ประวัติของธงชาติไทย
ประวัติธงชาติไทย
ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญญลักษณ์ของประเทศไทย-แสดงถึง เอกลักษณ์และศักดิ์ศรีความเป็นไทยของสถาบันชาติ-ศาสนา,พระมหากษัตริย์ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ดำรงไว้ซึ่งความเป็นปึกแผ่นของประเทศไทย
ย้อนไปในสมัยอยุธยา ธงชาติไทยเป็นสีแดงสำหรับเรือราษฎร
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเพิ่มรูปจักรสีขาวอันเป็นเครื่องหมายแห่งราชวงศ์เพื่อใช้สำหรับเรือหลวงนับเป็นครั้งแรกที่แยกธงสำหรับเรือหลวงกับเรือราษฎร
สมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเพิ่มรูปช้างเผือกในจักรสีขาวเนื่องจากประเทศไทยได้ช้างเผือก 3 เชือกเรือราษฎรใช้ธงสีแดงอย่างเดิม
สมัยพระเจ้าจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนธงเรือราษฎรให้ใช้ธงสีแดงมีรูปช้างสีขาวอยู่ตรงกลางเรือหลวงใช้ธงสีขาบรูปช้างสีขาวอยู่ตรงกลาง
สมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ.2453 กำหนดให้ธงชาติเป็นรูปช้างสีขาวพื้นสีแดง
พ.ศ.2459 พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนให้เป็นธงพื้นสีแดงมีช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าข้างเสาธงใช้เป็นธงราชการ
ต่อมายกเลิกใช้ ให้เปลี่ยนใช้ธงชาติแบบสีแดงสลับสีขาวห้าริ้ว
พ.ศ.2460 พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนเป็นธงไตรรงค์หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ให้มี 3 สีแถบสีแดง สีขาวและสีน้ำเงินและมีความหมายของแต่ละสี
หลังจากนั้น พระเจ้าอยู่หัว อนันทมหิดลและ ร. 9 ทรงเปลี่ยนแปลงความยาว ความกว้าง แบ่งสีและแถบและเรียก "ธงไตรรงค์"มาจนถึงปัจจุบันนี้