หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

รวมเรื่องโรคซึมเศร้า

โพสท์โดย ไปเซเว่นเอาอะไรไหม๊

คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา

 

 

โรคซึมเศร้าต่างจากอารมณ์เศร้าทั่วไปยังไง?
>> อารมณ์เศร้า เป็นหนึ่งในอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ มักเกิดเมื่อเราต้องเจอกับความผิดหวัง ความสูญเสีย การไม่ได้อย่างที่ใจต้องการ ส่วนใหญ่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมันจะคงอยู่สักพักแล้วก็จะค่อยๆจางหายไปเอง

แต่สำหรับ “โรคซึมเศร้า” [Major Depressive disorder : MDD] อารมณ์เศร้าที่เกิดขึ้นนั้นจะคงอยู่เกือบตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง (เป็นเดือนๆ ถึงเป็นปีๆ) ทำให้มีลักษณะเศร้า เบื่อหน่าย ขาดความสนใจจากสิ่งที่เคยชอบ หลงลืม มีอาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ และในรายที่รุนแรงก็อาจมีความคิดอยากตายหรือการฆ่าตัวตายร่วมด้วย ที่สำคัญอาการต่างๆเหล่านี้จะต้องส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่การงาน การเรียน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง จึงจะนับว่าเป็นโรคซึมเศร้า 

 

 

โรคซึมเศร้าเกิดจากอะไร?

>>โรคซึมเศร้ามีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายๆอย่างรวมกัน ได้แก่...
1. ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง โดยเฉพาะ สารซีโรโทนิน (Serotonin) นอร์อดรีนาลีน (Noradrenaline) และ โดปามีน (Dopamine)
2. ปัจจัยกระตุ้นทางด้านจิตสังคม เช่น การสูญเสีย การจากพรากสิ่งอันเป็นที่รัก ความกดดัน ปัญหาชีวิต (สอบตก อกหัก คนรักทอดทิ้ง ตกงาน ฯลฯ)
3. ปัจจัยทางด้านเพศ พบว่าเพศหญิงจะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า
4. ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ พบว่าคนที่มีญาติพี่น้องสายตรงป่วยด้วยโรคซึมเศร้าจะมีโอกาสป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วๆไป

** จริงๆแล้วโรคซึมเศร้าเป็น "โรค" ที่เกิดขึ้นจริงๆ เป็นโรคที่ "ต้องรักษา" และเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้

 

 
**สิ่งที่ไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า**
(แต่เรามักจะคิดว่ามันเป็น)

**ถึงทุกวันนี้ แม้ว่าความรู้และการเข้าใจในตัวโรคซึมเศร้าจะเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้น แต่ก็ยังมีคนอีกหลายคนที่ยังเข้าใจผิดคิดว่าโรคซึมเศร้านั้น เกิดจาก...

X การมีจิตใจที่อ่อนแอ

X การขาดแรงจูงใจ

X การคิดมากหรือชอบมโน

X การมีทัศนคติที่ไม่ดี
.
.
แต่จริงๆแล้ว "ตัวโรคซึมเศร้า" เองต่างหากที่เป็นสาเหตุให้คนไข้ (ที่เคยเป็นคนเข้มแข็งและร่าเริง) กลายเป็นคนอ่อนแอ คิดลบ ขาดแรงจูงใจ ไม่อยากจะทำอะไร และอาจจะถึงขั้นไม่อยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไป
.
.
*สูตรจำง่ายๆ ก็คือ ความอ่อนแอไม่ได้ทำให้คนเป็นโรคซึมเศร้า แต่โรคซึมเศร้าต่างหากที่ทำจิตใจอ่อนแอ
.
.
>>หลายคนยังเข้าใจผิดคิดอีกว่าโรคซึมเศร้าเป็นโรคจิต (แถมยังไปเรียกเขาว่า "บ้า") แต่จริงๆแล้วโรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคจิต เพราะเป็นเพียงความผิดปกติของอารมณ์ (Mood Disorder)ชนิดหนึ่งเท่านั้น

