มารู้จักเทศกาล Pride กันเถอะ #LGBT จากจุดเริ่มต้น!
มารู้จัก เทศกาลสีรุ้งกันเถอะ!
- เหตุการณ์จลาจลสโตนวอลล์ (Stonewall Riots) ที่มีการปะทะระหว่างตำรวจกับกลุ่ม LGBT ที่ถูกกลั่นแกล้งในบาร์ชื่อ Stonewall Inn เป็นชนวนให้ชาว LGBT ยืนหยัดต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพครั้งแรกในประวัติศาสตร์ กล้าประกาศตัวว่าตัวเองแตกต่างบนท้องถนน แสดงให้เห็น Gay Power! ผ่านหน้าจอโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ทั่วโลก
- ธงสีรุ้ง หนึ่งในสัญลักษณ์ของ LGBT Pride ออกแบบโดยกิลเบิร์ต เบเกอร์ (Gilbert Baker) ศิลปินและนักเคลื่อนไหวที่เป็นชาว LGBT ช่วงแรกมีทั้งหมด 8 สี ก่อนจะลดเหลือ 6 สี เนื่องจากผ้าสีชมพูฮอตพิงก์หายากและราคาแพง ส่วนสีน้ำเงินครามก็ถูกตัดออกเพื่อให้สามารถแบ่งสีเดินขบวนได้อย่างสมดุล
- LGBT Pride เป็นเสมือนพื้นที่ปลอดภัย (safe space) ที่ให้ชาว LGBT เปิดเผยตัวตน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิต และแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของชาว LGBT ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เพื่อสร้างการยอมรับในสังคม
- LGBT Pride จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ครั้งสุดท้ายใน ค.ศ. 2006 ก่อนที่จะจัดขึ้นอีกครั้งในปีนี้ในชื่อ Bangkok Pride 2017 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 พ.ย.-3 ธ.ค. 2017
ธงสีรุ้งนับร้อยพลิ้วไหวตามจังหวะเพลงและเสียงเชียร์อันกึกก้อง ป้ายข้อความมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Love is love, Proud to me! และผู้คนจำนวนมากที่ดูแตกต่าง ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการเดินขบวนกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT Pride หรือที่นิยมเรียกกันว่า Pride Parade) ที่ไม่เพียงจัดขึ้นทุกปีที่เมืองต้นกำเนิดงานอย่างมหานครนิวยอร์ก แต่ยังรวมไปถึงเมืองต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นลอนดอน โตเกียว มุมไบ ฮานอย รวมทั้งกรุงเทพมหานครของเราในช่วงปลายปีนี้
เบื้องหลังภาพความสนุกสนานของ LGBT Pride ในปัจจุบันเริ่มต้นจากการถูกเลือกปฏิบัติ ถูกใช้ความรุนแรง และการถูกตีตราว่าคนกลุ่ม LGBT มีความผิดปกติทางจิต จนในยุคก่อนครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ชาว LGBT คิดว่าการเปิดเผยตนเองและการแต่งงานกับคู่รักของตนคงเป็นเพียงแค่ความฝัน จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์จลาจลสโตนวอลล์ (Stonewall Riots) อันเป็นจุดเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่ไม่เพียงส่งผลต่อชุมชนชาว LGBT ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อชาว LGBT ทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน
ช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปีที่มีข่าวเดินขบวน LGBT Pride จากฝั่งอเมริกา และโซนประเทศยุโรปในช่วงฤดูร้อน เชื่อว่าใครหลายคนก็คงตั้งคำถามอยู่ในใจว่า ทำไมพวกเขาต้องใส่เสื้อผ้าแฟนซีมาเฉลิมฉลองกัน ในเมื่อหลายประเทศเหล่านั้นก็มีกฎหมายรับรองการแต่งงานสำหรับคนรักเพศเดียวกันแล้ว
หรือแม้กระทั่งคำถามที่ว่า ทำไมไม่มี Straight Pride (การเดินขบวนสำหรับคนรักต่างเพศ) รวมถึงความคิดที่ว่าทำไมต้องเฉลิมฉลองในความแตกต่างนี้
และ https://thestandard.co/news-world-come-out-lgbt-pride-before-bangkok-pride-2017/