กระจ่าง!! ที่มาของ คำว่า "เฒ่าหัวงู"
คำว่า "เฒ่าหัวงู" มันเป็นอย่างไร ?
เมื่อได้อ่านมติชนที่เขียนถึงบิ๊กขี้หลีหรืออดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ (ตัวสูง ๆ) ที่พยายามจะเคลมสาวสวยซึ่งเป็นผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์หรือข่าวนักการเมืองสาว สวยที่ถูกกล่าวหาว่าตั้งท้องกับนักการเมืองระดับบิ๊ก ก็เลยนึกถึงคำว่า "เฒ่าหัวงู" ขึ้นมา ผมเกิดความสงสัยว่าคำว่าเฒ่าหัวงูมาจากไหน? ใครเป็นคนประดิษฐ์คำนี้ขึ้นมาเป็นคนแรก ? ไม่มีใคร (ซึ่งรวมถึงผมด้วย)ทราบ รู้ักันแต่ว่าใช้สำหรับชายชราที่ยังฝักใฝ่ในกามารมณ์อยู่ไม่คลายโดยการไปใล่ จับสาว ๆ
มีคนเรียกเป็นภาษาอังกฤษแบบติดตลกว่า Snake headed old man ซึ่งถือได้ว่าเป็น Thinglish (Thai +English) อย่างมาก ๆ ความจริงฝรั่งเค้าเรียกว่า Dirty old man (middle-aged or elderly man with lewd or lecherous inclination) ซึ่งไม่เกี่ยวกับงูเลย ส่วนคำว่า old man ความจริงก็บอกอายุที่แน่นอนไม่ได้ ผู้ชายอายุสามสิบแต่ไปตามจีบเด็กอายุต่ำกว่าสิบห้า ก็น่าจะเป็นเฒ่าหัวงูได้เหมือนกัน (พร้อมกับเสียงไอว่า "ครุกๆๆ")
ทำไมต้องเป็นเฒ่าหัวงู ทำไมไม่ใช่เฒ่าหัวแมว หรือเฒ่าหัวปลาทู ?
ตามความเชื่อของศาสนาคริสต์ งูคือสัญลักษณ์แห่งความบาป และกามารมณ์ ซาตานปลอมเป็นงูขึ้นไปบนสวรรค์เพื่อหลอกให้อีฟกินแอ๊ปเปิ้ลจากต้นกลางสวนที่ พระเจ้าทรงห้าม และยังหลอกผัวรักคืออดัมให้มาแจมด้วย ผลคือทั้งคู่ถูกพระเจ้าขับออกจากสวรรค์ไป ชาวคริสต์ถือกันว่าการกินแอ๊ปเปิ้ลนั้นคือบาปดั้งเดิม (Original Sin) ของมนุษย์ ดังนั้นงูกับคำว่าบาปจึงใกล้ชิดกันมาก ส่วนชาวเอเชียมองงูในมุมกลับกัน ชาวอินเดียบางชนเผ่าบูชางู ส่วนศาสนาพุทธก็มีแนวคิดคล้ายกันคือบูชางู แต่เป็นงูยักษ์หรือพญานาคที่เป็นสัตว์ในจินตนาการ พญานาคเป็นสัตว์ที่อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา
กระนั้นก็ยังตอบคำถามไม่ได้ว่าทำไมคำไทยถึงเรียกว่า "หัวงู" ? ทั้งที่ฝรั่งไม่ได้บัญญัติคำนี้
ดัง นั้นเราน่าหันไปหา Sigmund Frued ศาสดาของจิตวิทยาสำนัก จิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ดีกว่า ฟรอยด์จะเน้นการวิเคราะห์สิ่งที่อยู่ภายใต้จิตใต้สำนึกของมนุษย์ (Unconsciousness) ผ่านสัญลักษณ์ต่าง ๆ โดยมีเรื่องเพศเป็นประเด็นสำคัญ ซึ่งฟรอยด์เห็นว่าเป็นแรงขับเคลื่อนพฤติกรรมของมนุษย์ พร้อมๆ กับเรื่องความก้าวร้าว ฟรอยด์วิเคราะห์ว่างูคือสัญลักษณ์หรือตัวแทนของ องคชาติ (Phallic) หรืออวัยวะเพศของผู้ชายนั่นเอง ดังนั้นจึงน่าจะมาอธิบายกับคำว่า "เฒ่าหัวงู" ได้นั่นคือ "เฒ่าที่มีความปราถนาในการใช้องคชาติของตนในการร่วมประเวณีกับหญิงสาว" ซึ่งน่าจะพออธิบายได้ว่าทำไมไม่มีคำว่า "ยายหัวงู" หรืออธิบายถึงความเชื่อที่ว่า "ถ้าฝันถึงงู จะได้พบเนื้อคู่" (ประโยคนี้น่าจะใช้กับหญิงสาวเท่านั้น)
