หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

โรงเรียนไทย กับ โรงเรียนต่างประเทศ ต่างกันตรงไหน?

โพสท์โดย Fin the Human

 

 

1. จำนวน นักเรียน ในห้อง

โรงเรียนไทยมีนักเรียนเยอะมาก ทั้งโรงเรียนมีเป็นพันๆ คน ห้องนึงส่วนมากก็ไม่ต่ำกว่าห้องละ 40 คน ถ้ามองในมุมพวกเราก็ดูว่าสนุกดีเนอะ เพื่อนเยอะ อบอุ่น เฮฮา เสียงดัง แต่ในขณะเดียวกัน ไฮสคูลในเมืองนอก ห้องนึงเต็มที่แบบจริงๆ ก็มักไม่เกิน 20 คนค่ะ (ส่วนมากจะประมาณ 10-15) เพื่อให้อาจารย์สอนนักเรียนได้อย่างทั่วถึง แต่ก็อาจจะมีข้อเสียนะคะคือถ้าใครแอบหลับนี่ถูกประจานแน่ๆ เพราะเห็นได้ชัดมาก ฮ่าๆๆ

2. ชมรม

โรงเรียนที่ไทยนั้น บางโรงเรียนจะมีชมรม บางโรงเรียนก็ไม่มี ซึ่งการเข้าชมรมของ วัยรุ่น นั้นส่วนมากก็จะแบบขำๆ ไม่ซีเรียสอะไร สัปดาห์นึงนัดสมาชิกในชมรมมาคุยกันแค่วันสองวันก็พอ แถมกิจกรรมก็มีๆ หายๆ บางทีตอนเปิดเทอมมีชมรมให้พอเห่อ แต่พอกลางเทอมกลับไม่มีละ (ประสบการณ์ตรงเลย 555) แต่ที่ไฮสคูลเมืองนอก ชมรมเค้าแบบเอาจริงเอาจังมากค่ะ มีไปประกวดไปแข่งกับโรงเรียนอื่นๆ ต้องเข้าชมรมทุกวันหลังเลิกเรียน มีกิจกรรมร่วมกันอย่างจริงจัง เด่นชัด ใครไม่มาร่วมไม่มาช่วยนี่ถูกเพื่อนมองด้วยหางตาแน่นอน

3. พละศึกษา

คาบเรียนพละศึกษาที่เมืองไทย ส่วนมากจะแบ่งเป็นระดับชั้นและเทอม เช่น ตอนม.1 เทอม 1 เรียนปิงปอง พอเทอม 2 เรียนกระบี่กระบอง อะไรก็ว่าไป แต่ที่เมืองนอกเค้าจะแบ่งเป็นฤดูค่ะ (เพราะบ้านเค้ามีหลายฤดูนี่เนอะ บ้านเรามีแต่ร้อนกับร้อน) ยกตัวอย่างเช่น ฤดูใบไม้ร่วงก็จะเรียนฮอกกี้ ว่ายน้ำ และวอลเลย์บอล ฤดูหนาวจะเรียนแบดมินตันและบาสเกตบอล (เล่นในร่มได้ ออกไปข้างนอกนี่หนาวตายแน่) ส่วนฤดูใบไม้ผลิเรียนเทนนิสและฟุตบอล อะไรประมาณนี้ค่ะ

4. วิชาเลือก

วิชาเลือกที่โรงเรียนไทยนั้น เลือกเรียนได้ค่อนข้างน้อยหรือบางโรงเรียนอาจไม่มีให้เลือกเลย แล้ววิชาเลือกส่วนมากก็จะเป็นวิชาที่เสริมมาจากวิชาหลัก เช่น วิชาหลักเป็นอังกฤษ วิชาเลือกก็จะเป็นอังกฤษเพื่อธุรกิจ อังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว อะไรก็ว่าไป แต่ที่ไฮสคูลเมืองนอกวิชาเลือกเค้าแบบเอาจริงสุดๆ ค่ะ แล้วแต่ละวิชานี่คือ โอ้วแม่เจ้านึกว่าเรียนมหาวิทยาลัย 555 เช่น กราฟิกดีไซน์ การละคร ออเคสตรา เป็นต้น

ที่มา Fwmaildekd.com

 

 

ความแตกต่างระหว่างระบบการศึกษาแบบไทยและสหราชอาณาจักร

ในบทความนี้เราจะพูดถึงความแตกต่างระหว่างระบบการศึกษาแบบไทยและแบบสหราชอาณาจักร ทำไมถึงไม่เหมือนกันและเกิดจากอะไร เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณเตรียมความพร้อมก่อนไปศึกษาต่อสหราชอาณาจักรนะคะ
ขงจื๊อและโซเครตีส
 
