หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ผู้ก่อตั้ง มหาลัยศิลปากร ตอน๓

เนื้อหาโดย มอญหงอย

(สุสานที่เมืองฟลอเรนซ์ บรรจุอัฐิของศาตรจารย์ศิลป์ บิดามารดา ภรรยาและลูกชาย)

การได้รับสัญชาติไทยและชีวิตในบั้นปลาย

     ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2485 ประเทศอิตาลียอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวอิตาลี ในประเทศไทยจึงตกอยู่ภายใต้การควบคุมตัวของญี่ปุ่น เนื่องจากฝ่ายญี่ปุ่นเองต้องการสืบให้ทราบว่าชาวอิตาลีกลุ่มนี้ภักดีต่อกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซาวอยผู้ซึ่งประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรหรือสนับสนุนฝ่ายสาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลีที่ประกาศขอสู้ต่อกันแน่ ทำให้ศาสราจารย์คอร์ราโดเองก็ถูกควบคุมตัวไว้เช่นกัน แต่รัฐบาลไทยได้เล็งเห็นถึงความสามารถท่านและได้ขอควบคุมตัวศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรจีเอาไว้เองเพื่อคุ้มครองท่านไว้ ไม่ต้องไปถูกเกณฑ์เป็นเชลยศึกให้สร้าง ทางรถไฟสายมรณะ และสะพานข้ามแม่น้ำแคว เมืองกาญจนบุรี โดยหลวงวิจิตรวาทการ ได้ดำเนินการทำเรื่องราวขอโอนสัญชาติจากอิตาเลียนมาเป็นสัญชาติไทย โดยเปลี่ยนชื่อของท่านจากนายคอร์ราโด เฟโรจีให้มาเป็น "นายศิลป์ พีระศรี" นับแต่นั้นเป็นต้นมา

     แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงอย่างมากภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ค่าครองชีพในประเทศไทยสูงขึ้น ทำให้สถานะทางการเงินของท่านได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก โดยศาสตราจารย์ศิลป์จำต้องขายทั้งรถยนต์และบ้าน รวมถึงที่ดิน เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตทางการเงิน แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ในท้ายที่สุด ศาสตราจารย์ศิลป์จึงจำเป็นต้องเดินทางกลับไปยังอิตาลี ประเทศบ้านเกิดพร้อมกับครอบครัวหรือก็คือการลาออกจากราชการนั่นเอง แต่เนื่องจากงานในประเทศไทยที่ยังคงติดค้างอยู่มาก รวมไปถึงความรักในประเทศไทยและอุดมการณ์ในการพัฒนาวงการศิลปะไทยของท่าน ทำให้ศาสตราจารย์ศิลป์ตัดสินใจเดินทางกลับมารับราชการและรับตำแหน่งเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรอีกครั้งในพ.ศ. 2492 แต่ในครั้งนี้นางแฟนนี อิซาเบลลาและโรมาโน(ลูกชายที่เกิดในประเทศไทย) นั้นไม่ได้เดินทางกลับมาด้วย ทำให้อาจารย์ศิลป์ต้องจากครอบครัวและหยุดชีวิตสมรสของท่านลงเช่นกัน

     ในช่วงบั้นปลายชีวิตของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ท่านได้อุทิศเวลาที่เหลือให้กับวงการศิลปะไทย ทั้งการสอน การสร้างสรรค์ผลงาน รวมไปถึงการได้ศึกษาศิลปะไทยอย่างลึกซึ้ง เพื่อการสร้างสรรค์งานศิลปะไทยสมัยใหม่ที่ควรจะมีเอกลักษณ์ของไทยไว้ให้สืบต่อไปแม้ความรู้ด้านศิลปะตะวันตกเริ่มแพร่หลายแล้วก็ตาม งานของศาสตรจารย์ศิลป์จึงถือเป็นงานแรกเริ่มของศิลปะไทยสมัยใหม่ที่แม้จะได้รับอิทธิพลตะวันตกแต่ก็ผสมผสานศิลปะแบบไทยประเพณีไว้อย่างกลมกลืน

     ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้แต่งงานใหม่กับนางมาลินี เคนนี่ในปีพ.ศ. 2502 แต่ไม่ได้มีบุตรด้วยกัน ศาสตราจารย์ศิลป์ยังคงทุ่มเทเวลาและอุทิศชีวิตให้กับวงการศิลปะไทยเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2505 ซึ่งท่านได้ล้มป่วยลงจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก่อนที่จะถึงแก่อนิจกรรมในวันที่14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวภายหลังการเข้ารับการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมสิริอายุได้ 69 ปี 7เดือน 29 วัน โดยมีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดเทพศิรินทราวาสเมื่อวันที่17 มกราคม พ.ศ. 2506 ซึ่งอัฐิถูกแยกไปสามส่วนด้วยกันคือที่สุสานชิมิเตโร เดญลี อัลลอรี เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ส่วนที่สองถูกบรรจุในอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ณ ลานศาสตรจารย์ศิลป์ พีระศรี ในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ และส่วนที่สามถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ในกรมศิลปากร

     โดยตลอดชั่วชีวิตการทำงานกว่า 39 ปีในประเทศไทย ท่านได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้ออกแบบปั้นและควบคุมการหล่อพระบรมราชนุสาวรีย์และอนุสาวรีย์สำคัญของประเทศไทยจำนวนมาก และยังรวมไปถึงการออกแบบพระพุทธรูปประธานที่พุทธมณฑล ซึ่งศาสตรจารย์ศิลป์ได้ศึกษาพระพุทธรูปลีลาของศิลปะสุโขทัยอย่างลึกซึ้ง จนสามารถสร้างพระพุทธรูปลีลาที่มีการผสมผสานรูแปบบศิลปะสุโขทัยเข้ากับศิลปะไทยสมัยใหม่และมีความงดงามเป็นอย่างมากที่สุดองค์หนึ่งของไทย ผลงานของท่านยังคงปรากฏให้เห็นต่อสายตาชาวไทย เฉกเช่นเดียวกับคุณงามความดีของท่านที่ยังเป็นที่ระลึกถึงเสมอมา

(ห้องทำงานที่ศาสตราจารย์ศิลป์ใช้ทำงานตลอดช่วงชีวิตในประเทศไทย ปัจจบันได้รับการปรับให้เป็นห้องจัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ในกรมศิลปากร)

    ศาสตราจารย์ศิลป์ถือเป็นบุคคลที่มีใจรักในศิลปะมาตั้งแต่เด็ก เป็นสิ่งทีท่านให้ความสนใจมากกว่าสิ่งอื่นใด ท่านก็สามารถส่งเสียตัวเองจนเรียนจบด้วยเกียรตินิยมอันดับที่ 1 และสามารถสอบเข้าเป็นศาสตราจารย์ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่งงานครั้งแรกกับนางพาโอล่า แองเจลินี แต่ก็ได้ขอแยกทางตามคำสั่งศาลในหนึ่งปีให้หลัง จากนั้นท่านแต่งงานใหม่กับ แฟนนี วิเวียนนี มีบุตรสองคน บุตรสาวชื่อ อิซาเบลลา ส่วนบุตรชายชื่อ โรมาโน (เกิดและเติบโตที่ไทย) เมื่อเข้ารับราชการในประเทศไทยท่านได้รับเงินเดือนที่เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัวของท่าน ศาสตราจารย์ศิลป์มีนิสัยรักธรรมชาติ ชอบความเรียบง่ายและหลงรักในวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก มีความตั้งใจจริงที่จะช่วยพัฒนาวงการศิลปะไทยให้ก้าวหน้า ในมุมมองของลูกศิษย์นั้น ศาสตราจารย์ศิลป์เป็นคนที่มีความรักใคร่ ห่วงใยละปรารถนาดีต่อลูกศิษย์เป็นอย่างมาก ในเวลาสอนศาสตราจารย์ศิลป์จะจริงจังและเป็นคนที่มีความตรงต่อเวลา สอนด้วยความเข้มงวดและมักจะพร่ำสอนให้นักศึกษาทำงานหนักอยู่เป็นประจำ เพราะงานศิลปะที่ดีนั้นย่อมมาจากการฝึกฝนอย่างหนัก โดยท่านยังมีความเป็นกันเองกับนักศึกษา มักจะแทนตัวเองว่า “ฉัน” และแทนนักศึกษาว่า “นาย” เมื่อนักศึกษาคนไหนขาดแคลนทุนทรัพย์ท่านก็มักจะช่วยเหลือเสมอ ท่านยังโปรดปรานการฟังเพลงเป็นอย่างมาก โดยเพลงที่ท่านมักจะฮัมเวลาทำงานอยู่บ่อยๆก็คือเพลงซานตา ลูเชีย เพลงพื้นเมืองภาษาอิตาลีซึ่งภายหลังได้กลายมาเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร

    ศาสตราจารย์ศิลป์ยังเป็นคนที่ตั้งใจในการทำงานอย่างแท้จริง ท่านจะมาทำงานตั้งแต่เช้าตรู่ ใช้เวลาพักผ่อนในช่วงกลางวันแค่สั้นๆเพื่อที่จะไม่เป็นการเสียเวลาต่อการทำงาน และจะกลับบ้านก็ต่อเมื่อค่ำแล้วเท่านั้น โดยจะใช้เวลาไปกับการทำงานในห้องทำงาน สอนนักศึกษาและหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านจะพิมพ์คัดลอกเอกสารสำหรับสอนนักศึกษาไว้เพิ่มเติมอีกหนึ่งชุดเสมอเพื่อป้องกันความเสียหายจากระเบิด หลังจากสงครามสิ้นสุดท่านจำต้องขายทั้งรถ บ้านและที่ดินเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตการเงินครอบครัว แต่ก็ยังปั่นจักรยานจากบ้านทางถนนสุขุมวิทมาสอนอยู่ทุกวัน เมื่อจำเป็นต้องเดินทางกลับอิตาลีเพราะวิกฤตทางการเงินแต่ท่านก็ยังห่วงงานที่ประเทศไทยที่ยังคงคั่งค้าง จึงจำเป็นต้องแยกทางกับครอบครัวเพื่อที่จะมาสานต่ออุดมการณ์ของท่านต่อ ในช่วงบั้นปลายแม้จะป่วยหนักแต่ศาสตราจารย์ศิลป์ก็ยังทำงานของท่านต่อ ท่านยังตรวจข้อสอบของนักศึกษาในขณะที่รักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช ท่านได้บอกกล่าวกับลูกศิษย์ไว้ว่า "นาย ถ้าฉันตาย นายนึกถึงฉัน นายรักฉัน นายไม่ต้องไปทำอะไร นายทำงาน" ซึ่งเป็นคำสอนที่ลูกศิษย์ยึดถือไว้อีกประโยคหนึ่งเพื่อช่วยสืบต่ออุดมการณ์ของศาสตรจารย์ศิลป์ในการพัฒนาวงการศิลปะไทยต่อไปตราบนานเท่านาน

 

เนื้อหาโดย: มอญหงอย
วิกิพีเดีย
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
มอญหงอย's profile


โพสท์โดย: มอญหงอย
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
4 VOTES (4/5 จาก 1 คน)
VOTED: Thorsten
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เผยคำพูดปารีณา พูดกับเสรีพิศุทธ์ ในงานศwพ่อสาวร้องสายไหมต้องรอด คลีนิกทำ "จิ๊มิไหม้" แล้วไม่รับผิดชอบสิ่งที่คนญี่ปุ่นเรียนรู้ เมื่อมาเมืองไทยชายชาวยูเครนประท้วงกฎหมายเกณฑ์ทหาร ในโปแลนด์ชาวกัมพูชาเดือด เมื่อมีบล็อคเกอร์หนุ่มคนกัมพูชา ไปถ่ายรูปล้อเลียนรูปปั้นม้าน้ำมากจนเกินงามเกินไปชาวเน็ตฮือฮา! ขายที่ดินพร้อมบ้าน 200 ล้าน ติดวิวสภาสัปปายะสภาสถานทำรากฟันเทียม แต่หน้ากลายเป็นสัตว์ประหลาดป.ป.ช. เปิดทรัพย์สิน "บิ๊กป้อม" กรณีเป็น ปธ.กกท. ทุก 3 ปี แจ้งถือครองนาฬิกา TWSTEEL 1 เรือนมูลค่า 15,000 บาทสาวสอบติดครู ร้องไห้หนัก เหตุบนลิเกไว้ 4 วัด เข่าทรุดหลังรู้ราคาลิเก
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
วาฬนับร้อยตัวเกยตื้น ที่หาดออสเตรเลียป.ป.ช. เปิดทรัพย์สิน "บิ๊กป้อม" กรณีเป็น ปธ.กกท. ทุก 3 ปี แจ้งถือครองนาฬิกา TWSTEEL 1 เรือนมูลค่า 15,000 บาทหนุ่มถาม? ควรคิดค่าแรงในการขับรถพาแฟนเที่ยว ดีไหม!ร้อนขนาดนี้ต้องติดแอร์ให้ตายาย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม
ฉะเชิงเทราฉะเชิงเทรากาญจนบุรีท่านใดสนใจกระทู้ประวัติศาสตร์ช่วยโหวตหน่อยครับ
ตั้งกระทู้ใหม่