ลักษณะทางกายภาพของนกหัสดีลิงค์(Hastilinga)
โดยทั่วไปคนมักเข้าใจกันว่า นกหัสดีลิงค์ คือ สิ่งมีชีวิตที่มีใบหน้า หรือ ศีรษะ เป็นช้างและมีลำตัวเป็นนกกินเนื้อขนาดยักษ์ ทว่า จากการรวบรวมวิเคราะห์ตีความข้อมูลต่างๆแล้ว พบว่าความเข้าใจนั้นคลาดเคลื่อนไปจากเดิม ทั้งยังมีบุคคลบางกลุ่มพยายามแยกส่วนนกหัสดีลิงค์ออกจากนกหัสดิน(หัสดี)เพียงเพราะว่า นกทั้ง ๒ ชนิดนี้มีใบหน้าที่ดูแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง คือ นกหัสดีลิงค์ มีใบหน้า รึศีรษะเป็นช้าง ในขณะที่นกหัสดินมีใบหน้าเหมือนกับนกธรรมดาทั่วไป(ในลายจิตรกรรม)
ดังนั้นจึงจำต้องทำความเข้าใจเสียใหม่ก่อนว่า นกหัสดีลิงค์ และ นกหัสดิน(หัสดี)นั้นเป็นนกชนิดเดียวกัน แต่โบราณได้กำหนดลักษณะใบหน้าไว้ ๒ แบบ คือ ทั้งแบบหน้า(คล้าย)ช้างและหน้า(คล้าย)นกอินทรี
หากว่ากันตามจริงนั้น ไม่ต้องมาเถียงกันเลยว่า หน้าไหนแน่คือหน้าของนกหัสดีลิงค์ที่แท้จริง เพราะมันคือหน้าจริงทั้ง ๒ แบบ โดยแบ่งลักษณะของใบหน้าตามเพศของนก ดังนี้
นกที่หน้าคล้ายช้าง คือ นกหัสดีลิงค์เพศผู้[ปุริสหัสดีลิงค์] นกที่หน้าคล้ายอินทรี คือ นกหัสดีลิงค์เพศเมีย[อิตถีหัสดีลิงค์]
ลักษณะของนกหัสดีลิงค์เพศเมียนั้น ดูจะไม่มีปัญหามากนัก เนื่องจากถูกวาดออกมาในรูปของนกกินเนื้อขนาดยักษ์ที่มีช่วงคอและหางยาว ใบหน้าลักษณะคล้ายนกอินทรีย์ผสมกับนกแร้ง ในงานจิตรกรรมไทยมักวาดให้นกหัสดีลิงค์เพศเมียใช้กรงเล็บเท้าหิ้วช้างไว้ด้วย ซึ่งเป็นจุดเด่นเอกลักษณ์ของนกหัสดีลิงค์อยู่แล้วด้วย ในขณะที่ลักษณะของนกหัสดีลิงค์เพศผู้ ดูจะมีปัญหามากกวา่ คือ ในงานจิตรกรรมจะวาดออกมาในรูปของนกที่มีจงอยปากเป็นงวงช้างหรือมีศีรษะทั้งศีรษะเป็นช้าง
ในเรื่องของงวงนกหัสดีลิงค์(เพศผู้)นั้น แท้จริงแล้วคือ ส่วนของหงอน คล้ายกับไก่งวงเฉพาะตัวผู้ที่มีหงอนย้อยลงมาคล้ายงวงช้างส่วนตัวเมียไม่มีหงอนย้อยตรงนี้ จึงทำให้ภาพนกหัสดีลิงค์ในการออกแบบยุคหลังๆมานี้ได้ดเพี้ยนเป็นนกหัวช้างไป(ภาพคู่ของนกหัสดีลิงค์ทางภาคเหนือวาดหน้านกเพศเมียไม่มีหงอน[งวง])
ส่วนหงอนนกหัสดีลิงค์เพศผู้นี้น่าจะสามารถยืดได้หดได้แบบหงอนของไก่งวง จึงทำให้คนโบราณเข้าใจว่าส่วนหงอนที่สามารถขยับขึ้นลงและแกว่งไปมาได้นี้เป็นเหมือนกับงวงของช้างที่ขยับได้นั่นเอง
