น่าเสียดายรถไฟฟ้า Airport Rail Link
ราคาที่ดินตามสถานีรถไฟฟ้าสายนี้เพิ่มขึ้นอย่างไร รถสายนี้สร้างขึ้นมาโดยที่ไม่มีการวางแผนการใช้ที่ดินที่ดี ถือเป็นบทเรียนของการวางแผนอย่างขาดบูรณาการอย่างไร
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ชี้ให้เห็นว่าราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายนี้เป็นดังนี้:
จะสังเกตได้ว่าการเพิ่มขึ้นของราคาเป็นอิทธิพลของการพัฒนาใจกลางเมือง ตั้งแต่สถานีพญาไทที่ราคา 900,000 บาทต่อตารางวา และลดลงเป็น 550,000 บาทที่สถานีราชปรารภ จนถึงมักกะสัน ก็ลดเหลือ 450,000 บาท อย่างไรก็ตามเมื่อไปถึงรามคำแหง ซึ่งเป็นย่านเชื่อมต่อกับเขตต่อเมือง (Intermediate Area) ก็ยังอยูที่ระดับ 230,000 บาท แต่พอไปถึงทับช้าง และลาดกระบังก็ลดราคาลงเหลือ 65,000 บาท และ 55,000 บาทต่อตารางวาเลย เพราะอยู่ในเขตนอกเมือง สำหรับการเพิ่มของราคา ก็เพิ่มน้อยมากที่สถานีสุดท้าย 2 สถานีดังกล่าวด้วย คือเพิ่มขึ้นเพียง 4.1%-4.2%
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะบริเวณโดยรอบสถานีขาดการวางแผนพัฒนาที่ดี จะเห็นได้ว่าบริเวณเขตลาดกระบังที่เป็นพื้นที่สีเขียวทแยง พื้นที่สีเหลือง (ย.2) รวมทั้งพื้นที่เกษตรกรรม (ก.4) ควรที่จะเปลี่ยนสีใหม่ และเวนคืนหรือจัดรูปที่ดินมาเป็นการพัฒนาเมือง สร้างเป็นเมืองที่อยู่อาศัย (Bed City) โดยจัดสรรให้นักพัฒนาที่ดินพัฒนาที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่าง ๆ แทนที่จะให้นักพัฒนาที่ดินไปเสาะหาที่ดินเอง และแบ่งประโยชน์ให้กับเจ้าของที่ดินเดิม เมืองที่มีการวางแผนก็จะเกิดขึ้น จากนั้นก็สร้างรถไฟฟ้าแบบ Monorail เพื่อเชื่อมต่อกับเมืองใหม่นี้
หากมีการพัฒนาที่ดี มีการวางแผนที่เหมาะสม น่าจะสามารถเพิ่มจำนวนประชากรในพื้นที่นี้โดยไม่ไปเบียดบังพื้นที่จังหวัดอื่นได้อีกนับล้านคน หรือราว 1/6 ของประชากรกรุงเทพมหานคร แต่ที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทยก็มีหน้าที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายนี้ แต่หน่วยงานอื่นก็ไม่ได้มีการวางแผน ที่สำคัญเราไม่มีหน่วยงานกลางวางแผนแบบนี้ มีก็แต่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร แต่ไม่มีหน่วยงานที่มีบูรณาการกว่านี้ จึงทำให้การพัฒนาต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะเปะสะปะนั่นเอง
ประเทศไทยมีสิ่งดี ๆ แต่ขาดการคิดแบบองค์รวม
ผลสำรวจการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินกรุงเทพฯ และปริมณฑล 2537 - 2559
คลิกที่ลิงค์นี้: http://bit.ly/2rF5eXQ