หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ผู้ก่อตั้ง มหาลัยศิลปากร ตอน๒

โพสท์โดย มอญหงอย

(ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีในวัยหนุ่ม)

วัยหนุ่มและชีวิตที่ฟลอเรนซ์

    ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี มีนามเดิมว่าคอร์ราโด เฟโรชี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ในเขตซานโจวันนี (San Giovanni) เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เป็นบุตรของนายอาตูโด เฟโรชีและนางซานตินา เฟโรชี ซึ่งประกอบธุรกิจการค้า และเนื่องจากเกิดและอาศัยอยู่ ณ เมืองฟลอเรนซ์ นครแห่งการกำเนิดศิลปะเรอเนซองส์ชื่อก้องของอิตาลี คอร์ราโดจึงมีความสนใจในวิชาศิลปะมาตั้งแต่วัยเด็ก คอร์ราโดนั้นมีความสนใจและชื่นชอบในผลงานประติมากรรมของมิเกลันเจโลและโลเรนโซ กีแบร์ตีในมหาวิหารฟลอเรนซ์เป็นอย่างมาก จึงได้สมัครเป็นลูกมือช่วยงานศิลปินที่มีชื่อเสียงตามสตูดิโอต่างๆของเมืองฟลอเรนซ์ เขามีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะศึกษาวิชาศิลปะและเป็นศิลปินให้ได้ อย่างไรก็ตามบิดามารดาของคอร์ราโดกลับไม่เห็นด้วยกับความคิดของเขาเพราะต้องการให้มาสืบทอดธุรกิจของครอบครัวต่อไปมากกว่า แต่คอร์ราโดมีความตั้งใจที่จะศึกษาศิลปะอย่างแรงกล้า จึงได้เก็บสะสมเงินและเข้าศึกษาในสถาบันศิลปแห่งนครฟลอเรนซ์ (Accademia di Belle Arti di Firenze) หลักสูตร 7 ปี ในปีพ.ศ. 2451 และจบการศึกษาในปีพ.ศ. 2458 ในขณะที่มีอายุ 23 ปีด้วยเกียรตินิยมอันดับที่หนึ่ง และได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียน ต่อมาได้สอบคัดเลือกและได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ประจำราชวิทยาลัย ศาสตราจารย์คอร์ราโดมีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ วิจารณ์ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรมเป็นอย่างสูง ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะไว้มากมายและได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดออกแบบอนุสาวรีย์จากรัฐบาลหลายครั้ง อาทิเช่น ผลงานอนุสาวรีย์ผู้กล้าในสงครามโลกครั้งที่ 1 บนเกาะเอลบา เป็นต้น

    ศาสตราจารย์คอร์ราโดสมรสกับนางแฟนนี วิเวียนนี มีบุตรสาวชื่อ อิซซาเบลล่า และสืบเนื่องจากปี พ.ศ. 2466 ท่านได้ชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรปและยังมีความต้องการแสวงหาสถานที่ปฏิบัติงานแห่งใหม่ ประกอบกับในช่วงเวลานั้นซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระประสงค์ต้องการบุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านศิลปะตะวันตกเพื่อที่จะเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นในแผ่นดินไทยและทำการฝึกสอนช่างไทยให้มีความสามารถในการสร้างงานประติมากรรมแบบตะวันตกได้ ทางรัฐบาลอิตาลีจึงได้ยื่นข้อเสนอโดยการส่งคุณวุฒิและผลงานของศาสตราจารย์คอร์ราโดให้สยามพิจารณา โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเป็นบุคคลสำคัญในการคัดเลือกศาสตรจารย์คอร์ราโดให้มาปฏิบัติงานในสยาม ด้วยเหตุนี้ศาตราจารย์คอร์ราโดจึงเดินทางสู่แผ่นดินสยามพร้อมกับภรรยาและบุตรสาวโดยทางเรือ เพื่อเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร กระทรวงวัง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 ขณะมีอายุได้ 32 ปี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภา ในปี พ.ศ. 2469

