10 ภาพ ก่อนและหลัง การเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์
บทความ โดย Rashini Suriyaarachchi
บ่อยครั้งที่การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้นยากที่จะมองเห็น แม้ว่าเรากำลังเปลี่ยนแปลงโลกอย่างใหญ่หลวง ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า การทำอุตสาหกรรม การขุดเจาะและใช้งานเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ก็ยังยากที่เราจะเห็นว่ารอยแผลเป็นที่เราทิ้งไว้ให้โลกใบนี้นั้นใหญ่ขนาดไหน
และเมื่อคุณลองขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นคุณก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลง
หลายทศวรรษที่องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา (NASA)ได้จับตามองการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ในชุดภาพหัวข้อ ภาพการเปลี่ยนแปลง (Images of Change) ซึ่งบางภาพได้ถูกถ่ายไว้เพื่อเปรียบเทียบห่างกันมากกว่า 55 ปี แต่ขณะที่บางภาพเพียงแค่ในสิบปีหรือน้อยกว่านั้นก็สามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างน่าใจหาย เราอยากให้คุณลองดูภาพ 10 ภาพนี้แล้วเรียนรู้ถึงผลกระทบที่เราทำต่อโลกใบนี้ โลกที่เป็นบ้านของพวกเรา
1. การหดตัวของทะเลอาราลในเอเชียกลาง
ทะเลอาราลเคยถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งของสี่ของทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ ณ ปัจจุบัน ทะเลอาราลได้ถูกออกแบ่งเป็นสองแถบคือทะเลอาราลแถบเหนือและทะเลอาราลแถบใต้ ส่วนทะเลในแถบตะวันออกนั้นได้เหือดแห้งไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ตามรายงานขององค์การนาซา การสูญเสียน้ำทั้งหมดอาจหมายถึงการที่บริเวณนี้จะเผชิญกับอากาศที่เย็นขึ้นในช่วงฤดูหนาว และอากาศที่ร้อนและแห้งมากกว่าเดิมในช่วงฤดูร้อน
2. ผลกระทบของภัยแล้งในรัฐแอริโซน่าและยูทาห์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาพถ่ายนี้เปรียบเทียบระดับน้ำของทะเลสาบโพเวลที่ในช่วงปี พ.ศ. 2542 มีระดับน้ำเกือบเต็ม และในช่วงเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2557 ที่ระดับน้ำลดลงถึงร้อยละ 42 ของทั้งหมด
3. การเติบโตของเมืองที่ดูน่าเหลือเชื่อในรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาเมืองซานอันโตนิโอได้เติบโตขึ้นอย่างเรื่อยๆ ตามข้อมูลขององค์การนาซา ในปี พ.ศ. 2553 เมืองซานอันโตนิโอมีอัตราการเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นอันดับที่ 4 ของ ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีประชากรถึง 1.4 ล้านคน
4. การเจริญเติบโตที่รวดเร็วของกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
กรุงมะนิลาเมืองหลวงของฟิลิปปินส์มีการเติบโตของอย่างรวดเร็ว และปัจจุบันกรุงมะนิลาเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก ตามข้อมูลขององค์การนาซา แม่น้ำปาสิก (Pasig) ที่ตัดผ่านกรุงมะนิลาเป็นเป็นแม่น้ำที่เป็นมลพิษมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
5. การตัดไม้ทำลายป่าในประเทศอาร์เจนตินา
ระหว่างปี พ.ศ. 2541 และ ปี พ.ศ. 2545 เมืองซัลตา (Salta) ของประเทศอาร์เจนตินาได้สูญเสียพื้นที่ป่ามากกว่า 194,000 เฮกตาร์ ของพื้นที่ป่าทั้งหมด สาเหตุหลักของการตัดไม้ทำลายป่านี้คือความก้าวหน้าทางการเกษตรกรรม
6. การติดตามการตัดไม้ทำลายป่าในประเทศโบลิเวีย
ที่ประเทศโบลิเวียนี้ องค์กรนาซ่าได้ติดตามผลกระทบของการย้ายที่ตั้งถิ่นฐานและการพัฒนาด้านเกษตรกรรมในพื้นที่ป่าไม้ของประเทศโบลิเวีย
7. การละลายของน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์
นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับภูเขาแมทเทอร์ฮอร์น ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายแดนของประเทศอิตาลีและประเทศสวิสเซอร์แลนด์ของเทือกเขาแอลป์
8. การละลายของธารน้ำแข็งในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐอลาสก้า ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในช่วงกว่าศตวรรษที่ผ่านมา ตามข้อมูลขององค์การนาซานั้นซึ่งมีข้อยกเว้นบางประการได้บอกว่าธารน้ำแข็งทั่วโลกหดตัวลงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
9. ธารน้ำแข็ง Qori Kalis ในประเทศเปรู ที่หายไป
ในปี พ.ศ. 2521 ธารน้ำแข็ง Qori Kalis ยังมีการเคลื่อนที่ของน้ำแข็งให้เห็น แต่ในปี พ. ศ. 2554 ธารน้ำแข็งทั้งหมดได้ถอยกลับไปอยู่บนพื้นดิน
10. ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นทั่วโลก
แผนที่นี้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกระหว่างช่วงศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 ตามข้อมูลขององค์การนาซา อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 0.7 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2423 และสองในสามของการที่โลกมีอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยสูงขึ้นเกิดดขึ้นตั้งแต่ปี พ. ศ. 2518 โดยมีอุณหภูมิสูงขึ้นราว 0.15 ถึง 0.20 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษ
คุณคิดว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่และน่ากลัวใช่หรือไม่?
ร่วมมือกันตั้งแต่ตอนนี้เพื่อปักป้องรักษาสิ่งแวดล้อมที่มีค่าไว้ให้ลูกหลานในรุ่นต่อไป
ขอบคุณภาพประกอบจากองค์การนาซา
บทความแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถอ่านต้นฉบับได้ที่นี่
ที่มา : www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/10/blog/59232