สรุป "โรคซึมเศร้า" เป็น...
✔ โรคที่เกิดขึ้นจริงๆ
✔ ต้องได้รับการรักษา
✔ สามารถหายได้

 
 
 
"โรคซึมเศร้า" ความเจ็บที่ไม่มีเสียง Ver.3
.
>>โรคซึมเศร้า(Major Depressive Disorder : MDD) เป็นโรคที่เริ่มเป็นที่คุ้นหูกันมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน มีการประมาณการกันว่าในคนไทย 100 คนจะมีคนที่ไม่สบายด้วยโรคซึมเศร้าอยู่ 2-3 คน โรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุสำคัญของการฆ่าตัวตาย นั่นเพราะโรคซึมเศร้าทำให้เกิดความรู้สึกสิ้นหวัง หมดหนทาง เกิดความรู้สึกด้านลบ ความรู้สึกผิด และลงเอยด้วยการทำร้ายตนเองในที่สุด
.
.
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?
>> ให้สังเกตจากสัญญาณบอกเหตุทั้ง 9 ข้อ ต่อไปนี้

1.รู้สึกเศร้าใจ หม่นหมอง หงุดหงิด หรือไม่สบายใจ
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

2.ขาดความสนใจต่อสิ่งที่เคยทำให้มีความสุข หรือสิ่งแวดล้อมรอบข้าง

3.น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้น เบื่ออาหารหรือกินจุ

4.นอนไม่หลับ หรือหลับมากกว่าปกติ

5.รู้สึกผิด สิ้นหวัง หรือรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า

6.ไม่มีสมาธิ หลงลืมง่าย ไม่สามารถตัดสินใจเองได้

7.อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง

8. เชื่องช้า หรือกระสับกระส่าย อยู่ไม่สุข

9.คิดถึงแต่ความตาย หรือคิดฆ่าตัวตาย พยายามฆ่าตัวตายหรือมีการวางแผน
.
.
**จะต้องมีความผิดปกติอย่างน้อย 5 ข้อจากทั้งหมด 9 ข้อ อาการต่างๆต้องเกิดขึ้นเกือบตลอดเวลา เป็นต่อเนื่องแทบทุกวัน นานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และทำให้เสียหน้าที่การงานหรือการเข้าสังคม**
.
.
.
โรคซึมเศร้ามีความรุนแรง 3 ระดับ คือ
* โรคซึมเศร้าระดับเล็กน้อย (Mild MDD)
* โรคซึมเศร้าระดับปานกลาง (Moderate MDD)
* โรคซึมเศร้าระดับรุนแรง (Severe MDD)

 
 
 
ทำอย่างไรเมื่อสงสัย/รู้ว่าตนเองเป็นโรคซึมเศร้า?
.
>> เมื่อสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดเป็นโรคซึมเศร้า การไปพบแพทย์หรือจิตแพทย์ถือเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ประโยชน์ที่จะได้จากการไปพบแพทย์ ได้แก่...
1. ได้รับการตรวจเพื่อวินิจฉัยตามเกณฑ์ทางการแพทย์
2. ได้รับการตรวจเพื่อค้นหาโรคต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุ
3. ได้รับการตรวจประเมินความรุนแรงของโรค
4. ได้รับการตรวจประเมินความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย
5. ได้รับการบำบัดรักษาที่เป็นองค์รวม ทั้งการกินยา การทำจิตบำบัด การให้คำแนะนำ และ การจัดการปัญหาที่เป็นสาเหต
 
 
 
 
 
