การศึกษาวิชาฮวงจุ้ยตามหลักจีนโบราณ
วิชาฮวงจุ้ยมี 2สาขา ซึ่งเป็นหลักใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นฮวงจุ้ยสำนักใดก็ต้องแบ่งออกเป็น 2 สาขาดังนี้
1.ฮวงจุ้ยคนเป็น 陽宅風水 หรือฮวงจุ้ยทำเลที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นฮวงจุ้ยที่นิยมใช้กันอยู่มากในสมัยนี้ ซึ่งว่าด้วย อาคาร สถานที่ การเลือกทำเลอยู่ อาศัยค้าขาย ทำกิจการต่างๆ
ซึ่งสมัยก่อนบ้านคฤหบดี หรือเจ้าขุนมูลนายจึงจะมีโอกาสได้ใช้ หรือ การเลือกทำเลสร้างพระราชวัง ศาสนาสถาน ต่างๆก็ล้วนใช้ฮวงจุ้ย เพื่อปรับสมดุลย์พลังหยินหยาง เพื่อความผาสุข
และความเจริญรุ่งเรืองของผู้ที่อยู่อาศัย หรือแม้กระทั่งส่งผลด้านโชคลาภ ความร่ำรวย ฐานะ ตำแหน่ง ชื่อเสียง สุขภาพแข็งแรง อายุยืน ก็เกี่ยวพันกับฮวงจุ้ยที่อยู่อาศัยทั้งสิ้น
2.ฮวงจุ้ยคนตาย 陰宅風水 หรือฮวงซุ้ยคนตาย ซึ่งมีอิทธิพลสูง กว่าฮวงจุ้ยคนเป็น แต่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงเฉพาะบุคคลที่สืบทอดเชื้อสายในวงศ์ตระกูลนั้นๆเท่านั้น
และสามารถให้ผลยาวนานกว่า ฮวงจุ้ยคนเป็น บางฮวงซุ้ยที่มีพลังมากๆสามารถส่งผลดีให้ลูกหลานได้นานถึง 10 ชั่วอายุคน แต่การหาฮวงซุ้ยแบบนี้นับเป็นเรื่องยาก บางทีต้องงเก็บศพไว้นานนับ 10 ปี
เพื่อรอแสวงหา ฮวงซุ้ยที่เป็นมงคล ซึ่งส่วนมากจะอยู่ในป่าเขา แม่น้ำลำธารที่เงียบสงบ มีกระแสชี่มงคลไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา
อีกทั้งคุณภาพ ความอุดมสมบูรณ์ของเนื้อดินก็เป็นส่วนประกอบในการเสริมพลังชี่ของฮวงซุ้ย และสุสาน(ฮวงซุ้ย)สามารถกำหนด ความตกต่ำหรือรุ่งเรืองของบุตร ชายหญิง แต่ละคนได้แบบเฉพาะตัว โดยวิธีการกำหนดองศาของหลุมฝังศพ
จนเกิดมีธรรมเนียมบางอย่าง ที่ลูกหลานบางคนแอบติดสินบนให้ซินแส เพื่อยกระดับความมั่งคั่งของตนให้เหนือกว่าพี่น้องคนอื่น
นอกจากนี้ วิชาฮวงจุ้ยยังมีหลัการและทฤษฎีที่หลากหลาย โดยจะนำมากล่าวเฉพาะแต่จุดที่สำคัญๆ และเป็นจุดร่วมของทุกสำนัก โดยพื้นฐานจะต้องเข้าใจทฤษฎีเบื้องต้น 5 ประการก่อนดังนี้
หลักทฤษฎีพื้นฐานของฮวงจุ้ย 5 ประการ (地理五訣)
ในการดูฮวงจุ้ยจะต้องประกอบหลักทั้ง 5 ประการเหล่านี้ เพื่อสำรวจและวินิจฉัยทำเลดีร้าย สำหรับแต่ละพื้นที่
1. หลง (龍)คือหลักที่ว่าด้วยชีพจรของมังกร คือรูปร่างลักษณะของภูเขา (อาคาร) และภูมิทัศน์รอบด้าน ซึงหมายถึงตำแหน่งทางด้านหลัง และการวินิจฉัยลักษณะความเลี้ยวลดคดเคี้ยวของชีพจรมังกร และหาจุดรวมของชีพจร
2.เสวี๋ย (穴)คือหลักที่ว่าด้วยจุดศูนย์รวมของพลังชี่(ลมปราณ) ซึ่งก่อเกิดพลังมงคล ซึ่งหมายถึงตำแหน่งจุดศุนย์กลาง และผลจากจุดกระทบจากทิศทั้ง 4 โดยมีวิธีพิจารณาหาจุดศูนย์รวมลมปราณ 10 วิธี เรียกว่า 天心十字四應證穴法
3.ซา (砂)คือหลักที่ว่า การจำแนกลักษณะชนิดของดิน แร่ธาตุที่อยู่ในพื้นดิน ว่าส่งเสริมพลังในด้านไหน ซึ่งหมายถึงตำแหน่รูปลักษณะของทิศซ้าย-ขวาว่ามีพลังส่งเสริมและปกป้องกระชี่(ลมปราณ) อย่างไร
4.สุ่ย (水)คือหลักที่ว่าด้วยสายน้ำ แหล่งน้ำ ทะเล รวมถึงพลังของกระแสชี่ที่ไหลเวียนไปตามถนนหนทาง และพิจารณาถึงจุดติดขัดและการลื่นไหลของกระแสชี่
5.เซี่ยน (向)คือหลักที่ว่า แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ เงามืด และพลังสนามแม่เหล็ก หมายถึงตำแหน่งหมิงถัง(เหม่งตึ๊ง) ว่าสามารถเก็บกักพลังลมปราณได้อย่างไร โดยใช้หลัก
เก็บกักและรวบรวม (藏風聚氣)