เสนาธิการไม่ใช่ทหารเดินเท้า 3 ในสับสน นอกรู้แจ้ง
ในเมือง เรามีคนอยู่ในเมืองสี่ประเภท คือ
1. ประชาชน
2.ทหารเลว-ทหารเอก
3. กุนซือหรือเสนาธิการ
4. ผู้นำหรือเจ้าเมือง
ในการศึก มีส่วนสำคัญสามส่วน คือ
1.สนามรบ
2.คลัง
3.หน่วยบัญชาการ
เมื่อเกิดสงครามขึ้น ทหารเข้าสู่สนามรบ พวกเขารบด้วยความกล้าหาญ ด้วยฝีมือและพละกำลังที่ตนมี พวกเขารู้แต่เพียงคำสั่งของหน่วยเหนือ รู้จักกฎระเบียบและวินัยทัพ แต่เขาจะรู้สึกสับสนอลหม่านเพราะต้องฆ่าฟันศัตรู ทำลายสิ่งของ พวกเขาจะรู้เพียงสิ่งที่เขาเห็นอยู่ตรงหน้าเท่านั้น เขาไม่รู้ว่ากระบวนทัพ ทิศทาง แผนการ คืออะไรและเป็นอย่างไร
แต่สำหรับกุนซือหรือผู้นำนั้น เขาจะมองสนามรบอยู่ไกลๆ ูสถานที่ ดูเส้นทางและกระบวนทัพ เพื่อตรวจตราข้าศึก ดูข้อดีข้อเสียของคำสั่งที่สั่งลงไปแล้วแก้ไข แล้วจัดกระบวนทัพใหม่
นอกจากกระบวนทัพแล้ว กุนซือยังต้องวางแผนด้านการปกครอง ผังเมือง ภัยธรรมชาติด้วย ตำแหน่งกุนซือมิได้มีคนเดียว แต่มีหลากหลายและต้องรอบรู้จริงๆด้วย
เพราะกุนซือมองเห็นกระบวนทัพนี่เอง การวงแผนการทัพจึงตกเป็นหน้าที่ และกุนซือ ไม่ควรใช้แม่ทัพที่เคยจับศึกมาเป็น แต่เป็นบัณฑิตหรือผู้รู้ ที่รอบรู้อย่างจริงจังและใช้ความรู้นั้นเป็นทุกด้าน
เปรียบเทียบก็เหมือนคนที่คอยตำหนิติติงโครงการ คอยแนะนำคอยตำหนิเยาวชนที่ทำกิจกรรม หรือทหารที่กำลังเดินทัพอยู่
มักจะมีคนค่อนแคะและเถียงว่า "เก่งจริงก็ลงมือทำเองสิ" "ไม่ทำก็เงียบไป" "ดีเเต่พูด/เขียน นั่นแหละ" "รู้มั้ยเขาทำอะไรกันอยู่"
นั่นเพราะเขามีความคิดแบบ ในสับสน
ส่วนคนที่เห็นปัญหาแล้วแนะนำหรือตำหนินั้น ถ้าเป็นคนที่รู้จริง เขาจะเตือนทันที อาจเสียกระบวนไปบ้าง แต่เมื่อมีทางแก้ไข กระบวนทัพจะดำเนินไปด้วยดีจนเอาชนะศึกได้ คนที่มีปัญหา เห็นปัญหาแล้วแสดงแต่ปัญหานี่แหละ ที่เขาเรียกว่า นอกรู้แจ้ง