ฉะเชิงเทรา
จังหวัดฉะเชิงเทรา ชาวบ้านเรียก “แปดริ้ว” เหตุที่เรียกเช่นนี้ เล่ากันว่า เมื่อก่อนนี้ปลาช่อนในแม่น้ำบางปะกงมีชุกชุมและตัวใหญ่มากเวลานำมาชำแหละทำเป็นปลาช่อนตากแห้งได้ถึงแปดริ้ว(ตามความคิดของผู้เรียบเรียง ริ้ว=นิ้ว ในปัจจุบัน 8นิ้วเท่ากับ 20.32 ซ.ม.) จึงได้เรียกว่าเมืองแปดริ้ว ส่วนเชื่อฉะเชิงเทรา นั้น มากจาก “ฉทริงเทรา” (ออกเสียงว่า ฉะ-ทรัง-เซา)เป็นภาษาเขมรแปลว่า “คลองลึก” ซึ่งน่าจะหมายถึงแม่น้ำบางปะกงเพราะเป็นแม่น้ำที่กว้างและลึกมาก
ชื่อเมืองฉะเชิงเทราปรากฏครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมื่อปี พ.ศ.๑๙๙๘ มีฐานะเป็นเมืองในวงราชธานีชั้นจัตวา ผู้รักษาเมืองเป็นที่ออกพระวิเศษฤาชัย
ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้สร้างเมืองนนทบุรี นครชัยศรี(นครปฐม)และสาครบุรี (สมุทรสาคร) เป็นที่ระดมไพร่พลในการศึกสงคารสันนิษฐานว่าเมืองฉะเชิงเทราก็ได้ใช้เป็นที่ระดมพลและยับยั้งข้าศึกที่มารุกรานเช่นเดียวกันกับเมืองหน้าด่าน
ในปี พ.ศ.๒๓๐๙ ก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่า พระเจ้าตากสินได้คุมพลฝ่าวงล้อมของพม่ามาข้ามฟากที่ปากน้ำโจ้โล้ อำเภอบางคล้า และเดินทัพไปตั้งมั่นที่จันทบุรี ต่อมาก็ได้นำทัพขับไล่พม่าและกู้อิสรภาพได้สำเร็จครั้งนั้นชาวเมืองฉะเชิงเทราได้เข้าร่วมกองทัพพระเจ้าตากสินด้วยเป็นจำนวนมาก
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีสงครามรบพุ่งกับเขมรอันเป็นเหตุชักจูงเอาญวนเข้ามาพัวพันจนไทยต้องรบกับญวน ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๓๗๙ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯให้สร้างป้อมขึ้นตามปากน้ำสำคัญในอ่าวไทยหลายแห่งโดยให้สร้างขึ้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราขึ้นมาหนึ่งป้อม
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ฉะเชิงเทราขึ้นกับมณฑลปราจีน ครั้งแรกที่ว่าการมณฑลอยู่ที่เมืองปราจีน ในปี พ.ศ.๒๔๗๖ เมื่อยกเลิกระบบเทศาภิบาล จึงกลายเป็นจังหวัดฉะเชิงเทราต้องแน่นั้นมา
ตำนาน นิทาน และเรื่องเล่าของจังหวัด
พระพุทธโสธร ประดิษฐานอยู่ ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร เป็น พระพุทธรูปศักดิ์สิทธ์ที่ชาวเมืองนับถือมาก หลวงพ่อโสธรเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๓ ศอก ๕ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปสมัยล้านช้าง มีประวัติว่า เมื่อปี ๒๓๑๑ มีพระพุทธรูป ๓ องค์ แสดงอภินิหารลอยทวนน้ำมาตามลำน้ำปางปะกง ชาวบ้านพยามนำพระขึ้นฝั่งแต่ก็ไม่สำเร็จ กลับจมน้ำหายไปอีก พระพุทธรูปทั้ง ๓ อง๕นี้ได้ลอยโผล่ตามที่ต่างๆ หลายแห่ง ต่อมาองค์พี่ได้ไปประดิษฐาน ณ วัดบ้านแหลมจังหวัดสมุทรสาคร องค์กลางไปประดิษฐาน ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา องค์สุดท้องไปประดิษฐาน ณ วัดบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
หลวงพ่อวัดบ้านแหลม(ซ้าย) หลวงพ่อวัดโสธร(กลาง) หลวงพ่อวัดบางพลี(ขวา)
