ปลดล็อกกัญชา คุ้มครองควบคุม แบ่งอายุเยาวชน 10-15-18 -20 และบรรลุนิติภาวะเพื่ออะไร
กัญชามาแรง เลยเอาประเด็นนี้มาจั่วหัว มีข่าวนั้ันวันที่ 14 มิ.ย. ที่ผ่านมา พบผู้เสพกัญชาเสียชีวิต 1 และนอนโรงพยาบาล 3 ราย หนึ่งในนั้นมีเด็กวัย 16 ปีด้วยยังรักษาอยู่ห้องไอซี ทั้งนี้กทม.ตั้งเป้าโรงเรียนปลอดกัญชา
ภาพจาก tpbs
คิดจะเสรีกันอย่างไม่สนอะไรเลย ไม่มีกฎหมายควบคุม จะควบใครละ ก็เด็กและเยาวชนลูกหลานเราไง ทำไมต้องควบคุมเด็กๆ ละ ปลดล็อกเสรีแล้วทำไม ต้องแยกแยะอายุ ด้วย มันสำคัญอย่างไร
ทำต้องอายุครบ 15 แล้วจะทำโน่นนี่นั่นได้ ทำไมอายุครบ 18 ทำอีกอย่างเพิ่มระดับได้ พอ ครบ 20 ปี ทางกฎหมายก็เรียกว่า บรรลุนิติภาวะ ใันคืออะไร
นิติภาวะ คือ ภาวะที่บุคคลเป็นผู้มีความสามารถใช้สิทธิทำนิติกรรมตามกฎหมายได้ด้วยตนเอง การบรรลุนิติภาวะย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดแล้วแต่กรณี
ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เรียก "ผู้เยาว์" ซึ่งกฎหมายจำกัดความสามารถเอาไว้
โดยพิจารณาสรุปว่าผู้เยาว์ทั่วไปแล้วมีปรกติเป็นเด็กไม่อาจบริหารสติปัญญาได้ดีเท่าผู้ใหญ่ได้ จึงจำกัดความสามารถในการใช้สิทธิไว้ให้มีผู้ที่เรียก "ผู้แทนโดยชอบธรรม"
เป็นผู้ตัดสินใจใช้สิทธิแทน จนกว่าผู้เยาว์จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะมีความสามารถในการใช้สิทธิได้เต็มเปี่ยม เว้นแต่เขาจะกลายเป็นคนวิกลจริต , คนไร้ความสามารถ
และผู้เยาว์ คือ บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ คือยังมีอายุไม่ถึงที่กฎหมายกำหนด หรือยังมิได้บรรลุนิติภาวะโดยประการอื่น เช่น โดยการสมรส
ตราบใดที่บุคคลยังเป็นผู้เยาว์อยู่จะมีความสามารถกระทำการต่าง ๆ ตามกฎหมายโดยจำกัด ตามกฎหมายไทยแล้ว นิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทำลงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายต่อเมื่อผู้เยาว์ได้รับความยินยอมจากบุคคลที่เรียก "ผู้แทนโดยชอบธรรม"
ซึ่งได้แก่ "ผู้ใช้อำนาจปกครอง" คือ บิดามารดาทั้งสองคน หรือมารดาในกรณีที่บิดามิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือถูกศาลเพิกถอนอำนาจปกครองบุตรเสีย
ส่วนมารดานั้นเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรเสมอ, หรือ "ผู้ปกครอง" ในกรณีที่บิดาและมารดาหาตัวมิได้แล้ว หรือถูกศาลเพิกถอนอำนาจปกครองบุตรเสีย นิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทำลงโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมแล้ว ตกเป็นโมฆียะ
ในทางกฎหมาย บุคคลที่อยู่ภายใต้บังคับพ.ร.บ.ศาลเยาวชนและเยาวชนมีสองประเภท ได้แก่
“เด็ก” หมายถึงบุคคลที่มีอายุเกินกว่าสิบปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์ และ
“เยาวชน” ซึ่งหมายถึง บุคคลที่อายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์
กฎหมายไม่ได้เขียนบอกไว้ว่า "ผู้ใหญ่" หมายความว่าอย่างไร แต่จากความหมายของเด็ก และเยาวชน ก็แสดงว่า เกินจากเยาวชนขึ้นไป คือ ตั้งแต่อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปทั้งหมด ถือว่า "เป็นผู้ใหญ่" ตามนัยของกฎหมายนี้นั้นเอง
มีการวิเคราะห์เรื่อง วุฒิภาวะของเด็กแต่ละช่วงวัย ซึ่งเด็กแต่ละช่วงอายุมีความรู้รับผิดชอบชั่วดีต่างกัน การที่ต้องรับโทษจึงต้องแตกต่างกัน ซึ่งกฏหมายได้วางหลักไว้ ว่า