จะดูแลสุขภาพจิตตนเองอย่างไรเมื่อรู้ว่ากำลังซึมเศร้า?
.
1. ควรเลี่ยงจากสถานการณ์ที่มีความตึงเครียดรุนแรง
2. ควรเลี่ยงการอยู่ลำพังเป็นเวลานาน (ควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาหรือสังคม)
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4. หยุดการตำหนิและโทษตัวเอง
5. รู้จักให้กำลังใจตนเอง
6. ฝึกคิดบวก ทั้งต่อตนเอง สังคม และผู้อื่น
7. ตั้งเป้าหมายไม่สูงหรือยากเกินไป
8. ชะลอการตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆของชีวิตไว้ก่อน เช่น การลาออก เปลี่ยนงาน แต่งงาน หรือหย่า
9. เฝ้าระวังความคิดเกี่ยวกับการทำร้ายตนเอง **ต้องบอกคนใกล้ชิดให้ทราบเสมอเมื่อมีความคิดถึงความตาย/ความไม่อยากมีชีวิตอยู่**
 
 
 
 
 
 
ความชุกของโรคซึมเศร้าในคนไทย จำแนกตามเพศและกลุ่มอายุ

>>มีสถิติที่น่าสนใจ ได้แก่...

1. ผู้หญิงมีโอกาสจะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชายในทุกๆกลุ่มอายุ (ยกเว้นในวัยชราตั้งแต่ 80ปีขึ้นไปพบความเสี่ยงเท่าๆกัน)

2. ยิ่งอายุมากขึ้น เราทุกคนก็จะมีโอกาสป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามากขึ้นเรื่อยๆ

3. สัดส่วนผู้หญิง : ผู้ชาย = 1.6:1 (ประมาณ 2 ต่อ 1)

4. ช่วงวัยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้ามากที่สุดในเพศหญิง คือ อายุ 55-59 ปี "ช่วงวัยกลางคนตอนปลาย" ส่วนในเพศชายคือช่วง 70-79 ปี
 
 
 
 
 
 
ป็นโรคซึมเศร้า ไม่ต้องกินยาได้ไหม?
.
>>> การดูแลรักษาผู้ป่วยซึมเศร้าแต่ละระดับจะมีความแตกต่างกัน กรณีซึมเศร้าชนิดไม่รุนแรง (Mild MDD) เราอาจไม่จำเป็นต้องกินยาต้านเศร้าก็ได้ อาจใช้การปรับการดำเนินชีวิตประจำวัน ออกกำลังกาย ปรับวิธีคิด ฝึกการคิดบวก การทำจิตบำบัด การนั่งสมาธิ หรือปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม ก็อาจทำให้โรคดีขึ้นได้
.
.
* แต่หากเป็นโรคซึมเศร้าในระดับปานกลางไปจนถึงรุนแรง (Moderate-Severe MDD) การกินยาต้านเศร้า จะมีบทบาทสำคัญต่อการหายของโรคค่อนข้างมาก เพราะประโยชน์ของการกินยาที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ

1. "ยาจะช่วยย่นระยะเวลาของการเจ็บป่วยได้" จากที่หากไม่กินยาเลยโรคอาจจะเป็นอยู่นานเป็นปีๆ (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุร้ายอะไรในระหว่างนี้บ้าง เช่น ต้องออกจากงาน พักการเรียน หรือถึงขั้นฆ่าตัวตาย) เทียบกับที่กินยาแล้วโรคอาจจะดีขึ้นภายในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ ทำให้ไม่ต้องเสียการงาน เวลา และชีวิต

2. จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า 10 คนหากได้รับการรักษาด้วยยาต้านเศร้า อาการจะดีขึ้นจนหายถึง 8-9 คน ในขณะที่หากไม่รับการรักษาอาการจะดีขึ้นเพียง 2-3 คนเท่านั้น (เฉพาะในรายที่อาการไม่รุนแรง หากอาการรุนแรงอาจจะกล่าวได้ว่ายากที่จะหายเอง)
.
ยาต้านเศร้าในปัจจุบันนั้นก็มีให้เลือกมากมายหลายชนิด แต่ละตัวก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป ส่วนระยะเวลาในการกินยาเอาคร่าวๆเลยก็คือหากเป็นครั้งแรกในชีวิตโดยส่วนใหญ่ระยะเวลาที่ต้องกินยาไว้จะประมาณ 6-12 เดือน
 
 
 
 
 
 
 
จะช่วยเพื่อนที่เป็นโรคซึมเศร้าได้อย่างไร?