ประวัติวัดพ่อโสธร เดิมชื่อวัดหงษ์สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่เรียกว่าวัดหงษ์เพราะเดิมที่หน้าวัดมีเสาธงใหญ่ บนยอดเสาธงมีรูปหงส์ติดอยู่ ต่อมาเสาธงถูกพายุพัดหักโค่นลง ทางวัดจึงทำเสาธงขึ้นใหม่ ชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่า วัดเสาธง ต่อมาเสาธงถูกพายุพัดหักโค่นลงมาอีก เสาธงหักเป็นสองท่อน ชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่า วันเสาท่อน และเมื่อได้พระพุทธรูปลอยน้ำองค์กลางมาประดิษฐานที่วัด ชาวบ้านได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดโสธร และตั้งชื่อพระพุทธรูปว่า หลวงพ่อโสธร
ศาลพระเจ้าตากสินมหาราช อำเภอบางคล้า เมือพระเจ้าตากสินมหาราชนำทหารฝ่าวงล้อมของพม่าที่อยุธยาออกมาได้นำทหารมาข้ามฟากแม่น้ำบางปะกงมาหลบซ่อนและซ่องสุมผู้คนอยู่ที่ปากคลองท่าลาด อำเภอบางคล้า เพื่อเตรียมไปตั้งหลักกู้ชาติที่เมืองจันทบุรี เมื่อกู้ชาติได้สำเร็จพระองค์ได้เสด็จกลับมาสร้างเจดีย์ไว้ที่ปากน้ำโจ้โล้ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่เจดีย์ได้ถูกน้ำเซาะพังไป นอกจากนี้พระองค์ยังได้สร้างวัดแจ้งขึ้นเพราะเดินทัพมาตอนกลางคืนและมาสว่างที่บริเวณสร้างวัดแจ้งพอดี และยังทรงสร้างวัดโพธิ์เป็นที่ระลึกอีกวัดหนึ่งด้วยส่วนศาลพระเจ้าตากสินมหาราชนี้ ชาวเมืองสร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์วีรกรรมของพระองค์ท่าน
ชื่อกิ่งอำเภอราชสาสน์ ชื่อราชสาสฯนี้มีประวัติมาจากนิทานเรื่องพระรถเสน มีเรื่องเล่าว่านางยักษ์โหนทะมาน คิดหาทางจะฆ่าพระรถเสนซึ่งเป็นลูกของนางสิบสองที่ตาบอด จึงใช้อุบายให้พระรถเสนไปเอามะม่วงหาวมะนาวโห่ ซึ่งเป็นตัวยาสำหรับรักษาตานางสิบสอง โดยเขียนสาสน์ไปหานางเมรีลูกสาวของตนว่า”ถึงวันให้ฆ่าวัน ถึงคืนให้ฆ่าคืน” กล่าวคือให้ฆ่าพระรถเสน (ถึงตอนไหนให้ฆ่าตอนนั้น) พระรถเสนถือสาสน์ไป เมื่อถึงบริเวรที่ตั้งกิ่งอำเภอราชสาสน์ได้พักนอนที่อาศรมฤาษี ฤาษีรู้ข้อความในสาสน์นั้นเกิดคว่ามสงสารพระรถเสนจึงแก้ข้อความในสาสน์นั้นใหม่ว่า “ถึงวันให้รับวัน ถึงคืนให้รับคืน” ดังนั้นเมื่อพระรถเสนไปถึงเมืองยักษ์ นางเมรีก็ต้อนรับเป็นอย่างดีและแต่งงานกับพระรถเสน พระรถเสนจึงสามารถกลับมาช่วยแม่และพี่ของแม่ได้สำเร็จ
กำแพงเมืองโบราณ เป็นป้อมและกำแพงที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ โปรดฯให้สร้างขึ้นเพื่อป้องกันข้าศึกที่มาทางด้านตะวันออก มิให้ยกทัพเข้าไปตีกรุงเทพฯได้โดยง่าย ปี พ.ศ.๒๓๙๑ เกิดกบฏอั้งยี่ พวกอั้งยี่ฆ่าเจ้าเมืองพระยาวิเศษฤาชัยแล้วยึดป้อมและกำแพงนี้เป็นที่ตั้งในการต่อสู้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯโปรดฯเกล้าให้พระยาบรมมหาประยูรวงษ์ยกพลจากเมืองสมุทรสาครไปปราบ พวกอั้งยี่ตายไปมากกว่า ๓,๐๐๐ คน เหตุการณ์จึงสงบ
เทศการประจำจังหวัด
งานเทศการนมัสการหลวงพ่อโสธรมีปีละ ๓ ครั้ง
ครั้งที่หนึ่ง งานวันเกิดหลวงพ่อโสธร ตรงกับกลางเดือน ๕ มีงาน ๓ วัน ๓ คืน
ครั้งที่สอง งานกลางเดือน ๑๒ มีงาน ๕ วัน ๕ คืน
ครั้งที่สาม งานตรุษจีนมี ๕ วัน ๕ คืน
อ้างอิงจาก: นิทานสี่ภาค