และเนื่องด้วยว่า นกหัสดีลิงค์ จัดเป็นนกยักษ์ชนิดหนึ่ง จึงเป็นไปไม่ได้ที่มีงาเช่นเดียวกับช้าง จากหลักฐานซึ่งมีหลักฐานปรากฏอยู่ในงานสำริด ศิลปะยุคล้านนา จะเห็นว่าบริเวณปากนกหัสดีลิงค์เพศผู้นี้ไม่มีงาเช่นช้าง จึงคาดว่า งาช้างจะถูกแต่งเติมขึ้นมาในยุคหลังจนมีผลตอการบิดเบือนข้อมูลในยุคหลังๆจนกลายเป็นว่า นกหัสดีลิงค์มีงาเหมือนช้างในที่สุด(ซึ่งเราได้ขอออกแบบแก้ไขคืนตามความเหมาะสมแล้ว)
แต่ด้วยความคลาดเคลื่อนบางประการในการสื่อสาร อาจด้วยว่าผู้บันทึกและวาดภาพของนกหัสดีลิงค์โดยเฉพาะเพศผู้มองเห็นนกชนิดนี้ในระยะไกล(ไม่กล้าเข้าใกล้เพราะอาจกลัวโดนเหยียบตายรึโดนจับกิน) รึอาจด้วยเห็นภาพจารึกของนกหัสดีลิงค์เพศผู้แบบผ่านๆ จึงทำให้ของลักษณะของนกหัสดีลิงค์เพศผู้ที่สืบทอดกันมาในงานจิตรกรรมโบราณของหลายชนชาติชั้นในหลังนั้นมีความคลาดเคลื่อนไป จนทำให้ออกแบบนกหัสดีลิงค์กลายเป็นนกหัวช้างไปในที่สุด
นกหัสดีลิงค์นั้นปรากฏตัวตนเป็นหลักฐานทางบันทึกครั้งสุดท้ายในสมัยพุทธกาล โดยอยู่ในช่วงต้นของประวัติพระเจ้าอุเทนแห่งกรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ คือ พระนางสามาวดีมารดาของพระเจ้าอุเทน ได้ถูกนกหัสดีลิงค์โฉบตัวไปขณะทรงครรภ์อยู่
และตามเหตุการณ์ที่นกหัสดีลิงค์โฉบตัวพระนางสามาวดีไปนี้ ก็อาจตั้งสมมุติฐานได้ว่า แคว้นวังสะอันมีเมืองหลวงคือกรุงโกสัมพีนั้น อุดมไปด้วยช้าง ทั้งช้างบ้านและช้างป่า ซึ่งเป็นอาหารหลักของนกหัสดีลิงค์ แคว้นวังสะจึงดึงดูดนกหัสดีลิงค์เข้ามาหากินเป็นครั้งคราว นกหัสดีลิงค์จึงนับเป็นสัตว์อีกชนิดที่ใช้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าได้จากปริมาณช้างที่อยู่อาศัย
ข้อมูลโดยรวมระบุว่า นกหัสดีลิงค์นี้เป็นนกยักษ์ที่กินทั้งเนื้อและซากศพเป็นอาหาร(เป็นทั้งนักล่าและนักกินซาก) จึงชอบสีแดงเป็นพิเศษเพราะสีแดงนั้นดูเหมือนเนื้อสด ฉะนั้นเมื่อมนุษย์คลุมกายรึแต่งกายด้วยผ้าสีแดงจึงทำให้นกหัสดีลิงค์เข้าใจผิดว่าเป็นก้อนเนื้อจึงถูกโฉบตัวไปได้โดยง่าย มีกำลังเท่าช้าง ๕ เชือก และกินช้างเป็นอาหารด้วย ดังนั้น นกหัสดีลิงค์จึงไม่ควรมีใบหน้ารึศีรษะเป็นช้างอย่างแน่นอน เพราะนกหัสดีลิงค์กินเนื้อเป็นอาหาร
