เมื่อความอุ่นใจมาพร้อมกับความปลอดภัยของคนในบ้าน
การที่เราไม่สามารถคาดเดาสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับตัวเราและคนในครอบครัวได้ ทำให้เราต้องมีความระแวดระวังต่อสิ่งต่างๆอย่างรอบครอบ ยิ่งถ้าเรามีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นเด็กเล็กและผู้สูงอายุ รวมไปถึงคนที่มีโรคประจำตัว ที่อาจจะกำเริบมาตอนไหนก็ได้ เพราะฉะนั้นแล้วการมีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรืออุปกรณ์หมออาจจะทำให้เรานั้นอุ่นใจและวางใจลงได้ไม่มากก็น้อย เพราะอย่างน้อยๆเรามีเครื่องมือช่วยชีวิตที่สามารถใช้ได้และช่วยชีวิตคนในครอบครัวอย่างทันท่วงที ถึงแม้จะมีอาการหนักแต่ก็สามารถทุเลาลงได้
หลายคนอาจจะไม่ได้คำนึงถึงว่า การมีเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในบ้านนั้นมีความสลักสำคัญอย่างไร เพราะอาจจะคิดว่าไกลตัวไป และควรจะเป็นแค่แพทย์เท่านั้นที่สามารถใช้ได้ แต่ความจริงแล้ว มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่เป็นแบบ Home use อย่างไรก็ตามความรู้ความเข้าใจในการใช้สิ่งเหล่านี้คือสิ่งสำคัญมากที่สุด อย่างการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้สูงอายุนั้น เว็บไซต์ allwellhealthcare ได้แชร์ไว้ว่า การดูแลในผู้สูงอายุ ในภาวะหยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น สิ่งที่ผู้ดูแลต้องมีเลย อันแรกคือการตั้งสติ เพราะการหยุดหายใจ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินในผู้สูงอายุ ที่อันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งหากผู้ดูแลไม่มีสติ อาจทำให้ช่วยเหลือผู้สูงอายุไม่ทัน การหยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น คือการที่ร่างกายขาดอากาศ ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะ หัวใจ สมอง ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ ส่งผลให้หมดสติ และหัวใจหยุดเต้น โดยสาเหตุมักมาจาก อุบัติเหตุ โรคหัวใจ จมน้ำ ไฟดูด สูดดมสารพิษ และทางเดินหายใจอุดกั้น อาการ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว หยุดหายใจ หรือหายใจเฮือก การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ตั้งสติ แล้วประเมินสถานการณ์ ความปลอดภัยก่อนเข้าไปช่วยเหลือ โทรขอความช่วยเหลือ 1669 เช็กดูว่าผู้สูงอายุยังมีสติอยู่หรือไม่ ตบไหล่ทั้งสองข้าง ดูการตอบสนอง การพูด การขยับตัว และดูการเคลื่อนไหวของหน้าท้องและทรวงอก หากไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจให้ช่วยเหลือทันที ประสานมือวางลงกึ่งกลางหน้าอก ยืดไหล่และแขนเหยียด กดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในแนวดิ่ง ด้วยความเร็ว 100 -1 20 ครั้งต่อนาที โดยห้ามกระแทก กดหน้าอก ทำ CPR ต่อเนื่อง จนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง การดูแลผู้สูงอายุ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หกล้ม การพลัดตกหกล้ม ถือเป็นภาวะฉุกเฉินในผู้สูงอายุที่พบได้บ่อย และยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับสอง รองจากอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยเกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัยดังนี้ ปัจจัยภายนอก คือ สภาพแวดล้อมภายในบ้าน เช่น พื้นต่างระดับ พื้นลื่น มีของวางเกะกะที่พื้น แสงสว่างในบ้านน้อย การดูแลและป้องกัน ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ติดตั้งราวจับในบ้านหรือห้องน้ำ ย้ายห้องนอนมาอยู่ด้านล่าง เพิ่มแสงสว่างภายในบ้าน พื้นในบ้านเรียบเสมอกัน ปัจจัยภายใน เกิดจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของร่างกายผู้สูงอายุ ที่ถดถอยลง เช่น สายตาพร่ามัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง การดูแลและป้องกัน ฝึกเดิน ใช้ไม้เท้าช่วยเดิน ออกกำลังกาย เช่น ไทเก๊ก โยคะ เป็นต้น