคิด) เราควรปฏิบัติตน ดังนี้
- ให้เขาแสดงบทบาทด้วยตนเอง อย่าสอนให้เอาอย่าง
- หากจะเสนอความเห็นต่อเขาควรจะพูดให้ชัด และพูดตรงๆ ไม่อ้อมค้อม
- ไม่รบกวนการทำงานและชีวิตส่วนตัวของเขา
- ไม่บังคับให้เขาไปร่วมงานสังคม
- หากจะนัดกับเขาต้องกำหนดเวลา สถานที่ และจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน
- เอาไม่ชอบคนที่ทำงานผัดวันประกันพรุ่ง คนที่ไม่มีความเห็นเป็นของตัวเอง
- เมื่อจะปรึกษากับเขาต้องเตรียมตัวล่วงหน้า ต้องพูดอย่างมีเหตุมีผล
- เขาชอบคบกับคนที่มีความรู้ความสามารถ
- บางครั้งอาจให้เขาช่วยดูและออกความเห็น และต้องให้ความสำคัญกับความเห็นของเขา
- เตือนเขาให้ใส่ใจกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่นบ้าง
- ชมเชยสติปัญญา วิจารณญาณและความสามารถของเขา
กับคนที่มีบุคลิกภาพแบบที่ 6 (ผู้จงรักภักดี) เราควรปฏิบัติตน ดังนี้
- ชมเชยความชื่อตรงเชื่อถือได้ ความรับผิดชอบและความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของเขา
- อย่าแนะนำวิธีการใหม่ ๆ และการเปลี่ยนแปลงที่มากเกินไปจะทำให้เขารับมือไม่ไหวและเกิดความรู้สึกไม่พอใจได้
- อย่าวางตำแหน่งให้เอาเป็นจุดเด่น เพราะจะทำให้เขาอึดอัดทำตัวไม่ถูก
- หากจะโน้มน้าวจูงใจเขาต้องมีข้อเสนอที่น่าเชื่อถือและมีอำนาจ ทำให้เขาเกิดความเชื่อมั่นและรู้สึกปลอดภัย
- ต้องซื่อสัตย์ เปิดเผย ไม่ปิดบังความเห็น ไม่ประสงค์ร้ายเพราะจะทำให้เขาระแวงและอาจตอบโต้ได้
- ตั้งใจฟังความเห็นและข้อเสนอของเอาจนจบ ไม่ใช่ฟังเพียงครึ่งเดียวก็บอกว่าเข้าใจและรู้แล้ว จะทำให้เขาไม่ไว้ใจ
- เขามักชอบถามปัญหาเพื่อขจัดข้อข้องแคลงใจ ควรจะพยายามอธิบายให้เขาฟังอย่างเต็มที่
- อย่าวิจารณ์ว่าเขาไม่มีความสามารถ ไม่กล้าสร้างสรรค์ ไม่รู้จักมองอนาคต
- พยายามอธิบายสภาพของเราให้เขาฟังอยู่เสมอ
- แสดงให้รู้ว่าเราเห็นความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเขา และขอบคุณในความหวังดีของเขา
- ยกย่องชมเชยความสามารถในการทำงานของเขา และพยายามแนะนำให้เขาเชื่อถือผู้อื่น
กับคนที่มีบุคลิกภาพแบบที่ 7 (นักผจญภัย) เราควรปฏิบัติตน ดังนี้
- ทำดีและร่วมทำอะไรใหม่ ๆ กับเขา
- ให้เขาได้แสดงความสามารถออกมาอย่างเต็มที่
- หากต้องมอบหมายงานที่ต้องการความละเอียดและงานจุกจิกให้เขา เราต้องคอยช่วยเหลืออยู่ข้างๆ
- ให้เขามีโอกาสแสดงเป็นตัวเอก
- ไม่บีบบังคับให้เขาตัดสินใจ แต่ต้องเตรียมการณ์ช่วยให้งานสำเร็จในบั้นปลาย
- อย่าเรียกร้องให้เขาเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต
- เวลาอยู่ต่อหน้าเขาอย่าทำสีหน้าจริงจังเกินไป พยายามผ่อนคลายและมีอารมณ์ขัน
- อนุญาตให้เขามีทางเลือกหลาย ๆ ทาง
- เตือนให้เขารู้วันที่กำหนดส่งมอบงาน
กับคนที่มีบุคลิกภาพแบบที่ 8 (ผู้นำ) เราควรปฏิบัติตน ดังนี้
- ยกให้เขาเป็นคนตัดสินใจ วางแผนการทำงานเอง
- อย่าวิจารณ์เขาต่อหน้าคนอื่น อย่าทำให้เขาเสียหน้า
- ชมเชยความเข้มแข็ง ความเชื่อมั่นในตนเองของเขา
- สนใจและให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของเขา
- ส่งเสริมให้เขาได้แสดงความเที่ยงธรรม
- อย่าหัวเราะเยาะ อย่าทำให้เขายอมสยบต่อหน้าคนอื่น
- เอาใจใส่อารมณ์ความรู้สึกของเขา เพราะบางครั้งเขาอาจจะทำตัวเหมือนเด็ก
- ในขณะที่เขากำลังตัดสินปัญหาเฉพาะหน้า ต้องเตือนให้คิดอย่างรอบคอบ
- เวลาที่เขากำลังโกรธจัด อย่าเข้าไปขวาง เพราะอาจทำให้เราตกเป็นเป้าระบายความโกรธได้
- ยามที่เขาร่ำไห้ ท้อแท้สิ้นหวัง จะต้องอยู่ช้างเขา ให้กำลังใจทำให้เขาเกิดความเชื่อมั่นขึ้นมาใหม่
กับคนที่มีบุคลิกภาพแบบที่ 9 (ผู้รักสงบ) เราควรปฏิบัติตน ดังนี้
- อย่ากดดันเขาในด้านการงาน
- อย่าแสดงให้เขาเห็นว่าคุณเป็นคนขยันขันแข็งจนเกินไป ควรทำแต่พอดี ไม่เช่นนั้นจะทำให้เขาเกิดความรู้สึกต่ำต้อย
- อย่าตำหนิเขาในด้านที่เขาทำงานไม่ได้เรื่องได้ราว ไม่เด็ดขาด อืดอาดเชื่องช้า
- อย่าบีบให้เขาต้องตัดสินใจ
- อาจใช้วิธีตั้งคำถามเพื่อช่วยให้เขาเข้าใจจุดยืนของตนเอง
- อย่าบีบคั้นให้เขาต้องเลือกเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเมื่อเกิด
- ให้เวลาเขา อดทนรอเขาทำงานจนสำเร็จ
- แนะนำให้เขาทำงานเร่งด่วนเฉพาะหน้าให้สำเร็จก่อนแล้วจึงค่อยหาเวลาพักผ่อน
- ใส่ใจกับความเห็นของเขา ให้ความเชื่อถือและให้กำลังใจโดยการดึงเขาเข้ามามีส่วนร่วมในงานด้วย
- อย่าบีบให้เขายอมจำนน ควรให้เขาเป็นฝ่ายตัดสินใจขั้นสุดท้ายด้วยตนเอง
ป.ล. สามารถนำไปปรับใช้ เพื่อการอยู่ร่วมและทำงานกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
เพื่อนๆ สามารถติดตามกระทู้อื่นๆ ได้ตามลิงค์ข้างล่างเลยนะคะ
https://page.postjung.com/n00kky
อ้างอิงจาก: หนังสือ พัฒนาบุคลิกภาพเสริมสร้างเชาวน์ปัญญา โดย รศ.ดร.นัยพินิจ คชภักดี