แดดก็แรงดี ลมก็แรงดี แต่ทำไมหนอประเทศไทยเราถึงยังไม่ปฏิวัติพลังงาน หันมาพัฒนาพลังงานหมุนเวียนเสียที ในขณะที่ประเทศอื่นอย่างเยอรมนีที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าทั้งทางด้านแสงแดด และสายลม แต่กลับสามารถพัฒนาพลังงานหมุนเวียนได้อย่างรวดเร็ว และมุ่งมั่นตั้งเป้าหมายที่จะยุติการใช้พลังงานจากถ่านหินและนิวเคลียร์ โดยมุ่งที่จะปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดอย่างช้าภายในปีค.ศ.2022
เยอรมนีเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงอันดับหนึ่งด้านการใช้พลังงานหมุนเวียน ทั้งที่เป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติถ่านหินมากเป็นอันดับ 1 ของโลก มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์เป็นอันดับ 4 ของโลก และปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 6 ของโลก แต่หากประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างเยอรมนีสามารถปฏิวัติพลังงานสู่พลังงานหมุนเวียนได้ ประเทศไทยเราที่มีสภาพภูมิประเทศที่เอื้อต่อพลังงานหมุนเวียนมากกว่าก็น่าจะสามารถทำได้ดีไม่แพ้กัน นอกจากเยอรมนีแล้ว ยังมีประเทศอื่นๆ จากทั่วโลกที่กำลังพัฒนาพลังงานหมุนเวียน โดย 8 โปรเจคต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างการพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนที่น่าทึ่ง แต่ทำได้สำเร็จแล้วจริงเป็นข้อมูลที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในบ้านเราต่อไป
1. ประเทศเยอรมนีได้ลงทุนครั้งใหญ่กับพลังงานลมและแสงแดด ซึ่งในช่วงหกเดือนแรกของปีค.ศ.2012 ที่ผ่านมา ประมาณไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนนั้น กระโดดขึ้นจากร้อยละ 20 เป็น 25 เลยทีเดียว
ยังไม่จบเพียงเท่านี้ เยอรมนียังตั้งเป้าไว้ที่การใช้พลังงานหมุนเวียนร้อยละ 95 ภายในปี ค.ศ.2050 น่าประทับใจจริงๆ
2. ยัง ยังไม่พอ เยอรมนีไม่หยุดเพียงแค่นี้ เพียงแค่หยุดการสร้างมลพิษยังไม่พอ ประชากรเมืองเบอร์ลินยังยึดอำนาจการผลิตไฟฟ้ากลับไปด้วย โดยชาวเมืองเบอร์ลินมุ่งมั่นว่าจะเป็นผู้ถือสิทธิการผลิตไฟฟ้าเอง และดำเนินการจ่ายไฟให้กับเมืองด้วยตนเอง
ถ้าประสบความสำเร็จก็หมายความว่า ชาวเบอร์ลินจะสามารถกำหนดได้ว่าผลกำไรจากการผลิตไฟฟ้านั้นจะนำไปทำอะไร
3. ที่ประเทศโปรตุเกส เกิดการทำลายสถิติในปีค.ศ.2013, เมื่อร้อยละ 70 ของพลังงานไฟฟ้านั้นผลิตขึ้นจากพลังงานหมุนเวียน
โปรตุเกสถือเป็นผู้นำของโลกในด้านพลังงานหมุนเวียน อย่างเช่นอุปกรณ์พลังงานลมในรูปด้านบน ซึ่งถือเป็นเครื่องแรกของโลกเมื่อเปิดใช้งานเมื่อปีค.ศ.2007 และในปลายปีค.ศ.2011 ความต้องการทางพลังงานทั้งหมดของโปรตุเกสนั้นก็ ถูกตอบสนองด้วยพลังงานหมุนเวียน สุดยอด!
4. ประเทศเดนมาร์ก ช่วงเดือนมีนาคม ค.ศ.2013 พลังงานลมถูกนำมาใช้งาน กว่าร้อยละ 80 ของความต้องการพลังงานทั้งหมด
ซึ่งสถิตินี้เอาชนะสหราชอาณาจักรไปได้ ทั้งที่เป็นประเทศที่ลมดีที่สุดประเทศหนึ่งในยุโรป .. แล้วประเทศไทยที่มีศักยภาพทางพลังงานลมมากล่ะ?
5.5. โรงเรียนประถมเพนด็อก ของประเทศสหราชอาณาจักร ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน นักเรียนตัวน้อยของที่นี่ได้ช่วยกัน เรี่ยไรเงินจำนวน 9000 ปอนด์ หรือ 491,530 บาท เพื่อติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาโรงเรียน
เยาวชนเหล่านี้ได้ช่วยโรงเรียนในชุมชนของตน เมื่อนำมาติดตั้งเรียบร้อย โรงเรียนจะสามารถลดปริมาณค่าไฟได้มากถึงร้อยละ 50
6. หมู่บ้านหนึ่งของเมืองซัสเซ็กซ์ ประเทศอังกฤษ ได้ผลิตไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่เพียงพอแก่การใช้งานของบ้าน 760 ครัวเรือน
ทางหมู่บ้านได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้กับโรงเรียน ฟาร์ม และมุ่งหวังที่จะสร้างฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้น
7. ยังมีเกาะอิกจ์ในหมู่เกาะอินเนอร์ เฮบริดีส ที่สามารถผลิตพลังงาน ไฟฟ้าร้อยละ 90 จากพลังงานลม แสงอาทิตย์ และน้ำ
8. ปิดท้ายด้วยกังหันลมผลิตไฟฟ้ากลางอากาศสุดเจ๋ง!
ภาพที่เห็นอยู่นี้เป็นของจริง.ซึ่งเกิดขึ้นจากความคิดดีๆ ลมแรงๆ ก่อเกิดเป็นพลังงาน และประสิทธิภาพที่มากขึ้น! พลังงานหมุนเวียนชนะเลิศ!
สุดท้ายนี้ขอตบท้ายด้วยภาพล้อเลียนเสียดสีให้แง่คิดถึงปัญหาของบ้านเรา ณ เวลานี้
Cr. : http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/8/blog/49592/