เรื่องเล่า ภาพเก่าในอดีต หลุมหลบภัยสงครามโลกครั้งที่ 2
หลุมหลบภัยหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง
ลักษณะแตกต่างจากที่อื่นๆที่สร้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า...
ปัจจุบันกลายเป็นน้ำพุไปแล้ว.....
ภาพหลุมหลบภัยหัวลำโพง
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี 2487 กรุงเทพ ฯ ต้องเผชิญกับการทิ้งระเบิดของข้าศึก
สถานที่จุดยุทธศาสตร์ถูกทิ้งระเบิด เช่น สะพานพระราม 6 หัวลำโพง เขตถนนสี่พระยา
สุรวงศ์ และสีลม โรงไฟฟ้าวัดเลียบและโรงไฟฟ้าสามเสน ถูกระเบิดเสียหายมากจนใช้การไม่ได้
รถราง ไฟฟ้า และน้ำประปาหยุดหมด ประชาชนประสบความทุกข์ยาก
เพราะการอพยพหนีภัยสงครามและต้องต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
เครื่องอุปโภค บริโภค ตลอดจนยารักษาโรคราคาแพงมาก
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เริ่มมีการทิ้งระเบิดจากฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อตัดเส้นทาง
และทำลายระบบสาธารณูปโภคในกรุงเทพเพื่อตัดเส้นทางต่างๆ ของญี่ปุ่น
ที่อาศัยในกรุงเทพและต่างจังหวัด หลังปี พ.ศ.2487 ระเบิดเริ่มหนาตัวขึ้นมาก
เนื่องจากยังผลให้ชาวกรุงเทพเดือดร้อนวิ่งหนีระเบิดกันทุกคืน
คนกรุงเทพในยุคนั้นผวาเสียงหวูดสัญญาณกันมาก
เมื่อได้ยินเสียงก็จะคว้าเอกสารสำคัญและอะไรก็ได้ฉวยติดมือ
บางบ้านก็รวมของสำคัญใส่ไว้ในตะกร้าจะได้ฉวยคว้าได้ทันเวลา
วิ่งออกไปรวมกันนอกบ้าน โดยเฉพาะในรั้ววัดซึ่งชาวกรุงเทพเชื่อว่าบารมีของหลวงพ่อในโบสถ์จะช่วยป้องกันได้