โรงเรียนไทย กับ โรงเรียนต่างประเทศ ต่างกันตรงไหน?
1. จำนวน นักเรียน ในห้อง
โรงเรียนไทยมีนักเรียนเยอะมาก ทั้งโรงเรียนมีเป็นพันๆ คน ห้องนึงส่วนมากก็ไม่ต่ำกว่าห้องละ 40 คน ถ้ามองในมุมพวกเราก็ดูว่าสนุกดีเนอะ เพื่อนเยอะ อบอุ่น เฮฮา เสียงดัง แต่ในขณะเดียวกัน ไฮสคูลในเมืองนอก ห้องนึงเต็มที่แบบจริงๆ ก็มักไม่เกิน 20 คนค่ะ (ส่วนมากจะประมาณ 10-15) เพื่อให้อาจารย์สอนนักเรียนได้อย่างทั่วถึง แต่ก็อาจจะมีข้อเสียนะคะคือถ้าใครแอบหลับนี่ถูกประจานแน่ๆ เพราะเห็นได้ชัดมาก ฮ่าๆๆ
2. ชมรม
โรงเรียนที่ไทยนั้น บางโรงเรียนจะมีชมรม บางโรงเรียนก็ไม่มี ซึ่งการเข้าชมรมของ วัยรุ่น นั้นส่วนมากก็จะแบบขำๆ ไม่ซีเรียสอะไร สัปดาห์นึงนัดสมาชิกในชมรมมาคุยกันแค่วันสองวันก็พอ แถมกิจกรรมก็มีๆ หายๆ บางทีตอนเปิดเทอมมีชมรมให้พอเห่อ แต่พอกลางเทอมกลับไม่มีละ (ประสบการณ์ตรงเลย 555) แต่ที่ไฮสคูลเมืองนอก ชมรมเค้าแบบเอาจริงเอาจังมากค่ะ มีไปประกวดไปแข่งกับโรงเรียนอื่นๆ ต้องเข้าชมรมทุกวันหลังเลิกเรียน มีกิจกรรมร่วมกันอย่างจริงจัง เด่นชัด ใครไม่มาร่วมไม่มาช่วยนี่ถูกเพื่อนมองด้วยหางตาแน่นอน
3. พละศึกษา
คาบเรียนพละศึกษาที่เมืองไทย ส่วนมากจะแบ่งเป็นระดับชั้นและเทอม เช่น ตอนม.1 เทอม 1 เรียนปิงปอง พอเทอม 2 เรียนกระบี่กระบอง อะไรก็ว่าไป แต่ที่เมืองนอกเค้าจะแบ่งเป็นฤดูค่ะ (เพราะบ้านเค้ามีหลายฤดูนี่เนอะ บ้านเรามีแต่ร้อนกับร้อน) ยกตัวอย่างเช่น ฤดูใบไม้ร่วงก็จะเรียนฮอกกี้ ว่ายน้ำ และวอลเลย์บอล ฤดูหนาวจะเรียนแบดมินตันและบาสเกตบอล (เล่นในร่มได้ ออกไปข้างนอกนี่หนาวตายแน่) ส่วนฤดูใบไม้ผลิเรียนเทนนิสและฟุตบอล อะไรประมาณนี้ค่ะ
4. วิชาเลือก
วิชาเลือกที่โรงเรียนไทยนั้น เลือกเรียนได้ค่อนข้างน้อยหรือบางโรงเรียนอาจไม่มีให้เลือกเลย แล้ววิชาเลือกส่วนมากก็จะเป็นวิชาที่เสริมมาจากวิชาหลัก เช่น วิชาหลักเป็นอังกฤษ วิชาเลือกก็จะเป็นอังกฤษเพื่อธุรกิจ อังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว อะไรก็ว่าไป แต่ที่ไฮสคูลเมืองนอกวิชาเลือกเค้าแบบเอาจริงสุดๆ ค่ะ แล้วแต่ละวิชานี่คือ โอ้วแม่เจ้านึกว่าเรียนมหาวิทยาลัย 555 เช่น กราฟิกดีไซน์ การละคร ออเคสตรา เป็นต้น
ที่มา Fwmaildekd.com
ความแตกต่างระหว่างระบบการศึกษาแบบไทยและสหราชอาณาจักร
ในบทความนี้เราจะพูดถึงความแตกต่างระหว่างระบบการศึกษาแบบไทยและแบบสหราชอาณาจักร ทำไมถึงไม่เหมือนกันและเกิดจากอะไร เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณเตรียมความพร้อมก่อนไปศึกษาต่อสหราชอาณาจักรนะคะ
ขงจื๊อและโซเครตีส
ขงจื๊อเป็นนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงของจีนและเป็นผู้มีอิทธิพลมากต่อการศึกษาของเอเชียตะวันออก ขงจื๊อเชื่อว่ากุญแจสู่ความสำเร็จในชีวิตส่วนตัวและครอบครัวมาจากการเรียนรู้และรอบรู้ทางใดทางหนึ่ง ย้อนไปเมื่อ 2000 ปีที่แล้วประเทศจีนเสนอให้ใช้ระบบการสอบวัดความสามารถ ผู้ที่สอบผ่านจะได้ทำงานซึ่งนำมาทั้งความร่ำรวยและความภูมิใจของครอบครัว
