ถังหูหลู ขนมหวานของจีนภาคเหนือและประวัติความเป็นมาของขนมนี้
ถังหูหลู ขนมหวานของจีนภาคเหนือและประวัติความเป็นมาของขนมนี้
ถังหูหลู หรือ ถังหูลู่ (จีนตัวย่อ: 糖葫芦; จีนตัวเต็ม: 糖葫蘆; พินอิน: tánghúlu) เป็นขนมขบเคี้ยวหรือของหวานแบบจีนภาคเหนือ (华北) ที่ใช้น้ำตาลเคลือบแข็งบนผิวผลไม้สดที่เสียบก้านไม้ยาว โดยเฉพาะแบบดั้งเดิมที่ใช้น้ำตาลกรวด (冰糖; ปิงถัง) เคลือบผลซานจาสด เป็นที่มาของชื่อเต็มคือ ปิงถังหูหลู (冰糖葫芦; 冰糖葫蘆; bīngtánghúlu)
ถังหูหลู
ปิงถังหูหลูแบบดั้งเดิม (เซี่ยงไฮ้, 2008)
ชื่ออื่น ปิงถังหูหลู
ประเภท ขนมขบเคี้ยว หรือ ของหวาน
แหล่งกำเนิด จีน
ภูมิภาคที่พบเจอขนมนี้ เมืองใหญ่ในประเทศจีน พบมากทางภาคเหนือ
ส่วนผสมหลัก
ซานจา, น้ำเชื่อมร้อนจากน้ำตาลกรวด
รูปแบบอื่น
ผลไม้อื่น ๆ เช่น มะเขือเทศเชอรี่ ส้มแมนดาริน สตรอเบอร์รี บลูเบอร์รี สับปะรด กีวี กล้วย หรือองุ่น
ถังหูหลูรสหวานเปรี้ยวกรอบนี้มีประวัติตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่งและยังคงได้รับความนิยมไปทั่วภาคเหนือของจีน พบเห็นได้บ่อยในช่วงฤดูหนาว ตามตรอกซอกซอย สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ
ประวัติ
ตามตำนานบอกเล่าเชื่อว่า ถังหูหลู เกิดขึ้นในราชวงศ์เหลียว
ตำนานบอกเล่าพื้นบ้านอีกเรื่องที่อ้างอิงประวัติศาสตร์ เชื่อว่าพระสนมหฺวางในจักรพรรดิกวงจงแห่งราชวงศ์ซ่ง ประชวรหนักและแพทย์หลวงไม่สามารถรักษาได้ จักรพรรดิจีงทรงประกาศหาทั้งประเทศและแพทย์คนหนึ่งประสบความสำเร็จในการรักษามเหสีโดยให้ยาซานจาเคลือบน้ำตาลกรอบ ต่อมาวิธีการนี้แพร่หลายในชาวบ้านและถูกเรียกว่า ถังหูหลูอย่างไรก็ตามเนื่องจากเทคโนโลยีการทำน้ำตาลจากอ้อยแม้ถูกนำเข้ามาใช้จากอินเดียในสมัยราชวงศ์ถัง แต่น้ำตาลเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยสำหรับคนทั่วไปในสมัยนั้นและพบน้ำตาลในหนังสือโบราณเป็นยาเท่านั้น
ความหลากหลาย
นอกจากผลซานจาซึ่งเหมาะกับการขบเคี้ยวแล้ว ในปัจจุบันยังใช้ผลไม้อื่น ๆ เช่น มะเขือเทศเชอรี่ ส้มแมนดาริน สตรอเบอร์รี บลูเบอร์รี สับปะรด กีวี กล้วย หรือองุ่น ในบางครั้งเลาะเมล็ดและแกนของซานจาออกและมักใส่ถั่วแดงเชื่อมหรือวอลนัทแทนก่อนที่จะเสียบไม้
อ้างอิงจาก: ถังหูหลูปิงถังหูหลูแบบดั้งเดิม
https://youtu.be/Z4EF9rgzRVs
วิกิพีเดีย ขนมหวานจีน ถังหูหลู