>สิ่งที่เราในฐานะเพื่อนสนิท/ญาติพี่น้องจะช่วยคนไข้ซึมเศร้าได้ มีได้หลายอย่างเลยนะครับ ถ้าจะให้ยกตัวอย่าง ก็จะมีดังนี้...

1. ให้กำลังใจ สอบถามความรู้สึกเมื่อมีจังหวะที่ดี เมื่อคิดว่าเขาต้องการ แต่หากเขายังไม่อยากพูดหรือไม่พร้อม ก็ไม่ต้องคาดคั้นให้เขาพูดออกมา แค่แสดงให้เขารู้ว่ายังมีเราที่พร้อมให้ความช่วยเหลืออยุ่และสามารถให้เขาเรียกหาได้เสมอเมื่อต้องการ

2. สื่อให้เขารู้ว่า จะอย่างไรก็แล้วแต่เราก็จะไม่ทิ้งเขา เขายังเป็นคนที่เรารัก เราจะอยู่กับเขา และเขาไม่ใช่ภาระ สิ่งที่เราทำให้เขาเป็นความเต็มใจของเรา

3. หันเหความเศร้าออกจากตัวเอง ชวนไปทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน ส่งเสริมการออกกำลังกาย การชักชวนให้คนไข้ได้ออกไปมีกิจกรรมร่วมกัน ได้มีสังคม ก็อาจจะช่วยให้อาการซึมเศร้าดีขึ้นได้ แต่ถ้าคนไข้ปฏิเสธก็ไม่ต้องไปฝืนใจ ให้ชักชวนในอีกวันสองวันถัดไป บางเวลาเราอาจต้องใช้ความอดทนกับการรอพอสมควร

4. ส่งเสริมให้ทานยาอย่างต่อเนื่อง เฝ้าระวังผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ของยา

5. ให้คนไข้อยู่ห่างจากสุราและสารเสพติด

6. เฝ้าระวังความเสี่ยงรุนแรง เช่น การคิดทำร้ายตนเอง ความเสี่ยงที่จะไปทำร้ายผู้อื่น การจับจ่ายมากกว่าปกติ ความวู่วามทางอารมณ์

7.ถ้าได้ลองทำทุกอย่างแล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ควรรีบหาตัวช่วยจากผู้เชี่ยวชาญหรือรีบกลับไปพบคุณหมอประจำตัวครับ
 
 
 
 
 
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องกินยาไปนานแค่ไหน?

การรักษาโรคซึมเศร้า หนึ่งในคำถามที่ถูกถามบ่อยที่สุดจากท้งตัวผู้ป่วยและญาติ นั่นคือ จะต้องกินยา(รักษา)ซึมเศร้าไป(อีก)นานเท่าไหร่เหรอ ?

**บางครั้ง แม้จะกินครบตามกำหนดแล้ว แต่หากแพทย์มองว่า ยังมีอารมณ์เศร้าหรือยังมีปัจจัยที่ยังทำให้เศร้าอยู่ อาจมีการขยายระยะเวลาต่อไปได้นะครับ ขึ้นกับหลายๆปัจจัยครับผม
 
 
 
 
 
9 สัญญาณเตือนการฆ่าตัวตาย
[Dark Ver.]