ขงจื๊อเป็นนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงของจีนและเป็นผู้มีอิทธิพลมากต่อการศึกษาของเอเชียตะวันออก ขงจื๊อเชื่อว่ากุญแจสู่ความสำเร็จในชีวิตส่วนตัวและครอบครัวมาจากการเรียนรู้และรอบรู้ทางใดทางหนึ่ง ย้อนไปเมื่อ 2000 ปีที่แล้วประเทศจีนเสนอให้ใช้ระบบการสอบวัดความสามารถ ผู้ที่สอบผ่านจะได้ทำงานซึ่งนำมาทั้งความร่ำรวยและความภูมิใจของครอบครัว
สิ่งที่จะทำให้ผ่านแบบทดสอบคือการเรียนและการท่องจำข้อมูลและตัวเลขมากกว่าการวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ ขงจื๊อเชื่อว่าการถ่ายทอดความรู้ช่วยให้คนได้เรียนรู้สิ่งใหม่และปลูกฝังคุณธรรมในใจอันเข้มแข็ง มุมมองทางการศึกษานี้แผ่ขยายไปทั่วเอเชียรวมถึงประเทศไทยด้วย นักเรียนและครอบครัวจะให้ความสำคัญกับการศึกษาและใบประกาศนียบัตรเป็นอย่างมาก
ในช่วงนั้นระบบการศึกษาและการวิจัยในยุโรปแตกต่างจากประเทศจีนโดยสิ้นเชิง สังคมที่ทันสมัยที่สุดในยุโรปสมัยนั้นคือกรีก โซเครตีสหนึ่งในนักปรัชญากรีกผู้มีอิทธิพลมากที่สุดท่านหนึ่งได้คิดระบบเสนอความคิดขัดแย้งหรือคัดค้านทำให้รูปแบบการถกเถียงอย่างมีสาระถูกใช้เรื่อยมา การพูดคุยและถกเถียงกันเริ่มเป็นที่ยอมรับ ระบบถกเถียงและโต้แย้งกระจายไปทั่วยุโรปและถือเป็นเรื่องธรรมดามากในฝั่งตะวันตกและสหราชอาณาจักร ในสหราชอาณาจักรนั้นถือว่าการวิพากษ์วิจารณ์ การวิเคราะห์ และวิจัยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการเรียนระดับปริญญา
กว่า 2000 ปีมาแล้วที่ระบบการศึกษาของทั้ง 2 ฝ่ายแตกต่างกันซึ่งหลักๆ มีอยู่ 2 ข้อ คือวัฒนธรรมของคนเอเชียจะให้ความสำคัญทางการศึกษาเพื่อครอบครัวและเน้นการท่องจำมากกว่าการโต้แย้งเหมือนระบบยุโรป
ในห้องเรียน
เนื่องจากระบบการศึกษาแบบไทยและสหราชอาณาจักรแตกต่างกันทำให้นักเรียนไทยที่ไปเรียนที่นั่นไม่คุ้นเคยในช่วงแรกเพราะวิธีและรูปแบบการเรียนการสอนนั้นไม่เหมือนกัน
ระบบการเรียนการสอนในประเทศไทยจะใช้วิธีการบรรยายโดยอาจารย์หรือวิทยากร แต่ของสหราชอาณาจักรจะแตกต่างอย่างชัดเจน ผู้สอน/อาจารย์/วิทยากรหรือเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้เปิดประเด็นและให้นักเรียนสนทนากันในหัวข้อที่จะบรรยายในวันนั้น
คุณจะต้องร่วมสนทนาและถกเถียงกันในชั้นเรียนไม่ใช่แค่นั่งจดตามอาจารย์อย่างเดียว สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับนักเรียนไทยก็คือการถกเถียงกับเพื่อนร่วมห้อง/อาจารย์และเสนอความคิดเห็นที่คุณไม่เห็นด้วย เมื่อย้อนกลับไปที่การสอนตามระบบกรีกจะเห็นว่าโซเครตีสก็ส่งเสริมให้นักเรียนเสนอความเห็นที่แตกต่างกับเพื่อนด้วยเช่นกัน
กรณีศึกษา
น้องทรายสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะมนุษยศาสตร์ หลังจากเรียนจบก็เข้าศึกษาต่อปริญญาโท สาขาการจัดการการตลาดระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัย Surrey ในสหราชอาณาจักรทำให้น้องทรายเห็นความแตกต่างระหว่างระบบการศึกษาของไทยและสหราชอาณาจักรอย่างชัดเจน นักเรียนไทยใช้วิธีฟังและจดตามอาจารย์ ท่องจำเพื่อเอาไปสอบ และไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นในห้องเรียนเพราะอายที่จะแสดงความเห็นและกลัวว่าจะไม่เป็นที่ยอมรับจากเพื่อนๆ
ระบบการศึกษาในสหราชอาณาจักรเป็นเรื่องใหม่สำหรับเธอแต่เธอก็ชอบนะเพราะได้แสดงความคิดของตัวเองอย่างเต็มที่โดยที่ไม่ต้องสนใจว่าคนอื่นจะคิดเหมือนเธอรึเปล่า เพราะคนส่วนใหญ่จะฟังและยอมรับความคิดเห็นของแต่ละคน อาจารย์จะให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ในหัวข้อที่เรียนซึ่งมีประโยชน์มาก นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งประสบการณ์และทัศนคติ น้องทรายนำประสบการณ์ที่พูดคุยกับเพื่อนๆ ในห้องบวกกับทฤษฎีที่เรียนในชั้นเรียนและนำมาปรับใช้กับตัวเอง เธอบอกว่าได้ประโยชน์มากๆ
สำหรับนักเรียนไทยที่จะไปศึกษาต่อในสหราชอาณาจักรถือว่ามีโอกาสที่ดีมากๆ เพราะจะได้เรียนรู้ระบบการศึกษาของทั้ง 2 ประเทศและนำมาปรับใช้กับตัวเองทำให้เป็นผลดีต่อชีวิตประจำวันในอนาคตทั้งเรื่องงานและเรื่องเรียน
ประเมิณผลการเรียน
ข้อแตกต่างอีกข้อหนึ่งคือการประเมิณผลการเรียนในแต่ละวิชา นักศึกษาปริญญาโทในสหราชอาณาจักรได้คะแนนจากการประเมิณผลการเรียนอย่างต่อเนื่อง หมายความว่าอาจารย์จะให้คะแนนจากการทำข้อสอบ ทำควิซ เขียนเรียงความ และทำโปรเจ็คใหญ่ อาจเป็นการเพิ่มงานให้กับนักเรียนบางคน แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งนักเรียนที่ทำข้อสอบได้ไม่ดีก็จะมีโอกาสแก้ตัวในการทำข้อสอบครั้งต่อไป
ในสหราชอาณาจักรก็มีการสอบใหญ่เช่นกันแต่คะแนนจะไม่ใช่ 100% เต็ม บางหลักสูตรก็ไม่มีสอบใหญ่เลย คะแนนมาจากงานต่างๆ ที่ทำส่งอาจารย์จึงไม่เน้นการท่องจำเท่าไหร่
สิ่งที่แตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือวิจัย ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเรียนปริญญาในสหราชอาณาจักรทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท เพราะมีหลายวิชาที่นักเรียนต้องทำวิทยานิพนธ์ส่งก่อนจบหลักสูตร
สรุป
นักเรียนที่เรียนในเอเชียและยุโรปจะได้การศึกษาหลายมิติซึ่งดีกว่านักเรียนที่เรียนในประเทศไทยอย่างเดียวหรือในสหราชอาณาจักรอย่างเดียว นายจ้างส่วนใหญ่มักจะชอบนักเรียนไทยที่ยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ มีทักษะความรู้ที่แตกต่างกันซึ่งนักเรียนจะได้จากการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและสหราชอาณาจักร
ที่มา:
Greek Thought: Socrates, Plato and Aristotle:http://www.historyguide.org/ancient/lecture8b.html
An interesting look at Socrates and Plato and their development of critical thought
Confucius: http://plato.stanford.edu/entries/confucius/
An excellent history of Confucius’s life and his philosophy
 