    เมื่อแรกเริ่มการเข้ารับราชการ ศาสตาจารย์คอร์ราโดทำสัญญารับราชการในสยามเป็นระยะเวลา 3 ปี ด้วยอัตราเงินเดือน 800 บาท แต่ในตอนแรกก็ยังไม่ได้รับการยอมรับมากเท่าใดเนื่องจากยังไม่มีใครได้เห็นฝีมือของท่าน จนกระทั่งท่านได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ซึ่งได้ประทับทดลองเป็นแบบปั้นให้อาจารย์คอร์ราโด และปรากฏว่าศาสตรจารย์คอร์ราโดสามารถปั้นได้อย่างสมจริงเป็นอย่างมาก กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์จึงกราบบังคมทูลฯ เชิญให้รัชกาลที่ 6 มาเป็นแบบจริงให้แก่ศาสตรจารย์คอร์ราโด โดยปั้นเฉพาะพระพักตร์ เป็นที่พอพระราชหฤทัย และเป็นที่ยอมรับของคนในกระทรวง แรกเริ่มศาสราจารย์คอร์ราโดได้วางหลักสูตรอบรมให้แก่ผู้ที่สนใจในวิชาประติมากรรมซึ่งส่วนมาจบการศึกษามาจากโรงเรียนเพาะช่างโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมใดๆ ซึ่งต่อมาบุคคลที่ผ่านการอบรมก็ได้เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของกิจการงานปั้นหล่อของกรมศิลปากร ทำให้ทางราชการได้ขอให้ศาสตราจารย์คอร์ราโดวางหลักสูตรการศึกษารูปแบบเดียวกันกับสถาบันศิลปยุโรป

(ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีขณะบรรยายเนื้อหาให้นักศึกษาคณะจิตรกรรมและประติมากรรม)

    ศาสตรจารย์คอร์ราโดได้วางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรขึ้นพร้อมกับก่อตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรมขึ้น สังกัดกรมศิลปากร ภายหลังได้รวมโรงเรียนเข้ากับโรงเรียนนาฏยดุริยางคศาสตร์และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง” และพัฒนาการเรียนการสอนเรื่อยมา จนในปี พ.ศ. 2485 กรมศิลปากรได้แยกจากกระทรวงศึกษาธิการไปขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในขณะนั้นโดย ฯพณฯจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งสาขาหนึ่งของชาติ จึงได้มีคำสั่งให้ อธิบดีกรมศิลปากร ในขณะนั้นคือ พระยาอนุมานราชธน ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร และตราพระราชบัญญัติ ยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 โดยจัดตั้งคณะจิตรกรรมและประติมากรรม ขึ้นเป็นคณะวิชาแรก ซึ่งศาสตราจารย์คอร์ราโดก็ได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยควบคู่ไปกับตำแหน่งอาจารย์ผู้สอนอีกด้วย

เนื้อหาโดย: มอญหงอย
วิกิพีเดีย
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
มอญหงอย's profile


โพสท์โดย: มอญหงอย
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
12 VOTES (4/5 จาก 3 คน)
VOTED: Thorsten, ยรรยง, ก็ไม่เล็กนะ
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
3 ราศีที่เป็นเสือซุ่ม ฉลาดแต่ไม่ชอบอวดนี่คือวงเวียนในเขมร ที่ใช้งบประมาณไปกว่า 70 ล้านบาทในการก่อสร้าง!ครูไพบูลย์ เจ้าของฉายากงยูเมืองไทย อวดหล่อโชว์ซิกแพก กล้ามแน่น ทำเอาสาวแห่กรี๊ด!!ศาลมะกันสั่งห้ามคนเร่ร่อน นอนข้างถนนซื้อที่นอนแกะออกแล้วมันไม่ฟู..ไม่รู้ว่าผิดพลาดตรงไหน!😆 ชวนเข้ามาดูภาพถ่ายอันน่าทึ่ง พิสูจน์ว่าไม่มีใครสามารถรู้ทุกอย่าง เกี่ยวกับโลกได้ 😉เครียดมากเลยช่วงนี้ทำอย่างไรดีเมื่อเขมรอ้าง "เมอร์ไลออน" ของสิงคโปร์ก๊อปมาจากสถาปัตยกรรมเขมรโบราณ?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เท้าอยู่ไม่สุข เลยเจอ " ห้ามแข่งตลอดชีวิต "ชาวมาเลย์ไม่พอใจ! หลังฝรั่งชมคนไทยยิ้มเก่งกว่า?มาวางแผนการเงินกันเถอะชาวลพบุรีสุดทน!!! ขึ้นป้ายประท้วงกรมอุทยานฯ แก้ปัญหาลิงล่าช้านักมวย MMA อิหร่านเตะก้นสาวริงเกิร์ลบนเวที..โดยอ้างว่าเธอแต่งตัวไม่สุภาพ
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม
ฉะเชิงเทราฉะเชิงเทรากาญจนบุรีท่านใดสนใจกระทู้ประวัติศาสตร์ช่วยโหวตหน่อยครับ
ตั้งกระทู้ใหม่