เด็กอายุไม่เกิน 10ปี การกระทำความผิดทางอาญานั้น ไม่ต้องรับโทษ เพราะกฏหมายมองว่าเด็กในอายุช่วงดังกล่าวนั้น ยังมีวุฒิภาวะและประสบการณ์ความนึกคิด และความรู้สึกผิดชอบชั่วดีน้อย หรือยังอ่อนต่อโลก และสังคมมาก จึงยังไม่สมควรได้รับการลงโทษ ยังให้โอกาสเด็กในการปรับตัวอยู่ในสังคมต่อไป
เด็กอายุเกิน10ปี แต่ไม่เกิน15ปี กระทำความผิดนั้น อาจไม่ต้องรับโทษก็เป็นได้ แต่ศาลอาจว่ากล่าวตักเตือน หรือส่งตัวไปยังสถานฝึกอบรม หรือองค์กรที่ศาลเห็นสมควร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความผิดที่กระทำ และดุลพินิจของศาลท่าน จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันเด้ก และเยาวชนในช่วงอายุดังกล่าวจะเริ่มคึกคะนองมากขึ้น ชอบทำตาม คล้อยตามได้ และถูกชังจูงได้ง่ายมาก ซึ่งกระบวนการยุติธรรมที่เห็นนั้นส่วนใหญ่และส่งเด็ก และเยาวชนเข้าอบรมเสมอในปัจจุบัน เพื่อขัดเกลาให้เป็นเยาวชนที่ดีต่อไป
บุคคลที่อายุเกิน15ปี แต่ต่ำกว่า18ปี ได้กระทำความผิด ศาลอาจลดโทษให้กึ่งหนึ่ง หรืออาจใช้วิธีการเดียวกับเด็กอายุเกิน 10 ปี แต่ไม่เกิน 15ปีก้ได้ แล้วแต่กรณีไปโดยขึ้นอยู่กับความร้ายแรง และดุลพินิจศาล โดยปกติแล้วเด็ก และเยาวชนในช่วงอายุดังกล่าวนี้ มักจะหลงผิดได้ง่ายเช่นกัน แต่กฏหมายมองว่าเด็ก และเยาวชนในช่วงอายุดังกล่าวนั้น มีสามัญสำนึกความรับผิดชอบชั่วดีเทียบเท่ากับผู้ใหญ่แล้วจึงเห็นควรลงโทษให้เทียบเท่าผู้ใหญ่ แต่ลดโทษให้เป็นกรณีไปตามความผิดที่เกิดขึ้นเท่านั้น
ในส่วนการบรรลุนิติภาวะมี 2 กรณี คือ
1. อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือ
2. โดยการสมรส
ข้อ 1 ชัดเจน ไม่ต้องอธิบาย
ข้อ 2 คือ ผู้เยาว์จะสมรสได้นั้นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง และ มีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีขึ้นไป
การบรรลุนิติภาวะของทั้ง 2 กรณีนี้ ทำให้ทำนิติกรรมได้เองโดยไม่ต้องให้ผู้ปกครองยินยอม หรือ ให้สัตยาบัน การที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ สิทธิตามกฎหมายจะมาได้เองโดยอัตโนมัติ
ส่วนบรรลุโดยการสมรส แม้ถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้ว ข้อห้ามตามกฎหมายต่างๆ ยังบังคับใช้กับกลุ่นนี้อยู่ เช่น ห้ามเข้าผับ บาร์ หรือ ซื้อเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือ แม้กระทั่งเรื่องใบขับขี่ เพราะอายุในเรื่องนี้เป็นการเฉพาะตัว ไม่ใช่ผลของกฎหมาย
ที่สำคัญอย่าลืมว่า กฎหมายนั้นออกมาเพื่อคุ้มครองประชาชน ไม่ใช้รังแกประชาชน โดยไปเป็นเครื่องมือของใคร โดยเฉพาะ เด็กๆ ทุกคนมีสิทธิได้รับการปกป้องคุ้มครองจากความรุนแรง การถูกทำร้าย การถูกละเลยทอดทิ้ง และการถูกแสวงประโยชน์ ความรุนแรงสามารถส่งผลกระทบอย่างทันทีต่อพวกเด็กๆ ได้ตั้งแต่อาการบาดเจ็บทางกาย พัฒนาการ ความสามารถในการเรียนรู้ และผลการเรียนของเด็ก และอาจส่งผลเสียระยะยาวที่ติดตัวเด็กไปจนเป็นผู้ใหญ่ ในประเทศไทย
ซึ่งพวกเขายังมีวุฒิภาวะและประสบการณ์ความนึกคิด และความรู้สึกผิดชอบชั่วดีน้อย หรือยังอ่อนต่อโลก และสังคมมาก
ส่วนคำนิยามว่า "ผู้ใหญ " แก่วัยแค่ไหน ใหญ่โตขึ้นมาด้วยอะไร มีจิตสำนึกมากน้อยแค่ไหนอันนั้น เอาคงต้อง คุณวุฒิ วัยวุฒิ วุฒิภาวะ ไปคิดกันเอาเอง