จุฬาฯร่วมกรมป่าไม้ นำแก้วรักษ์โลกใช้แล้วไปใช้ซ้ำแทนถุงเพาะชำต้นไม้ ลงดินได้-ย่อยสลายภายใน 4-6 เดือน!
จุฬาฯร่วมกรมป่าไม้ นำแก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพที่ใช้สำหรับใส่เครื่องดื่มแล้ว นำไปใช้ซ้ำแทนถุงเพาะชำต้นไม้ ลงดินได้-ย่อยสลายภายใน 4-6 เดือน!
•
หนึ่งในประกาศมาตรการลดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในจุฬาฯคือการให้นักศึกษาร่วมกันพกภาชนะส่วนตัว และขอให้ร้านค้าเปลี่ยนมาใช้แก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ ที่ย่อยสลายได้ 100% ภายใน 4-6 เดือน ซึ่งสามารถทำเป็นปุ่ยหมักร่วมกันเศษอาหารและใบไม้ได้ ที่ทางมหาลัยพัฒนาขึ้นมา
•
ล่าสุดจุฬาลงกรณ์ได้ร่วมกับกรมป่าไม้ นำแก้ว Zero waste cup ที่ผ่านการใช้แล้ว มาใช้แทนถุงเพาะชำอย่างเป็นทางการ
•
โดยในวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "โครงการทดสอบแก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ (zero waste cup) สำหรับการเพาะชำกล้าไม้" ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ จุฬาฯ (PETROMAT) และโครงการ Chula zero waste ร่วมกับกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำแก้ว Zero waste cup ที่ใช้แล้วมาเพาะกล้าไม้ก่อนนำลงดิน ทำให้เกิดประโยชน์กับแก้วพลาสติกชีวภาพได้อย่างคุ้มค่าที่สุด ก่อนที่จะย่อยสลายไปอย่างครบวงจร
•
แก้วนี้สามารถนำไปใช้ซ้ำแทนถุงเพาะชำต้นไม้ได้ ประเภทต้นไม้ที่เหมาะจะใช้คือการเพาะต้นอ่อนที่ใช้ระยะเวลา 7-14 วัน ก่อนจะย้ายเอาต้นกล้าไปปลูกลงดินเพราะแก้ว zero-waste ย่อยไวมากถ้าโดนน้ำมากหรือวางไว้กับดิน เช่นต้นอ่อนทานตะวันหรือต้นอ่อนถั่วลันเตา(โต๋วเหมี่ยว) แน่นอนว่าสามารถลงได้ทั้งแก้วแถมเมื่อถึงเวลาย่อยสลายแล้วก็ยังเป็นสารปรับปรุงดินในตัวด้วย
•
ซึ่งแก้ว Zero Waste Cup นี้เป็นแก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ 100% ในสภาวะปุ๋ยหมัก ใช้เวลาเพียง 4-6 เดือน และมีความพิเศษ ข้อดังนี้
1. ตัวแก้วผลิตจากกระดาษชนิดพิเศษที่สามารถย่อยสลายได้เร็วกว่าแก้วกระดาษทั่วไป
2. พลาสติกชีวภาพที่เคลือบด้านในเป็นประเภท PBS ได้มาตรฐานปุ๋ยหมักระดับครัวเรือน(ในอุณหภูมิประมาณ 30 องศาเซลเซียส) ซึ่งผลิตจากพืชระยะสั้น เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด
3.ใช้หมึกพิมพ์น้ำมันถั่วเหลือง (Soy Ink) ไม่เหลือสารเคมีตกค้าง
•
ถือเป็นโครงการที่ดีในการจัดการแก้ปัญหาขยะแก้วที่รวมทั้งการลดใช้ นำกลับมาใช้ซ้ำ ย่อยสลายได้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
https://www.facebook.com/environman.th