เรื่องเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ "น้ำตาลทรายขาว"
เรื่องเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ "น้ำตาลทรายขาว"
จากหนังสือ อย่าให้ยาฆ่าคุณ (ฉบับ2023) เขียนโดย KONDO MAKOTO (คอนโดะ มาโกโตะ) ได้กล่าวว่า น้ำตาลทรายขาว คืออาหารที่ผ่านการปรุงแต่งที่โดนโจมตีมากที่สุด ทั้งข้อกล่าวหาที่ว่า
- น้ำตาลทรายขาวเปลี่ยนเป็นกลูโคสเร็วเกินไป ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งขึ้นสูง ทำให้ฮอร์โมนอินซูลินหลังออกมามากเกินไปจนน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ระดับน้ำตาลที่แปรปรวนทำให้เกิดความกังวล ซึมเศร้า ดื่มสุราและใช้สารเสพติด ก่อเหตุอาชญากรรม
- เมื่อน้ำตาลในเลือดลดลงเกินไป ร่างกายจะพยายามปรับสมดุลด้วยการหลั่งอะดรีนาลินซึ่งเป็นฮอร์โมนความโกรธ ทำให้มีอารมณ์ฉุนเฉียว
และที่น่าตกใจที่สุดคือ แพทย์หรือนักโภชนากร เป็นตัวตั้งตัวตีสร้างกระแสโจมตีน้ำตาลทรายขาว แล้วหันไปชื่นชมน้ำตาลทรายแดงว่า "อุดมด้วยแคลเซียม' ความจริงแล้ว แคลเซียมเกือบทั้งหมดนั้นคือกากแคลเซียมคาร์บอเนต เพราะน้ำตาลทรายแดงทำจากน้ำอ้อยผสมแคลเซียมคาร์บอเนตเพื่อลดความเป็นกรดแล้วนำมาเคี่ยว
น้ำตาลทรายขาวไม่ได้มีแคอลรี่สูงเป็นพิเศษ ปริมาณที่ใช้กับของหวานและอาหารไม่ทำให้ระดับกลูโคสในเลือดแปรปรวน เป็นโรคเบาหวาน หรือกระตุ้นอารมณ์โกรธแต่อย่างใด
ทั้งน้ำตาลทรายขาว แป้งสาลี ข้าวขาว คือ "คาร์โบไฮเดรต" โดยทุกชนิดให้พลังงานประมาณ 360 กิโลแคลอรี่ต่อ 100 กรัม ซึ่งเปลี่ยนเป็นกลูโคสเมื่อเข้าสู่ร่างกาย เป็นพลังงานให้ร่างกายและสมอง จริงอยู่ที่ว่าถ้ากินมากไปทำให้อ้วน แต่สารอาหารอย่างอื่นก็ทำให้อ้วนได้เหมือนกัน
แต่เดิมชื่อโรคเบาหวาน หมายถึง "โรคที่น้ำตาลไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ได้ตามปกติ จึงถ่ายออกมากับปัสสาวะ" ไม่ได้หมายความว่ามีสาเหตุมาจากน้ำตาลเลย เป็นชื่อที่ทำให้เข้าใจผิดแท้ๆ
อ้างอิงจาก: หนังสือ อย่าให้ยาฆ่าคุณ (ฉบับ2023) เขียนโดย KONDO MAKOTO (คอนโดะ มาโกโตะ)