"ดันกัน" คำที่ใช้ในอดีตของสหภาพโซเวียต หมายถึงชาวจีนที่นับถือศาสนาอิสลาม
ดุงกาน (Dōnggān: Tung1kan) หรือ หุย (ดุงกาน, เสี่ยวเอ้อร์จิง) เป็นคำที่ใช้กันในแถบกลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียตที่สื่อความหมายถึงกลุ่มอิสลามิกชนที่มีเชื้อสายจีน หรืออาจใช้ความหมายครอบคลุมไปยังประชาชนที่จัดอยู่กลุ่มภาษาเตอร์กิกแถบเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ในปัจจุบันด้วย ทั้งนี้พวกเขาจะเรียกแทนตัวเองว่าหุย ส่วนดุงกานคือลูกหลานของชาวหุยที่อพยพมายังเอเชียกลาง
ธงประจำชนชาติ
มีการสำรวจจำนวนประชากรในแถบอดีตสหภาพโซเวียตพบว่ามีชาวดุงกานตั้งถิ่นฐานในประเทศคาซัคสถาน ประมาณ 36,900 คน ในปี ค.ศ. 1999, ประเทศคีร์กีซสถาน ประมาณ 51,766 คน ในปี ค.ศ. 1999 และในประเทศรัสเซีย ประมาณ 801 คน ในปี ค.ศ. 2002
ทหารชาวดุงกาน
ชาวดุงกานกลุ่มแรกมาจากเมืองกุลจาและเมืองคัชการ์เข้าไปตั้งถิ่นฐานแถบหุบเขาเฟอร์กานาในเอเชียกลางเพราะถูกโจรจับมาเป็นทาส ส่วนใหญ่ชาวดุงกานทำงานอยู่ในเรือนของผู้มั่งมี
แต่หลังรัสเซียพิชิตเอเชียกลางได้เมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ 19 รัสเซียเลิกทาส แต่หญิงดุงกานส่วนใหญ่ยังคงถูกกักตัวไว้ดังเดิม วาลีดีมีร์ เปโตรวิช นาลิฟคิน (Validimir Petrovich Nalivkin) นักชาติพันธุ์วิทยาชาวรัสเซียและภรรยาบันทึกเรื่องราวดังกล่าวไว้ ความว่า "นางทาสีส่วนใหญ่ยังคงถูกกักตัว
เพราะพวกนางสมรสกับพวกคนงานและคนรับใช้ของอดีตเจ้านาย หรืออาจเป็นเพราะพวกนางยังเด็กเกินไปที่จะออกไปมีชีวิตอิสระ"นางทาสดุงกานถือเป็นคนชั้นต่ำและถูกดูแคลนอย่างยิ่งในเมืองบูคารา
ชาวเติร์กมุสลิมยกทัพจากรัฐข่านโคคันด์ไปตีเมืองคัชการ์ แล้วกวาดต้อนมุสลิมจีนหลายร้อยคนไปไว้ที่เมืองโคคันด์ มีชาวทาจิกซื้อทาสชาวจีนสองคนจากส่านซีไปกดขี่ข่มเหงราวหนึ่งปี ก่อนได้รับการสงเคราะห์จากเบก กู-พู-เทอ (Beg Ku-bu-te) ส่งกลับเมืองจีน
นอกจากนี้มีพ่อค้าและทหารชาวดุงกานประมาณ 300 คนถูกพวกจาฮันกีร์จับที่เมืองคัชการ์ พวกเขาถูกตัดผมเปียออกแล้วส่งไปเมืองโคคันด์และเอเชียกลางในฐานะคนโทษ มีรายงานว่าเชลยส่วนใหญ่นี้ตกเป็นทาส และพบว่ามีบัญชีทาสเชลยของเอเชียกลางเพิ่มขึ้น
ผมเปียของคนโทษเหล่านี้จะถูกขาย มีคนจำนวนไม่น้อยหนีข้ามไปยังแดนของรัสเซียก่อนถูกส่งกลับจีน ดังปรากฏหลักฐานเป็นบันทึกการจับกุมในเอกสารจีน ส่วนเอกสารรัสเซียบันทึกไว้ว่าพวกเขาช่วยพ่อค้าจีนมุสลิมซึ่งถูกกองทัพของจาฮันกีร์กุมตัวไปไว้ในเอเชียกลาง พวกเขาจึงหลบหนีมาในแดนรัสเซีย และส่งพวกเขากลับแดนจีน
ป้ายมุมถนนในหมู่บ้านมิลยันฟัน ทางขวาเป็นภาษาดุงกาน ทางซ้ายเป็นภาษาคีร์กีซ ทั้งสองเขียนว่าถนนเลนิน
ชาวดุงกานจะเรียกภาษาของตัวเองว่าภาษาหุย มีลักษณะคล้ายกับภาษาจีนกลางที่ราบภาคกลางซึ่งพูดในแถบมณฑลกานซู่ตอนใต้ไปจนถึงทางตะวันตกของที่ราบกวันจงในมณฑลส่านซี
ประตูของมัสยิด Dungan ในเมือง Karakolประเทศคีร์กีซสถาน
Muslim Kirghiz dan masjidnya
พิพิธภัณฑ์วนาคุณ
สตรีชาวดุงกานในประเทศคาซัคสถาน








