กาญจนบุรี
เมืองกาญจน์บ้านขุนแผน ขุนแผนซึ่งเป็นตัวละครเอกในวรรณคดเสภาเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน มีประวัติเกี่ยวพันกับจังหวัดกาญจนบุรีมาก จากหนังสือคำให้การของชาวกรุงเก่า ขุนแผนมีตัวจริงในรัชกาลสมเด็จพระรามาอิบดีที่ 2 (จ.๔.853-891) เมื่อขุนไกรบิดาของขุนแผนถูกประหารชีวิตและริบทรัพย์สมบัติ นางทองประศริได้พาขุนแผนซึ่งยังเล็กอยู่ชื่อว่าพลายแก้วหนีไปอยู่ที่แถวเขาชนไก่เมืองกาญจนบุรี เมื่อโตพลายแก้วได้บวชบวชเณรที่วัดส้มใหญ่เมืองกาญจนบุรี หลังจากนั้นเณรแก้วได้ไปศึกษาต่อที่วัดป่าเลไลยก์ และวัตแคที่สุพรรณบุรี จนกระทั่งแต่งานกับนางพิม และมีเรื่องราวต่างๆ และได้เป็นแม่ทัพรบศึกชนะได้เป็นขุนแผน ในตอนท้ายของชีวิต ขุนแผนได้เป็นพระสุรินทฦๅไชยฯ เจ้าเมืองกาญจนบุรี
พระแท่นดงรัง อยู่ที่ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าในความเชื่อของชาวเมืองสมัยก่อนหลายเรื่องเช่น
1.พระแท่น เป็นแท่นหินธรรมชาติ กล่าวว่าเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า อยู่ในวิหารใหญ่
2.วิหารพระอานนท์ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีกำแพงแก้ว
(บ่อบ้วนพระโอษฐ์)
3.ด้านหลังวิทารพระแท่น ทางเทือกเขาเตี้ยๆ มีก้อนศิลาเป็นรูขังน้ำได้ เชื่อกันว่าเป็นที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงพระอาเจียนลงพระโลหิตก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน
(วิหารพระแท่นดงรัง (อยู่กลางภาพ) สร้างสมัยหลัง (ภาพจากโดรน มติชนทีวี พฤษภาคม 2562))
4.สวนนายจุนทะกุมารบุตร อยู่ทางด้านเหนือของวิหารพระแท่นเป็นสวนป่า กล่าวกันว่าเป็นสวนของนายจุนทะผู้ถวายมังสะสุกรอ่อนแต่พระพุทธเจ้า
(แท่นหินบดยาโบราณของท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์)
5.ภายในวิหารพระแท่น มีหินก้อนหนึ่งเชื่อกันว่าเป็นหินบตยาถวายพระพุทธเจ้า
(ปล่องพญานาค)
6.ปล่องพญานาค อยู่ในป่ารังทางทิศใต้ของพระแท่น ระยะห่าง200 เมตร มีบ่อลึก 1 บ่อ ที่ปากบ่อมีอิฐโบราณก่อเป็นต้นกั้นดินไว้ เล่ากันว่าเป็นปล่องที่พญานาคขึ้นมาจากเมืองบาตาลเพื่อมานมัสการเชิงตะกอนที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าบนเขาถวายพระเพลิง
7.ลำน้ำหมอสอ เป็นลำน้ำเล็กๆที่ไหลผ่านไหล่เขาถวายพระลำน้ำนี้เป็นลำธารยาวไปถึงอำเภอกำแพงแสน นครปฐม เล่าว่าเมื่อพระพุทธเจ้าประชวรหนัก มีหมอมารอกันอยู่ที่ลำน้ำนี้แต่ข้ามน้ำไม่ได้ ลำน้ำนี้จึงเรียกกันว่า "ลำน้ำหมอรอ" ต่อมาเพี้ยนเป็น "ลำน้ำหมอสอ"
8.ลำพระยาพายเรือ เป็นตอนหนึ่งของลำน้ำหมอสอ เล่ากันว่า พระยาคนหนึ่งนั่งเรือมีบ่าวไพร่มากมายผ่านมา เมื่อทราบว่าพระพุทธเจ้าประชวรหนัก พระยาผู้นั้นจึงได้รีบช่วยบ่าวไพร่พายเรือเพื่อจะได้ไปทันเฝ้าพระพุทธเจ้าลำน้ำตอนนั้นจึงเรียกว่า "ลำพระยาพายเรือ"
นิทานปราสาทเมืองสิงห์ มีเรื่องเล่าว่ามีฤาษีอยู่ที่เขาสูงงิ้วดำทางทิศเหนือของจังหวัดนครศรีธรรมราช ฤาษีมีลูกศิษย์ 2 คน คือ ท้าวอู่ทองและท้าวเวสสุวรรณโณ บริเวณที่อยู่ของฤาษีมีบ่อ 3 บ่อ บ่อเงิน บ่อทองและบ่อกรด ฤาษีห้ามลูกศิษย์ไม่ให้ลงบ่อทั้งสาม วันหนึ่งฤาษีไม่อยู่ ท้าวอู่ทองลงบ่อเงินบ่อทอง ท้าวเวสสุวรรณโณก็เป็นผู้ฉุดขึ้นมา พอท้าวเวสสุวรรณโณลงบ่อบ้างเป็นบ่อกรด ท้าวเวสสุวรรณโณถูกน้ำกรดละลาย ท้าวอู่ทองตกใจเลยรีบหนีไป เมื่อฤาษีกลับมาก็ซุบชีวิต ท้าวเวสสุวรรณโณโกรธท้าวอู่ทองจึงตามจะไปฆ่าท้าวอู่ทอง ท้าวอู่ทองหนี 1 ก้าวเท่ากับนกเขาเหิน 1 ครั้งท้าวเวสสุวรรณโณฝ่ายล่าเดินก้าวหนึ่งเท่ากับนกเขาเดินหนึ่งก้าว ท้าวอู่ทองจึงมีเวลาหนีได้ไกล และมีเวลาสร้างเมือง แต่ท้าวเวสสุวรรณโณก็ตามทันท้าวอู่ทองก็หนีต่อ เมืองที่สร้างจึงไม่เสร็จเช่น สระสี่มุม (สระโกสินารายณ์อำเภอบ้านโป่ง) เมืองกลอนโด (อำเภอเมืองกาญจนบุรี) เมืองครุฑ ต่อมาท้าวอู่ทองมาสร้างเมืองสิงห์และทำกำแพงกั้น ท้าวเวสสุวรรณโณแปลงเป็นลูกวัวยืนร้องอยู่หน้าประตูเมือง ท้าวอู่ทองนำลูกวัวมาเลี้ยง ท้าวเวสสุวรรณโณกินทหารเกือบหมด ท้าวอู่ทองเกิดความสงสัยว่าลูกวัวที่นำมาเลี้ยงนี้คงจะเป็นใครไม่ได้นอกจากท้าวเวชสุวรรณโณ จึงคิดหนีออกจากเมืองทางด้านกำแพงขาด ไปพร้อมทั้งหีบและโซ่ เมื่อไปถึงวังหีบท้าวอู่ทองก็ลงไปในหีบที่นำมา เอาโซ่มัดหย่อนลงน้ำ แต่ท้าวเวชสุวรรณโณก็ตามมาทัน เท้าไปสะดุดโซ่ที่มัดหีบไว้ จึงสาวโซ่ขึ้นมา เมื่อเปิดหีบดูเห็นท้าวอู่ทองอยู่ในหีบนั้น จึงจับกินจนหายแค้น
อ้างอิงจาก: มติชนทีวีม,เปรมเสรี