นอกจากมีใบหน้าละม้ายช้างแล้ว นกยักษ์ชนิดนี้ยังมีเสียงร้องคล้ายช้างด้วย(โกญจนาท)คาดว่าใช้เสียงเพื่อลวงช้างให้สับสนจะได้จับกินโดยง่ายนั่นเอง นกหัสดีลิงค์นั้นมีขนตามลำตัวสีขาว แต่ขนบริเวณปีกจะมีสีน้ำตาล เพื่อประโยชน์ด้านการพรางตัว กล่าวคือ นกหัสดีลิงค์เป็นนกกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่มาก การเข้าใกล้เหยื่อจึงเป็นเรื่องที่ยาก ขนสีขาวนี้จึงช่วยให้นกหัสดีลิงค์นั้นดูกลืนไปกับก้อนเมฆในยามที่บินมองหาเหยื่อจากที่สูง
ที่สำคัญ นกหัสดีลิงค์ยังมีความจำเรื่องเส้นทางเป็นเลิศ อ้างอิงจากเหตุการณ์ตอนที่โฉบตัวพระเทวีผู้เป็นมารดาของพระเจ้าอุเทนขณะทรงครรภ์ด้วยกรงเล็บนั้น นกหัสดีลิงค์ตัวนั้นบินนำตัวพระนางไปถึงแดนหิมพานต์แล้วจึงร่อนลงเกาะบนต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งซึ่งมีลักษณะแผ่ขยายคล้ายมณฑปซึ่งเป็นสถานที่นกหัสดีลิงค์ตัวนั้นใช้กินเหยื่ออยู่เป็นประจำ และเมื่อวางพระเทวีไว้ในระหว่างค่าคบไม้แล้ว นกหัสดีลิงค์ตัวนั้นจึงแลดูเส้นทางที่ตนบินมาแล้ว ซึ่งเป็นนัยว่า การแลดูเส้นทางที่บินมาแล้ว คือเรื่องปกติธรรมดาของเหล่านกหัสดีลิงค์(ประมาณว่า ดูเส้นทางตามสัญชาตญาณเพื่อจดจำตำแหน่งทิศทางที่มีสามารถเดินทางไปหาอาหารกินได้)
นอกจากนี้ หลังพุทธกาลเองก็ยังมีบันทึกว่า นกหัสดีลิงค์เคยปรากฏตัวขึ้นอีกครั้งในฐานะผู้ช่วยพระอนุสิสสฤๅษีสร้างนคร”หริภุญไชย”
เนื่องด้วยมีความผูกพันกับศาสนาพุทธมาช้านาน นกชนิดนี้จึงมักปรากฏตัวอยู่บ่อยครั้งตามวรรณคดีและนิทานพื้นบ้านด้วย
อนึ่ง สาเหตุส่วนใหญ่ที่นกหัสดีลิงค์เข้าโฉบคนที่แต่งกายด้วยชุดสีแดงนั้น เป็นสาเหตุเดียวกันกับการที่ฉลามเข้าโจมตีนักโต้คลื่น คือ นกหัสดีลิงค์เห็นคนแต่งชุดสีแดงเป็นก้อนเนื้อ แบบเดียวกับที่ฉลามเห็นคนซ้อนกับกระดานโต้คลื่นเป็นแมวน้ำ สัตว์พวกนี้แท้จริงไม่มีเจตนาใดๆที่จะเข้าทำร้ายมนุษย์(ถ้าไม่มีเรื่องฝังใจกับมนุษย์จริงๆ) แต่เป็นเพราะสัตว์พวกนี้เข้าใจผิดไปเอง และ ไม่ใช่แค่สีแดงเท่านั้นที่มีผลต่อนกหัสดีลิงค์ วัตถุที่มีลักษณะแวววาวนั้นก็สามารถดึงดูดนกหัสดีลิงค์ได้เช่นเดียวกับนกทั่วไป ดังนั้น การสวมเครื่องประดับที่มากเกินพอดีก็เป็นอีกสาเหตุให้ถูกนกหัสดีลิงค์โฉบตัวไปด้วยเช่นกัน
แม้แต่ในฉบับภาษาอังกฤษเอง ก็ยังเรียกนกหัสดีลิงค์ว่า
monster bird with a bill as big as an elephant’s trunk คร่าวๆ : นกประหลาดที่มีปากนกขนาดใหญ่คล้ายงวงของช้าง
จึงนับได้ว่า ความเข้าใจอันคลาดเคลื่อนเรื่องใบหน้าของนกหัสดีลิงค์นี้ มีมานานมากเต็มที