ต้องการ ข้อมูลเพิ่มเติม กด ‘like’ เราในหน้า Facebook ติดตามเราผ่านทาง Twitter | @gotostudyUK หรือเข้ามา บริษัทแฮนด์ส ออน

 

 

มาผ่อนคลาย สลายความเครียดกันเถอะ ((ไม่รู้จะยิ่งทำให้เครียดกว่าเดิมรึเปล่านะ))

 

 

และ

 

ที่

 

สำ

 

คัญ

.

.

.

.

.

 

 

ดราม่าตามสบาย อย่าหยาบคายมากนัก ก็ดีนะค่ะ ไม่ปิดกั้นความคิดเห็น คอมเม้นต์ได้เลย แต่ละคนก็คิดไม่เหมือนกัน แหละเนอะ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันดีกว่า

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Fin the Human's profile


โพสท์โดย: Fin the Human
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
92 VOTES (4/5 จาก 23 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เปิดตัวตำรวจสาว นางฟ้าผู้พิสูจน์หลักฐาน สวยและเก่ง ช่วยคลี่คลายคดีแอมไซยาไนด์6 วิธีเติมพลังใจในวันศุกร์ เพื่อเตรียมพร้อมรับวันหยุดสุดสัปดาห์แอฟ ทักษอร และ นนกุล คู่รักสุดอบอุ่น รับบทช่างภาพคู่ เฝ้ากองเชียร์ น้องปีใหม่ โชว์ความสามารถบนเวที
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
'ไทเลอร์ ติณณภพ' ลูกชาย 'ธานินทร์' ดาวเด่นยุค 80 สู่พระเอกยุคใหม่"วิธีใช้รีโมทแอร์ในโหมดต่าง ๆ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า
ตั้งกระทู้ใหม่