น่ายินดีๆ เปิดภาพ ครอบครัวใหม่ “3 แม่ลูกเสือโคร่ง ครั้งแรกของเขตรักษาพันธุ์สัตวป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี "
สำหรับเหตุการณ์นี้นับเป็นครั้งแรกของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระที่มีภาพลูกเสือซึ่งถูกถ่ายภาพได้จากกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ และชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ทั้งในด้านความสมบูรณ์ของสัตว์เหยื่อ และสภาพพื้นที่ป่าที่เอื้อต่อการขยายพันธุ์ของเสือโคร่ง
นอกจากนี้ ทางเจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้องยังได้มีการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติของทีมสำรวจ กว่า 420 จุด ใน 7 พื้นที่อนุรักษ์ของกลุ่มป่าทางทิศใต้ของผืนป่าตะวันตก เพื่อสำรวจประชากรเสือโคร่งและสัตว์ตระกูลแมวป่า รวมถึงสัตว์ต่างๆที่เป็นเหยื่อ
พบว่าประชากรเสือโคร่งในพื้นที่สำรวจมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสือโคร่งที่ถูกถ่ายภาพได้ครั้งแรกในพื้นที่นี้ นับเป็นก้าวแรกของความสำเร็จในความพยายามที่จะส่งเสริมให้ผืนป่าแห่งนี้ เป็นอีกหนึ่งความหวังในการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งได้ในอนาคต โดยสัตว์ตระกูลแมวป่า ที่ถูกสำรวจพบในพื้นที่แห่งนี้นั้นมีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ เสือโคร่ง เสือดาว เสือลายเมฆ แมวลายหินอ่อน เสือไฟ และแมวดาว
ข้อด๊ของการมี เสือ เพิ่มขึ้นในธรรมชาติมีดังต่อไปนี้
-
ความหลากหลายทางชีวภาพ: เสือเป็นสัญลักษณ์ของความหลากหลายทางชีวภาพ การมีจำนวนเสือมากขึ้นสามารถช่วยรักษาสภาพแวดล้อมที่หลากหลายทางชีวภาพและปรับสมดุลในระบบนิเวศน์ได้ดีขึ้น เสือมีบทบาทสำคัญในการควบคุมปริมาณสัตว์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น และช่วยลดการขยายพันธุ์ของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตนั้น ๆ ที่ไม่สมดุล
-
รักษาความสมดุลของป่า: เสือมีบทบาทในการควบคุมสมดุลของป่า โดยการควบคุมปริมาณสัตว์กินพืช ซึ่งสามารถป้องกันไม้พุ่มไม้ใหญ่ และต้นไม้ใบหญ้าต่างๆ ถูกกินให้หมดไป
-
เพิ่มมูลค่าในการท่องเที่ยว : เสือมีบทบาทสำคัญในป่า ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าทางธรรมชาติและสร้างโอกาสในด้านการท่องเที่ยวได้ ในหลายๆประเทศ มีทัวร์ดูเสือกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน และทำรายได้ให้กับประเทศได้เช่นกัน
ขอบคุณภาพประกอบ และข้อมูลบางส่วนจาก ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช