ตำนานรักแสนเศร้าของเราสามคน ( ต่อ )
วันที่ 13 กันยายน 2505 ตำรวจประกาศอย่างเป็นทางการ ผู้ตายคือ นวลฉวี สุญาณเศรษฐกร พยาบาลโรงพยาบาลยาสูบภรรยาของนายแพทย์ อธิป สุญาณเศรษฐกร แพทย์โรงพยาบาลรถไฟ ตำรวจตามสืบว่าผู้ตายเป็นใครมาจากชื่อที่สลักบนแหวนทำให้รู้ว่าผู้ตายเป็นใคร รามเดชะเป็นนามสกุลเดิมของหมออธิป
หมออธิปทราบข่าวการตายของนวลฉวีและต้องเผชิญหน้ากับกองทัพนักข่าวจำนวนมากที่มารอทำข่าวเกี่ยวกับการตายของนวลฉวี หมออธิปตอบสั้น ๆเพียงว่านวลฉวีเป็นภรรยาของเขาแต่เราได้แยกกันอยู่ พรุ่งนี้ค่อยไปรับศพเพราะมันดึกแล้วผู้ต้องสงสัยในคดีนี้เดาได้ไม่ยากว่าเป็นใครนอกจากหมออธิปผู้ซึ่งต้องการให้นวลฉวีไปให้พ้นชีวิตของเขาเพื่อที่ตนเองจะได้มีความสุขกับผู้หญิงอีกคน
ในวันที่ 14 กันยายน 2502 ตำรวจเชิญตัวหมออธิปไปสอบปากคำ การสอบสวนดำเนินไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งตำรวจสังเกตเห็นข่วนบริเวณข้อมือของหมออธิปพร้อมกับแจ้งข้อกล่าวหากับหมออธิป ภายหลังจากหมอถูกจับตำรวจพาหมออธิปไปพบจอมพลสฤษดิ์เพื่อตอบข้อซักถาม ในสมัยนั่นจอมพลสฤษดิ์มีอำนาจสูงสุดมีสิทธิในการตัดสินโทษตามประมวลกฏหมายมาตราสิบเจ็ดของรัฐธรรมนูญ
“ หมอฆ่าเมียตัวเองอย่างที่เป็นข่าวจริงไหม ถ้าจริงจงรับเสียอย่าปากแข็ง พูดตรงๆ แบบลูกผู้ชายดีกว่าจะได้ไม่เสียเวลา ”
“ ผมไม่ได้ทำครับ ผมขอปฏิเสธ ”
การสืบสวนสืบหาคนร้ายได้ดำเนินการขึ้นหลังจากการสอบสวนพบว่าหมออธิปมีเพื่อนสนิทคนหนึ่งชื่อว่า ชูยศและนางสุขสม พ่อของเขาเคยเป็นคนไข้ของหมออธิป เขารักษาพ่อของนายชูยศจนหายดีทำให้นายชูยศซึ้งใจในน้ำใจของหมออธิป
วันที่ 17 กันยายน หนังสือพิมพ์แต่ละสำนักต่างพากันลงข่าวว่านายชูยศมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายของนวลฉวี
ใครเป็นคนฆ่านวลฉวี ผลการชันสูตรศพที่ตรวจพบเพิ่มเติมได้ข้อสรุปว่า ตอนที่นวลฉวีถูกแทง เธอไม่ได้สวมเสื้อผ้า เธอตายในสภาพเปลือยและจากการตรวจสอบบนสะพานพบรอยคราบเลือดมีทั้งรอยคราบเลือดขนาดใหญ่และขนาดเล็กปะปนกันไปแสดงว่าคนร้ายนำร่างของเธอครูดกับพื้นสะพานก่อนมาถึงจุดที่ทิ้งศพและยังพบกระดุมสีน้ำตาลเข้มตกอยู่บนพื้นถนนริมทางหลวงและคราบรอยเลือดที่อยู่บนราวสะพานเหล็ก ในขณะนี้ตำรวจสามารถค้นหาหลักฐานเพิ่มขึ้นได้เรื่อย ๆใกล้ที่จะรู้ว่าใครเป็นคนฆ่านวลฉวี
ในเวลาต่อมาตำรวจบุกไปบ้านของ นายชูยศที่สวนบางบำหรุ ธนบุรีแต่ไม่พบใคร จากการตรวจสอบภายในบ้านพบรอยเลือดบริเวณพื้นบันไดหลังบ้าน บนเตียงแลพื้นบันได ห้องครัวนอกจากคราบเลือดที่พบใบริเวณห้องครัวแล้ว ตำรวจยังพบหลอดยาเอทิลคลอไรด์และมีดปลายแหลมอีกด้วย
วันที่ 27 กันยายน 2502 นายชูยศกับนางสุขสมเดินทางเข้ามอบตัว ตำรวจทำการสอบสวนเล็กน้อยก่อนปล่อยตัวทั้งสองคนกลับไป ต่อมาตำรวจได้คุมตัวนายชูยศและนางสุขสมไปหาจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แต่นายชูยศไม่ยอมเข้าไปพบจอมพลสฤษดิ์มีแต่นางสุขสมเท่านั้นที่เข้าไป
มีความสัพันธ์กับหมออธิปอย่างไร ” จอมพลฤษดิ์ถามนางสุขสม นางสุขสมเข้าใจว่าจอมพลฤษดิ์สอบถามเกี่ยวกับเรื่องเงินตอบกลับไปว่า “ มี ” ในวันรุ่งขึ้นสำนักพิมพ์ทุกสำนักพากันลงข่าวว่านางสุขสมยอมรับกับจอมพลสฤษดิ์ว่า เสียตัวให้หมออธิป
การสืบตัวหาคนร้ายดำเนินจนกระทั่งตำรวจสามารถจับ นายมงคล เรื่อเรื่องรัตน์ สัปเหร่อและช่างไม้ได้ทั้งสองคนมีบ้านติดอยู่กับนายชูยศ ตำรวจตั้งข้อสันนิฐานสงสัยว่าทั้งสองคนเป็นคนฆ่านวลฉวีถูกจับตัวได้ที่วัดน้อยนางหงส์ ตำรวจรวบรวมพยายานหลักฐานจากพยานหลายคนทั้งจากเพื่อนของนวลฉวี ยามโรงพยาบาลยาสูบจากคำการให้การของบุคคลเหล่านี้เชื่อว่าหมออธิปอยู่เบื้องหลังการตายของนวลฉวี หลังจากนั้นตำรวจสามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยที่ฆ่านวลฉวีได้ครบทุกคนประกอบไปด้วย นายชูยศและนางสุขทั้งสองคนเป็นตัวกลางประสานวางแผนฆ่า
นายมงคล เรื่อเรืองรัตน์ เป็นมือสังหารลงมือฆ่านวลฉวี เขามีอาชีพเป็นสับปเหร่อและช่างไม้ อาศัยอยู่บ้านของแม่ยาย บริเวณบ้านติดกับบ้านของนายชูยศ
นายชูเกียรติ ผู้ช่วยฆ่า
นายยง ยิ้มกมลและนายเยี่ยมเป็นผู้ต้องสงสัยแต่ตำรวจกันไว้เป็นพยานทั้งสองคนให้รับการสารภาพ
ปมสังหารของคดีนี้เกิดการหมออธิปหมดรักนวลฉวีต้องการให้เธอตายวางแผนฆ่าเธอเพื่อที่เขาจะได้ไปมีความสุขกับผู้หญิงอีกคนที่กำลังคบหากัน หมออธิปวางแผนฆ่านวลฉวีเดินทางไปหานายชูยศที่บ้านพร้อมทั้งเสนอเงินก้อนใหญ่ให้กับนายชูยศ
“ อั๊วจะฆ่าเมียอั้ววะ เงินค่าจ้างมีเยอะ รวยซะอย่าง ”
“ ได้ครับ ”
แผนการทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว
เดือนสิงหาคม
นายชูยศและนางสุขสมไปหานายยง ยิ้มกมลที่บ้านไปสอบถามหาคนฝีมือดีที่มีความสามารถฆ่าผู้หญิงโดยไม่ทิ้งรอยหลักฐานให้ตำรวจตามจับได้ นายยง แนะนำให้ไปหานายมงคล
นายชูยศให้นางสุขสมจ้างนายยงหนึ่งหมื่นบาทให้พานายมงคลมาหาจ่ายเงินครั้งแรกห้าพันบาทและหลังจากที่ได้เจอกับนายมงคลจะจ่ายเงินให้อีกห้าพันบาท วันรุ่งขึ้นนายยงพานายมงคลมาหานายชูยศ เขาบอกนายมงคลว่าให้ไปฆ่าผู้หญิงคนหนึ่งทำยังไงก็ได้ไม่ให้มีร่องรอยไร้หลักฐานทำให้ผู้หญิงคนนี้กลายเป็นบุคคลสาบสูญ นายมงคลตกลงรับงาน
นายชูยศให้เงินตายมงคลห้าพันบาทเป็นการมัดจำ นายชูยศ นางสุขสมพานายนายยงและนายมงคลไปพบหมออธิป หมออธิปเล่าแผนการทั้งหมดให้ทุกคนฟังโดยเริ่มจาก เขาจะพานวลฉวีมาฆ่าในห้องครัวที่บ้านของนายชูยศ ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ทุกอย่างเขาจะเตรียมไว้ให้และให้ทุกคนมาตามวันที่นัดเอาไว้
วันนัดหมายก็มาถึงหมออธิปโทรศัพท์มานวลฉวีที่โรงพยาบาลยาสูบและเขาพาเธอไปที่บ้านของนายชูยศที่สวนบางบำหรุ ในช่วงบ่าย นายยงกับนายชูเกียรติไปสมทบที่บ้านของนายชูยศเพื่อไปดูลาดเลาบริเวณที่ใช้ฆ่านวลฉวีพร้อมทั้งเตรียมมีดปลายแหลม ผ้า พลาสติกและสายไฟคู่สีเหลืองหนึ่งขดและไม้ไผ่สำหรับใช้หามศพ หลังจากจัดเตรียมทุกอย่างเสร็จแล้ว
นายยงกลับมานอนพักที่บ้านเตรียมลงมือฆ่าในตอนเย็น
โอ้ ! อนิจจา นวลฉวีไม่รู้เลยว่าวันนี้จะเป็นวันสุดท้ายที่เธอจะมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ คนที่รักสุดหัวใจหลอกเธอมาให้คนอื่นฆ่า หัวใจของผู้ชายคนนั้นทำด้วยอะไรถึงได้เลือดเย็นอำมหิตขนาดนี้ฆ่าได้แม้กระทั่งผู้หญิงหมดรักกันแล้วไม่เห็นต้องทำกันถึงขนาดนี้เลย
หมออธิปพานวลฉวีมาที่บ้านของนายชูยศ ลมหายใจสุดท้ายของเธอจบลงที่บ้านหลังนี้ นายยง นายชูเกียรติ นายชูยศหลบอยู่ในห้องน้ำรอให้หมออธิปพานวลฉวีเข้ามาทางหน้าบ้านเดินเข้าไปห้องครัวปิดประตูลงกลอนรอจังหวะที่เธอเผลอโป๊ะยาสลบ ฤทธิ์ของยาสลบทำให้เธอค่อยหลับตาลงอย่างช้า ๆ หลังจากนั้นเรียกทั้งสามคนเข้ามาจัดการนวลฉวี
ร่างของนวลฉวีนอนแน่นิ่งไม่มีสติ ชายชั่วที่ชื่อ ยง ลงมือข่มขืนเธอจนสำสำเร็จความใคร่ไปหนึ่งครั้ง หลังจากขมขืนเธอเสร็จแล้วนายมงคลจับแขนซ้ายพลิกตะแคงไปทางขวา เขาหยิบมืดปลายแหลมขึ้นมาแทงสามครั้งจนได้ยินเสียงเธอร้อง ฮึก ๆ ๆ ลมหายใจสุดท้ายของเธอได้หมดลงแล้ว นายมงคลบอกให้นายเยี่ยมน้องชายของตนเองมาช่วยหามศพของนวลฉวีออกไป
หลังจากนั้นทั้งสองคนช่วยกันเอาเสื้อชั้นนอกตรงหัวเตียงมาใส่ให้นวลฉวีและยกร่างของเธอวางบนผ้าพลาสติกที่ปูไว้ก่อนหน้านี้ นายมงคลเอาสายไฟมัดที่ข้อเท้าศพ บั้นสะเอวและหัวไหล่จากนั้นใช้ไม้ไผ่สอดใต้สายไฟที่มัดไว้แล้วหามออกไปทางบันไดหลังบ้านทำให้มีรอยเลือดเป็นทางยาวในบริเวณนี้ นายยงกับนายเยี่ยมช่วยกันหามศพ ส่วนนายมงคลทำความสะอาดห้องครัว
