โลกค้นพบ “หนอนที่กินและสามารถย่อยพลาสติก” ได้
ทางออกแก้ไขปัญหาขยะล้นโลก!? ค้นพบ “หนอนที่กินและสามารถย่อยพลาสติก” ได้
•
งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Science and Technology ว่า "หนอนนกสามารถกิน สไตโรโฟม (Styrofoam) หรือพลาสติกอื่น ๆ อีกหลายชนิดได้
•
นอกจากนี้ยังมีนักวิจัยจากสถานบัน Biomedicine and Biotechnology of Cantabria (CSIC) ในสเปนที่บังเอิญพบว่า หนอนผีเสื้อสามารถย่อยสลายถุงพลาสติกได้จากการเอามันใส่ไว้ในถุงพลาสติก
•
โดยเวลาผ่านไปพบว่าหนอนออกมาจากถุงได้ เกิดรูบนถุงหลายรู หนอนผีเสื้อเป็นตัวอ่อนผีเสื้อที่ปกติแล้วจะกินขี้ผึ้งในรัง ระบบการย่อยโครงสร้างทางเคมีของพลาสติกของมันคล้ายคลึงกับการกินขี้ผึ้งนั่นเอง...
•
ซึ่งนอกจากพลาสติกจะไม่เป็นอันตรายต่อการย่อยของหนอนพวกนี้แล้ว เจ้าหนอนทั้งหลายยังใช้ระบบย่อยแบบพิเศษนี้ในการเปลี่ยนพลาสติกให้กลายเป็นสารอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดินอีกด้วย
•
สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้น คือ เจ้าหนอนผีเสื้อกลางคืนในสายพันธุ์ที่กินพลาสติกนี้ สามารถพบได้ที่ "ลำปาง" ด้วยชื่อที่เรียกท้องถิ่นคือ “หนอนนกยักษ์” เป็นหนอนของแมลงปีกแข็ง Zophobasmorio ที่พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ ซึ่งเป็นงานวิจัยของน้องนุชวรา มูลแก้ว และ น้องจิตรานุช ไชยราช นักเรียนโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จ. ลำปาง
•
การค้นพบและคิดค้นสิ่งที่ช่วยเร่งย่อยสลายพลาสติกถือเป็นเรื่องดี เพราะพลาสติกอาจใช้วลาในการย่อยสลายตามธรรมชาติกว่า 100-1,000 ปี ซึ่งหนอนย่อยพลาสติกได้รับความสนใจจากคนทั้งโลก โดยมองว่าเป็นทางออกแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกท่วมโลกได้
•
แต่มันเป็นเพียงการแก้ปัญหาขยะที่ปลายเหตุ อย่าลืมว่าที่สำคัญเราต้อง ลด ละ เลิกสร้างขยะพลาสติก ตั้งแต่ต้นทางด้วย...
แหล่งที่มา: https://www.facebook.com/environman.th