มารู้จัก..แรงโน้มถ่วงเทียมกัน
เคยเห็นในหนังอวกาศกันหรือเปล่าที่ตัวละครในเรื่องเดินไปเดินมาบนยานได้ปกติ แต่ในวิดีโอที่เราดูเกี่ยวกับยานอวกาศของจริงกลับเห็นมนุษย์ลอยได้ในสภาวะไร้น้ำหนักสะงั้น ถ้าอยากให้มันมีแรงโน้มถ่วงในอวกาศจริงๆจะทำได้ไหม เดียวพามารู้จักกันครับ
แรงโน้มถ่วงเทียม (Artificial Gravity) คือการสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้รู้สึกเหมือนมีแรงโน้มถ่วง ทั้งที่จริงๆ แล้วอยู่นอกโลกหรือในสภาวะไร้น้ำหนัก จุดประสงค์หลักคือเพื่อให้มนุษย์สามารถใช้ชีวิตในอวกาศได้นานๆ โดยไม่เกิดผลเสียต่อร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อลีบ กระดูกพรุน หรือระบบไหลเวียนเลือดทำงานผิดปกติ
แรงโน้มถ่วงเทียมคือแนวคิดที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อเลียนแบบแรงโน้มถ่วงตามธรรมชาติ ใช้กับสถานการณ์ที่อยู่ในสภาวะไร้น้ำหนักอย่างในอวกาศ โดยเฉพาะในยานอวกาศหรือสถานีอวกาศที่ต้องมีมนุษย์อาศัยอยู่เป็นเวลานาน เพราะถ้าร่างกายอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนักนานๆ จะเริ่มมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อ กระดูก ระบบไหลเวียนเลือด หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวเล็กๆ อย่างการกินการนอนก็ทำได้ยาก การมีแรงโน้มถ่วงเทียมจะช่วยให้คนใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับบนโลกมากขึ้น
วิธีที่นิยมที่สุดคือการหมุนยานหรือสถานีให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง เหมือนเวลาเราอยู่ในถ้วยหมุนในสวนสนุกแล้วรู้สึกเหมือนมีแรงดึงออกไปด้านข้าง แรงนั้นเองที่เอามาใช้จำลองให้รู้สึกว่าเราถูกดึงลงพื้นเหมือนมีแรงโน้มถ่วง หรืออีกแบบคือใช้การเร่งความเร็วของยานให้ต่อเนื่องตลอดเวลาเพื่อให้เกิดแรงคล้ายแรงกดทับเหมือนเวลายืนอยู่บนพื้นโลก แต่วิธีนี้ใช้พลังงานสูงมากและยากที่จะควบคุมให้เสถียรจริงๆ
ในหนังหรือซีรีส์แนวไซไฟหลายเรื่องมักหยิบแนวคิดนี้มาใช้ เช่น Interstellar ที่ยาน Endurance มีส่วนหมุนเป็นวงกลมเพื่อให้คนในนั้นเดินได้ตามปกติ หรือ 2001 A Space Odyssey ที่สถานีอวกาศมีโครงสร้างหมุนขนาดใหญ่สร้างแรงโน้มถ่วงให้คนเดินเล่นได้เหมือนอยู่บนโลก หรือใน The Expanse ก็มีการใช้แรงโน้มถ่วงเทียมโดยอาศัยแรงเร่งจากเครื่องยนต์ของยาน
แม้ตอนนี้จะยังไม่มีแรงโน้มถ่วงเทียมที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน แต่ในอนาคตก็มีความเป็นไปได้ว่าถ้าเทคโนโลยีพัฒนาไปไกลพอ เราอาจได้เห็นสถานีอวกาศหรือยานขนาดใหญ่ที่หมุนสร้างแรงโน้มถ่วงได้จริง ทำให้การใช้ชีวิตในอวกาศกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นอีกขั้น
น่าสนใจมาก