เรื่องโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายเป็นประเด็นร้อนๆที่กำลังถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมากในสังคมช่วงนี้ มีคำถามจากแฟนเพจหลายท่านถามว่า เราจะมีวิธีเฝ้าสังเกตญาติพี่น้องที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอย่างไร? จะรู้ได้ยังไงว่าคนๆหนึ่งกำลังคิดอยากตาย?
.
หมอจึงลองกลับไปค้นข้อมูลเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย และได้ทำเป็นสไดล์ความรู้แผ่นนี้มาฝากกันครับ
.
.
**อนึ่ง สัญญาณเตือนเหล่านี้ ถูกใช้เป็นเพียง"แนวทาง"หรือ"กรอบ"เบื้องต้น ในการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายเท่านั้น "จำนวนข้อ"ของสัญญาณที่พบอาจไม่ได้เป็นตัวบอกถึงระดับความเสี่ยง และหลายครั้งเราก็พบว่าคนที่ฆ่าตัวตายหลายคนก็ไม่ได้มีสัญญานเตือนใดๆนำมาก่อน
.
>>หากมีความสงสัยหรือไม่แน่ใจ การไปพบจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำปรึกษา น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่งครับ
.
 
 
 
 
 
TOP10 ประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุด

>>วันก่อนหมอบังเอิญได้อ่านพาดหัวข่าวที่น่าตกใจข่าวหนึ่งว่า "คนไทยฆ่าตัวตายสูงเป็นอันดับ3ของโลก รองจากสวีเดน,สแกนดิเนเวีย และ ญี่ปุ่น" อ่านแล้วก็เกิดความแปลกใจและสงสัยเป็นอย่างมาก จึงได้รีบกลับไปค้นข้อมูลที่แท้จริง และได้พบความจริงที่น่าสนใจว่า...

1.การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในทั่วโลกกว่า 800,000 คนต่อปี หรือ 11.69 ต่อประชากรแสนคน

2. การเปรียบเทียบอัตราการฆ่าตัวตายระดับโลกนั้น ทำได้ค่อนข้างยากเนื่องจากวิธีการบันทึกข้อมูลรวมทั้งกรอบกฎหมายและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม สามารถอ้างอิงข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ปี ค.ศ. 2012 ได้ ดังภาพประกอบ (สรุปว่าเราไม่ได้อยู่อันดับ3นะครับ)

3.สถานการณ์ปัญหาการฆ่าตัวตายของประเทศไทย คนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายราว 4,000 รายต่อปี หรือกว่า 300 รายต่อเดือน อัตราเฉลี่ยจะอยู่ที่ 6 รายต่อประชากร 1 แสนคน (ต่ำกว่าตัวเลขของWHOในปี2012)

4. จากการทบทวนสถานการณ์ปัญหาการฆ่าตัวตาย โดย กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิตร่วมกับทีมวิชาการจาก รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ พบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาความสัมพันธ์ และปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรั

4.1 ปัญหาความสัมพันธ์ เป็นเรื่องสัมพันธภาพภายในครอบครัว ร้อยละ 47 ความรัก ร้อยละ 22

4.2 ปัญหาการเจ็บป่วย เป็นเรื่องโรคเรื้อรัง ร้อยละ 15 สุรา ร้อยละ 26 โรคจิต ร้อยละ 16 โรคซึมเศร้า ร้อยละ 9

5. แม้จะเป็นตัวเลขที่ไม่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่หากเทียบกับประเทศในแถบอาเชียนด้วยกันแล้ว ไทยอยุ่ในอันดับ2 รองจากพม่า

6. ปัญหาการฆ่าตัวตาย ส่วนหนึ่งสามารถป้องกันได้ ด้วยการที่ทุกคนมีความตระหนัก มีความเห็นอกเห็นใจ มีความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุของการฆ่าตัวตาย หมั่นศึกษาวิธีสังเกตสัญญาณเตือนการฆ่าตัวตาย และรู้แหล่งที่จะให้ความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินและเร่งด่วน
 
 
 
 
 