สิ่งที่จะทำให้ผ่านแบบทดสอบคือการเรียนและการท่องจำข้อมูลและตัวเลขมากกว่าการวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ ขงจื๊อเชื่อว่าการถ่ายทอดความรู้ช่วยให้คนได้เรียนรู้สิ่งใหม่และปลูกฝังคุณธรรมในใจอันเข้มแข็ง มุมมองทางการศึกษานี้แผ่ขยายไปทั่วเอเชียรวมถึงประเทศไทยด้วย นักเรียนและครอบครัวจะให้ความสำคัญกับการศึกษาและใบประกาศนียบัตรเป็นอย่างมาก
ในช่วงนั้นระบบการศึกษาและการวิจัยในยุโรปแตกต่างจากประเทศจีนโดยสิ้นเชิง สังคมที่ทันสมัยที่สุดในยุโรปสมัยนั้นคือกรีก โซเครตีสหนึ่งในนักปรัชญากรีกผู้มีอิทธิพลมากที่สุดท่านหนึ่งได้คิดระบบเสนอความคิดขัดแย้งหรือคัดค้านทำให้รูปแบบการถกเถียงอย่างมีสาระถูกใช้เรื่อยมา การพูดคุยและถกเถียงกันเริ่มเป็นที่ยอมรับ ระบบถกเถียงและโต้แย้งกระจายไปทั่วยุโรปและถือเป็นเรื่องธรรมดามากในฝั่งตะวันตกและสหราชอาณาจักร ในสหราชอาณาจักรนั้นถือว่าการวิพากษ์วิจารณ์ การวิเคราะห์ และวิจัยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการเรียนระดับปริญญา
กว่า 2000 ปีมาแล้วที่ระบบการศึกษาของทั้ง 2 ฝ่ายแตกต่างกันซึ่งหลักๆ มีอยู่ 2 ข้อ คือวัฒนธรรมของคนเอเชียจะให้ความสำคัญทางการศึกษาเพื่อครอบครัวและเน้นการท่องจำมากกว่าการโต้แย้งเหมือนระบบยุโรป
ในห้องเรียน
เนื่องจากระบบการศึกษาแบบไทยและสหราชอาณาจักรแตกต่างกันทำให้นักเรียนไทยที่ไปเรียนที่นั่นไม่คุ้นเคยในช่วงแรกเพราะวิธีและรูปแบบการเรียนการสอนนั้นไม่เหมือนกัน
ระบบการเรียนการสอนในประเทศไทยจะใช้วิธีการบรรยายโดยอาจารย์หรือวิทยากร แต่ของสหราชอาณาจักรจะแตกต่างอย่างชัดเจน ผู้สอน/อาจารย์/วิทยากรหรือเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้เปิดประเด็นและให้นักเรียนสนทนากันในหัวข้อที่จะบรรยายในวันนั้น
คุณจะต้องร่วมสนทนาและถกเถียงกันในชั้นเรียนไม่ใช่แค่นั่งจดตามอาจารย์อย่างเดียว สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับนักเรียนไทยก็คือการถกเถียงกับเพื่อนร่วมห้อง/อาจารย์และเสนอความคิดเห็นที่คุณไม่เห็นด้วย เมื่อย้อนกลับไปที่การสอนตามระบบกรีกจะเห็นว่าโซเครตีสก็ส่งเสริมให้นักเรียนเสนอความเห็นที่แตกต่างกับเพื่อนด้วยเช่นกัน
กรณีศึกษา
น้องทรายสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะมนุษยศาสตร์ หลังจากเรียนจบก็เข้าศึกษาต่อปริญญาโท สาขาการจัดการการตลาดระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัย Surrey ในสหราชอาณาจักรทำให้น้องทรายเห็นความแตกต่างระหว่างระบบการศึกษาของไทยและสหราชอาณาจักรอย่างชัดเจน นักเรียนไทยใช้วิธีฟังและจดตามอาจารย์ ท่องจำเพื่อเอาไปสอบ และไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นในห้องเรียนเพราะอายที่จะแสดงความเห็นและกลัวว่าจะไม่เป็นที่ยอมรับจากเพื่อนๆ