นายยงกับนายเยี่ยมช่วยกันหามศพของนวลฉวีจากบ้านของนายชูยศผ่านสวนพจน์ นายมงคลกำลังตามมาสมทบหลังจากผ่านสวนพจน์ทั้งสองคนต้องข้ามคูถนนจรัญสนิทวงศ์ซึ่งในคูนั้นมีน้ำอยู่ด้วยลึกประมาณห้าสิบเซ็นติเมตรวางศพไว้ข้างถนนกลับไปหานายมงคลที่หลักกิโลเดิม หมออธิปขับรถมาหาทุกคนพร้อมทั้งจ่ายเงินทั้งหมดหลังจากนั้นช่วยกันเอาศพขึ้นรถมุ่งหน้าไปทางสะพานพระรามหก แต่ในขณะที่จะทิ้งศพของนวลฉวีได้มีรถคันหนึ่งผ่านมาและเกิดความสงสัยว่าทำไมหมออธิปกับพรรคพวกจึงจอดรถเลยขับรถเข้ามาใกล้แล้วถามว่า รถเสียหรือเปล่า คนในรถตอบกลับมาว่าเปล่า
เวลาสองทุ่มศพของนวลฉวีถูกทิ้งลงจากสะพานนนทบุรีลงแม่น้ำเจ้าพระยา นวลฉวีได้จากโลกนี้ไปแล้วจากน้ำมือของผู้ชายที่เธอรักสุดหัวใจ เวรกรรมมีจริงถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนฆ่ามาเป็นอย่างดีแต่ในตอนที่ฆ่าเสร็จแล้วคนร้ายไม่ได้ตรวจความเรียบร้อยของศพและหมออธิปคงชะล่าใจว่าคงไม่มีหลักฐานเอาผิดเขาได้แต่คงลืมไปว่านวลฉวีสวมแหวนนามสกุลของเขาและในวันเกิดเหตุด้วยความประมาทไม่มีใครสังเกตแหวนที่นิ้วของเธอเลยทำให้แหวงวงนี้กลายเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญในการจับตามจับฆาตรกรมาลงโทษ
กลัวลูกชายต้องโทษประหารชีวิตพยายามทุกอย่างเพื่อให้ลูกชายพ้นข้อกล่าวหา
ขุนสุญาณเศรษฐกร พ่อของหมออธิปใจคอไม่ค่อยสู้ดีนัก คดีเป็นไปในทิศทางที่ไม่ดีเลย หมออธิปจะแพ้ในคดีนี้ไม่ได้ เขาได้จ้าง นายชมพู อรรถจินดา ทนายความที่มีฝีมือดีและมีชื่อเสียงในขณะนั้นทำให้หมออธิปมั่นใจว่าตนเองต้องชนะคดีอย่างแน่นอนแต่ผิดคาดเพราะทุกอย่างไม่ได้เป็นไปอย่างที่หมออธิปคิดไว้
“ ถ้าผมจะฆ่าภรรยาผม ทำไมผมต้องจ้างคนอื่นให้เสียเวลาทำมาหากินด้วยละสู้เอามือบีบคอภรรยาให้ตายคามือดีกว่ามั้ง ”
คำพูดของหมออธิปที่ใช้แก้ตัวในศาล
“ เมื่อข้าข่มขืนเธอเสร็จแล้ว ข้าย้ายผู้หญิงลงและคว่ำตะแคงตัวด้านขวาของผู้หญิงคนนั้นจากนั้นข้าก็เอามีดสีขาวปลายแหลมมราพื้นกระดาษเตียงแทงผู้หญิงคนนั้นทางด้านหลังไปสามทีไม่รู้ที่จุดตรงไหน ผู้หญิงคนนั้นร้องฮึก ๆ ๆ สองสามครั้งจากนั้นข้าก็ตามนายเยี่ยมมาช่วยหามศพ ” คำพูดของนายมงคลที่บอกกับศาล