 
7 ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

"โรคซึมเศร้า" [Major Depressive Disorder] เป็นความผิดปกติของอารมณ์ ที่เกิดจากความแปรปรวนของสารสื่อประสาทในสมองร่วมกับสาเหตุทางจิตสังคม ลักษณะเด่นคือ คนไข้จะมีอารมณ์เศร้า หดหู่ เบื่อหน่ายอย่างมาก เกิดขึ้นแทบทั้งวัน และเป็นติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์ จนส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงานหรือความสัมพันธ์

จากความตื่นตัวและความร่วมมือทางการประชาสัมพันธ์ทั้งหลาย ทำให้โรคนี้นับวันจะมีคนสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ วันนี้หมอจึงขอนำเสนอ "ความเชื่อที่ผิดๆ" เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าที่มักเจอได้บ่อย และความจริงที่หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้มาฝากกันครับ

1. โรคซึมเศร้าคือโรคจิต
ความจริง>>โรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคจิต ผู้ป่วยซึมเศร้าก็ไม่ใช่คนบ้า ควรหลีกเลี่ยงการเรียกเหมารวมผู้ที่มีความไม่สบายทางจิตว่าเป็น "คนบ้า" เพราะคำๆนี้คำเดียวทำให้คนมากมายพลาดโอกาสครั้งสำคัญที่จะทำให้ชีวิตดีขึ้น

2. โรคซึมเศร้าเป็นแค่คำกล่าวอ้าง ไม่ต้องรักษาก็หาย
ความจริง>>โรคซึมเศร้าเป็นการเจ็บป่วยจริงๆ เป็นตัวโรคที่ต้องรักษา โดยธรรมชาติสามารถหายได้เองแต่ใช้เวลานานมากๆและหากปล่อยไว้อาจเกิดความเสียหายต่อทั้งตัวคนไข้และคนรอบข้างได

3. คนซึมเศร้าคือคนที่อ่อนแอ
ความจริง>>ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่ได้แปลว่าคนๆนั้นเป็นคนอ่อนแอหรือขี้แพ้ และไม่ได้เกิดจากการแกล้งทำ

4. โรคซึมเศร้าต้องทานยาเท่านั้น
ความจริง>>การรักษาโรคซึมเศร้ามีทั้งการใช้ยา ร่วมกับการทำจิตบำบัด รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตให้แข็งแรง เช่น การออกกำลังกาย การผ่อนคลายจิตใจ การลดความเครียด การจัดการปัญหาในชีวิต

5. โรคซึมเศร้าไม่มีทางรักษา
ความจริง>>ปัจจุบันโรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายได้ในเวลาที่ค่อนข้างรวดเร็วเมื่อเทียบกับในอดีตเนื่องจากระบบการรักษาและตัวยาที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น

6. โรคซึมเศร้าเป็นแล้วจะทำอะไรไม่ได้ไปตลอด
ความจริง>>เมื่ออารมณ์เศร้าเริ่มดีขึ้น คนไข้ส่วนใหญ่จะสามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้ และอาการก็มักจะดีขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป คนไข้หลายรายก็โชคดีเป็นแค่ครั้งเดียวแล้วก็ไม่เป็นอีกเลย แต่บางรายก็กลับมาเป็นได้ จากปัจจัยความเครียดที่รับเข้ามาใหม่ การทานยาไม่ต่อเนื่อง/หยุดทานเร็วเกินไป หรือโดยตัวของโรคเอง

7. โรคซึมเศร้าเป็นเรื่องที่อยู่ไกลตัวเรา
ความจริง>> ปัจจุบัน ความชุกของโรคซึมเศร้าในประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 2.4 แปลว่า ถ้ามีคนไทย 100 คน จะมีคนที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าอยู่ 2-3 คน ซึ่งคนๆนั้นอาจเป็นคนที่คุณรักหรือตัวเราเองก็ได้ไม่ใช่เรื่องแปลก
 
