เพลี้ยลายบ้านเชียง เพลี้ยชนิดใหม่ของโลก ที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ Hemisphaerius binduseni
เพลี้ยลายบ้านเชียง เพลี้ยชนิดใหม่ของโลกที่มาของชื่วิทยาศาสตร์ Hemisphaerius binduseni
🐞คุณเคยเห็นเพลี้ยไหมครับ
เพลี้ยกระโดดตัวจิ๋วที่มีสีสันสะดุดตาตัวนี้เป็นเพลี้ยชนิดใหม่ของโลกที่พบได้ในประเทศไทยเลยได้รับการตั้งชื่อว่าเพลี้ยลายบ้านเชียง อาจจะเป็นที่มาของสีสันบนลายเพลี้ยที่มีสีสันสะดุดตาคล้ายกับลายเขียนโบราณภาชนะโบราณวัตถุของบ้านเชียง
👉🏿🐞🏵️และนี่ก็คือที่มาของชื่อเพลี้ยชนิดใหม่ของโลกตัวนี้เพลี้ยลายบ้านเชียง เพลี้ยชนิดใหม่ของโลก
มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์เผยว่า
ย้อนไปเมื่อ"ปลายปี 2013 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ผม(กวินท์ เจียรไนสกุล) มีโอกาสได้เจอกับเพลี้ยกระโดดตัวจิ๋วที่มีสีสันสะดุดตา และได้ทราบจากผู้เชี่ยวชาญว่ามันคือเพลี้ยชนิดใหม่ของโลกที่อยู่ในวงศ์ Issidae อยู่ในสกุล Hemisphaerius (ชื่อสกุลหมายถึง ครึ่งวงกลม เพราะเวลามองเพลี้ยในขณะที่มันเกาะอยู่จากมุมด้านหน้า จะเห็นเพลี้ยเป็นรูปครึ่งวงกลม)
👉🏿🐞ซึ่งภายในคลังตัวอย่างของพิพิธภัณฑ์ของภาควิชากีฏวิทยามีตัวอย่างของเพลี้ยกระโดดชนิดนี้ถูกจับได้โดยนิสิตเป็นจำนวนมาก และก็เป็นที่รู้จักของรุ่นพี่ หรือแม้แต่ผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพมาโคร ทุกคนล้วนเรียกมันว่า “เพลี้ยลายบ้านเชียง”
ซึ่งมาจากลักษณะของลวดลายบนปีกที่มีความคล้ายกับลายไหบ้านเชียง แต่สมัยนั้นผมก็คิดเพียงแค่ว่า “เออ มันก็สวยดีนะ” แล้วก็ปล่อยผ่านไป เพราะความสนใจของผมไม่ได้อยู่กับแมลงกลุ่มนี้เป็นหลัก
👉🏿จนกระทั่งปี 2019 ขณะกำลังสำรวจเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกับทีมมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ ผมมีโอกาสได้เจอมันอีกครั้ง แต่ในตอนนี้ความสนใจของผมเปลี่ยนไปจากสมัยยังเป็นนิสิต
ผมเริ่มเก็บตัวอย่าง (specimen), หาข้อมูลเรื่องถิ่นอาศัยกับพืชอาหารของเพลี้ยชนิดนี้อย่างจริงจัง และติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเบลเยียม (Jerome Constant)
👦☑️🧔🏻เราลงความเห็นกันว่าจะตั้งชื่อเพลี้ยชนิดนี้เพื่อเป็นเกียรติแด่ คุณชาญชัย พินทุเสน ประธานมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ ผู้คอยให้การสนับสนุนและให้คำปรึกษาเรื่องต่างๆ เสมอมา
👉🏿🐞เพลี้ยชนิดนี้จึงได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemisphaerius binduseni Constant & Jiaranaisakul, 2020 และถือเป็นเพลี้ยสกุล Hemisphaerius ลำดับที่ 4 ที่พบได้ในประเทศไทย
สาระข้อมูลเพิ่มเติม
เพลี้ยกระโดด เป็นแมลงศัตรูพืช ชนิดปากดูด โดยมักทำลาย ข้าว โดยดูดน้ำเลี้ยงข้าวจนทำให้ข้าวแห้งตาย และเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิกในพืช
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย facebook และ YouTube