วันที่ 12 ธันวาคม 2503 เป็นวันพิจารณาคดีของหมออธิปและพรรคพวก เหตุการณ์ในวันนั้นเป็นไปด้วยความตื่นเต้นลุ้นระทึกเป็นวันที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมากจนถึงขนาดต้องต่อลำโพงโดยรอบสนามหญ้าบริเวณศาลทหารอาญาท่ามกลางประชาชนนับหมื่นคนที่แห่กันมาฟังคำพิพากษา
ผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีนี้ประกอบไปด้วย นายเฉลิม กรพุกกะณะ นายพินิจ เพชรชาติ นายสว่าง เวทย์ และนายวุฒิกรรม วงษ์ศิริออกมาตัดสินคดี ผลพิจารณาคดีมีดังนี้
นายอธิป สุญาณเศรษฐกรจำเลยที่หนึ่งมีความผิดตามประมวลผลกฏหมายอาญามาตรา289 อนุมาตรา4 83 ฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนปละบานก่อให้คนอื่นกระทำความผิดให้ต้องโทษประหารชีวิคนายอธิป สุญาณเศรษฐกร จำเลยที่หนึ่ง
นายชูยศและนางสุขสมจำเลยที่สองและสาม นายชูเกียรติจำเลยที่สี่ศาลไม่มีหลักฐานเอาผิดเลยให้ปล่อยตัวพ้นผิดไป
นายมงคลจำเลยที่ห้ามีความผิดฆ่าคนตายโดยเจตนาตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา288ปละ 83ให้ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและยึดมีดสั้นปลายแหลมที่ฆ่านวลฉวีไป
สิ้นคำพิพากษาหมออธิปถึงกับเข่าทรุดไม่คาดคิดว่าตัวเองจะต้องโทษประหารชีวิตเพราะมั่นใจในในฝีมือของทนายตัวเองต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้าและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินาถเสด็จทั้งสองพระองค์เสด็จกลับจากต่างประเทศ หมออธิปได้รับอานิสงค์ในครั้งนี้ได้รับการอภัยโทษรอดจากการถูกประหารชีวิต
หมออธิปใช้เวลาอยู่ในคุกประมาณหนึ่งปีเศษเท่านั้นก็ถูกปล่อยตัวออกมาส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาติดคุกแค่ระยะเวลาสั้น ๆ ทั้งที่เป็นคดีอาชญากรรมส่วนหนึ่งก็มาจากที่พ่อแม่ของเขาใช้เส้นสายในการวิ่งเต้นเรื่องของเขา หากเป็นคนธรรมดานั้นคงต้องติดคุกนานกว่านี้อีกหลายสิบปีกว่าจะพ้นโทษออกมา ภายหลังจากที่หมออธิปพ้นโทษออกมาร่างกายของเขาไม่แข็งแรงเหมือนเดิมติดโรคจากในคุกทำให้ชีวิตของเขาที่เหลือวนเวียนอยู่กับเข้าออกโรงพยาบาลจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
ในวันที่หมออธิปป่วยหนักนอนอยู่ที่โรงพยาบาลท่ามกลางญาติที่มาเฝ้าดูแลคำพูดสุดท้ายที่เขาพูดออกมา
“ นวลฉวี พี่ขอโทษ พี่เป็นคนฆ่าเธอเองแหละ ” สิ้นเสียงหมออธิปก็สิ้นใจตายในทันที
จุดจบรักสามเศร้าของความรักและความเห็นแก่ตัวของผู้ชายคนหนึ่งที่ทำให้หญิงสาวคนหนึ่งต้องจบชีวิตลงอย่างอนาถด้วยฝีมือของคนที่เธอรัก