 
 
 
 
 
7 ประโยคที่ควร vs ไม่ควรพูด กับผู้ป่วยซึมเศร้า

"โรคซึมเศร้า" เป็นโรคทางจิตเวชที่ต้องได้รับการดูแลรักษาจริงๆ กลไกการเกิดของโรคนี้ไม่ได้มาจากการที่คนๆนั้นเป็นคนอ่อนแอหรือขี้แพ้ และไม่ได้เกิดจากการแกล้งทำ ตัวโรคเองต่างหากที่ทำให้คนที่เคยแข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ กลายเป็นคนที่มีความคิดด้านลบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น รู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง ไม่มีพลังงานในชีวิต รู้สึกแย่กับตนเอง ขาดความมั่นใจไม่กล้าตัดสินใจ ไม่มีสมาธิ หลงลืมง่าย

คำบางคำฟังแล้วมีกำลังใจได้ความรู้สึกที่ดี แต่คำอีกหลายๆคำก็สามารถทิ่มแทงจิตใจให้เราน้ำตาตกได้ ลองมาดูกันว่า สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคนหนึ่ง เขาต้องการและไม่ต้องการได้ยินคำแบบใดบ้าง
 
 
 
 
 
 
 
 
"ความอ่อนแอ" กับ "โรคซึมเศร้า" อะไรเกิดก่อนกัน?
ขอบคุณที่มา: https://www.facebook.com/D2JED
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
44 VOTES (4/5 จาก 11 คน)
VOTED: Rosesexy, กำลังพิมพ์ข้อความ, แม่พระยาใจ, นางเบิร์ด, มิสเตอร์สเตร้น, hellunmaru, ซาอิ, แมวฮั่ว แมวขี้น้อยใจ, ไปเซเว่นเอาอะไรไหม๊
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
หนุ่มจะบวชทั้งที..ดันมีมารตามมาผจญเผยเทคนิคระบายความร้อนแบบง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้กล้าหาญมาก เลี้ยงอีโบ้ไว้ ไม่เสียข้าวสุกเลยจริงๆ"ลุงดอนใจดี" ย้ำอาหารที่ร้านไม่แพง และยังคงขายราคาเดิมพฤติกรรมสุดตลกสุดแปลกของคนเยอรมันที่มองเป็นเรื่องปกติแต่อาจจะแปลกสำหรับคนในประเทศอื่น!ไบเดน ฮึ่ม " ทุกคนต้องอยู่ใต้กฏหมายเดียวกัน "สาวเรียกรถผ่านแอป..แทบจะเป็นลม เมื่อได้เห็นรถสาวโพสต์เทียบ ข้าวผัดอเมริกัน ห่างกันแค่ปีเดียว ทำไมสภาพเป็นแบบนี้ไม่ควรกิน"แตงโม"ถ้าอยู่ในคน7กลุ่มนี้!!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
หนุ่มจะบวชทั้งที..ดันมีมารตามมาผจญพฤติกรรมสุดตลกสุดแปลกของคนเยอรมันที่มองเป็นเรื่องปกติแต่อาจจะแปลกสำหรับคนในประเทศอื่น!สาวโพสต์เทียบ ข้าวผัดอเมริกัน ห่างกันแค่ปีเดียว ทำไมสภาพเป็นแบบนี้พอได้ยิ้ม!! เมื่อพนักงานในร้านอาหารเป็นคนไทยใหญ่ ภาษาอาจจะไม่คล่อง เวลารับออเดอร์ลูกค้าก็จะได้เมนูเเปลกใหม่เเบบนี้
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
เผยเทคนิคระบายความร้อนแบบง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้portrait: ภาพคน รูปคนงบข้าราชการบุคลากรรัฐ ทุกหน่วยงานรวมกว่า 7 แสนล้านบาทPig Beach ชายหาดหมูและหมูอยู่ชายหาด
ตั้งกระทู้ใหม่