วิกฤติขยะอวกาศที่หนาแน่นรอบโลก
สิ่งต่างๆ มากมายในอวกาศ
ตอนนี้ มีขยะอวกาศมากกว่าครึ่งล้านชิ้นที่โคจรอยู่รอบโลก และราวๆ 23,000 ชิ้นที่มีขนาดเท่าลูกซอฟท์บอลหรือใหญ่กว่า
ภาพ 1 ที่เห็นนี้คือตำแหน่งของขยะอวกาศที่มองจากระยะราว 36,000 กิโลเมตรจากผิวโลก
ขยะอวกาศถูกสะสมตลอดเวลา ทั้งดาวเทียมหมดอายุ ซึ่งถูกทิ้งไว้ราวกับฝนดาวตกในอวกาศ รวมทั้งเศษซากยานอวกาศ อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนอื่นๆ ที่มนุษย์อวกาศใช้ในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ซึ่งเมื่อมันเกิดการชนกันของเศษซากเหล่านี้ ไม่เพียงแค่มันจะปลิวสะบัดอยู่ในอวกาศ แต่มันยังติดอยู่ในแรงโน้มถ่วงของโลก ห้อมล้อมโลกไว้อย่างกับเข็มขัดรัดโลกที่จนแน่นเกินไปสำหรับเส้นทางในการสำรวจอวกาศ
ขนาดของเศษซากนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญ ด้วยความที่ขยะอวกาศชิ้นเล็กชิ้นชิ้นน้อยที่อัดแน่นในอวกาศและเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงนั้น ก่อให้เกิดอันตรายอย่างมาก
ภาพที่ 2 รูที่เกิดจากการชนอย่างรุนแรงของขยะอวกาศกับส่วนระบายความร้อนของกระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ (Space Shuttle Endeavour)
ที่ระดับความสูงของวงโคจรที่มากกว่า 200 ไมล์ วัตถุจะเคลื่อนที่ได้เร็วถึง 17,500 ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับความเร็วของกระสุนที่ยิงออกมาจากปืนไรเฟิล AK-47 มีความเร็วเพียงแค่ 1,600 ไมล์ต่อชั่วโมงเท่านั้นเอง
คงไม่ต้องบอกว่า ถ้ายานอวกาศของคุณถูกกระแทกด้วยเศษเหล็กขนาดพอๆ กับลูกซอฟท์บอลด้วยความเร็ว 17,500 ไมล์ต่อชั่วโมง มันจะเกิดความเสียหายแค่ไหน
ตัวอย่าง ในปี 2009 ดาวเทียมรัสเซียที่หมดอายุ ชนเข้ากับดาวเทียมเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ผลที่ได้ก็คือหายนะ การปะทะกันทำลายดาวเทียมทั้งสองเพิ่มชิ้นส่วนเศษซากขยะอวกาศกว่า 2,000 ชิ้น
การชนกันของเศษซากอวกาศ รวมไปถึงจำนวนที่เพิ่มขึ้นของดาวเทียมที่ส่งขึ้นไปในวงโคจร พาเราไปสู่ผลกระทบของความหนาแน่น ซึ่งเคสเลอร์เป็นกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้
อีลอน มัสก์ผู้บริหาร Tesla และ SpaceX มีความหวังที่จะส่งดาวเทียมกว่า 4,000 ดวงขึ้นสู่วงโคจรต่ำ ซึ่งต่ำกว่าพื้นที่ที่เต็มไปด้วยขยะอวกาศ เพื่อที่จะให้บริการอินเตอร์เน็ต แต่หนึ่งปัญหาเล็กๆ ก็คือ ถ้ามัสก์ทำสำเร็จ นั่นจะยิ่งเพิ่มปัญหามากขึ้น
ในขณะที่มีการเปิดตัวดาวเทียมในอวกาศมากขึ้น ซึ่งไม่ได้เป็นความคิดที่ดีเท่าไรนัก แต่มันไม่ใช่ปัญหาหลัก สิ่งที่เราส่งขึ้นไปแล้วเอาลงมาไม่ได้ต่างหากที่เราต้องให้ความสำคัญ เคสเลอร์กล่าว
ทางเดียวที่เราจะ (แก้ปัญหา) นำเศษซากอวกาศนั้นกลับมาได้ เคสเลอร์บอกกับสำนักพิมพ์ Huffington ในปี 2013 “ถ้าเราต้องการจะหยุดการพุ่งชนกันของเศษซากอวกาศ เราต้องนำดาวเทียมเหล่านั้นกลับลงมา ซึ่งเราก็ยังไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร”
หากเรายังคิดไม่ออกว่าจะนำดาวเทียมขนาดใหญ่มากมายนั้นกลับมาโลกอย่างไร เราก็ต้องเริ่มเก็บมันทีละชิ้น ที่ความเร็ว 17,500 ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งมันไม่ใช่งานง่ายๆ เลย