หญิงงามเมือง!!
เมื่อเอ่ยถึงคำว่า "เกอิชา" หลายคนคงนึกถึง "หญิงให้บริการทางเพศ" ซึ่งเป็นอาชีพที่ต่ำต้อยและถูกละเลยสิทธิมนุษย์ชนในสังคมในบางประเทศ แต่สำหรับในประเทศญี่ปุ่นแล้ว "เกอิชา" นั้นเป็นอาชีพที่มีเกียรติและเป็นผู้เชียวชาญทางด้านศิลปทุกรูปแบบ
"เกอิชา" มีความหมายในภาษาอังกฤษว่า "Artist" หรือ "Art Person" ซึ่งหมายถึง ผู้สร้างงานศิลปนั้นเอง เกอิชาในประเทศญี่ปุ่น มีความหายถึง "ผู้มีทักษะสร้างความบันเทิง" เกอิชาเป็นบุคคลผู้ซึ่งสามารถใช้ทักษะทางศิลปะได้อย่างคล่องแคล้วและงดงาม ไม่ว่าจะเป็น ศิลปในการร่ายรำ การเล่นดนตรี การเล่าเรือง และการสร้างงานศิลปที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะตัวอย่างการ "วาดรูป" ได้อย่างสวยงามและคล่องแคล้ว
ซึ่งมิใช่หญิงทุกคนจะสามารถเป็นเกอิชาได้ ผู้ที่เป็นเกอิชาที่มีฝีมือสูงนั้นย่อมเป็นที่ต้องการของสำนักต่าง ๆ เกอิชาบางคนนั้นมีสำนักประจำ บ้างก็วิ่งลอกประจำอยู่ตามสำนักต่าง ๆ หรือแม้นกระทั้งมีสำนักของตนเอง
และใช้จะมีแต่เพศหญิงเท่านั้นที่จะเป็นเกอิชาได้ จุดเร้มต้นนั้นกลับเริ่มมาจาก "เพศชาย" กว่า 1,800 ปีล่วงมาแล้ว แต่อาจจะเป็นเพราะสังคมในสมัยนั้นเป็นสังคมของเพศชาย งานศิลปซึ่งถือว่าเป็นงานที่มีเกียรติจึงถูกเพศชายส่วนใหญ่ดำเนินอาชีพไว้เป็นหลัก ดังนั้น การที่ "เพศหญิง" สามารถประกอบอาชีพที่เพศชายถนัดและสามารถทำได้ดีกว่า "เกอิชาหญิง" จึงเป็นที่นิยมมากกว่า และทำให้ "เกอิชาชาย" ลดน้อยและหมดความนิยมลงไปจนไม่เหลือเพศชาย ประกอบอาชีพ "เกอิชา" อีกเลย จนผู้คนต่างเข้าใจว่า "เกอิชา" นั้นต้องเป็นเพศหญิงเท่านั้น
การจะเป็นเกอิชาในประเทศญี่ปุ่นนั้น มิใช่เรืองง่าย เด็กหญิง หรือ "ไมโกะ" (ไมโกะ อาจหมายถึง การเต้นรำก็ได้เช่นกัน) ที่ถูกเลือกให้เป็นเกอิชานั้น จะต้องเข้ารับการฝึกหัดอย่างเข้มงวด โดยเริ่มทำงานเป็นคนรับใช้ของเกอิชาเพื่อฝึกทักษะการเป็นเกอิชา และเมื่อฝึกวิชาจนสามารถดำเนินอาชีพได้ด้วยตนเองในขณะที่อายุยังไม่พ้นวัยเด็กหญิงจะถูกเรียกว่า "เกโกะ" หรือในความหมายของค เด็กสาวที่ยังไม่เป็นเกอิชาเต็มตัว หรือเราอาจจะเข้าใจได้ง่าย ๆ กับคำว่า "เกอิชาฝึกงาน" นั้นเอง
"เกอิชา" จะไม่สามารถแต่งงานได้ เพราะหากแต่งงานแล้วเธอจะไม่สามารถประกอบอาชีพ "เกอิชา" ได้อีก แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเธอจะมีคู่ไม่ได้ เกอิชาที่ยังไม่ได้แต่งงานแต่มีคู่ คู่ของเธอจะถูกเรียกว่า "ดันนะ" ซึ่งจะเป็นผู้อุปถัมป์เลี้ยงดู "เกอิชา" ที่ยังไม่แต่งงาน ซึ่งโดยปกติแล้วเกอิชาที่ยังสาว ยังสวยและยังเป็นที่ต้องการในการให้บริการ จะยังไม่แต่งงาน จนกว่าจะพ้นวัยที่จะประกอบอาชีพเกอิชาได้แล้ว เธอเหล่านั้น จึงจะยินยอมเข้าวิวาห์กับ "ดันนะ" ที่ยังคงต้องการเธอไปเป็นเจ้าสาวของพวกเขา
"เกอิชา" ในสังคมญี่ปุ่นจะถูกยกย่องและมีเกียรติในสังคม แต่สำหรับชนชาติอื่นที่ยังคงมีความเข้าใจผิดในอาชีพ "เกอิชา" และเข้าใจไปว่า "เกอิชา" คือ "โสเภณี" นั้นยังคงมีอยู่อีกมาก เกอิชา นั้นแม้จะขายความบันเทิงความเพลิดเพลินให้แกผู้ที่มาซื้อบริการของเธอเท่านั้น ส่วนในเรืองอื่นนั้น เป็นเรืองของความยินยอมพร้อมใจ และสมัครใจที่จะ "ให้" มากกว่าต้องการ "ขาย" เพื่อแลกเงิน
"โสเภณี" หรือ "หญิงขายบริการ" ในทุก ๆ สังคมล้วนแต่ถูกเหยียบย่ำและดูแคลน ไม่ว่าจะเป็น "โสเภณีโดยสมัครใจ" หรือเพราะ "ถูกบังคับ หลอกลวง" หรือ ความจำเป็นใด ๆ ก็ตาม ทั้ง ๆ ที่ตามรัฐธรรมนูญแล้ว "โสเภณี" ถือเป็นประชาชนคนหนึ่ง ซึ่งมีศักดิ๋และสิทธิ์ รวมถึงเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน
หลาย ๆ ครั้ง สังคมนั้นเอง ที่เป็นอุปสรรคต่อการกลับตัวมาใช้ชีวิตปกติในสังคม การเป็นโสเภณีหรือหญิงขายบริการในสังคมไทยนั้น มิใช่เรืองยาก แต่ไม่ใช่เรืองง่ายเลยที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสถานะดังกล่าวในสังคมไทย สังคมที่เพศหญิงถูกกดให้อยู่ต่ำกว่าเพศชายในแทบจะทุก ๆ สถานะ แม้นหลายองค์กรและหลายผู้หลายคนจะออกมาเรียกร้องสิทธิสตรีและความเท่าเทียมกันในสังคม แต่เราเพศหญิงทั้งหลายต่างก็รู้ดีเท่า ๆ กันว่า "สิทธิที่เท่าเทียม" กับเพศชายนั้นไม่มีทางเป็นไปได้ อาจจะด้วยวัฒนธรรมและวีถีชีวิตที่สืบต่อกันมาช้านาน รวมถึงเพศชายบางจำพวกที่พยายามกดขี่ให้เพศหญิงนั้นอยู่ภายใต้อำนาจและอุ้งบาตรโดยแสดงออกมาในนัยยะต่าง ๆ กัน
โสเภณี หรือหญิงขายบริการก็เช่นกัน ส่วนใหญ่จะอยู่ในอาณัติของเพศชายที่เรียกว่า "แมงดา" ไม่ว่าจะโดยสมัครใจ หรือถูกบังคับก็ตาม ในบางครั้งใช่ว่าพวกเธอจะ "เลือกเอง" แต่เป็นสังคมต่างหากที่ "เลือกให้" ชีวิตที่ถูกรังเกียจและกีดกันให้อยู่อย่างโดดเดียว เพียงแต่มีแสงสว่างเพียงเล็กน้อยในชีวิตก็ย่อมคว้าไว้ แม้นรู้ทั้งรู้ว่ามันจะร้อนและเผาไหม้ตัวเองก็ตาม
บ่อยครั้งที่โสเภณีหรือหญิงขายบริการเหล่านี้พลาดพลั้งในการใช้ชีวิต ปล่อยให้เกิดการปฏิสนธิขึ้นในตัวเธอ หลายคนตัดสินใจเอาเด็กออก หลายคนตัดสินใจที่จะรับผิดชอบต่อชีวิตทีเกิดมา แต่ก็อีกหลายคนถูกบังคับให้เอาชีวิตที่เกิดขึ้นในตัวออกด้วยวิธีต่าง ๆ กัน และหลายต่อหลายคน จบชีวิตลงในสถานที่อับชื้นซึ่งเต็มไปด้วยซากแห่งชีวิตนับร้อยเฉกเช่นสิ่งที่พวกเธอเหล่านั้นต้องขับออกมา หลายคนสามารถมีชีวิตออกมาได้จากสถานที่เหล่านั้นได้ แต่ต่างก็ต้องพกความรู้สึกผิด หรือโรคภัยไปจนตลอดชีวิต
หลายต่อหลายคนรอดพ้นจากช่วงเวลาวิกฤตของชีวิตเหล่านั้นมาได้ แม้จะต้องรับแขกในขณะที่มีชิวิตน้อย ๆ เหล่านั้นฝังอยู่ในร่างกาย แต่หลายต่อหลายคนก็ไม่สามารถรับผิดชอบต่อชีวิตน้อย ๆ เหล่านั้นได้อย่างที่เธอคิด หนทางที่จะไม่ทำให้ชีวิตที่ผิดพลาดต้องผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่านั่นคือ การปล่อยให้ชีวิตน้อย ๆ ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายของเธอ ไปอยู่ในความดูแลของผู้ทีเหมาะสมกว่า แม้นมันจะไม่ได้ดีเลิศหรู แต่ก็คงจะดีกว่าชีวิตดูจะที่ไร้ค่าและอนาคตที่รออยู่ข้างหน้า
สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าและสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ จึงผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ดในสภาพสังคมปัจจุบัน ยิ่งสถานทีเหล่านี้มีมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งสะท้อนให้เห็นความฟอนเฟะของสังคม สิ่งเดียวที่จะช่วยเยียวยาบาดแผลแห่งความเจ็บปวดนี้ลงได้ คงไม่พ้นคำว่า "รัก" และ "เอื้ออาทร" ซึ่งกันและกันในสังคม
ราเองอาจเป็นเพียงฟันเฟืองเล็ก ๆ ที่ขับเคลื่อนเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ชื่อว่าสังคม แต่ฟันเฟืองเล็ก ๆ เหล่านี้นีเอง ที่ทำให้สังคมสามารถเคลื่อนต่อไปข้างหน้าได้อย่างน่ารื่นรมย์ยิ่งขึ้น มันอาจจะมิได้ทำให้สังคมนี้ดีขึ้น แต่อย่างน้อยที่สุดคงปฏิเสธไม่ได้ว่า มันทำให้ "สังคมแห่งนี้น่าอยู่ขึ้น" บนความสับสนและแก่งแย้งชิงดีในปัจจุบัน
ซ้ำขออภัยค่ะ