คนไทยไอเดียกรีน แปลงเปลือกทุเรียน เป็นพลาสติกชีวภาพ ย่อยสลาย กินได้ ละลายน้ำ!
31 ตุลาคม 2562 เพจ Environman ได้โพสท์ไอเดียน่าสนใจเกี่ยวกับการแปลงเปลือกทุเรียนเป็นพลาสติกชีวภาพ สามารถย่อยสลายได้ โดยได้โพสท์ไว้ว่า
คนไทยไอเดียกรีน แปลงเปลือกทุเรียน เป็นฟิล์มถุงพลาสติกชีวภาพ ย่อยสลาย กินได้ ละลายน้ำ! ลดขยะเกษตรกรรม ลดขยะพลาสติก เพิ่มรายได้ ใช้ประโยชน์จากของเหลือ ผลิตบรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
พลาสติกใช้เวลาหลายร้อยปีในการย่อยสลาย เปลือกทุเรียน และผลไม้ต่างๆ เป็นขยะภาคการเกษตรมหาศาล ปัจจุบันจึงมีการนำเปลือกผัก ผลไม้ต่างๆมาทำประโยชน์ต่างๆ อย่าง
โดยในไทยมีการนำเปลือกทุเรียนนำมาสกัด และขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ จะได้ฟิล์มทำเป็นถุงพลาสติกเล็กเหมาะใช้สำหรับบรรจุเครื่องปรุงอาหารได้ ที่กินได้ ละลายน้ำ ย่อยสลายได้ด้วย
สามารถประยุกต์ใช้บรรจุอาหารที่มีความชื้นน้อยได้ ไม่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ อย่างน้ำตาลทราย น้ำมัน พริกป่น กาแฟ ชา และอื่นๆ ได้นาน 2 ปี กลิ่น สี รสชาติวัตถุดิบไม่เปลี่ยน เนื้อฟิล์มคงเดิม
โดยมันสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ในดินที่มีอุณหภูมิ ความชื้นที่เหมาะสม ภายในระยะเวลาอันสั้น รวมถึงกินได้ ละลายน้ำในเวลาไม่นานอีกด้วย
ตรงกันข้ามพลาสติกปัจจุบันใช้เวลาย่อยสลายกว่าหลายร้อยปี มีอัตราการรีไซเคิลที่ต่ำ ก่อภูเขาขยะทั่วโลก ตกค้างสิ่งแวดล้อม เป็นอันตรายต่อสัตว์
หากใครสนใจนวัตกรรมนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการแปรรูปผลิตผลเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0-2940-5982, 084-0762021
ถือเป็นอีกหนึ่งไอเดียที่ตั้งใจทำผลิตภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทดแทนพลาสติกที่ส่งปัญหาอยู่ในปัจจุบัน ที่สามารถลดขยะเกษตรกรรมได้อีกด้วย
ติดตามเรื่องที่น่าสนใจอื่นๆที่ได้ที่ เพจ Environman
https://www.facebook.com/environman.th