ระบบการศึกษาในสหราชอาณาจักรเป็นเรื่องใหม่สำหรับเธอแต่เธอก็ชอบนะเพราะได้แสดงความคิดของตัวเองอย่างเต็มที่โดยที่ไม่ต้องสนใจว่าคนอื่นจะคิดเหมือนเธอรึเปล่า เพราะคนส่วนใหญ่จะฟังและยอมรับความคิดเห็นของแต่ละคน อาจารย์จะให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ในหัวข้อที่เรียนซึ่งมีประโยชน์มาก นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งประสบการณ์และทัศนคติ น้องทรายนำประสบการณ์ที่พูดคุยกับเพื่อนๆ ในห้องบวกกับทฤษฎีที่เรียนในชั้นเรียนและนำมาปรับใช้กับตัวเอง เธอบอกว่าได้ประโยชน์มากๆ
สำหรับนักเรียนไทยที่จะไปศึกษาต่อในสหราชอาณาจักรถือว่ามีโอกาสที่ดีมากๆ เพราะจะได้เรียนรู้ระบบการศึกษาของทั้ง 2 ประเทศและนำมาปรับใช้กับตัวเองทำให้เป็นผลดีต่อชีวิตประจำวันในอนาคตทั้งเรื่องงานและเรื่องเรียน
ประเมิณผลการเรียน
ข้อแตกต่างอีกข้อหนึ่งคือการประเมิณผลการเรียนในแต่ละวิชา นักศึกษาปริญญาโทในสหราชอาณาจักรได้คะแนนจากการประเมิณผลการเรียนอย่างต่อเนื่อง หมายความว่าอาจารย์จะให้คะแนนจากการทำข้อสอบ ทำควิซ เขียนเรียงความ และทำโปรเจ็คใหญ่ อาจเป็นการเพิ่มงานให้กับนักเรียนบางคน แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งนักเรียนที่ทำข้อสอบได้ไม่ดีก็จะมีโอกาสแก้ตัวในการทำข้อสอบครั้งต่อไป
ในสหราชอาณาจักรก็มีการสอบใหญ่เช่นกันแต่คะแนนจะไม่ใช่ 100% เต็ม บางหลักสูตรก็ไม่มีสอบใหญ่เลย คะแนนมาจากงานต่างๆ ที่ทำส่งอาจารย์จึงไม่เน้นการท่องจำเท่าไหร่
สิ่งที่แตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือวิจัย ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเรียนปริญญาในสหราชอาณาจักรทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท เพราะมีหลายวิชาที่นักเรียนต้องทำวิทยานิพนธ์ส่งก่อนจบหลักสูตร
สรุป
นักเรียนที่เรียนในเอเชียและยุโรปจะได้การศึกษาหลายมิติซึ่งดีกว่านักเรียนที่เรียนในประเทศไทยอย่างเดียวหรือในสหราชอาณาจักรอย่างเดียว นายจ้างส่วนใหญ่มักจะชอบนักเรียนไทยที่ยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ มีทักษะความรู้ที่แตกต่างกันซึ่งนักเรียนจะได้จากการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและสหราชอาณาจักร
ที่มา:
Greek Thought: Socrates, Plato and Aristotle:http://www.historyguide.org/ancient/lecture8b.html
An interesting look at Socrates and Plato and their development of critical thought
Confucius: http://plato.stanford.edu/entries/confucius/
An excellent history of Confucius’s life and his philosophy
ต้องการ ข้อมูลเพิ่มเติม กด ‘like’ เราในหน้า Facebook ติดตามเราผ่านทาง Twitter | @gotostudyUK หรือเข้ามา บริษัทแฮนด์ส ออน
มาผ่อนคลาย สลายความเครียดกันเถอะ ((ไม่รู้จะยิ่งทำให้เครียดกว่าเดิมรึเปล่านะ))
และ
ที่
สำ
คัญ
.
.
.
.
.
ดราม่าตามสบาย อย่าหยาบคายมากนัก ก็ดีนะค่ะ ไม่ปิดกั้นความคิดเห็น คอมเม้นต์ได้เลย แต่ละคนก็คิดไม่เหมือนกัน แหละเนอะ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันดีกว่า