นอกจากนี้เราน่าจะนำมาวิเคราะห์ว่าทำไมผู้ชายที่จีบสาวไปทั่วถึงถูกเรียกว่า ไอ้หน้าหม้อ เพราะหม้อหมายถึงอวัยวะเพศหญิงในระดับจิตใต้สำนึก
ทำไมผู้ชายจำนวนมากถึงเป็น "เฒ่าหัวงู" ? หากเราใช้ภาษาแบบ Jacques Lacan ศาสนุศิษย์ของฟรอยด์และพวกสตรีนิยม (Feminist) การเป็นเฒ่าหัวงูคือการใช้องคชาตของตัวเองในการเสริมสร้างความเป็นใหญ่ของ ชาย (Male Dominance) ซึ่งครอบงำสังคมทั่วโลก ถึงแม้คำว่า "เฒ่าหัวงู"จะดูน่ารังเกียจก็ตามแต่เราจะเคยชินกับคำว่า คุณผู้ชายที่บ้านแอบไปมีอีหนูหรือมีบ้านเล็กบ้านน้อย ซึ่งดูเป็นเรื่องธรรมดาไปกลายเป็นวัฒนธรรมมวลชน (Pop Culture) เช่นละคร ภาพยนตร์ตลก ให้คนดูเฮฮา ในทางกลับกันหากผู้หญิงแอบมีผู้ชายคนอื่น สังคมจะดูเป็นเรื่องจริงจัง และไม่เคยเรียกว่า ผู้หญิงแอบไปมีบ้านเล็กบ้านน้อยแต่จะเรียกว่า "ชู้" แทน (ปัจจุบันคำว่ากิ๊กทำให้ดู Soft ลง) แสดงว่าสังคมเห็นว่าผู้ชายเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในการสร้าง "บ้าน"
ในอดีตหลายสังคมในเอเชียจะเสริมสร้างหรือบูชา "เฒ่าหัวงู" เป็นยิ่งนัก ชนชั้นสูงจะนิยมมีภรรยามากกว่าหนึ่งคน (และเมียน้อยจะอายุน้อยมาก บางคนก็อายุแค่สิบห้า) ในขณะชนชั้นล่างเช่นไพร่กับทาส มีได้แค่คนเดียว (แค่นี้ก็จะตายอยู่แล้ว) ปัจจุบันถึงแม้สังคมจะนิยมผัวเดียวเมียเดียว และผู้หญิงมีปากมีเสียงมากขึ้น ภรรยาหลายๆ คนก็ยังยอมรับการมีอีหนูของสามี (ถึงแม้ด้วยน้ำตา)
ปัจจุบัน คำว่า "เฒ่าหัวงู" ก็ยังทรงพลังอยู่โดยผ่านคำ "เจ้านาย" และ "ลูกน้อง" เจ้านายโดยมากเป็นผู้ชายและแต่งงานแล้ว ปฏิบัติการเป็นเฒ่าหัวงูย่อมเริ่มต้นจากการล่วงละเมิดทางเพศ (Sexul Harassment) ไม่ว่าทางวาจา (พูดจาเกี้ยวพาราสี หรือพูดสองแง่สองง่าม) หรือการกระทำ (เกาะไหล่ แตะอั๋ง) เมื่อฝ่ายหญิงยอมเล่นด้วย ก็จะกลายเป็นเมียน้อยหรือ One night stand (กิ๊กคืนเดียว) ไป หรือไม่ยอมก็ถูกข่มขืนหรือ ออกจากงานหรือไม่ขึ้นขั้นเงินเดือน ถ้าผู้หญิงใจเด็ดก็ฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาลกันไป
ทำไมผู้หญิงบางคนถึงยอมเป็นเมียน้อยของ "เฒ่าหัวงู" อย่างเต็มอกเต็มใจ ? ถ้าจะตอบว่าเพราะชอบความสะดวกสบาย เพราะเฒ่าหัวงูซึ่งเป็นเจ้านายหรือเศรษฐีสามารถบันดาลทุกอย่างได้ ก็ถูก แต่หากมองแบบจิตวิเคราะห์ ลึกๆ แล้วเธอเหล่านั้นต่างปรารถนา "ความเป็นพ่อ" (Father figure) จากผู้ชายสูงอายุ อย่างที่ผู้ชายรุ่นเดียวกันตอบสนองให้ไม่ได้ ผู้หญิงเหล่านั้นจึงเป็นหนึ่งในการสานต่ออุดมการณ์สังคม "ผู้ชายเป็นใหญ่"อย่างไม่รู้ตัว
https://www.gotoknow.org/posts/303886