คติการบนบานในสังคมไทยมาจากไหน
"คติการบนบานในสังคมไทยมาจากไหน"
#วิชาว่าด้วยคติชนวิทยาและปรัชญา
การบนบานเป็นพิธีความเชื่อหนึ่งที่คนไทยคุ้นเคยและเคยได้ยินมาช้านาน สันนิษฐานว่าความเชื่อนี้เป็นคติในศาสนาผี หรือศาสนาที่นับถือพลังเหนือธรรมชาติ
แม้ศาสนาพุทธจะเป็นศาสนาที่คนไทยนับถือเป็นส่วนมาก ก็มีปรากฎความเชื่อนี้ในคัมภีร์ทางศาสนาด้วย เช่น กรณีนางสุชาดาได้บนบานต่อต้นไทร (รุกขเทวดา)
นางสุชาดาบนบานต่อรุกขเทวดาว่า ขอให้นางได้สามีที่ดีและมีบุตรชาย ถ้านางได้ตามที่ขอนี้จะถวายข้าวมธุปายาสเป็นเครื่องสักการะ
พอนางได้แต่งงานและมีลูกชาย (คือยสกุลบุตร) นางก็ยังไม่ได้แก้บน แต่ขณะนั้นเจ้าชายสิทธัตถะประทับสมาธิใต้ต้นไทรนั้นพอดี นางทาสีเห็นก็คิดว่า รุกขเทวดามาปรากฏ เลยรีบไปแจ้งนางสุชาดาผู้เป็นนาย
นางสุชาดาจำได้ว่า นางเคยบนบานไว้จึงจัดทำข้าวมธุปายาส แล้วใส่ถาดทองไปถวายทันที นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาสแด่เจ้าชายสิทธัตถะนั้น เป็นเรื่องของการแก้บนนั้นเอง
เรื่องต่อมาก็จะเป็นชาตัฎกภา (หรืออรรถกถาชาดก) ชาดกที่เห็นเรื่องนี่ชัดมาก คือ "เตมียชาดก" (หนึ่งในพระเจ้าสิบชาติ)
พระเจ้ากรุงพาราณสีครองราชมานาน แม้จะมีพระมเหสีและพระสนมมากมายแต่ก็ไม่มีรัชทายาทสืบราชสมบัติ พระองค์จึงโปรดให้เหล่าพระชายามีพระบุตรให้พระองค์ เหล่าพระสนมก็พากันบนบานขอบุตรจากเทพเจ้า เว้นแต่พระมเหสีที่ทรงถือศีลภาวนาแล้วเทพบุตรก็อุบัติในพระครรภ์ของพระนาง
การบนบานเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ดังมีปรากฏในมหากาพย์อีเลียด ที่พระราชินีแห่งทรอยบนบานต่อเทพีอธีน่า ขอให้สงครามสงบโดยแลกกับการถวายผ้าไหมผืนที่ดีที่สุด หากเชื่อทฤษฎีอินโดยูโรเปี้ยน ความเชื่อนี้ก็มีในศาสนาที่เกิดขึ้นอินเดียด้วย
เมื่อศาสนาพุทธและพราหมณ์เข้าสู่ดินแดนอุษาคเณย์ ความเชื่อการบนบานจึงเข้ามาในรูปแบบอารยธรรมอินเดียที่มีอิทธิพลต่อความคิดและความเชื่อของผู้คนในแถบนี้
แต่เท่าที่สังเกต คติการบนก็เป็นความเชื่อของชาติต่าง ๆ เหมือนกัน แต่อาจจะเป็นการวินวอนและการตอบแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไป
อ้างอิงจาก: https://www.facebook.com/Saisaiwitthaya/photos/a.107912941637252/172009745227571/
เรียบเรียง : ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์
ข้อมูล : ประวัตินางสุชาดา , อรรถกถาเตมียชาดก และอีเลียด